Google Book Search ที่ทางกูเกิลได้สแกนหนังสือจำนวนมาก เพื่อให้ค้นหาได้จากเว็บ ทำให้สำนักพิมพ์หลายแห่งไม่พอใจ และคิดว่ากูเกิลละเมิดลิขสิทธิ์ เรื่องนี้ทั้งสองฝ่ายได้โต้ตอบกันผ่านสื่อมานานแล้ว
ล่าสุดในงาน Book Expo America ที่นิวยอร์ค นาย Richard Charkin ซึ่งเป็นผู้บริหารของสำนักพิมพ์ในสหราชอาณาจักรชื่อว่า Macmillan ได้ร่วมมือกับลูกน้องขโมยโน้ตบุ๊คที่อยู่ในบูตของ Google Book Search มาสองตัว จากนั้นเขาก็ยืนรออยู่ข้างบูตจนกว่าเจ้าหน้าที่ประจำบูตจะพบว่าโน้ตบุ๊คหายไป แล้วค่อยคืนเครื่องให้กับทางกูเกิล (ดูรูปได้จาก บล็อกของ Charkin )
Charkin บอกว่าถ้ามีป้าย "ห้ามขโมยโน้ตบุ๊ค" แปะอยู่ที่บูต เขาก็คงจะไม่ขโมยมัน นี่เปรียบเทียบได้กับ Google Book Search อ้างว่าสามารถสแกนหนังสือได้ เพราะในหนังสือไม่ได้บอกว่าห้ามนำไปทำเป็นไฟล์ดิจิทัลเพื่อใช้ค้นหา
ประเด็นนี้ในวงการสิ่งพิมพ์เองก็ยังแบ่งออกเป็นสองฝ่าย รายละเอียดตามอ่านได้จากลิงก์
ที่มา - Ars Technica
Comments
สำนักพิมพ์ฟ้องศาลแล้วแพ้ เลยใช้ท่านี้?
แถแบบศรีธนนชัย
นึกว่ากูเกิ้ลตกลงกับทางสำนักพิมพ์เรียบร้อยแล้วกรณ๊นี้ แต่หากทางกูเกิ้ลบอกว่า
"Google Book Search อ้างว่าสามารถสแกนหนังสือได้ เพราะในหนังสือไม่ได้บอกว่าห้ามนำไปทำเป็นไฟล์ดิจิทัลเพื่อใช้ค้นหา"
ผมก็มองว่ากูเกิ้ล แถ ครับ เพราะมันก็ไม่ต่างจากถ่ายเอกสาร หรือไม่ก็นำไฟล์ PDF มาแจกฟรีๆ เรื่องนี้ผมไม่ได้ตาม เลยไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่หากเป็นอย่างที่กล่าวมาข้างบนก็เห็นใจคนทำหนังสือครับ หลายคนในนี้น่าจะเคยเขียนหนังสือ ถ้าเกิดผมเอาหนังสือที่ท่านเขียนมาสแกนไห้คนอ่านในเวบ จะรู้สึกอย่างไรกัน แต่ถ้าไม่ผิดจริงๆ ผมจะเปิดเวบไซต์สแกนหนังสือหรือนิตยสารมาไห้อ่านกันฟรีๆ ครับ
ต่่างครับ เพราะหนังสือที่ google สแกนไม่ได้อนุญาตให้คุณเข้าไปอ่านทั้งเล่ม (ถ้าหนังสือนั้นยังอยู่ในระยะลิขสิทธิ์) คุณแค่สามารถค้นหาแบบ full text จากหนังสือทั้งเล่ม และสามารถดูส่วนที่เกี่ยวข้องกัยการค้นหาเท่านั้น
แต่กูเกิล "สแกน" ทั้งเล่มนะครับ ผมว่ามันจะผิดก็ตรงที่ผู้ผลิตเขาไม่ให้บริษัทไหนเอาไปสแกนเก็บไว้ โดยมีแนวโน้มว่าจะผิดลิขสิทธิ์ (ไม่งั้นจะสแกนไปทำไม)
ผมว่ามันค่อนข้างล่อแหลม จะว่าผิดก็ไม่แน่ จะว่าถูกก็ไม่แน่
The funny thing is that there are Google Ads on Richard Charkin's blog
ผมว่าเจ็บสีข้างกันทั้งคู่นะ
ส่วนตัวเห็นว่าการ search หนังสือได้มีประโยชน์แน่นอน แต่การใช้งานอาจจะต้องการรัดกุมมากกว่านี้เช่น แสดงเฉพาะ index / เนื้อความที่เกี่ยวข้อง productของ google ออกมาเร็วเหลือเกิน การพัฒนาคงจะต้องไปเป็นขั้นๆ การฟ้องกันมองในแง่ดีคงจะสร้างความตระหนักให้กับgoogleที่จะพัฒนา softwareตัวเองให้ดีขึ้นไป
แล้วตอนนี้มันไม่ได้เป็นแบบนั้นเหรอ???
อาจจะเป็นบทคัดย่อของ บทนั้น
เนื้อความที่เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องแสดงทั้ง fulltext
ตอนนี้เห็นเป็น หนังสือที่ดูได้ประมาณ 10-20%ของทั้งเล่ม
รู้สึกเอาเปรียบเจ้าของหนังสือนะ ถ้าเจ้าของหนังสือยินยอมให้แสดงผลในส่วนที่ google แสดงได้ก็น่าจะok
แต่คงตกลงกันในชั้นศาลซะมากกว่า
ลบ
กูเกิลนี่มันเลวจริงๆ