Sony Electronics ร่วมมือกับสำนักข่าว Associated Press (AP) และ Camera Bits ผู้ให้บริการ Photo Mechanic แอปแท็กและตรวจสอบข้อมูล metadata ของภาพ ประกาศความสำเร็จในการทดสอบซอฟต์แวร์ตรวจสอบความถูกต้องของภาพถ่าย เพื่อป้องกันการใช้ Generative AI ปรับแต่งภาพ
ภาพถ่ายที่ถูกถ่ายผ่านกล้อง Sony จะถูกสแตมป์ด้วยลายเซ็นดิจิทัล (machine-based digital signature) ใน metadata ตั้งแต่ถ่ายภาพ เพื่อง่ายต่อการยืนยันว่าภาพดังกล่าวไม่ได้ถูกปรับแต่งใดๆ จาก AI โดยเป้าหมายเบื้องต้นเอาไว้สำหรับนักข่าว ที่ต้องการเพิ่มความน่าเชื่อถือของงานว่าถ่ายจากเหตุการณ์จริง ไม่มี AI เข้ามาเกี่ยวข้อง
Sony ระบุว่าจะเริ่มปล่อยซอฟต์แวร์ตัวนี้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ 2024 (ราวมีนาคม - พฤษภาคม) ให้กับไลน์กล้องพรีเมี่ยมของตัวเอง (แต่ไม่ได้พูดถึงสมาร์ทโฟน Xperia ว่าจะได้ด้วยหรือไม่) รวมถึงซอฟต์แวร์นี้จะอยู่ในแอป Photo Mechanic ของ Camera Bits ด้วย สำหรับการอ่าน metadata
ภาพจากวิดีโอเปิดตัวกล้อง A9 III ของ Sony
ที่มา - Sony via Androidcentral
Comments
ข่าวต่อไป Generative Ai ใช้กล้องsonyถ่ายภาพหน้าจอเพื่อเนียนว่าเป็นภาพจริง
อันนี้น่าลอง 😂
WE ARE THE 99%
แล้วเวลาถ่าย RAW มาปรับนิดหน่อยนี่ต้องยังไงดีนะ 🤔
ก็ต้องใช้โปรแกรม RAW edit ของ Sony เอง ถ้าไปใช้ของเจ้าอื่นอาจไม่ได้ใบรับรอง (ผมคิดเอาเองนะ)
ปรับแต่งRAWมันก็ไม่RAWแล้วซิครับ
ใช่ครับ ผมหมายถึงไฟล์ไม่ RAW ที่ออกมานี่แล
ผมว่าประเด็นไม่ใช่เรื่องการปรับภาพครับ ตามข่าวเห็นว่าเพื่อให้นักข่าวยืนยันได้ว่าเป็นภาพจริง เพราะยังไงการเอาภาพลงตีพิมพ์หรือขึ้นเวปข่าวก็ต้องมีปรับอยู่แล้ว แต่ในกรณีที่มีการทักท้วงมาว่าภาพใช้ Ai นักข่าวสามารถเอา RAW มาเป็นหลักฐานยืนยันเพื่อเทียบได้
ขอบคุณครับ
ปรกติปรับ RAW มันแค่แก้ metadata นิดหน่อยนะ
ถ้าเอาเข้า photoshop คงต้องเรียก retouch มากกว่า
หมายถึงไฟล์ที่ export ออกมาจาก RAW นี่แหละครับ
ปกติแล้ว เวลาปรับแต่งภาพ (export จาก RAW เป็น JPG พร้อมปรับแต่งแสงสี) เนี่ยมันจะไม่ลบ metadata ทิ้ง เพราะงั้นลายเซ็นดิจิตอลมันก็ยังอยู่ไม่หายไปไหน
แต่... Sony ต้องมีวิธีในการตรวจสอบว่าลายเซ็นที่ว่ามันตรงกับภาพที่มันเซ็นไหม ซึ่งคำถามก็คือการปรับแต่งแสงสีนิดหน่อยที่ว่านี้ มันจะยังมองว่าลายเซ็นตรงกับภาพอยู่ไหม... เข้าใจว่านี่เป็นคำถามของคุณสินะครับ?
ส่วนตัวผมคิดว่าแนวทางใช้งานของลายเซ็นดิจิตอลที่ว่านี้ ไม่ใช่ให้คนทั่วไปตรวจสอบรูปว่าภาพที่เห็นเป็นภาพจริงไหม แต่น่าจะให้ช่างภาพเก็บภาพต้นฉบับที่มีลายเซ็นเอาไว้อยู่ เพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันมากกว่าละมั้งครับ
เพราะยังไงภาพที่เอามาลงข่าวก็หนีไม่พ้นต้องถูกปรับแต่งอยู่แล้วไม่มากก็น้อย (เช่น เบลอหน้าหรือข้อความต่างๆในภาพ) แล้วก็ถ้าภาพนั้นถูกใช้งานในรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่ลงเว็บมันก็ตรวจสอบไม่ได้ด้วย
ใกล้เคียงครับ ผมมองว่าตอนส่งภาพไปนี่น่าจะต้อง export จาก RAW ออกมาแล้วแต่ถ้า export มาได้โดยยังยืนยันได้ว่าเป็นภาพที่แค่ปรับแสงสีแล้วเช็คได้เลยว่าเป็นภาพถ่ายมาตรงๆ มันก็คงดี
สร้าง signature ไว้ที่ raw file?
The Dream hacker..