หลายคนคงได้ยินชื่อเสียงของกระบวนการสัมภาษณ์งานกูเกิลที่มีคำถามสุดหินและประลองปัญญา ซึ่งก็ถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของกูเกิลที่ช่วยดึงดูดให้คนเก่งๆ อยากเข้ามาสัมภาษณ์งาน
แต่ Laszlo Bock รองประธานอาวุโสฝ่ายทรัพยากรบุคคลของกูเกิล ให้สัมภาษณ์ว่าจากสถิติของกูเกิลเอง (ที่บ้า big data เป็นทุนอยู่แล้ว) กลับพบว่าคำถามประลองปัญญาเหล่านี้ไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพของพนักงานที่รับเข้ามาแม้แต่น้อย (Bock ใช้คำว่า "เสียเวลาอย่างสิ้นเชิง" a complete waste of time) ประโยชน์ของมันมีแค่ให้ฝ่ายที่เป็นคนสัมภาษณ์รู้สึกฉลาดเท่านั้น
สิ่งที่ Bock บอกว่าสำคัญกับการสัมภาษณ์คือการสัมภาษณ์เชิงสังเกตพฤติกรรม (behavioral interview) โดยที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลของกูเกิลต้องเตรียมคำถามไว้ก่อน (structured) เพื่อให้ถามคำถามชุดเดียวกันกับผู้เข้าสัมภาษณ์ทุกคนและสามารถนำมาเปรียบเทียบได้ ตัวอย่างของคำถามลักษณะนี้คือ "จงยกตัวอย่างช่วงเวลาที่คุณแก้ปัญหายากๆ ได้" ซึ่งผู้ถามจะสังเกตว่าผู้ตอบมีท่าทีต่อปัญหาในสถานการณ์จริงอย่างไร และสังเกตผู้ตอบว่าปัญหาแบบไหนที่ผู้ตอบมองว่า "ยาก"
ข้อมูลอื่นๆ ที่ Bock เล่าในบทสัมภาษณ์ได้แก่
- ไม่พบความสัมพันธ์ว่าผู้สัมภาษณ์งานคนไหนสามารถหาพนักงานเก่งๆ เข้าบริษัทได้เป็นพิเศษ ความสามารถของพนักงานที่รับเข้ามาไม่เกี่ยวข้องกับผู้สัมภาษณ์แม้แต่น้อย
- ขนาดของทีมเฉลี่ยในกูเกิลอยู่ที่ 6 คนต่อทีม
- ผู้นำที่ดีจะต้องสม่ำเสมอ (consistent) ยุติธรรม (fair) เพื่อให้ลูกทีมสามารถเดาวิธีคิดของผู้นำได้ เมื่อลูกทีมรู้สึกว่าผู้นำปฏิบัติตัวสม่ำเสมอ ก็จะรู้สึกว่าตัวเองมีอิสระในการทำงานเป็นอย่างมาก (เพราะเดาได้ว่าอะไรที่ผู้นำทีมอนุญาตให้ทำและไม่ให้ทำ)
- กูเกิลเปิดให้พนักงานทุกคนให้คะแนนหัวหน้างานของตัวเองเป็นลำดับชั้นขึ้นไปเรื่อยๆ โดยแบ่งมิติที่ให้คะแนนเป็น 12-18 ด้าน แล้วแชร์กลับไปยังหัวหน้างานคนนั้นๆ ให้รับทราบ ระบบนี้ทำให้หัวหน้างานที่แย่อยู่ในบริษัทได้ยาก และคุณภาพของการบริหารคนของกูเกิลดีขึ้นมากในรอบ 3 ปีหลัง
- เกรด (GPA) ในสมัยเรียนและคะแนนทดสอบ (test score) ของพนักงานไม่มีประโยชน์ใดๆ ในการพิจารณาการจ้างงาน ซึ่งตอนนี้กูเกิลเลิกขอ transcript และคะแนนทดสอบจากผู้สมัครงานไปแล้ว เว้นแต่ว่าจะเพิ่งจบการศึกษาเท่านั้น
- เหตุผลที่เกรดกับคะแนนทดสอบไม่มีผลกับการทำงาน เป็นเพราะทักษะที่จำเป็นในตอนเรียนนั้นต่างไปจากทักษะในการทำงานที่กูเกิลอย่างสิ้นเชิง เมื่อเรียนจบเข้ามาทำงานกับกูเกิล 2-3 ปี พนักงานจะมีทักษะที่แตกต่างจนกลายเป็นอีกคนไปเลย
- Bock ยังบอกว่าสภาพแวดล้อมในสถานศึกษานั้นเป็น "สภาพแวดล้อมจำลอง" คำถามที่อาจารย์ถามเราต้องการคำตอบแบบเจาะจงชัดเจน ในขณะที่ปัญหาในโลกจริงส่วนใหญ่ไม่มีคำตอบที่ชัดเจน ทักษะในการใช้ชีวิตในสถาบันการศึกษาจึงต่างกับโลกการทำงานจริง
- สัดส่วนพนักงานกูเกิลที่ไม่ได้จบชั้นอุดมศึกษามากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลัง ตอนนี้มีบางทีมในกูเกิลที่มีพนักงานไม่จบการศึกษาถึง 14%
ที่มา - The New York Times
Comments
สองข้อนี้ยิ่งทำให้รู้สึกว่ากูเกิล "เจ๋ง" ครับ
2 ข้อนี้ บริษัทอื่นก็ใช้แนวทางแบบนี้นะ
มีที่ไหนไหนบ้างครับ ในเมืองไทย?
[Ads] Page365 ฮะ ;)
เราเคยทำงานรับจ้างพิมพ์งานให้กับบ.หนึ่ง มีแบบประเมินต่อบุคคล 8 คน (มีตัวเอง เพื่อนร่วมงาน เจ้านาย ลูกน้อง) เกณฑ์การให้คะแนนคือ ถ้าเราให้คะแนนตัวเองน้อย คนอื่นก็ให้เราเยอะ เราจะได้คุณน้ำหนักสูงมาก แต่ถ้าเราให้คะแนนตัวเองเยอะ แต่คนอื่นให้คะแนนเราต่ำ คะแนนเราจะตก ทุกคนในบ.ต้องประเมินกันหมด มีหลายบ.ค่ะที่ใช้แบบนี้ แต่ที่เราเห็นกับตาคือ ธ.แห่งหนึ่ง กับ อาชีพที่เป็นราชการ มียศ
องค์การมหาชน ใช้ครับ
ไม่ทุกที่ครับ
องค์การมหาชนนี่คือประมาณไหนครับ เรื่องประเมิน 360 องศา หรือมีลูกน้องประเมินหัวหน้านี่มีน้อยนะครับที่ใช้ เคยมีเพื่อนที่มีโอกาสไปสัมภาษณ์ HR ของ SCG เค้าก็บอกว่าเคยทดลองใช้กับบางกลุ่มบริษัท แต่มันค่อนข้าง sensitive คนไม่กล้าประเมินจริงเพราะกลัวผลประทบ เพราะยังไงหัวหน้าก็ต้องประเมินลูกน้อง และน้ำหนักเยอะกว่า อาจารย์ที่สอนเรื่อง HR ก็เคยพูดไว้ว่าลูกน้องอาจจะประเมินให้คะแนนดี เพราะหัวหน้าใจดี ไม่ใช่เพราะทำงานดีก็เป็นได้ ดังนั้นการจะใช้ได้จริงมันค่อนข้างยาก จึงมีบริษัทจำนวนไม่มากที่ทำครับ ต้องดูวัฒนธรรมองค์กรด้วย แต่แบบบริษัทในไทยส่วนใหญ่น่าจะลำบาก seniority สูง
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
+1 ของดีดๆ ต้องดูด้วยว่าเอามาใช้กับประเทศไหน วัฒณธรรมมันต่างกัน
คนไทยยังไม่พร้อมที่จะให้ประเมินนาย ?
ต้องให้นายประเมินลงมาเท่านั้น ?
คลาสสิคอีกแล้วครับ ... แล้วเมื่อไรจะพร้อม ?
...
@Zatang ไม่ได้ให้ความเห็นครับ แต่มันเป็นคำถามต่อจาก @PH41 ที่ว่า "องค์การมหาชน ใช้ครับ" แล้ว @Zatang ก็บอกว่า "องค์การมหาชนนี่คือประมาณไหนครับ" แล้วเค้าก็เล่าประสบการณ์
ตกลงถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีใครมาตอบว่า "องค์การมหาชน" ที่ว่านี่ที่ไหน
น่าเอามาใช้กับบริษัทผมจริงๆ กำโทษๆน้องพิมพ์
อันนี้ผมไม่รู้นะครับ เพราะว่าดันเจอแต่วัฒนธรรมแบบที่ไม่ค่อยอยากเจอ
ส่วนอีกข้อที่บอกว่าหัวหน้าต้องคงเส้นคงวานี่ผมโคตรชอบอ่ะ มันเอามาใช้ในชีวิตภายนอกบริษัทได้นะ
ผมทำงานมาที่นึง เจอคำถามแบบ behavioral ยากๆแบบนี้เหมือนกัน รุ้สึกว่าได้ทดสอบผู้เข้าสมัครจริงๆครับ ซึ่งเขาใช้วิธีนี้มานานแล้วด้วยนะ สงสัยว่ากูเกิ้ลเพิ่งมารู้หรือ หรือว่ารู้นานแล้วเพิ่งมาเปิดเผย
ผู้สัมภาษณ์ == ผู้ถามคำถาม คือ พนักงานที่รับคนเข้าทำงาน?
iPAtS
ต้นฉบับใช้คำว่า interviewer ครับ
Consistent แปลว สม่ำเสมอ มันแปลกๆ ครับแปลว่า คงเส้นคงวา ดีกว่ามั้ยครับ
ผมอ่านข่าวนี้แล้ว รู้สึกเหมือนเขาจะง่อกที่หัวผมนะ
เป็นบทพิสูจน์ที่ดีของการรับคนเข้าทำงานครับ
เคยสัมภาษณ์แล้วเจอคำถามระดับยากมาก รู้สึกว่าคนสัมภาษณ์ดูจะแบบสะใจนิด ๆ ที่ตอบคำถามเขาไม่ได้ - -
หลังจากนั้นหลายปีไปสัมภาษณ์บริษัทเดิม สัมภาษณ์เข้าทีมเดิม คนสัมภาษณ์สองคนนั่นเป็นระดับผู้จัดการไปแล้ว ก็เจอกันอีกรอบนึง คิดในใจ "ขอไม่ไปทำกับไอ้สองคนนี้ได้มั้ยฟะ"
บ.อยู่แถว ๆ รถไฟใต้ดินสีลมมั้ง ลืมละ
ปล. สุดท้ายก็ไม่ได้ไป ก็นั่งทำงานอยู่ที่เดิม ตำแหน่งเิดิม ก็โอเคนะ
แต่คำถามยาก ๆ ของ Google เนี่ย มันยากระดับแบบ ... ระดับเสียสติอ่ะครับ
อีกหน่อยคงมี Google University
"กูเกิลบอกคำถามสัมภาษณ์งานยากๆ ไม่มีผลต่อการทำงาน แต่ช่วยให้คนสัมภาษณ์รู้สึกฉลาด" ทำให้คนถามฉลาดขึ้น ผมเข้าใจถูกป่าว
ผมเข้าใจว่าหมายถึงคนถูกถามนะครับ โดยเฉพาะถ้าพูดถึง behavioral interview แล้ว น่าจะเป็นจุดสังเกตว่าผู้ถูกถามจัดการกับคำถาม/คำตอบยังไง
ถ้าว่ากันตามหลักแล้ว
เหมือนคนใช้ กับคนถูกใช้?
ใช่ครับ เวลาผมไปสัมภาษณ์งาน ก็คือผมไปคุยกับ Candidate แต่เวลาผมไปถูกสัมภาษณ์งาน ก็คือ ผมเป็น Candidate
อะไรทำนองนี้แหละ
ปล. นอกเรื่อง เคยทำมาแล้วทั้งสองอย่างก็เลยพอจะเข้าใจหัวอกคนที่สัมภาษณ์และถูกสัมภาษณ์ ผมก็เลยจะไม่ให้ใครไม่ผ่านชั้นของผมถ้ามันไม่แย่แบบสุดจริง ๆ (ที่เคยให้ไม่ผ่านก็คือทำข้อสอบเทสต์ Technical ไม่ได้) แล้วให้เขาไปคุยกับคนที่อยู่เหนือผมขึ้นไปอีกต่อนึงอีกที
รู้สึกเสียดายที่ไม่ได้เข้าทำงานที่ Google
ไม่ค่อยเห็นด้วยกับเรื่องที่บอกว่า
ถึงแม้มันอาจจะไม่ใช่ทั้งหมดที่ส่งผลให้เป็นอย่างนั้น แต่ก็ไม่น่าจะถึงขนาด "ไม่เกี่ยวข้องแม้แต่น้อย" ถ้าคนที่มาสัมภาษณ์เก่ง แต่คนสัมภาษณ์หาวิธี "ดูให้รู้ว่าเก่ง" ไม่ได้ก็อาจจะไม่ได้รับคนนั้น ๆ เข้ามานิ
แปลว่าคนเก่ง ไม่จำเป็นต้องมองคนเก่งไงครับ
onedd.net
ถ้าแบบนั้นก็ขัดแย้งกับสิ่งที่เค้าพูดแล้วล่ะครับ เพราะเค้าบอกว่า ไม่เกี่ยวข้องแม้แต่น้อย "ว่าเป็นใคร" ถ้าเป็นแบบที่คุณว่าก็แสดงว่ามีบางคน "ที่มองคนเก่งกว่า" คนเก่งสิ?
และที่ผมบอกก็คือ "คนที่มองคนเก่ง มองคนได้เก่งกว่า คนที่มองคนไม่เก่ง" น่ะ (ไม่ได้พูดถึงคนเก่ง)
นะ นี่มัน! คนเก่งception
ปล.รู้สึกคุ้นๆพิกล
งั้นก็ +1 ครับ
แต่คิดว่าถ้าดูจากสถิติแล้วคงไม่มีผลเยอะขนาดนั้นน่ะครับ เพราะผู้สมัครที่เก่งยังไงก็เก่งอยู่แล้วล่ะมั้ง
onedd.net
หลักฐานทางสถิติ ที่ Google มีมันบอกอย่างนั้น ทาง Google จึงต้องเชื่ออย่างนั้นนะครับ
+1
เคยเจอ คำถามยาก แบบที่ว่ามองหน้าคนสัมภาษณื รู้เลยแมร้งดุถูก เราชัดๆ แถวมีแอบหัวเราะด้วย ไม่ชอบเลย
เสน่ห์
Jusci - Google Plus - Twitter
ผมเชื่อว่าคำถามที่ยากเกินระดับหนึ่งไปแล้ว มันไม่มีผลอะไรแล้วนะ มันก็เหมือนกันข้อสอบเขียนโปรแกรมที่วัด Big-O กันมากๆ และต้องทำในเวลาจำกัด แต่ในความเป็นจริง คนทำงานทั่วไปก็ไม่ได้สนใจประสิทธิภาพกันขนาดนั้น จนกระทั่งเริ่มมีปัญหาก็เริ่มมาไล่จูน และก็มีเวลาลองผิดลองถูกมากกว่าตอนทำโจทย์แข่งเยอะมาก
เรื่องนี้ผมจำได้ว่ามีคนเคยผ่านการสัมภาษณ์งานกูเกิลก็บ่นไว้ ว่าโดนคำถามฟีเจอร์ลึกๆ ของ C++ จนกระทั่งไม่รู้ว่าคนถามจะเอาอะไร
ตอนทำงานจริง ความสามารถที่สำคัญคงเป็นการ "อ่านต่อเอง" ได้ เรื่องไหนไม่รู้ก็ไปขอเวลาอ่านกลับมานั่งแก้ การวัดความสามารถในเวลาจำกัดมากๆ อย่างตอนสัมภาษณ์ ถ้าไม่ถามอะไรกว้างๆ ก็ถามคำถามเทคนิคแบบในแบบทั่วไปเพื่อทดสอบว่าคุณได้ทำจริงตามที่อ้างมาใน resume มั๊ยน่าจะโอเคกว่า
lewcpe.com , @wasonliw
ผมเคยเจอตอนสัมภาษณ์บ.ใหญ่แห่งหนึ่งแถวรถไฟฟ้าสีลม คำถามคือ ใน C++ เวลาจะเขียน subclass จะมีการระบุความสัมพันธ์ ที่เขาถามคือ subclass ที่มีความสัมพันธ์แบบ protected เนี่ยมันต่างกับความสัมพันธ์แบบ public กับ private ยังไง
คือเกิดมาไม่เคยเขียนคลาสแบบนี้เลย (ความสัมพันธ์ลักษณะนี้ผมว่ามันไม่เข้าหลัก OO น่ะ) แต่ก็ไปค้นหาดูอยู่เหมือนกัน เท่าที่ดูผมนึกไม่ออกว่าจะเอาไปใช้อะไร (ก็ยอมรับนะว่าผมเป็นสาย Java ที่มีแค่ public inheritance ก็เลยนึกไม่ออก) ก็อาจจะเกี่ยวกับ COM ที่ทีมนั้นเขาใช้ก็ได้มั้ง ???
เอ๋!! java ก็มี protected ไม่ใช่เหรอครับ อย่าบอกว่าไม่รู้จักนะ โดนหยิกจริงๆ ด้วย
Java ทำแบบนี้ไม่ได้นะ
{syntaxhighlighter brush:cpp;}
public class A {
}
public class B : private A {
}{/syntaxhighlighter}
B มีคุณสมบัติเหมือนกับ A แต่ว่าจากโค๊ดภายนอกแล้ว B กับ A เป็นคลาสที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน ไม่สามารถทำแบบว่า ...
{syntaxhighlighter brush:cpp;}
void do_something(const A& a);
...
B b;
do_something(b);
{/syntaxhighlighter}
โค๊ดคอมไพล์จะไม่ผ่าน
คือถ้าพูดภาษาชาวบ้าน นี่คือลูกเมียน้อยที่ไม่เคยรับมรดกจากพ่อ (ส่วน protected inheritance จะเป็นลูกเมียน้อยที่ได้รับมรดกจากพ่อ)
ส่วน Java จะเป็น public inheritance เสมอ
ปล. ไม่ค่อยมั่นใจเรื่องนี้เหมือนกันเพราะไม่เคยใช้งานจริงจัง เท่าที่นึกออกก็ราว ๆ นี้
อ้อ ตอนแรกตกใจครับ เสียดายนึกว่าจะได้หยิกแขนซะแล้ว
เคยออกข้อสอบตอนเรียนครับ เลยจำได้เลย :D
ขอออกความเห็นในฐานะที่เป็นเจ้าของกิจการซึ่งมีการคัดเลือกคนที่ tough (ในแบบฉบับของกิจการผม) เหมือนกันนะครับ
ผมก็มีคำถามลักษณะนี้เสมอครับ โดยจะกึ่งๆ คิดสด เพราะจะดูก่อนว่าผู้ถูกสัมภาษณ์ "ไม่รู้อะไร แค่ไหน" แล้วยิงไปที่ตรงนั้นให้ยากๆ สุดๆ เข้าไว้
แต่เจตนาของผมก็คือ... (ย้ำว่าของผมนะครับ สำหรับ Google หรือที่อื่น ผมไม่ทราบครับ)
ทำให้ผมรู้จัก Attitude และ Nature ของผู้ถูกสัมภาษณ์ได้รวดเร็วและค่อนข้างลึกพอเพื่อประกอบการพิจารณาครับ
ผมไม่สนใจตัว Content ของคำตอบเลยแม้แต่น้อยครับ ผมสนใจวิธีการตอบครับ กรณีที่เจอบ่อยๆ จะตอบลักษณะประมาณเหล่านี้...
ซื่อตรงดีครับ ได้ดีตรงนี้ แต่ทื่อ แบบนี้ผมไม่เอา
รายนี้ไม่เอาแน่นอน
รายนี้ จะรับไว้พิจารณา ถ้าไม่มีคนอื่นดีกว่านี้ ก็น่าจะลองดู
มั่นใจดีมาก Attitude ดี มีทักษะในการใช้ฐานความรู้มาพยายามเดาให้ถูกต้องอย่างมีหลักการ เจอรายแบบนี้ ติดโผแล้วครับ
มั่นใจ สร้างสรรค์ กล้าคิด กล้านำเสนอ ไม่กังวลกับอุปสรรคในความยังไม่รู้ของตัวเอง แสดงว่าพร้อมเรียนรู้เพิ่ม คิดนอกกรอบเป็นด้วย เจอรายแบบนี้ ผมอาจรับทันที แล้วแต่ว่า ตอนนั้นจะคิดออกหรือไม่ ว่าจะ Put this man in to what job ในบริษัทผม คนแบบนี้มักทำให้งานส่วนที่ผมมีอยู่แล้วโดยไม่ได้คิดจะรับใครเพิ่ม กลับได้ขุนพลที่เก่งกล้าและ Attitude ดีเข้าไปเสริมในส่วนนั้นโดยไม่ได้คาดฝันครับ ผมจะเรียกว่า "เจอช้างเผือก"
บริษัทเล็กๆ ครับ เลยทำอย่างนี้ได้
<=== มา edit เพิ่ม ===>
ผมมีคำถามภาคบังคับ 1 คำถามด้วยครับ ไว้เป็นคำถามสุดท้ายเสมอ นั่นคือ...
คุณคิดว่าคุณทำอะไรให้บริษัทผมได้? และสิ่งเหล่านั้นบริษัทต้องจ้างคุณเท่าไหร่ จึงจะคุ้มแก่บริษัท?
ผมเป็นคนนึงที่มองว่า GPA ไม่ได้มีผลกับการทำงานสักเท่าไหร่
แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเจออยู่ที่นึง เอา GPA ของผมซึ่งไม่สวยหรู ไปเทียบกับเด็กเกียรตินิยมพร้อมทั้งกดเงินเดือนที่เราเรียกไปลงอีกต่างหาก เหอๆถ้าอย่างนั้นก็เชิญ ไปพิจารณาเด็กเกีรตินิยมเลยครับ
พร้อมทั้งขอบคุณที่สละเวลามานั่ง กดเงินผม ผมยินดีที่จะมาแม้ว่าจะไม่ได้ เพราะผมได้ความรู้ใหม่จากการสัมภาษณ์ทุกครั้งครับ
บ้านเรานี่เอาวุฒิการศึกษาเป็นสำคัญ เพราะสำคัญตรงคนที่ไม่มีวุฒฺิป.ตรีสามารถกดเงินเดือนให้ต่ำค้างปีอยู่อย่างนั้นได้ตลอดศก
แต่คำถามของ HR ที่ว่า "ทำไมเราต้องจ้างคุณ" เป็นอะไรที่งี่เง่าพอๆกับประโยคที่ว่า "รู้ไหมกูลูกใคร"?
5555 คำถามเต็มๆมันน่าจะเป็น "ทำไมเราควรจะเลือกคุณ คุณมีอะไรพิเศษกว่า candidate คนอื่นๆ" รึเปล่าครับ
ถามเพื่อให้บอกจุดขายของตัวเองค่ะ ถ้าตัวเองไม่รู้จักตัวเอง หรือไม่รู้ว่าตัวเองทำอะไรได้ดี จะมาค้นหาตัวเองอะไรแบบนี้ไม่รับค่ะ
เท่าที่รู้ บ.ผมนี่ ถ้าจบป.ตรีแล้วต่อโทเลย พอจบโทแล้วมาสมัคร จะได้เงินเดือนเริ่มต้นเท่าเด็กจบป.ตรีใหม่ ๆ (อาจจะได้เยอะกว่านิดหน่อยแล้วแต่ต่อรอง)
ถือว่าเป็นคนไม่มีประสพการณ์น่ะครับ
ที่จริงถ้าผมเปิดบริษัทเองผมอยากจะรับเด็กที่ยังไม่เรียนมหาวิทยาลัยด้วย (นอกจากที่เรียนจบแล้ว) โดยมีข้อแม้ว่าต้องสอบเขียนโปรแกรมผ่านก่อนนะ 555 อาจจะให้เงินเดือนเริ่มต้นต่ำกว่าหน่อยนึง แต่ว่าให้ขึ้นเดือนที่ว่าพอทำงานเกินสี่ปีแล้วเงินเดือนเยอะกว่าพวกจบมหาลัยใหม่ ๆ นะ อะไรแบบนี้ ผมคิดว่าเด็กที่ยังอยู่ในช่วงวัยรุ่นมีไฟมากกว่าพวกจบมหาลัยอ่ะครับ ดูจะมีความฝันและความคิดดีกว่าพวกที่เรียนจบมหาลัยไปแล้ว อะไรทำนองนี้ (พวกเรียนโทนี่ไม่ต้องคิดเลย ส่วนใหญ่ีที่เคยเจอจะเป็นพวกหาผลประโยชน์เข้าตัวมากกว่า 555)
เท่าที่ผมเห็นคนที่ไม่จบพร้อมผมบางคนก็ฝีมือเลิศกว่าผมพันเท่าเลยแหละมั๊ง แต่เรื่องป.โทเนี่ยผมคิดเห็นเหมือนกัน ประเด็นคือเน้นฐานเงินเดือนสูงกว่าปกติ ผมก็ไม่อยากดูถูกเขานะครับ แต่หลายๆที่รวมถึงราชการเองมันจะกลายเป็นเรียนไปให้เสียเงินเสียเวลาฟรีๆ เพราะเงินเดือนคุณอาจจะได้เท่า ป.ตรี
เคยโดนถามตอนสัมภาษณ์กูเกิลเมื่อหลายปีก่อน "ถ้าคุณถูกโยนลงตึกสูง 50 ชั้น ในมือมีแค่ไม้ กับผ้า คุณจะทำอย่างไร ?" (จำคำถามได้ไม่ครบเพราะนานแล้ว แต่ประมาณนั้นฮะ)
ปล. ตกสัมภาษณ์ฮะ 55
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
จำได้ว่าตามสมการแล้ว แค่ผ้าเช็ดหน้าผืนเดียวจะสามารถสร้างแรงดึงของลมได้เยอะมากๆ จนดูเหมือนจะรอดเลยครับ
แต่ถ้าเป็นผมก็คงเอาผ้ารัดคอตาย
onedd.net
เคยไปสัมภาษณ์ที่นึง ไปกับเพื่อนกันหลายคน สัมทีละคน
คนสัมภาษณ์บอกว่า สามารถรับได้1ตำแหน่ง
คุณบอกมาสิว่าคุณดีกว่าเพื่อนยังไงถึงต้องรับคุณ
โคตรฉุนเลย เอี๊ย ก็คิดเองดิว่าใครเหมาะกับงานมึง จะมาให้กรูทับถมเพื่อนเพื่อได้งานเนี่ยะ ทุเรศมาก มันถามเพื่อเทียบกับเพื่อนทีละคนแบบระบุว่าดีกว่าaยังไง ดีกว่าb,c,dยังไงไม่ได้ทำงานที่นั่น สุดแสนจะเป็นบุญ
บ.นั้นอยู่แถวปิ่นเกล้าครับ
น่าจะเป็นคำถามจิตวิทยาครับ ไม่ได้จะให้ฆ่าเพื่อนซักหน่อย
คิดแบบนี้น่าจะสอบสัมภาษณ์ไม่ผ่านครับ
เค้าอยากดูว่าคุณจะทำยังไงเพื่อแก้ปัญหา และมีทัศนคติกับปัญหาอย่างไร แล้วมองคนในทีมว่าเป็นปัญหาหรือไม่ โยนปัญหาให้คนอื่นหรือเปล่า
ข้อนี้ตอบยากพอควรครับ ถ้าเป็นผม ผมคงบอกว่า "ผมไม่แน่ใจว่าผมดีกว่าเพื่อนรึเปล่าเพราะเพื่อนผมแต่ละคนมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป แต่ผมรู้จักทั้งข้อดีและข้อเสียของตัวผมเอง ข้อดีของตัวผมเป็นแบบนี้ ... ข้อเสียของตัวผมเป็นแบบนี้ คงแล้วแต่บริษัทจะพิจารณาว่าข้อดีข้อเสียของผมเหมาะกับลักษณะงานรึเปล่า"
ผมก็ตอบแนวนั้นแหละ บอกข้อดีของตัวเองและเพื่อนๆแล้วบอกว่า ผมอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุด แต่ก็เป็นตัวเลือกให้ตัดสินใจเพราะแต่ละคนถนัดคนละอย่าง
แต่ไม่รู้ว่าสีหน้าตัวเองออกรึเปล่า เพราะฉุนในใจ
เหมือนว่าบ.นั้นอาจจะเจ๊งแล้ว
ปล สัมภาษณ์ครั้งแรกในชีวิตผมว่าการเตรียมตัวต่างกันนะ
โฮ่ ... ทำดีแล้วครับ
ให้ตอบเหมือนข้อเสียของตัวเองครับ (เช่นอ่อนด้านภาษาก็ให้บอกว่า ตอนนี้กำลังฝึกเรียนภาษาเพิ่มเติมอยู่) แต่สำหรับเพื่อนต้องเกริ่นหน่อยนึง
เช่น เพื่อนผมอยู่ด้วยกัน ดีอย่างนู้นอย่างนี้(ข้อดี)ไปเรื่อยๆ แล้วจบที่ประโยค แต่ผมว่าเพื่อนคนนี้น่าจะปรับปรุงเรื่อง ... นิดนึง (อาจจะต่อด้วย ซึ่งผมดีกว่าตรงนี้) เช่นถ้าเป็นแบบหลายคนก็เวลาทำงานเพื่อนๆก็ตั้งใจช่วยงานกันมาก ตรงต่อเวลา แต่น่าจะปรับปรุงเรื่องการควมคุมคุณภาพงานหน่อย
คำถามทุกคำถามเป็นคำถามปลายเปิดครับ ไม่ได้ต้องตอบตามนั้นตรงๆ หรือตามที่ผมพูด/ตามป้าเสกด้านบนตรงๆ แล้วที่คุณคิดว่า 'จะมาให้กรูทับถมเพื่อนเพื่อได้งานเนี่ยะ ทุเรศมาก' นั้นหน่ะถูกแล้วครับ เพราะเค้าไม่ได้ต้องการแบบนั้นแต่ต้องการให้แสดงการใช้ IQ+EQ ออกมา
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ผมเคยโดนถามแบบนี้เลยครับ เพื่อนมาสัมภาษณ์พร้อมกันโดยไม่ได้นัดหมาย แถมตำแหน่งเดียวกันอีก
คำตอบของผมคือ เลือกผมดีกว่าครับ เพื่อนผมอ่ะ ปล่อยมันไปเดี๋ยวมันก็หางานที่อื่นได้ไม่ยาก 5555
แล้วก็ได้ทั้งคู่ เพราะเค้ากำลังต้องการคนจำนวนมาก
ป.ล. ตอนนี้ก็ลาออกมาแล้วทั้งคู่เช่นกัน
ผมก็เจอ แถมเพื่อนที่มาก็สนิทกันด้วย แต่ผมตอบแน่วของผมน่ะว่าผมมั่นใจเรื่องไหนขอดีเป็นยังไงส่วนเพื่อนบอกแถๆไปว่าไม่รู้ แล้วสุดท้ายที่ผมตอบคือ ใครเหมาะสมกว่ากันอยู่ที่ผู่สัมภาษณ์(คนถาม)จะพิจารณา
คำถามแนวนี้ก็ถามทุกบริษัทน่ะครับ โดยเฉพาะตอนจบใหม่ มหาลัย,คณะ,ภาคเดี่ยวกันก็โดนแล้ว
ถ้าเอาแต่พวกเก่งพูดเก่งเลียผมอยากให้บริษัทนั้นเจ๊งไวๆนะ
บริษัทที่ผมทำก็ไม่ได้สัมภาษณ์อะไรนอกจากว่าเราต้องการ Feature นี้จากคุณ แล้วคุณมี Feature อะไรล่ะ? ถ้ามัน match กันก็จับเข้าทำงานเลย ไม่ต้องไปถามคำถามที่ต้องตรัสรู้รึพูดแบบโลกสวยให้หมางใจกันเอง
ผมเคยเจอให้โค้ดงาน แต่โปรแกรมที่ให้โค้ดก็หมดอายุ การทดสอบมีการกำหนดเวลาด้วยนะ ไม่รู้ว่านั่นคือส่วนหนึ่งของการทดสอบหรือเปล่า พอเรียกให้มาดูแล้วก็ไม่มีการแก้ปัญหาให้ เลยต้องโค้ดบน notepad ไปพลางๆ สรุปก็ไม่ได้อยู่ดีไม่แน่ใจว่าเกิดจากสาเหตุอะไร
ผมว่าผมเจอมาค่อนข้างหลากหลาย คำถามประเภทจี้แทงใจดำแบบนี้ต้องมีสติให้มากๆ ส่วนใหญ่จะสามารถหาทางออกได้โดยตอบเลี่ยงๆ แล้วก็พยายามทำใจให้เป็นกลาง คิดว่าคนถามตั้งใจจะดูปฎิกิริยาของเราไม่เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว ถึงแม้บางทีมันอาจจะเป็นอย่างนั้นก็ตามทีเถอะ =_=
เคยเจอเหมือนกัน เมื่อก่อนเวลาฉลอง MD ชอบเอาปัญหาวัดเชาว์มาทาย ใครทายถูกจ่ายเลยประจำ
แล้วก็ประเมินหัวหน้า ของผมเค้าเรียก 360 องศา Survey ก็ดีครับ ประเมินแบบนี้ห้ามระบุนะครับ ว่าใครเป็นใคร ไม่งั้นอาจมีการเมืองเข้ามา ทำนองว่า อ๋อ คุณประเมินให้ผมต่ำใช่มั้ย โดนแน่ๆ
เคยโดน "การเมือง" ตามที่คุณว่าแหละครับ ก็เลย bye bye
สุดท้ายท้ายสุด เลยได้มาทำงานที่ตัวเองรักมากๆ ในปัจจุบัน (Game Development)
ผมรู้สึกว่าคำว่า "คำถามสัมภาษณ์งานยากๆ" ในหัวข่าวมันทำให้ความหมายของ "brainteaser" ในต้นฉบับเคลื่อนไปหน่อย เพราะคำถามกลุ่ม brainteasers มันมีลักษณะค่อนข้างชัดเจน (เช่น มีบอล 8 ลูกน้ำหนักลูกนึงมากกว่าที่เหลือ มีตาชั่งสองแขน ชั่งน้อยสุดกี่ครั้ง, ...) ส่วนคำว่า คำถามสัมภาษณ์งานยากๆ ฟังแล้วรู้สึกมันกว้างเกินไปจนอาจจะทำให้ไม่ตรงกับความหมายในต้นฉบับรึเปล่า?