เป็นที่ทราบกันดีว่า HTC J Butterfly สมาร์ทโฟนรุ่นล่าสุดจาก HTC ที่มีขายเฉพาะในญี่ปุ่นนั้น ใช้หน้าจอขนาด 5 นิ้ว ความละเอียด Full HD 1080p ซึ่งมีความหนาแน่นของพิกเซลต่อตารางนิ้วสูงถึง 440 ppi เลยทีเดียว
และแน่นอนว่าต้องมีการนำมาเปรียบเทียบกับหน้าจอ Retina Display อันเลื่องชื่อของ iPhone 5 ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดเช่นเดียวกัน iPhone 5 นั้น มีหน้าจอขนาด 4 นิ้ว และความหนาแน่นของพิกเซลต่อตารางนิ้วเป็น 326 ppi เมื่อเทียบตัวเลขกันแล้ว HTC J Butterfly มีหน้าจอที่มีความละเอียดสูงกว่าอย่างแน่นอน แต่จะละเอียดมากกว่าแค่ไหน พิสูจน์ได้จากภาพประกอบท้ายเบรกครับ
Retina Display ที่เป็นจุดเด่นของอุปกรณ์หลายๆ ตัวของแอปเปิลนั้น บัดนี้ได้มีผู้ท้าชิงมาเอาชนะไปแล้วหนึ่งยก หรือว่านี่ จะหมดยุคของ Retina Display แล้ว...
Comments
แชมป์โดนผู้ท้าชิงน็อค!!!
ละเอียดกว่าแล้วไงต่อ มองแล้วแยกออกหรือ ก็ไม่นะ แล้วเราจะได้อะไรจากความละเอียดนี้ แล้วโดนนอคตรงไหน ในเมื่อไม่ได้กระทบอะไรเลย
เป็นอะไรมากรึเปล่าครับ ?
โดนน็อคตรงที่เสียแชมป์ ppi หน้าจอบนมือถือละมั๊งครับ =_=
Dream high, work hard.
สิ่งที่เคยเป็นจุดเด่นอันดับต้นๆ โดนแย่งชิงไป
ขนาดนี้เลยเหรอเนี่ย
ไปส่อง Kindle paperwhite มาเทียบหน่อยเร็ว ขอบแตกแต่เนียนเวลาส่องแล้วมันจะเป็นยังไงเนี่ย
โดยส่วนตัวผมว่าไม่ค่อยชอบ เรื่องการยัดความละเอียดจอ ผมด่าตั้งแต่ตอน iPhone ปรับเป็นเรติน่าแล้ว นี่ HTC ไปจี้ตามอีก
แนวทางการพัฒนาที่ควรจะเป็นมันควรเป็นเรื่อง สี กับ viewing angle มากกว่า โดยส่วนตัว มือถือตอนนี้ความละเอียดจอนั้นพอแล้ว
Shut up and ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ raise your dongers ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ
ไม่รู้ทำไมไม่ยอมใช้ IPS กัน
Educational Technician
โดยส่วนตัว ยังเชื่อว่า OLED ทำได้ดีกว่า IPS อยู่ครับ ขาดแค่การ calibrate สีที่ถูกต้องเท่านั้น ซึ่งตอนนี้เหมือนจะละเลยจุดนั้นกันไป
Shut up and ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ raise your dongers ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ
ถ้าจำไม่ผิด... SLCD2 ที่ใช้ใน One X/One X+/8X ความจริงแล้วมันคือ IPS นะครับ
แต่ติดที่ชื่อทางการค้า เลยเรียก Super LCD ครับ
Android เป็นเรื่องของการเปิดครับ ไม่ชอบรุ่นนี้ก็ไปหารุ่นอื่น ความละเอียดอื่นใด้
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
จริงๆ ต้องบอกว่าผมไม่เกี่ยวอยู่แล้วอะครับ ยังไงก็เล่นแต่ nexus อยู่ดี
Shut up and ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ raise your dongers ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ
ผมว่า "แนวทาง" การพัฒนาของ Hardware มันคงไม่หนี
1. ยัดความเร็วซีพียู
2. ยัดแรม
3. อัพความละเอียดหน้าจอ + ขนาด
4. แบตเตอรี่
เห็นด้วย โดยเฉพาะซีพียูกับความละเอียดจอก็แซงเดสท๊อปที่บ้านผมแล้ว มือถือสมัยนี้ สมัยก่อยเรียนจบด้วยซีพียู 100 Mhz
viewing angle เยอะ ก็เอาไปใส่ private filter กัน อิอิ
ปัญหาตอนนี้ คือ oled viewing angle มันกากมากไงครับ บิดปุ๊บ ฟ้าปั๊บ Orz
ที่ผมพูดของ Oled เยอะหน่อย เพราะผมชอบโทนสีดำมันมากกว่า IPS เยอะอะ ไม่ชอบดำเทียม - -
Shut up and ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ raise your dongers ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ
แปลกแฮะ ปกติ oled มันไม่มีปัญหาเรื่อง view angle เพราะเม็ดสีทุกเม็ดคือหลอด led (ไม่นับกรณีมองซัก 179 องศานะครับ แบบนั้นมันก็เพี้ยนจากแสงสะท้อนเอง)
ปกติถ้าสีเพี้ยนจะเป็นเรื่องแผ่นกันรอยครับ ลองเช็คดูหน่อยผมว่า
+1 มอง +-80 องศาก็ยังไม่เพี้ยนจากเดิมเท่าไหร่
เครื่องเล่นเกมพกพาของ Sony ที่ชื่อว่า PSVITA เป็นจอ OLED สีสด คม ชัด แถมยังมองเอียงๆได้เยอะอีกตะหาก
แต่ข้อเสียคือ เวลาปรับลดค่าความสว่างของหน้าจอ รู้สึกว่าสีมันเพี้ยนค่อนข้างมาก เล่นในที่แสงน้อยแล้วไม่ปรับแสงลงก็เหมือนจะไม่ได้
รู้สึกเหมือนโดนแสงพุ่งเข้าตาแบบตรงๆยังไงไม่รู้
ผมว่าเราจะได้รู้กันว่าความสามารถของตาคนเราดีแค่ไหน เห็นลุง SJ เคยบอกไว้ว่าตาคนเราสามารถมองเห็นรายละเอียดได้สูงสุด ที่ ประมาณ 300 ppi ในระยะโฟกัสสายตา (สำหรับSmart Phone คือประมาณ 1ฟุต) รอดูๆ
ละเอียดมากไปกว่า Retina Display ในระยะสายตามอง มันแยกไม่ออกแล้ว ในการใช้งานจริง เราไม่ได้เอาแว่นขยายไปซูม หรือเอาหน้าไปจ่อไกล้ๆอยู่แล้วครับ ทุกวันนี้ก็มองไม่เห็นเม๊ด pixel แล้ว คำถามคือถ้าจะละเอียดกว่านี้ก็คงต้องมีเหตุผลรองรับว่าจะละเอียดกว่าที่ตามองเห็นไปเพื่ออะไร
เอาไว้เกทับกันครับ 555+
Educational Technician
เวลาเค้าจะขายของการบอกว่าสินค้าที่ดีกว่าตนไม่มีประโยชน์ ไม่ควรเชื่อนะครับ
ถึงจะมองไม่เห็นแต่สามารถตรวจสอบใด้ว่ามันดีกว่า มันก็เป็นของที่ดีกว่าไม่ไช่หรือ ?
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
อันนี้ต้องมาดูว่านอกจากพิกเซลแน่นกว่าชาวบ้านแล้วมันมีประโยชน์อื่นๆ ที่จับต้องได้ กับสิ่งที่ต้องแลกมามันคุ้มค่ากันหรือเปล่า
ตรวจสอบได้
สายตาคน แต่เอาดิสเพลย์ระดับไมครอน -.-
ถึงตามองไม่เห็น แต่ใจมองเห็นครับมีผลทางจิตใจอย่างมาก 555+
การโชว์ พาว ครับว่า เราทำได้ เราขายได้จริง ไม่คุยโม้ไปวันๆ
ใช่แล้วครับ สิ่งที่มีไปแต่เกินความจำเป็น สำหรับผมมันก็ไม่ได้มีค่าอะไร
300 PPI กำลังพอดี
มากกว่านี้ ก็ไม่มีประโยชน์
อัดมาเยอะๆมันอาจจะสวยขึ้นสำหรับบางคนครับที่เค้าดูออก กรณีคงคล้ายหูฟังระดับโลกบางยี่ห้อที่ให้ช่วงความถี่มาเกินกว่าที่มนุษย์จะสามารถได้ยินได้ แต่ก็มีพวกหูทองบางคนที่ฟังแล้วแยกแยะออก อยากบอกว่าเชื่อเถอะครับ เทพๆพวกนี้มันมีอยู่จริง!!ทุกวงการนั่นแหละ
ที่ว่าเมพๆน่ะ ต้องเจอ blind test
จริงครับ ... แบบที่ Droidsans ทำบ่อยๆ ตายกันเกลื่อน
อย่างคราวกล้อง ... ออปโป้กินขาด
นึกถึง blind test ในตำนาน
monster cable vs coat hanger
ฺBlind test เลยครับ
เคยมีคนเสนอล้านเหรียญให้ Blind test เรื่องสาย HDMI ยังไม่ทีเทพคนไหนในโลกกล้าเลยครับ
ไม่ได้ลบหลู่เทพหรือว่าอะไร แต่บางทีคนเราก็มีลิมิตในการแยกแยะสัมผัสครับ ในกรณีนี้ หน้าจอคนปกติดูห่างจากตัวประมาณ 15-30 cm กันก็แทบแยก Pixel ไม่ออกแล้วครับ
Technology is so fast!
ดีๆ เลย มองตัวอักษรเล็กๆ จะได้อ่านได้ไม่ต้อง Zoom กันเลยที่นี่
ผมไม่สน HTC นะว่าทำได้ แต่อยากรู้ว่า ใครทำจอให้มากกว่า น่าสนกว่าเยอะ
เอิ่ม...ใช้ Nexus S อยู่ ความหนาแน่นเทียบ retina display ไม่ติดเลย แต่ยังไม่เห็นจะรู้สึกว่าพิกเซลแตกจนรู้สึกแย่อะไร เพราะจะให้เห็นพิกเซลแตก ต้องจับมือถือให้ห่างตาไม่เกิน 25 ซม. และพยายามเพ่งดูแบบจริง ๆ จัง ๆ (พูดง่าย ๆ คือถ้าไม่ตั้งใจจะจับผิดมันจริง ๆ จะไม่รู้สึกว่าพิกเซลมันแตกเลย)
ไม่เข้าใจว่าจะเอาหนาแน่นมากมายไปไหน เริ่มรู้สึกว่าเหมือนพวกเอา Benchmark มาข่มกัน การ์ดจอฉันได้ 60 fps ของฉันปาไป 65 fps นะ แต่ตาคนส่วนใหญ่เกิน 30 fps ก็แยกไม่ออกแล้ว จะเปลืองไฟกันไปทำไมหว่า?
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
30 / 60 fps ผมแยกออกนะ ...
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
นี่คือปัญหาครับ!
เห็นด้วยจนไม่รู้จะบวก เท่าไหร่ดี เอาเป็น
+6.02 x 10^23 ละกัน
Shut up and ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ raise your dongers ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ
30 / 60 ผมก็แยกออกครับ ความลื่นต่างกันเห็น ๆ เลยครับ
ไม่ต้องตั้งใจหรอกครับ เปิดเว็บตัวหนังสือเล็กๆ แตกต่างกันนะ แต่เกินกว่านี้คงต้องเล็กมากจนอ่านยากมากๆแล้วละมั้ง
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
มันชัดเจนมากเลยนะครับ 30 กับ 60 หนะ ความจริงตอนตกมา 45 - 55 ก็รู้สึกแล้วอ่ะ
+1ก็นั่นสินะ
เห็นมีหลายคนท้วงมาเรื่อง 30/60 ก็คิดว่าเออแฮะ เคยสงสัยเมื่อนานมาแล้วว่าระบบ NTSC กับ PAL (ระบบของภาพวีดีโอสมัยเทปที่เป็นฟิล์มสีดำที่นิยมใช้กันทั้งโลกและปัจจุบันมันก็ยังคงอยู่ในรูปของไฟล์ฟอร์แม็ตต่าง ๆ และทีวีแบบอนาล็อกที่เราดู ๆ กันอยู่ในปัจจุบัน) มันมี FPS แค่ 24-25 เอง แต่กลับเคยได้ยินว่าสายตาคนเรามันแยกไม่ออกที่ 50-60 (ตัวเลขข้างบนผมพลาดไป เพราะเลิกสนใจตัวเลขพวกนี้มานานแล้ว ระหว่างหาข้อมูลเห็นว่าตอนนี้เขาเกทับกันไประดับ 100+ กันแล้ว) เลยลองนั่งหาข้อมูลดู
http://en.wikipedia.org/wiki/Frame_rate#Video_gamesเขาว่าเรื่องเล่นวีดีโอเกมมันมีเรื่องให้คิดมากกว่า frame rate (แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะมีผล) และ frame rate จะมีผลมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับประเภทเกมด้วย (3D Monster Maze ใช้แค่ 6 fps เท่านั้น!!)
http://xcorr.net/2011/11/20/whats-the-maximal-frame-rate-humans-can-perceive/อันนี้อธิบายทั้งหมดเลย อ่านดูคร่าว ๆ น่าจะครอบคลุมสิ่งที่สงสัยทั้งหมด แต่ตอนนี้ง่วง อ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง เดี๋ยวค่อยมาอ่านจริงจังอีกที
สรุปคร่าว ๆ คือ 30/60 สำหรับเกมแยกออกแน่ ๆ (ถ้าเป็นเกมสมัยนี้) แต่กับทีวีหรือจอความละเอียดต่ำ ๆ แทบไม่มีผล อย่างไรก็ตามที่ผมจะสื่อคือ สมัยนี้แข่ง fps กันเวอร์เกินไป (100+) อยู่ดี (ตอนแรกต้องขออภัย ยกตัวอย่างมาเลขน้อยไปหน่อย) ในวิกิก็แอบเหน็บไว้เหมือนกัน อ่านแล้วขำดี
ต้องขอขอบคุณที่ท้วงกันมา ผมเลยได้ความรู้เพิ่มกลับไปเล็กน้อย
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
จริงๆแล้วสมองเราเรียนรู้ได้ครับ
กล่าวคือสมองเราจะมี response time อยู่สองช่วง(ผมจำชื่อทาง technic ไม่ได้ฮะ)
ทีนี้การอยู่กับภาพที่มี fps สูงขึ้นนานๆมันจะทำให้สมองเราลดเวลาในการทำงานช่วงนึงไปทำให้เรามองเห็นภาพที่ fps สูงขึ้นได้เรื่อยๆจนกว่าจะตันที่ response time หนึ่งๆของสมองเราครับ (ถ้าจำไม่ผิดการศึกษาด้านสมองสมัยใหม่บอกว่าเรามองเห็นได้สูงสุดที่เกิน 100 fps ครับ)
ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจะเกินขึ้นได้กับคนในยุคเราเพราะมี technology ในการแสดงภาพที่ดีขึ้น ทั้งสมองและตาเราก็จะทำงานได้ดีขึ้นตามไปด้วย(จริงๆมีมากกว่านั้นเช่นหูเราจะรับฟังเสียงได้ดีขึ้น) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้ชีวิตของแต่ละคนครับ
ไม่อยากให้คนเราเอาตัวเอลขที่สรุปจากการทดลองของคนเมื่อหลายปีมาแล้วใช้กับคนในปัจจุบันฮะ เพราะมันเทียบกันไม่ได้เนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่มันเปลี่ยนไป รวมถึงทุกการทดลองด้าน response ของร่างกายยังมี Limitation ฒากมายอยู่ ทำให้จริงๆแล้วยังไม่มีข้อสรุปที่แท้จริงในเรื่อง response ต่างๆของมนุษย์ครับ
ปล. ผมเพิ่งข้ามมานเรียนสาย bio ครับเลยพอจะมีความเห็นด้านนี้บ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขอโทษด้วยที่จำศัพท์เทคนิคไม่ได้จริงๆ ศัพท์ทาง bio มันช่างจำยากแท้ ><"
หา technical term ให้ออกนะคับ ผมอยากรู้ด้วยเหมือนกัน
เอ่อ ไม่น่ามีแบบนั้นมั้งครับ
แต่ตรงกันข้ามด้วยซ้ำ เพราะหากสมอง(จริงๆแล้วอยู่ที่ Recepter ส่วนปลาย) เราได้รับสิ่งเร้า เดิมๆ ซ้ำไปซ้ำมา สมองเราจะตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้นได้ "น้อยลง" ครับ
เราเรียกว่า Down regulation of recepter
คล้ายๆกับ การที่เข้าไปในเธค/ผับ ที่เสียงดังๆ พอออกมาจากเธค/ผับ ที่เสียงเบากว่าข้างใน จะหูอื้อไม่ได้ยินอะไร เพราะสมองได้ยินเสียงดังๆมานานแล้ว เลยลดการทำงานลงครับ
อีกกรณีคลาสสิค คือเข้าห้งน้ำที่มีกลิ่นฉี่เหม็นๆ แต่พออยู่ไปนานๆ กลิ่นจะจางหายไปครับ
ส่วนกรณี "ตา" เรารู้จักกันดีในคำว่า "ภาพติดตา" ครับ
กรณีดังว่าอาจเทียบกับการพิสูจน์ FPS ไม่ค่อยตรงนัก ว่างๆจะพิมพ์มาให้อ่านครับ
"ไม่อยากให้คนเราเอาตัวเอลขที่สรุปจากการทดลองของคนเมื่อหลายปีมาแล้วใช้กับคนในปัจจุบันฮะ เพราะมันเทียบกันไม่ได้เนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่มันเปลี่ยนไป รวมถึงทุกการทดลองด้าน response ของร่างกายยังมี Limitation ฒากมายอยู่ ทำให้จริงๆแล้วยังไม่มีข้อสรุปที่แท้จริงในเรื่อง response ต่างๆของมนุษย์ครับ"
ขอ Quote นิดนึงครับ มีใครพิสูจน์ตรงนี้ได้รึยังครับ? คุณพึ่งข้ามมาเรียนสายวิทยาศาสตร์ คุณเป็นนักวิทยาศาสตร์น่าจะเข้าใจว่าก่อนที่คุณจะบอกให้อย่าเชื่อผลทดลองเก่า มันก็ต้องหามาว่ามีอะไรมาหักล้างผลทดลองเดิมหรือไม่ ไม่ใช่จะบอกว่าสมัยมันเปลี่ยน ผลทดลองก็ต้องเปลี่ยน แบบนั้นมันไม่ใช่วิทยาศาสตร์ครับ วิทยาศาสตร์ต้องอยู่บนหลักเหตุผลที่พิสูจน์ได้ครับ
Technology is so fast!
เรื่องที่บอกว่าย้ายสายคือผมจบป.ตรีด้านคอมครับ แต่มาต่อด้าน Bioengineeringหลักเหตุผลที่พิสูจน์ได้นั้นผมก็ต้องขอโทษเหมือนกับที่บอกไว้ตอนต้นว่าผมเพิ่งย้ายมาเรียนผมไม่สามารถทำความเข้าใจได้ลึกซึ้งมากกับศาสตร์ทางด้านนี้ แต่ทุกสิ่งที่ผมพูดไปบอกคือมาจากที่ผมฟังในคาบ lecture หน่ะครับ ซึ่งอาจารย์เค้าก็สรุปมาจาก article ต่างๆอีกทีนึง ต้องขออภัยด้วยที่ตอบชัดเจนไม่ได้ครับ ><"
คือเรื่องทฤษฎีทางด้าน bio เก่าๆอ่ะถ้าลองอ่านดูอย่างเช่นว่าคนคิดค้น central dogma สรุปมันออกมาได้ยังไงคุณจะอึ้งไปเลยว่า เห้ย!อนุมานกันงี้เลยเหรอ แต่ที่เค้าทำได้เพระาเทคโนโลยีในการเก็บข้อมูลในแลปสมัยนั้นมีนมีแค่นั้นฮะ ตอนนี้หนึ่งในโครงการที่มีการทำอยู่ใน human genome project คือการสรุปใหม่ว่าจริงๆแล้ว central dogma(ลืมบอกไปมันคือกระบวนการในการที่ร่างกายถอดรหัส DNA เป็น RNA และเป็น Proteins เพื่อทำฟังก์ชั่นต่างๆในที่สุด) ควรจะมีลักษณะของ system diagram เป็นอย่างไรกันแน่ รวมถึงที่เมื่อไม่นานมานี้ทาง Human genome project เองก็ออกมาบอกว่าการทำ genome sequencing ในตอนนี้มันผิดพลาดเพราะไม่ได้คำนึงถึกปัญหาที่เพิ่งค้นพบไม่นานว่าการกลายพันธุ์เกิดขึ้นได้แม้กระทั่งเรื่อง่ายๆอย่างเช่นการขึ้นเครื่องบินบ่อยครั้งทุกๆเดือนเป็นเวลาหลายปี ซึ่งในผู้ป่วยบางคนส่งผลต่อการดื้อยาอะไรแบบนี้เป็นต้น
ที่อยากฝากไว้คือจริงๆพอมาเรียนด้านนี้ทำให้เราได้รู้ว่าเค้าอยากให้มีคนที่มีความรู้ด้านอื่นๆเช่น IT, Mechanic, Electronic etc. เข้ามาทำงานร่วมกันมากๆเพื่อสร้างและพัฒนาผลงานใหม่ๆที่เป็นปัญหาตอนนี้เช่น personalized medicine, drug delivery, brain disorder ซึ่งการพยายามแก้ด้วยคนทางด้าน bio อย่างเดียวมันไปได้ช้าและค่อนข้างขาดกรรมวิธีในการแก้ปัญหาที่หลากหลายหน่ะฮะ เผื่อใครสนใจลองมาเรียนด้านพวกนี้ดูก็เป็นการเปิดโลกทัศน์ดีนะฮะ
เห็นอ้างถึง Central Dogma แล้วบอกว่า อนุมาน กันแบบนี้จะว่าไป มันก็ไม่ถูกเลยครับ
การเรียนทาง Biology เป็นอะไรที่เป็น Systematic อย่างมาก แต่ด้วยข้อจำกัดในการเก็บข้อมูลก็ทำให้ได้ผลสรุปออกมาเป็นเช่นนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับทุกสาขาที่เป็นวิทยาศาสตร์ครับ ไม่ใช่เฉพาะ Biology
ในสมัยเมนเดล ยกตัวอย่างของถั่วลันเตา ด้วยเรื่อง ความสูงของต้น ความขรุขระของเมล็ด เมล็ดสีเขียวหรือเหลือง แล้วดูผลผลิตในรุ่นลูกออกมาเป็นอัตราส่วน เรื่องพวกนี้คงเคยถูกสอนใน Classical model ของ Genetic ใช่ไหมครับ ซึ่งถ้ามาดูกันในความเป็นจริง ความสูงของต้นถั่วไม่ได้มีแค่ เตี้ย กับ สูง เมล็ดไม่ได้มีแค่ เรียบกับขรุขระ สีก็ไม่ใช่ว่าจะเขียว หรือเหลืองเท่ากันทั้งหมด อันนี้ก็นำไปสู่กฏข้อใหม่ๆ ของ Genetic ในเวลาต่อมา
ทำนองเดียวกันกับฟิสิกส์ในสมัยนิวตัน ซึ่งอธิบายแรงได้แทบทุกอย่างที่ช้ากว่าความเร็วแสงมากๆ แต่ถ้าจะนำไปอธิบายวัตถุที่เคลื่อนที่ใกล้ความเร็วแสงก็ต้องไปใช้ ทฤษฏีสัมพัทธภาพของไอสไตน์แทน ของพวกนี้เป็นสิ่งที่ Common มากในทางวิทยาศาสตร์ทุกแขนง คือเมื่อมีทฤษฏีไหนเกิดขึ้น ก็มักจะเจอทางตัน อันจะนำไปพบทฤษฏีใหม่ๆ ด้วยข้อมูล หรือวิธีการที่ดีมากขึ้น ทันสมัยมากขึ้นครับ
เดิมเราเชื่อกันว่า ข้อมูลทางพันธุกรรมจะต้องส่งต่อผ่านทาง DNA ใน Nucleus เสมอ แต่เมื่อมีข้อมูลที่มากขึ้น เราก็ทราบว่า ในความเป็นจริงการแสดงออกของยีนส์นั้นมีการส่งผลมาจากสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก
เดิมนักชีววิทยาเคยคิดกันแค่ว่า ถ้าเราเอาเกลือเติมลงในน้ำ แบคทีเรียในน้ำจะเจอไอออนของเกลือมากขึ้น โปรตีนที่ทำหน้าที่ขับเกลือจะพยายามทำงานมากขึ้นเพื่อให้ระดับของเกลือในตัวมันคงที่ แต่ในสภาพความเป็นจริงมันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แบบนี้เลย มันต้องไล่ไปตั้งแต่ ไอออนของเกลือเข้าไปทำให้ Osmotic pressure ในนิวเคลียสเปลี่ยนไป ฮิสโตโปรตีนในนิวเคลียสมีการคลายตัวในลักษณะต่างๆ พอเส้น DNA ถูกแกะออกในระดับนึง RNA Polymerase ก็เข้ามาจับได้และสร้างสายโปรตีนตรงนั้นออกมา ซึ่งไอ้โปรตีนที่ว่าเนี่ย อาจจะทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการรักษาไอออนของเกลือในเซลล์ (ซึ่งควรเป็นแบบนั้น) หรือ ไม่ใช่ก็ได้ ... พวกกระบวนการแบบนี้แหละ เป็นที่มาของการต้องนำคอมพิวเตอร์มาใช้ เช่นนำมาใช้ในการจำลองการบิดเกลียวของโปรตีนในน้ำที่มีไอออนที่แตกต่างกัน ก็มีผลต่อการแสดงของเซลล์นั้นๆ ที่แตกต่างกัน ซึ่งทั้งหมดนั้นมันเกิดจาก ข้อมูลในทางชีววิทยามันเยอะเกินกว่าสมองมนุษย์จะประมวลได้อย่างมีประสิทธิภาพในชั่วชีวิตนึง ซึ่งนักชีววิทยารุ่นเดิมๆ ก็คงไม่ถนัดในการใช้คอมพิวเตอร์เท่านั้นแหละ
100Hertz เปิด 3D มันก็เหลือแค่ 50Hertz นะครับ ต้องเอามาหาร 2 ด้วย
ผมยังสงสัยอยู่ว่าแล้วพวกจอ CRT ที่ Refresh Rate 100 กับ 120 Hz นี่ทำไมมันดูออกง่ายหว่า หรือเพราะมันกระพริบ?
BATTERY !!!???
ไม่ว่าเทคโนยีอื่นจะแข่งกันให้ตายไปข้าง แต่ผมต้องการสิ่งนี้ที่สุดครับ
แสดงว่าชอบ Motorola RAZR MAXX ?
อาจจะอยากได้ iPhone MAXX มากกว่า
ผมอยากได้ครับ >_<"
อยากได้ iphone แบต 7 วันอะ อีกกี่ปีจะมีเนี่ย +_+
เหมือนผมเลยครับปัญหาใหญ่ของผมเลยเพราะผมใช้มันทั้งวัน อยากได้ที่อึดๆอย่างน้อยข้าม 1 วันก็ยังดี
ปัญหาคือจอความละเอียดเยอะแต่การ์ดขับไม่ไหวก็เปล่าประโยชน์
เอามาแปะกับหัวให้ห่างตาซัก 10cm แล้วทำที่ครอบให้มันมืด กลายเป็นจอแบบโรงหนัง FullHD ขนาดยักษ์ส่วนตัวไปเลย แต่ว่า สายตาจะพังซะก่อนสินะ
มันคงเป็นเรื่องของนวัตกรรมนะครับ อาจจะไม่มีผลในการใช้งานจริงกับตามนุษย์แต่มันเป็นการโชว์ศักยภาพขอผู้ผลิตรายนั้นๆมากกว่าว่า "เขาทำได้" ส่วนตัวไม่คิดมากกับเรื่องนี้เท่าไรถ้ามองในมุมมองผู้ใช้งานทั่วไปก็คิดว่า 300 ppi มันเพียงพอแล้วจริงๆ แต่ถ้าผมมองในมุมมองของคนที่ชื่นชอบเรื่องของเทคโนโลยี และนวัตกรรมแล้ว ผมก็จะรู้สึกไปอีกแบบหนึ่ง มองได้สองมุม...
นวัตกรรมและเทคโนโลยีมันไม่เคยหยุดครับ อย่างฮาร์ดดิสก์ครั้งหนึ่งผมก็เคยตั้งคำถามว่าจะเอา 1TB มาทำกระบุงอะไร แต่ตอนนี้มันกลับกลายเป็นความจำเป็นของผม (ที่ผมสร้างขึ้นมาเอง) ซะแล้ว
ส่วนใครจะหยุดตรงระดับไหนก็ตามสบายครับ แต่คนที่ตัวเองหยุดแล้วแต่เที่ยวไล่ให้คนอื่นหยุด หรือเห็นเทคโนโลยีที่สูงกว่าของตัวเองชอบว่าไร้ประโยชน์ คนแบบนี้ผมว่าเขาโดนคำสาปครับ อาจจะมาจากพ่อเทพบุตรในวิมานแก้วที่ไหนสักที่ -_-
กรณีนี้ผมว่าเหมือนเครื่องเสียงแข่งกันทำให้เสียงความถี่สูงกว่า 18,000 Hz ให้ดีขึ้น ซึ่งมีไม่กี่คนที่สัมผัสมันได้ (อย่างน้อยก็เด็กทารก)
จอก็เหมือนกัน ละเอียดขนาดนี้ อาจจะมีประโยชน์แค่คนสายตา 20/20 ที่เห็นความต่าง
แต่ความละเอียดสูงกว่ามันก็ไม่ใด้ให้ภาพแย่กว่าสำหรับคนที่ตาไม่ดี และก็ยังให้ภาพดีกว่าสำหรับคนที่ตาดี
ไม่รู้สิ ถึงจะแยกด้วยตาไม่ใด้ แต่ไม่อยากใด้ของที่ดีที่สุดเหรอ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ถ้ามันดีแล้วสามารถจัดการข้อเสียของจอละเอียดอย่าง
ก็ถือว่าดีครับ แต่ถ้ายัดจอละเอียดมา แล้วเรื่องอื่นๆ มันตกลง แบตหมดเร็ว เครื่องร้อน อันนี้ถือว่าได้ไม่คุ้มเสีย
ก็ต้องดู final product ครับ
เรื่องเกมส์ผมแน่ใจว่า ถ้าจอมา 1080p แต่เวลาเล่นตัวเกมส์ไช้ 540p หรือ 720p แล้ว up scale น่าจะออกมาดูดีไม่ต่างกัน โดยไช้เสปคเท่าๆ เดิม
แต่เวลาดูหนังหรือไช้งานภาพ 2d จะให้ภาพออกมาดีกว่า จอที่ใหญ่ขึ้นก็ให้ภาพเต็มตา รวมกับข่าวลือ Project Roadrunner ชึ่งต้องรอดูว่ามีจริงหรือไม่
แน่นอนของยังไม่ออก ให้คะแนนไม่ใด้ แต่ 4 Core 1.5 GHz ผมว่าแรงนะ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
+1 ครับ
นวัตกรรมที่ออกมาเรื่อยๆ แสดงให้เห็นว่าคนเรายังทำไปต่อได้
ถึงกระนั้นแล้ว (อย่างจอ) ถ้ามันเกิน 500+ PPI แล้วอีกเจ้าออกมาทำข่มว่าทำ 800+ PPI ได้แล้วนะ
มันดีในเชิงแข่งนวัตกรรมกัน แต่จะมีประโยชน์กับเราแค่ไหนถ้าตาเราไม่สามารถแยกแยะไปมากกว่านี้ได้แล้ว
แถมผู้ผลิตต้องมาดูปัจจัยอื่นอีกว่า GPU รองรับได้แค่ไหนและแบตเตอรี่จ่ายไฟให้ GPU ได้นานพอหรือไม่
ถึงจะมองไม่เห็นหรือสำผัสไม่ใด้ แต่เวลาไช้มันก็ให้ความรู้สึกดีกว่าไม่ไช่เหรอ
ไม่งั้นเวลาฟังเพลงไช้ mp3 / 256Kbps (CD Quality) ก็พอแล้ว
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
"ถึงจะมองไม่เห็นหรือสำผัสไม่ใด้ แต่เวลาไช้มันก็ให้ความรู้สึกดีกว่าไม่ไช่เหรอ"
ก็ถ้าหน้าจอละเอียดก็ต้องใช้พลังในการวาดสูงขึ้น และกินแบตเตอรี่สูงขึ้น
ประสิทธิภาพโดยรวมก็ตกฮวบลงไป ... ถ้าเป็นแบบนี้ไม่ได้ให้ความรู้สึกที่ดีครับ
ถ้าให้แลก ... ผมขอความละเอียดต่ำกว่านี้ครึ่งนึง ขอจอ 4 นิ้ว (เพราะมือเล็ก) ขอแบตเยอะๆ UI ลื่นๆ
คือตอนนี้ตลาดสมาร์ทโฟนโดยรวมก็มุ่งแต่ยัดความละเอียดหน้าจอกันอย่างเดียวแล้วสาวกก็เชียร์กันออกหน้าออกตาว่ามาถูกทาง ... มันก็เหมือนพวกเกรียนบอย ATI vs. Nvidia เปรียบเทียบกันทีละพิกเซลน่ะแหละครับ เม็ดนี้มีพลัง เม็ดนี้ดูสมจริงกว่า เม็ดนี้มีออร่า
ส่วนไอ้ที่ว่า ... "มันก็ให้ความรู้สึกดีกว่าไม่ไช่เหรอ" ผมว่าเลิกพูดไปเถอะครับ ฟังแล้วค่อนข้างหมั่นไส้ขึ้นมาอีกรอบ ... เหมือนกับว่าเหตุผลสู้ไม่ได้เลยต้องใช้ "ความรู้สึก" แทน
มองปกติไม่เห็นความแตกต่างของเม็ดพิกเซลจริง แต่ถ้าซูมก็ยังเห็นนิครับ
พอดีเป็นโรคจิตชอบซูม ซูมแล้วขัดใจทุกที ตั้งแต่คราวจอเรตินาก็ตั้งความหวังไว้มากซึ่งก็ยังไม่ได้เท่าที่อยาก
แต่ถ้าละเอียดขนาดนี้แล้วประสิทธิภาพอื่นๆต่ำลง ผมยอมไม่ซูมก็ได้
อ่อ...="= เข้าใจว่าคุณพูดถึงภาพนะครับ ถ้าซูมมากแล้วแตกอันนั้นขึ้นอยู่กับตัวกล้องที่ใช้ถ่ายภาพนั้นครับ ยิ่ง pixel มาก ยิ่งละเอียด คม ขนาดรูปมากขึ้น
แต่อันนี้หมายถึงหน้าจอ ถ้าจะซูมอย่างที่คุณว่านี่ต้องเอาตาไปใกล้ๆจอนะครับ อย่างในภาพตัวอย่างนี้คงต้องใกล้มากๆจนดูไม่ได้แล้วหละ เอา 300ppi มาซูมจนเห็นเม็ด pixel ขนาดนั้น
ซูมพวกเวป รูป อ่าน E-Book ธรรมดานี่แหละครับ(จริงๆก็ทุกอย่างที่ซูมได้อ่ะนะ) มันยังไม่คมเท่าที่อยากได้
แต่ไม่ได้หมายความว่าอยากได้ขนาดนี้นะครับ อันนี้ก็อาจเกินความสามารถสายตาผมก็ได้ ต้องลองดูของจริงอีกที
ซูมดูรูปยังไงก็แตกครับ มันขึ้นกับความละเอียดรูปว่าซูมได้มากแค่ไหน เพราะรูปมันเป็นข้อมูลแบบ "พิกเซล" ครับ แต่ตัวหนังสือหรือรูปแบบเวกเตอร์ไม่ใช่ อันนี้ซูมยังไงก็ไม่แตกเพราะเก็บข้อมูลเป็น "เวกเตอร์" มันเรนเดอร์ใหม่ทุกครั้งที่ซูมนั่นแหละ
ผมคิดว่าคุณกำลังเข้าใจอะไรบางอย่างผิดครับ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
อ่า ใช่ครับ เข้าใจผิดจริงๆด้วย
เรื่องรูปบนมือถือมันเป็นปัญหาจากจอ pentile(ความละเอียดรูปสูงกว่าจอหลายเท่า ปกติซูมแล้วมันไม่น่าเห็นผล) ส่วนกรณีจอ retina ก็เป็นปัญหาที่ตัว pdf เองไม่ใช่ความละเอียดจอ
ขอบคุณที่เสียเวลามาแก้ความเข้าใจผิดให้ครับ _/_
ยินดีครับ ผมว่ามันเป็นข้อดีของสังคมที่นี่ครับ ^^
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
@PaPaSek
เรื่องความรู้สึกหรือความไม่รู้สึกนี่ผมขอข้าม เพราะหามาตรฐานไม่ได้จริงๆ
นวัตกรรมสุดล้ำใหม่ๆ มักจะต้องแลกกับอะไรบางอย่างอยู่เสมอครับ ซึ่งอย่างในข่าวก็ต้องพุ่งเป้าไปที่แบตเตอรี่ก่อน ซึ่งผมคิดว่าหากมีนวัตกรรมใหม่ๆ มาหนึ่งอย่าง ก็จะมีนวัตกรรมในด้านอื่นๆ มาสอดรับกับมันในเร็ววัน (เพราะเมื่อมันดี มันก็จะมีข้อด้อย คนก็พยายามจะแก้ข้อด้อยต่อ) ซึ่งมองมุมไหนก็เป็นประโยชน์แต่ผู้ใช้ไปเรื่อยๆ ครับ
เพราะคุณมองมุมเดียวไงฮะ ถ้ากลับไปย้อนอ่านข่าวสมาร์ทโฟนย้อนหลังใหม่จะเห็นมีความพยายามเอานวัตกรรมอื่นๆ ใส่เข้าไปอีกมาก อย่างกล้องเทพ (Nokia) แบตเตอรี่เทพ (Motolora) หูฟัง/ลำโพงเทพ (HTC) นี่ยังไม่รวมนวัตกรรมอื่นๆ อีกมากมากครับ
ส่วนความรู้สึก คุณอาจหมั่นไส้ก็ไม่แปลก แต่เพราะมนุษย์ไม่มีอุปกรณ์ชั่งตวงวัดอะไรภายในตัว จึงใช้ความรู้สึกเป็นเกณฑ์ก่อนเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ถ้าหากจะหามาตรฐานมาเทียบว่าอันไหนดีแย่กว่ากัน เราถึงคิดอุปกรณ์ชั่งตวงวัดมากมายมาเพื่อเป็นเกณฑ์ครับ
อันนี้เห็นด้วยเลยครับ
ที่ผมหมั่นไส้ก็เพราะว่าถ้าเป็นแอนดรอยด์ ... เค้าจะชมอย่างออกนอกหน้า ใส่อะไรมาก็ว่าดี หาวิธีวัดทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ก็ใช้ความรู้สึกว่ามันดีกว่า ถ้าใช้เหตุผลน่ะผมรับได้อยู่แล้วครับ =_=
ส่วนเรื่องว่าความละเอียดของหน้าจอเยอะๆ ดีกว่า ... สำหรับผม ... ผมว่าที่ 960 x 640 ของ Atrix 4G มันก็โอเคมากๆ แล้ว ... แต่ต้องไม่เป็น Pentile นะ!!!
อ้อ ... ลำโพงเทพผมเฉยๆ ... แต่ลำโพงกากนี่ไม่เอาครับ ขอลำโพงธรรมดาๆ ก็พอแล้ว (Atrix ตัวที่ผมใช้ลำโพงแตก T_T ตอนซื้อดันทดสอบกับเสียงเบาๆ)
+1 สังเกตุมาสักพักแล้ว ถ้าแพลตฟอร์มอื่นนี่แย่ไปหมด ยังสงสัยว่าถ้าเป็นโนเกียอัด dpi ให้ lumia เค้าจะยังว่าดีอยู๋หรือเปล่า
ปล.เรื่องจอนี่ผมยังชอบจอ X2 อยู่เลย WVGA กับจอ 3.2 นิ้ว นี่กำลังชอบเลย (แต่จริงๆอยากได้ซัก 3.5 3.7)
+1 ครับ ต้องรอดูว่ามันมีแล้วดีจริงหรือเปล่าสำหรับผมโทรศัพท์ที่ดีคือโทรศัพท์ที่ภาพรวมทำงานได้ลื่นไหลตามความต้องการ ใช้งานได้ไม่ติดขัด
คงเหมือนกับ Felix กระโดดจากความสูง 39 กิโลเมตร แหละครับ ไม่รู้จะทำไปทำไม แต่รู้แค่ว่า เขาทำได้
(เกี่ยวมั้ยหว่า 555+)
Educational Technician
เยอะไปจริงๆ
คงไม่ได้หวังที่ยอดขายสินะ
มันเหมือน Apple ขยับไปสร้างมาตรฐานที่โอเคแล้ว ผู้ผลิตอื่นๆ ใช้เวลา 2 ปีในการแซง ซึ่งการแซงมันก็ต้องเป็นสิ่งที่ดีกว่า อย่างน้อยก็ในเชิงตัวเลข จะเห็นชัดแค่ไหนก็อีกเรื่องหนึ่ง
Android ก็เหมือน PC ที่แข่งกันเอาชนะด้วยตัวเลข เพราะคู่แข่งเยอะ ก็ต้องเอาตัวเลขมาทับๆๆ กัน แต่ความสุดโต่งของจอ มันส่งผลสะเทือนไปหลายอย่าง ทั้งความเร็วของ CPU/GPU และอายุการใช้งานของแบต
สรุปจอมันกินแรงเยอะมาก แอปเปิ้ลต้องใช้เครื่องรุ่นที่ 2 เพื่อเอาจอละเอียดขนาดนี้ และให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานที่โอเค ก็รอดูว่า Android จะสามารถจัดการเรื่องนี้ได้รึเปล่า หรือจะเป็นแค่ตัวเลขเอาไว้ข่มเท่านั้น
จอละเอียดอ่าดิแต่ มันจะมีปัญหาอื่นๆๆตามมาหรือเปล่าครับ เช่นเรื่องการสูบแบต
iPad3 เนี่ยนะครับที่แบตเตอรี่เอาจอ Retina ไม่อยู่? ผมใช้ทั้งวันเล่นทั้งวันแบตมันยังไม่เกือบจะหมดเลยครับ 3G Wifi ไม่เคยปิด จอสว่างตลอดยังไงก็เกือน 24 ชั่วโมงได้สบายๆ
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
หมายถึง cpu+gpu มันเอาไม่อยู่ครับ หลายอย่างกระตุก หลายอย่างนักพัฒนาต้องหลีกเลี่ยงไม่ทำ เพราะวาดไม่ทัน
สงสารแต่คนเขียนแอพมากกว่า
ละเอียดมากๆ ก็เช็ค dead pixel ลำบากนะนี่
เผลอๆ จะมองไม่เห็น dead pixel เลยนะนี่
เป็นข้อดีหรือเปล่า โอกาสเกิด dead pixel คงที่ แต่จุดเล็กลง ถึงแม้ปริมาณจุดจะมากขึ้น แต่ dead pixel จะกระจายกันอยู่ มองเห็นยาก
ผมอยากได้ Smartphone ที่แบตอึดเท่า Feature Phone มากกว่าครับ
ชัดจริง บาดตา
Koalaz +1 สำหรับ Kindle
ไอ้พวกนี้อาจมีประโยชน์กับคนที่ใช้อักษรจีนก็ได้ เส้นเล็กๆ ก็เห็นหมด
สำหรับผมไม่ได้สนใจ pixelขนาดนั้น ความละเอียดธรรมดามือถือandroidทั่วไป ก็OKแล้ว
ตอนใช้จริงผมfocus กับ content มากกว่าสนใจ
pixelมีละเอียดก็ดี ไม่มีก็ไม่สน แปะฟิล์มด้านก็หายหมดอยู่ดี
อนาคตอาจจะเอาหน้าจออย่างนี้ไปใช้กับอุปกรณ์อย่างอื่นอีกก็ได้ เพียงแต่ตอนนี้มันแพงมากจนต้องใช้กับมือถือไปก่อนเพราะว่าพื้นที่แสดงผลมันเล็ก
โอ้ย พันธุกรรมเปลี่ยนกันได้ ถ้าทุกอย่างในโลกมัน HD เดี่ยวลูกๆเราก็เกิดมาก็ตาเทพกันครับตามการพัฒนาพันธุกรรม อุอุ
+1 ครับน่าคิดนะครับ ความต้องการของคนเราไม่มีที่สิ้นสุดหรอกครับ บางทีพอร่างกายรู้สึกว่าถึง limit ของตัวมันเอง มันอาจจะพัฒนาตัวเอง (กลายพันธุ์,mutation) ทำให้ความสามารถด้านประสาธสัมผัสดีขึ้นก็ได้นะครับ แต่ก็คนเป็นคนยุคหน้าๆ นั้นแหละ ขำๆ นะครับ
เปลี่ยนตั้งแต่ยุคนี้แล้วครับ แค่ยังไม่มากพอขนาดที่จะเอาไปตีพิมพ์ publication ได้
เพราะกฎในโบราณเค้าจำกัดไว้ว่าจะเรียกว่ากลายพันธุ์ได้ต้องมีประสิทธิภาพดีกว่าเท่านี้เท่านั้น %
แต่ปัจจุบันรุ่นเรายังพัฒนาไปได้ไม่ถึงก็เท่านั้นแหละฮะ
ปล. มีหลาย review article ที่ยืนยันเรื่องนี้แล้วฮะ แต่ทุกอันพูดว่ามันยังไม่สูงพอที่จะเรียกว่าการกลายพันธุ์ในเชิง biology
ถ้ายังไม่สูงพอ เราจะสามารถเรียกว่าเป็นการปรับตัวแทนการกลายพันธุ์ได้รึเปล่าครับ
ผมว่าใช้คำว่า ปรับตัว ก็ดูจะธรรมดาเกินไปนะ เพราะปกติ มนุษย์ก็ปรับตัวแทบจะทุกการกระทำอยู่แล้ววันนี้เดินเหยียบขี้หมาบนทางเท้า วันต่อมาก็เดินบนถนนข้างทางเท้าแทน เพราะไม่มีขี้หมา ใครเป็นบ้าง???
ที่ว่าเปลี่ยนมีอะไรบ้างครับ กฏโบราณที่ว่ากลายพันธุ์ แล้วต้องดีกว่าของเดิมใครเป้นคนนิยามไว้คับ
ต้องอ้างอิงก่อนว่าเวลาเราถอดรหัส DNA เนี่ยจากความรู้ที่เรามีตอนนี้คือ DNA จะถูกถอดรหัสทุกๆสามตัว แต่ละตัวมีได้ ค่าคือ ATCG ทำให้มีวิธีการเก็บรหัสทั้งหมด 64 แบบ แต่กรดอะมิโนที่เราพบมีเพียง 20 ชนิด และมีรหัสสำหรับการหยุด และการเริ่มการถอดรหัสอีก ทำให้โดยรวมแล้วเรามีผลลัพธ์ที่ได้จากการถอดรหัสอยู่ที่ 22 แบบ งั้นการ mutation ย่อมทำให้เกิดผลลัพธ์ได้สามแบบคือ
Silient คือ mutation แล้วไม่มีอะไรเปลี่ยนไป เพราะถอดรหัสออกมาแล้วยังได้กรดอะมิโนตัวเดิมซึ่งต่อออกมาเป็นสายโปรตีนเดิมๆ functionฬนการทำงานเลยไม่ได้ผิดแปลกออกไป
Missense คือ Mutation แล้วกรดอะมิโนเปลี่ยนไปทำให้สายโปรตีนที่สร้างขึ้นมาทำ function ไม่ได้ หรือ function ผิดไป ซึ่งก็ทำให้เกิดความผิดปกติต่างๆเช่น ความสามารถในการจับออกซิเจนของฮีโมโกลบินบางคนน้อยผิดปกติ หรือเกิดมาพร้อมอาการผิดปกติประหลาดที่ function ของร่างกายทำงานผิดแปลกไปเนื่องจาก DNA เปลี่ยนไป(ซึ่งทุกวันนี้ก็พบโรคเหล่านี้ได้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ เพราะหลายๆโรคเมื่อก่อนไม่เคยมีการ define ว่าเกิดจากการ Mutation ของ DNA แต่พอมีเครื่อง DNA sequencer ออกมาทำให้การ analyze ทำได้ง่ายขึ้นและทำให้มีหลายๆโรคถูกนำกลับไปทบทวนและ define ว่าเกิดจากการ Mutation)
Nonsense คือ mutate แล้วกลายเป็นรหัสที่บอกให้หยุดการถอดรหัสของ DNA ทำให้เกิดปัญหาต่างๆมากมายตั้งแต่ Hormone ชนิดนึงไม่ได้มีการผลิตเลยแต่กำเนิด หรืออาจจะร้ายแรงกว่านั้น
ซึ่งถ้าพิจารณาแล้วจะพบได้ว่า งั้นผมกับคุณทุกคนย่อมมีความผิดปกติที่แตกต่างกันออกไปในสาย DNA ของแต่ละคน รวมถึงคนทุกวันนี้เทียบกับคนในอดีตก็เช่นเดียวกัน งั้นถ้าอยู่ๆผมบอกว่าแค่ DNA เปลี่ยนแปลงไปถือว่าเป็นการกลายพันธุ์ ทุกคนก็จะออกมาบอกว่าคนพบมนุษย์ที่กลายพันธุ์แล้วมากมายแล้วก็จะมีการ definitions ต่างๆเกิดขึ้นแบบฟุ้งเฟ้อ(อันนี้แค่ในคนนะ ไหนจะสัตว์ ไหนจะพืชอีก) ทำให้เค้าเลยมีหลักว่าการจะ define ว่ากลายพันธุ์แล้วจัต้องมีการเสนอเข้าไปแล้วก็มีการ debate ว่าจะให้ยอมรับว่านับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตกลายพันธุ์แล้วหรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาที่เป็น subjective แบบนี้มันทำให้การ define ต่างๆมันฟุ้งเฟ้อหน่ะฮะ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้าอยากรู้ว่ากระบวนการในการเสนอว่าสิ่งมีชีวิตกลายพันธุ์ต้องเสนอยังไง ต้องมีหลักฐานการกลายพันธุ์เท่าไหร่ คนต้องให้ถามจากคนที่เรียนด้าน genetic science หรือ genetic engineering เอาเองแล้วหล่ครับเพระาผมเองสนใจศึกษาเรื่องสัญญาณสมองเลยไม่ได้เข้าไปข้องเกี่ยวกับกระบวนการภายในของคนด้านนั้นครับ
ขออภัยด้วยที่ไม่สามารถตอบทุกอย่างที่ถามมาได้หมดครับ
อ้อ เข้าใจละ เดิมอ่านคำตอบผ่านๆ ที่พูดมาเดิมนั้น เกือบถูกนะครับ
"เปลี่ยนตั้งแต่ยุคนี้แล้วครับ แค่ยังไม่มากพอขนาดที่จะเอาไปตีพิมพ์ publication ได้ เพราะกฎในโบราณเค้าจำกัดไว้ว่าจะเรียกว่ากลายพันธุ์ได้ต้องมีประสิทธิภาพดีกว่าเท่านี้เท่านั้น % "
จริงๆ มันไม่ใช่ "ประสิทธิภาพดีกว่า" จริงๆ ต้องว่า "แตกต่างกันมากกว่า" น่าจะเป็นคำที่เหมาะสมกว่า
ผมถามหน่อยเถอะ จอแค่นี้ 720p HD ก็เหลือแหหล่แล้ว จะยัด 1080p มาเพื่อ ? เพราะดูยังไง สายตาคนเราก็ไม่เห็นความแตกต่างหรอก
เรามองไม่เห็นความแตกต่าง ก็ไม่ได้หมายความว่าคนอื่นจะมองไม่เห็นความแตกต่างเหมือนเรานะครับ
+1080
ลองเปิดคลิป 720p กับ 1080p ในยูทูบดูผมว่ามันก็ต่างกันนะ (เช่นงานอนิเมชันของ Rovio) โดยเฉพาะถ้ายังไม่เปิด Full Screen
จะชัดไปไหน
Coder | Designer | Thinker | Blogger
สงสัยออกปีหน้าเพราะถึงออกมาตอนนี้คนก็ไม่ซื้อเพราะเขาจะเลิกกินไม่กี่วันนี้แล้ว
เกือบไม่เก็ตมุข อิอิ
ผมว่ายิ่งต้องรีบออกนะ ช่วงนี้กระแสแรง มีหมูเจ ไก่เจ ปลาเจแล้ว ทำไมมือถือจะเจมั่งไม่ได้
ผมไม่ค่อยเกี่ยงความละเอียดนัก เอาแค่มันออกมาแล้วไม่แตกแบบมือถือสมัยก่อน แล้วไม่กินพลังเครื่องเกินไป ก็พอแล้วล่ะ
สมัย retina ออกใหม่ๆ ผมก็ว่ามันเกินไป ละเอียดกว่าโน๊ตบุก
ตอนนี้ถือ 4S Gnexus รู้สึกว่าภาพเนียน ถึงจะมองไม่เห็นพิกเซลมัน แต่เวลาจับรุ่นที่จอละเอียดน้อยกว่า ก็พอรู้สึกได้ว่ามันเนียนน้อยกว่า อย่าง Note2 นี่เพิ่งถอยมา รู้สึกต่างกับ Gnexus เหมือนกัน ถึงจะมองไม่เห็นพิกเซลชัดๆก็เถอะ
ดังนั้น ถ้าจอละเอียดไปอีก ก็แล้วแต่ผู้ผลิตจะใส่มา เผื่อว่ามันจะทำให้เรารู้สึกดีขึ้น แม้จะมองไม่เห็นพิกเซลมัน
เยอะไปจริงๆครับ
เอ่อหมายถึงคอมเมนท์นะครับ =_=
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ