ก่อนหน้านี้ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ แบนการจัดจำหน่าย Galaxy Nexus ในสหรัฐอเมริกาข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิล แต่ล่าสุดในวันนี้ศาลอุทธรณ์สหรัฐฯ ได้ตัดสินยกเลิกการแบนการจำหน่าย Galaxy Nexus เนื่องจากไม่มีหลักฐานเพียงพอว่าแอปเปิลจะได้รับผลกระทบจากการวางขาย Galaxy Nexus
ศาลอุทธรณ์ ได้ออกมาแถลงการณ์คำตัดสินในครั้งนี้ว่าคุณสมบัติที่แอปเปิลได้ออกมากล่าวหาว่า Galaxy Nexus ละเมิด ไม่ใช่จุดขายที่ทำให้ Galaxy Nexus ประสบความสำเร็จแต่อย่างใด ว่าง่าย ๆ หากไม่มีคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว Galaxy Nexus ก็จะไม่ได้เสียยอดขายเลยแม้แต่น้อย
หากใครยังจำได้ คุณสมบัติที่ทำให้แอปเปิลฟ้องให้แบน Galaxy Nexus ในครั้งนี้มาจากสิทธิบัตร universal search
ที่มา - The Next Web
Comments
"ไม่ได้ (ทำให้) เสียยอดขาย"
อืมมม.... ผมเห็นว่าศาลน่าจะใช้เหตุผลนี้เป็น บรรทัดฐาน ในการตัดสินคดีสิทธิบัตรต่างๆ ก็ดีครับ
การพัฒนาจะได้เปิดกว้างมากกว่านี้..
เป็นความคิดที่ดีนะ ต้องถามก่อนว่าจุดประสงค์ของ Apple คืออะไร ฟ้องเพื่อปกป้องผลประโยช์ของตัวเอง เพื่อไม่ให้ Android ขายดีเกินไป ยังงั้นสินะ (ฟ้องเรียกค่าเสียหาย + แบน) ศาลก็พิจารณาถูกแล้ว
55555 ศาลเริ่มหลงประเด็น ... หรือว่าแอปเปิ้ลฟ้องผิดประเด็น .... สิทธิบัตรที่ไม่ได้ถูกนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์จะไม่ถูกคุ้มครองเหรอ หรือว่าสิทธิบัตรที่ไม่ได้ทำกำไรก็ไม่ถูกคุ้มครอง ..... ชักจะยุ่งกันใหญ่ ..... หรือว่าคนฟ้องไม่ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิบัตรในเชิงธุรกิจก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง .....
แล้วสิทธิบัตรที่โดยตัวของมันเองไม่เป็น End Product แต่เอาไปประกอบกับตัวอื่น ๆ แล้วถึงจะเป็น End Product .... ตัวอย่างเช่น วงจร 4G LTE ที่ซัมซุงฟ้องแอปเปิ้ลหละ ตัว 4G LTE ไม่มีโทรศัพท์ก็บ่มิไก๊ .... อย่างนี้ฟ้องไปก็ต้องยกฟ้องด้วยสิ ...55555
แล้วถ้าฟีเจอร์ดังกล่าว ไม่เป็นประโยชน์ที่ทำให้ Nexus สู้ iPhone ได้ ... คุณกูเกิ้ลเอามาใส่ไว้ใน Nexus เพื่ออะไรกันหละครับ
หรือว่าโปรแกรมเมอร์เผลอ สับประหงก ละเมอเอาโค้ดไปใส่ไว้
คดีัยังไม่จบไม่ใช่เหรอครับ ถ้าศาลดูแล้วเป็นการละเมิดแต่ไม่มีเหตุผลให้แบนการจัดจำหน่ายก็น่าจะถูกต้องแล้ว สุดท้ายแล้วหากตัดสินว่าเกิดการละเมิดจริงๆ ก็คงมีการสั่งให้ชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นอยู่ดี
แค่ยกเลิกการแบน เพราะสิ่งที่ฟ้องไม่ได้เป็นสิ่งที่เป็นจุดขายจริงๆ เป็นแค่ส่วนเล็กๆในรุ่นนี้
แต่น่าจะยังฟ้องร้องค่าเสียหาย เก็บค่าสิทธิบัตรได้
1) ละเมิดสิทธิบัตร ไม่จำเป็นต้องแบนการขาย คุ้มครอง=!แบน
แต่ถ้าตัวที่ถูกละเมิดนั่นเป็นของสำคัญ เช่นสมมติสิทธิบัตร LTE ศาลพิจารณาแล้วว่าถ้าไม่มี LTE ยอดขาย i5 จะตกลงมาก การสั่งแบนถึงสมเหตุสมผล
2) กูเกิลไปละเมิดโค้ดเหรอครับกรณีนี้ ส่วนที่ถูกฟ้องคือ"รูปแบบ"การค้นหาแบบ Universal Search ไม่ใช่เหรอ จริงๆมันแย่ตั้งแต่ที่จดสิทธิบัตรรูปแบบการใช้งานได้แล้ว
ย้อนรอยแผลลึก สตีฟ จ็อบส์ บอกจะจดสิทธิบัตรทุกอย่างให้หมดหลังแพ้คดี iPod ปี 2006
มวยก็สมน้ำสมเนื้อกันดีนะครับ อยากฟังคุณ sp ให้ความเห็นกับประเด็นนี้บ้าง
สิทธิบัตร ก็ไม่ได้บอกว่าสิ่งนั้นคุณคิดเป็นคนแรกหรือคนเดียว แต่เอาไปยึดครองไว้เท่านั้น เหมือนตัวเองคิด 1+1=2 แต่ไปจดว่าเป็นเจ้าของ 2 ถ้าคนอื่นก็คิด 3-1=2 ได้แต่ก็ตายนะ การฟ้องแบบนี้มีแต่ในUSAเท่านั้น เพราะที่อื่นเขาดูที่ Prior Art ด้วย ถ้าไม่มีก็แย่เหมือนอเมริกาจด Jasmin rice นั่นแหละ ข้าวแย่ๆมาใช้ชื่อนี้ ข้าวหอมมะลิเราก็แย่ไปด้วยนะ ต้องขายในชื่อ Hom Mali Rice
ถ้าฟ้องเรียกค่าเสียหาย แล้วพิสูจน์ไม่ได้ว่า "เสียหาย" เท่าไหร่ ? ตรงไหน ?
ยกฟ้องก็สมเหตุสมผลนะครับ
จากที่มา ศาลอุทธรณ์บอกว่าศาลแขวง “abused its discretion in entering an injunction”
แปลว่าอะไรอะครับ แต่เดาว่าน่าจะเป็นการต่อว่าศาลแขวงรึเปล่า
แบบนี้ Google ฟ้องกลับได้ไหมอะ ว่าทำให้เสียยอดขายไปเยอะในระหว่างที่โดนแบน