Chris Wetherell ผู้สร้าง Google Reader (ปัจจุบันเขาไม่ได้เป็นพนักงานของกูเกิลแล้ว) ให้สัมภาษณ์หลังกูเกิลปิดบริการ Google Reader ว่านโยบายนี้ของกูเกิลจะส่งผลลบต่อพนักงานที่มีไอเดียแปลกใหม่ ทำให้พนักงานเหล่านี้อาจเลือกลาออกจากบริษัทไปพัฒนาไอเดียของตัวเอง แทนที่จะทดลองสร้างผลิตภัณฑ์นั้นใต้ร่มเงาของกูเกิล
Wetherell บอกว่าถ้าเขามีไอเดียสร้าง Google Reader ในตอนนี้ เขาจะเลือกลาออกจากบริษัทไป เพราะเขารู้สึกแย่ถ้าไอเดียของเขาจะต้องมาแข่งกับ Google+ กันเองภายในบริษัท
Jenna Bilotta อดีตพนักงานของกูเกิลอีกคนที่ออกไปเปิดบริษัทร่วมกับ Wetherell ให้สัมภาษณ์ว่านโยบายของกูเกิลที่ไล่ปิดบริการที่ไม่ประสบความสำเร็จ จะบีบให้พนักงานต้องออกจากบริษัทไปทดลองไอเดีย เพราะกลัวว่าถ้าพัฒนาไอเดียนั้นภายในกูเกิลแล้วจะเสี่ยงโดนปิดแบบ Google Reader เนื่องจากคนใช้ไม่เยอะพอ
ที่มา - Forbes
Comments
แล้วถ้าไปเปิดบริการแบบเดียวกันด้วยตัวเอง จะมีคนใช้เยอะพอ?
จริงๆคนเสี่ยงคือนักลงทุนตะหาก ทำออกมาเปรี้ยงดังขายดีก็รวย ทำแล้วไม่มีใครใช้ก็เจ๊ง คนออกไอเดียอาจจะคิดว่าถ้าทำเองแล้วดังก็รวยเลย ไม่ใช่แค่ลูกจ้างเขา แต่ไม่คิดถึงตอนถ้าทำเองแล้วเจ๊งใครจะจ่าย?
กำลัง งง ว่า มันก็ถูกแล้วไม่ใช่เหรอ คนใช้น้อยจะเปิดต่อทำไมให้ขาดทุน แล้วอีกอย่างคือถ้าไปเปิดบริษัทใหม่แล้วเจ๊ง การลงทุนก็เยอะ ก็ขาดทุนย่อยยับ เข้าเนื้อคนสร้าง
ใครสร้าง Google+ ครับ ปิดแล้วลาออกเถอะ
อย่าปิดเลย ผมใช้อยู่ทุกวันเลยนา
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
+1
ผมยังใช้อยู่นะ
จะได้รวยคนเดียว ไม่ต้องแบ่ง Google
เย้ยย ใช้ทุกวัน วันละหลายๆรอบ อยู่นะ
แล้วผมจะไปสิงที่ไหนล่ะครับ : (
Jusci - Google Plus - Twitter
ทำไมผมอ่านในบล็อกต้นทางแล้วรู้สึกเหมือนว่าตอนนี้กูเกิลไล่ปิดบริการที่ไม่ส่งเสริมยุทธศาสตร์ของตัวเองออกหมดโดยไม่สนใจว่าจะมีคนใช้เยอะแค่ไหน จุดนี้แหละที่ทำให้พนักงานไม่กล้าทำอะไรแปลกๆ เพราะจะโดนปิดเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ เพราะขนาด reader ที่มีคนใช้เยอะๆ ยังกล้าปิดเลย
onedd.net
ผมว่าทุกธุรกิจล่ะคับ ถ้ากำหนดแผนแม่บท หรือระดับที่เรียกว่าเป็นยุทธศาสตร์่ของการดำเนินธุรกิจแล้ว แผนงานระดับรองลงมาก็ต้องรับลูกกับแผนยุทธศาสตร์นั้นๆ ทั้งหมด ไม่อย่างนั้นทิศทางการทำธุรกิจขององค์กรก็คงสะเปะสะปะไปหมด
แต่กรณีปิด Google Reader นี้ ผมเองไม่มีความเห็นนะว่า "ยุทธศาสตร์" อันเป็นที่มาของการตัดสินใจปิดบริการนี้ ถูกต้องและถูกวางมาอย่างรอบคอบแล้วหรือไม่
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ใช่ครับ พอเป็นธุรกิจมันก็ต้องแบบนั้นแหละครับ เพียงแต่ว่ายุทธศาสตร์ในตอนนี้น่าจะ focus ไปที่ android, google plus มากกว่า ก็เลยจะต้องจัดการ reader ที่เหมือนอยู่คนละขั้วออกไป
onedd.net
พอจะมีข้อมูลจำนวน active user ในปัจจุบันมาแชร์บ้างไหมครับ ผมอยากทราบเหมือนกัน
หาตัวเลขไม่ได้เหมือนกันครับ
onedd.net
คุ้นๆ เคยอ่านประมาณ 14 ล้านคนนะครับ
พนักงานที่กลัวว่าคิดอะไรแปลกๆ ทำไปแล้วจะถูก "ปิด" ผลงานนั้นๆ ในภายหลังนี่เขามั่นใจว่าความคิดของเขาจะถูกยอมรับและนำไปใช้งานจริงขนาดนั้นเลยหรอคับ?
สมมุติว่าผมคิดเกมใหม่ได้เกมหนึ่ง ก่อนที่ผมจะกลัวว่าต่อไปบริษัทจะสั่งปิดเกมนั้นทั้งที่ยังอยู่ในช่วงได้รับความนิยม.... ผมเองกลับกลัวตั้งแต่ตอนแรกว่ามันจะได้เกิดและเปิดให้บริการรึเปล่าด้วยซ็ำ? (ผมคิดสั้นว่างั้นเหอะ ไม่รู้ว่ามันจะฮิตมั้ย)
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ส่วนตัวเลยนี่ เป็นเพราะคิดว่าจะถูกยอมรับและนำไปใช้งานจริงนี่แหละครับถึงได้ทำและพยายามทำ (ไม่ว่าจะใช้กันแพร่หลายหรือไม่)
ถ้าของที่เราทำไปจะไม่ได้เอาไปใช้จริงเลยนี่ แค่คิดก็หมดแรงทำแล้วครับ (แต่ก็เคยทำนะครับที่ไม่ได้เอาไปใช้ T_T)
+1
onedd.net
+1 Prof. Dan Ariely เคยทำการทดลองเรื่องนี้ และเขียนไว้ในบทแรก ๆ ของหนังสือ The Upside of Irrationality.
ออกไปทำให้ดี ให้ดัง แล้วกูเกิลก็จะซื้อกลับมาทั้งบริษัท รุ่งกว่า -..-'
my blog
หรือไม่ก็เจ้มาริสาซื้อเอง
คนทำงานลงทุนทรัพยากรเวลาที่มีจำกัดของตัวเอง กุกเกิลออกเงิน สิทธิเป็นของผู้จ้าง งานนี้คนทำขาดทุนที่สุดแล้ว สู้ไปหาผู้ร่วมลงทุนเปิดบริการเองสามารถพัฒนาโปรเจคไปได้เรื่อยๆ ดีกว่า เพราะต่อให้ปิดบริการสิทธิที่จะรื้อฟื้นใหม่หรือขายก็ยังมี นี่ปิดแล้ว 0
วัฒนธรรมองค์กรที่คูลที่สุดของ Google กำลังถูกทำลายด้วยมือตัวเองซินะ
ความกล้านั่นแหละครับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญมากของผู้ประกอบการ
ยุคนี้startupกำลังฮิต แต่ผมนึกถึงฟองสบู่dotcom ตอนช่วงปี2000
ประสบความสำเร็จก็ยินดีด้วย แต่เหมือนหลายเจ้าตั้งเป้าไว้แค่ ทำให้ดังแล้วมีบ.ใหญ่ๆมาซื้อ แล้วก็ไปทำอย่างอื่นต่อ อีแบบนี้มันไม่ต่างจากยุคฟองสบู่dotcom ที่เน้นการปั่นกระแสเวบ แล้วขายต่อให้กลุ่มทุนแพงๆ แล้วไปทำเวบใหม่ สุดท้ายก็ล่มกันหมด เพราะต้นคิดไอเดียดีๆ ไม่ได้อยู่ช่วยทำแล้ว มันก็มีแต่เสมอตัวกับแย่ลง คนก็เลิกใช้ไปเรื่อยๆนั่นแหละ
ไม่นอกเรื่องนะ แต่อ่านข่าวนี้แล้วนึกถึงเรื่องนี้จริงๆ
ฮิตได้ ก็ดับได้ มีให้เห็นอยู่ตลอด การออกไปสร้างสรรค์อะไรเองก็ดีครับ แต่อย่าลืมสัจธรรมที่ว่าทุกอย่างมันไม่เที่ยง มีให้เห็นกันอยู่ตลอด ถ้าคิดแต่จะสร้างอะไรใหม่ ๆ แต่ไม่มีความคิดหรือความสามารถที่จะรักษามันได้ ก็คงเกิดดับ ๆ ๆ อย่างนี้ไปตลอดล่ะครับ
บทความนี้สรุปประเด็นมาไม่ครบนะครับ ปกติแล้วกูเกิลจะสนับสนุนให้พนักงานคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ด้วยตัวเอง แต่ถ้าผลิตภัณฑ์ไหนไม่ประสบความสำเร็จ ก็จะโดนปิดไป อย่าง iGoogle หรือ Wave เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่พนักงานทุกคนเข้าใจ
แต่ใจความสำคัญที่อดีตผู้คิดค้น Google Reader ให้สัมภาษณ์ก็คือ ตัว G Reader นี้ทั้งๆ ที่ยังมีคนใช้อยู่จำนวนมาก เป็นที่นิยมในตลาด และถือว่าผูกขาดระบบ RSS feed ไปแล้วด้วยซ้ำ แต่ก็ยังโดนปิดด้วยเหตุผลว่าขัดแย้งกับผลิตภัณฑ์หลักคือ Google+ แถมการปิดยังทำให้ผู้ใช้เดือดร้อนเป็นวงกว้างอีก (ต่อให้มันใช้ฟรีก็เถอะ) ซึ่งขัดกับปรัชญาของกูเกิลที่เคยมีมาครับ
ขอบคุณครับที่ช่วยสรุปประเด็นให้อ่านกระชับเข้าใจง่าย คอมเม้นท์ผมข้างบนต้องการสื่อแบบนี้แหละ แหะๆๆๆ
onedd.net
พออ่านอันนี้แล้วกระจ่างเลย
ก็งงอยู่ว่าถ้าขนาดมีกูเกิลเป็นแบ๊คยังยอดไม่ดี ทำไมถึงมั่นใจเอาไปตั้งเองข้างนอกจะขายได้
ที่บอกว่าเลือกลาออกเพราะกลัวถูกบีบหากโปรเจ็คไม่ประสบผลสำเร็จ .. แต่ผมว่าถ้าโปรเจ็คไอเดียมันดูเข้าท่าตั้งแต่แรก ผมว่าคนคิดมันก็ชิงลาออกไปตั้งบริษัททำเองอยู่ดีหละครับ