บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมกับสำนักงาน กสทช. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) พร้อมกับจังหวัดภูเก็ต จัดการทดสอบเสมือนจริงระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือ หรือ Cell Broadcast Service (CBS) ที่จังหวัดภูเก็ต เตรียมเดินหน้าเชื่อมต่อระบบทดสอบร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเตือนภัย หรือ Cell Broadcast Entity: CBE บนเครือข่ายที่ให้บริการจริง (Live Network) แบบครบวงจร (end-to-end) เพื่อเตรียมความพร้อมอีกขั้นก่อนเปิดให้บริการจริง
จากข้อมูลล่าสุดของ สำนักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต ในปี 2566 ระบุว่าภูเก็ตต้อนรับนักท่องเที่ยวรวมสูงถึง 11.3 ล้านคน โดยเป็นชาวต่างชาติ 8.4 ล้านคน และนักท่องเที่ยวชาวไทย 2.9 ล้านคน สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวสูงถึง 388,017 ล้านบาท นับเป็นจังหวัดอันดับ 2 ของประเทศ รองจากกรุงเทพมหานครเท่านั้น นอกจากนี้ ความโดดเด่นของภูเก็ตยังได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เมื่อเว็บไซต์ Bounce จัดอันดับให้เป็น "เกาะท่องเที่ยวที่ดีที่สุด" (The Best Island Destinations) ของโลกในปีนี้ ด้วยความสำคัญดังกล่าว ทรู คอร์ปอเรชั่นจึงร่วมกับ กสทช. ดีอี ปภ. กำหนดภูเก็ตเป็นพื้นที่ทดสอบเสมือนจริงระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน CBS เพื่อเตรียมยกระดับความปลอดภัยและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มาเยือนเมืองไข่มุกแห่งอันดามัน และเพิ่มศักยภาพความมั่นใจในการเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวทั่วโลก
นายจักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกิจการองค์กร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือ หรือ Cell Broadcast Service (CBS) ในการทดสอบเสมือนจริงที่ภูเก็ตว่า “ทรู คอร์ปอเรชั่นภูมิใจที่ได้ร่วมมือกับ สำนักงาน กสทช. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)ในการทดสอบเสมือนจริงระบบ CBS ที่ภูเก็ต ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าสำคัญในการพัฒนาระบบเตือนภัยเพื่อความปลอดภัยของประชาชนไทย การทดสอบครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นถึงพลังความร่วมมือของทุกภาคส่วน และเป็นการต่อยอดความสำเร็จจากการทดสอบเสมือนจริงครั้งแรกในไทยจากทรู คอร์ปอเรชั่นที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
“ภูเก็ตถูกเลือกเป็นจังหวัดที่ 2 ที่จัดทดสอบเสมือนจริงระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือ Cell Broadcast Service (CBS) ซึ่งการทดสอบประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทำให้มั่นใจได้ว่าเมื่อเปิดให้บริการจริงจะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในระบบความปลอดภัยให้กับชาวภูเก็ตและนักท่องเที่ยวที่มาเยือน โดยเฉพาะการรับมือกับภัยธรรมชาติทางทะเล ไม่ว่าจะเป็นคลื่นสูง พายุ หรือสึนามิ ระบบสามารถส่งการแจ้งเตือนแบบทันท่วงทีไปยังมือถือทุกเครื่องในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยไม่จำเป็นต้องลงทะเบียน พร้อมรองรับการแสดงผลได้ทุกภาษา ทั้งในรูปแบบข้อความ Pop-up และเสียงแจ้งเตือน อีกทั้งยังมีฟีเจอร์ Text to Speech พิเศษสำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลการเตือนภัยได้อย่างทั่วถึง” นายจักรกฤษณ์ กล่าว
ระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือ หรือ Cell Broadcast Service (CBS) สามารถออกแบบเตือนภัยได้ทุกภาษาที่ตรงกับกลุ่มนักท่องเที่ยวของภูเก็ต นอกจากนี้ ทรูยังได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเครือข่ายอัจฉริยะ หรือ Business and Network Intelligence Center: BNIC เพื่อเป็น War Room บริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง
ระบบ CBS ที่ทรู คอร์ปอเรชั่นนำมาทดสอบใช้งานมีจุดเด่นสำคัญ 5 ประการ ได้แก่
- รวดเร็ว– สามารถส่งข้อความเตือนภัยได้ทันทีที่เกิดเหตุ
- แม่นยำ– สามารถกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการส่งข้อความได้อย่างแม่นยำ
- ครอบคลุม– ส่งข้อความถึงผู้ใช้บริการทุกคนในพื้นที่เสี่ยงภัยโดยไม่ต้องลงทะเบียน
- มาตรฐานสากล– เป็นระบบที่ได้รับการยอมรับและใช้งานในหลายประเทศทั่วโลก
- รองรับทุกภาษา– สามารถออกแบบการแจ้งเตือนได้ทุกภาษาและส่งพร้อมกันได้ทันที
สำหรับการทดสอบระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือกับผู้ใช้งานจริง หรือ "LIVE – Cell Broadcast Service" ที่ภูเก็ต นับเป็นก้าวสำคัญของประเทศไทยในการยกระดับมาตรการรักษาความปลอดภัยให้ทัดเทียมนานาประเทศ โดยเป็นความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างทรู คอร์ปอเรชั่น กสทช. ดีอี และ ปภ. ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัย ซึ่งจะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว โดยทรูในฐานะ Cell Broadcast Center หรือ CBC จะเตรียมเชื่อมต่อระบบทดสอบร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งทำหน้าที่เป็น Cell Broadcast Entity หรือ CBE บนเครือข่ายที่ให้บริการจริง (Live Network) แบบครบวงจร เพื่อความพร้อมก่อนเปิดให้บริการต่อไป
Comments
ซ้ำมั้ยครับhttps://www.blognone.com/node/143197
อันนี้เหมือน PR นะครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger