Mark Shuttleworth แห่ง Ubuntu เขียนบล็อก เสนอไอเดียให้ดิสโทรรายใหญ่ (Red Hat, SUSE, Debian) มาตกลงกันเพื่อกำหนดช่วงออกรุ่นสำคัญ (เช่น RHEL หรือ Ubuntu LTS) ไล่เลี่ยกัน เป้าหมายของไอเดียนี้คือเพื่อให้โครงการต้นน้ำทั้งหลาย (GNOME/KDE, OpenOffice.org, Mozilla) รู้กำหนดออกของดิสโทรล่วงหน้า และปรับกำหนดออกรุ่นของโปรแกรมของตัวเองตาม ซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายคือดิสโทรรุ่นสำคัญจะมีเสถียรภาพมากขึ้น Shuttleworth บอกว่าเขายินดีจะเปลี่ยนกำหนดออกของ Ubuntu รุ่นถัดๆ ไปถ้าไอเดียที่เสนอทำได้จริง
ในบล็อกของ Shuttleworth ยังพูดเรื่องอื่นๆ อีก คือ Ubuntu 8.04 LTS นั้นจะออกรุ่นอัพเดต 8.04.1 ในสามเดือนข้างหน้า เพื่อปรับปรุงความเข้ากันได้เรื่องฮาร์ดแวร์ และจะออก 8.04.x ไปเรื่อยๆ ถ้าจำเป็น นอกจากนี้ Shuttleworth ได้ประกาศว่า LTS รุ่นถัดไปจะเป็นไปตามกำหนด คือ 10.04 LTS เดือนเมษายน 2010
ผมมองว่าการออกโรงของ Shuttleworth รอบนี้เป็นเพราะ Ubuntu 8.04 มีปัญหาพอสมควร คือคุณภาพดีตามมาตรฐานของ Ubuntu ปกติ แต่ไม่สมชื่อ LTS ซึ่งจะใช้กันอีกยาว ปัญหาส่วนหนึ่งเป็นเพราะ Ubuntu 8.04 เจอกับการเปลี่ยนรุ่นสำคัญของซอฟต์แวร์ 3 ตัว คือ GNOME (GNOME 2.22 เปลี่ยน gvfs เข้ามา ทำให้โปรแกรมเก่าหลายตัวมีปัญหา), KDE (KDE 4 ยังห่างไกลความสมบูรณ์อีกมาก ทำให้ Kubuntu ตัดสินใจไม่เป็น LTS) และ Firefox 3 ที่ยังไม่เสร็จ (Ubuntu เลยโดนบีบให้ใช้ Firefox 3 beta 5 ซึ่งโดนวิจารณ์ว่าเอาซอฟต์แวร์ที่ยังไม่เสร็จดีเข้ามาใส่ใน LTS) จึงเป็นเหตุให้ Shuttleworth ต้องการเลี่ยงปัญหาดังกล่าวในอนาคต
ที่มา - Slashdot
Comments
เห็นด้วยกับไอเดียของ Shuttleworth ครับ เพราะตัวเองก็เคยนึกๆอยู่เหมือนกัน ว่าทำไมดิสโทรใหญ่ๆ ถึงออกไม่พร้อมกันซะที
ป.ล. แอบบ่นหน่อย ubuntu 8.04 รุ่นนี้ ปัญหาประหลาดๆ เยอะจริงๆครับ
Lastest Science News @ Jusci.net
Lastest Science News @ Jusci.net
มาเห็นด้วยเรื่อง 8.04 ครับ มีปัญหาแปลก ๆ จน ตอนลงต้องเตรียมเผื่อกลับไปลง 7.10 เอาไว้ด้วยเลยครับ
ทุกวันนี้เข้า ubuntu ต้องมานั่งลง driver ทุกวันครับไม่อย่างนั้น start gdm ไม่ได้(ถ้าไปใช้ nv ก็เล่น cf ไม่ได้ครับ)
ลองเล่น gentoo ดูมีปัญหากับภาษาไทยหลายๆส่วน(เช่นใน gnome-terminal, yakuake, X11 forwarding พิมพ์ไทยไม่ได้ แล้วแถม X11 forwarding มันช้ากว่า ubuntu เยอะครับ) แต่มันใส่ cf ได้เต็มที่ครับและก็ไม่ต้องมานั่งลง driver ทุกวัน
มาให้กำลังใจคนทำ ^o^
คนใช้ก็ใช้ต่อปาย~
ผมใช้ 8.04 ครับผม
(ยืนยันเหมือนข้างบนว่าปัญหาประหลาดๆ เยอะครับ - -")
ปัญหาประหลาดๆเยอะมาก - -
ยืนยันอีกเสียงว่ามีปัญหา ประหลาดๆ เยอะ (แต่ก็คุ้มค่าที่จะใช้)
โค้ดเปรี้ยว
อยากเห็นการแข่งขันตอนใกล้ออกเหมือนกัน
PoomK
ท่าน ubuntu จะยอมหรือไม่...
macXide กล้าคิดเพื่อโลกของความเป็นจริง - อาหารเสริมนี้ดีจริง...
Mark Shuttleworth เป็นหัวหอกของ ubuntu ครับ ^^
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
รอ openSUSE 11 ครับ
มีปัญหาเยอะจริง ๆ ครับ บ่นไปตั้งแต่ 1 วันต่อมาหลังจากออกรุ่นแล้ว แต่ก็ยังใช้อยู่ในแล็ปท็อปตัวหลัก มีปัญหาอะไรก็เลี่ยง ๆ กันไป เพราะคิดว่าคุ้มที่จะใช้ หุ ๆ
อีกสามเดือนออก 8.04.1 เหรอ อืมม คาดอยู่แล้วเชียว ถึงตอนนั้นคงต้องตัดสินใจอีกทีว่าจะลง beta ของ 8.10 หรือลง 8.04.1 ดี หุ ๆ
--
--
ลองเล่นตั้งแต่ Alpha ท้ายๆ มาถึง Beta ผมยังสงสัยว่าทำไมไม่ยอมเลื่อนเป็น 8.06 เพราะดูเหมือนปัญหาเยอะเกินใช้งานปรกติไปเยอะเลย
ผมใช้ทำงานเต็มเวลานี่เล่นเอาไม่กล้าอัพเกรด
LewCPE
lewcpe.com , @wasonliw
อ่านแล้วก็ไม่กล้าอัพเดทเช่นกัน
ถึงจะไม่ได้ใช้เต็มเวลาก็เหอะ
onedd.net
Fedora 9 ใครลองแล้วมั้งครับ ผมโหลดเสร็จแล้ว(x86)แต่ยังไม่มีเวลาลองเลย และอยากลองตัว 64bit มากกว่าครั้ง 8 ลง Graphic ไม่ได้ซ๊ะงั้น ATI ไม่มี Drivers เซ็งครับ
ปัญหาประหลาดๆที่ว่ามีอะไรบ้างครับ เพราะผมกำลังจะอับเดทอยู่เหมือนกัน
ได้อ่านบล็อกนั้นของ Mark เหมือนกัน (ผ่าน Russel Coker's blog ) ที่อ่านแล้วคิดว่า Mark มาพูดไม่ถูกเวลา ก็คือเรื่องที่ยืนยันว่า FOSS สามารถ release ตรงเวลาได้ โดยบอกว่าขัดกับความเชื่อทั่วไป ว่าต้องเป็น proprietary ที่สามารถควบคุมงานทุกส่วนได้เท่านั้นถึงจะทำได้ แต่มาพูดในจังหวะที่ LTS มีปัญหาแบบนี้ น้ำหนักมันเลยลดไป คือกลายเป็นข้อเสียของการตรงเวลา ที่ทำให้ต้องออกทั้ง ๆ ที่ยังไม่พร้อม
สองในสาม distro ใหญ่ที่เขาขอ คือ RHEL, Novell แล้วก็ Debian ผมว่า Debian คงยาก คือของ Debian อาจจะกำหนดเวลาออกได้ แต่การตรงเวลาไม่ใช่เรื่องสำคัญเท่า stability ถ้ามันยังไม่ stable พอก็ไม่ออก
ในอีกแง่หนึ่ง ผมก็รู้สึกว่ากำหนดออกทุก 6 เดือนของ GNOME ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อัตราการพัฒนาของ GNOME ไปได้ช้า ไม่ดูหวือหวาเท่า KDE เพราะการเปลี่ยนแปลงใหญ่ ๆ มันต้องใช้เวลาทำและทดสอบนาน นี่ไม่กี่เดือนก็ freeze นักพัฒนาบางคนก็ต้องหันมาทำงานแปลแทน แล้วก็อาจสลับมาทำแพกเกจให้ distro ด้วย (หลายคนควบหลายตำแหน่ง) จากนั้นก็ maintain stable release ช่วงหนึ่ง ก่อนจะได้เริ่มรอบใหม่ใน development branch เหลือเวลาทำรุ่นใหม่จริง ๆ ไม่กี่เดือน อะไรที่ทำไม่ทัน หรือต้องใช้เวลานานเกินไป ก็เลื่อนออกไปเรื่อย ๆ
ออกถี่ ๆ ออกตรงเวลา มันก็มีทั้งข้อดีข้อเสียแหละ
ผมมองว่าการพูดเรื่อง 8.04 ออกตรงเวลาของ Shuttleworth น่าจะเป็นแค่การให้กำลังใจลูกน้องน่ะครับ คือแทนที่จะบอกว่า "เรามีปัญหา" ก็ออกมาในรูปว่า "เราทำดีแล้ว (ตรงเวลา) แต่ทำได้ดีกว่านี้นะ"
ในคอมเมนต์ของ Shuttleworth มีอันที่เขาไปตอบบ้างประปราย มีอยู่อันนึงที่พูดถึงกำหนดออกของ RHEL รุ่นถัดไปเทียบกับ LTS รุ่นถัดไปซึ่งห่างกัน 1 ปี และบอกว่ายินดีแก้ให้สองอันนี้ปรับเข้าหากัน ผมเลยคิดว่าในใจเค้าน่าจะคิดถึง RHEL เป็นหลัก
อ่านน้ำเสียงก็น่าจะเป็นแบบนั้นครับ (ให้กำลังใจ พูดในแง่ดีเข้าไว้) แต่เขา claim มากไปไงครับ เหมือนพยายามจะยกให้เป็นประเด็นระหว่าง FOSS กับ proprietary ขึ้นมา ซึ่งมันไม่ถูกเวลาเลย.. ไว้ claim ใน release ถัด ๆ ไปที่ปัญหาไม่เยอะก็ยังได้
ส่วน "สองในสาม" ผมอ่านแล้วก็ยิ้ม ๆ เหมือนกัน เหมือนเขาเจตนาอยู่แล้ว ว่าหนึ่งในสามที่เพียงแต่ต้องการเอ่ยถึงเท่านั้นคือใคร :P
ความจริง ผมว่า Debian กับ Ubuntu ไม่เหมาะที่จะออกพร้อมกันอยู่แล้วครับ ถึงแม้เฟสการพัฒนาของโครงการทั้งสองจะไม่มีอะไรที่ขึ้นต่อกัน แต่ก็มีการใช้ทรัพยากรบางอย่างร่วมกันอย่างมีขั้นตอน
การทำงานร่วมกันจะใกล้ชิดในช่วงแรกของรอบการพัฒนา Ubuntu เพราะทุกอย่างที่เข้า Debian จะตกทอดถึง Ubuntu โดยตรง นักพัฒนาก็มักจะย้ายมาทำที่ Debian กัน จนกระทั่งเข้าสู่ช่วง Debian Important Freeze นักพัฒนา Ubuntu ก็จะเริ่มกลับไปที่ Ubuntu แล้วก็แยกสายการพัฒนากัน โดย Ubuntu อาจจะใช้ dpkg หรือเครื่องมืออื่น ๆ รุ่นที่เก่ากว่า Debian ในช่วงนั้น นักพัฒนา Ubuntu ที่เป็น DD ด้วยก็เริ่มแบ่งภาคไม่ไหว ก็มักจะเลือกทำที่ Ubuntu ที่เดียว ไว้รอ merge กลับเข้า Debian รุ่นหน้า เท่ากับ Debian จะขาดคนส่วนหนึ่งไปในช่วงเตรียม release
อันนี้ผมก็เห็นด้วยครับว่าเคลมมากไป ตรงที่โฆษณาว่าออกได้ตรงเวลา ไม่น่าเคลมเท่าไร
พอมาอ่านบล็อกอันนี้ ผมเลยเริ่มสงสัยว่า Ubuntu จะมีแรงทำดิสโทรที่ออกทุก 6 เดือนได้นานสักแค่ไหน ที่ผ่านมาถ้าเป็นดิสโทรคนทั่วไปใช้ก็โอเค แต่พอหันมาจับตลาด enterprise (ซึ่งจะเป็นที่มาของรายได้ของ Canonical ในอนาคต) เราก็เริ่มเห็นปัญหา ผมคิดว่าในแง่ของ enterprise การใช้โมเดลดิสโทรขนาน (แบบ Fedora-RHEL) อาจจะเหมาะกว่าการออกรุ่นสลับแบบของ Ubuntu
มีสิ่งที่ผมสงสัยอยู่อย่างนึงก็คือ ทำไมต้องออกบ่อยกันแบบนี้ 6 เดือนใช้ยังไม่คุ้นมือเลย ก็เปลี่ยนอีกแล้ว
ทำไมไม่เอายาวๆ 2-3 ปีออกที ไปแน้น Security fix พอ ออกใหม่ให้มันหวือหวาไปเลย เอาแบบ Windows ได้ไหม
หรือติดปัญฯหาอะไรจึงต้องเป้นแบบนี้ ตัวผมเองไม่ได้ใช้ Linux ประจำ ก็เลยไม่ได้ตามข่าวมาก แต่ถ้ามีใครไขข้อข้องใจได้จะดีมากครับ
ผมก็ไม่รู้ แต่คิดว่าน่าจะเป็นประเภท แก้บัค แล้วก็ hardware อ่ะ
bug นั้น security fix จัดการได้ครับ แต่ h/w น้คิดหนักเพราะว่าเจ้าพวกบริษัททำ h/w ไม่ค่อยจะสนใจเท่าไหร่(เรื่อง drivers) ถ้าแก้ตรงนี้ได้ก็คงเหมือน windows ได้
ส่วนตัวผมชอบ linux นะครับ แต่งานไม่นำพาให้มาเจอ linux ยกเว้นบางงานที่ลูกค้าต้องการรันบน linux เท่านั้นซึ่งนานๆทีจะเจอ ไม่เกินปีล่ะ 2ครั้ง ทำให้ไม่ค่อยได้ใช้ เมื่อ 2เดือนที่แล้ว test งานบน fedora 8 มาไม่กี่วันนี้ก็ fedora 9 ออกล่ะ งานต่อไปก็ต้องทดสอบกันบน fedora 9 อีก เฮ้อออออ อีก 6 เดือนข้างหน้าก็ fedora 10
ลินุกซ์ยี่ห้อที่จับตลาดองค์กรก็มีหลายตัวครับ ที่นิยมก็อย่างเช่น RHEL, SLES, Debian Stable หรือ Ubuntu LTS พวกนี้ออกห่างกันประมาณ 3 ปี แถมซัพพอร์ตนานจนลืม
เออแฮะ เพิ่งจะรู้ตัวเหมือนกัน ว่าออกทุกๆ 6 เดือนทำให้ปรับตัวตลอด ไม่ทันได้คุ้นมือซะที :D
ผมว่าการออกบ่อยๆมันมีข้อดีคือได้ฟีเจอร์ใหม่ๆมาเล่นค่อนข้างเร็วนะครับ
PoomK
ออกเป็น patch ดีกว่าไหม ถ้าแบบนั้นน่ะ แบบ Microsoft น่ะ ออกถี่ ๆ คงไม่สนุกเท่าไหร่
Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework
น่าจะออกเป็นปีละครั้ง ก็น่าจะโอเคนะผมว่า
ถ้าสองปี ครั้งมันนานไป
สำหรับ Ubuntu นะ -
เพิ่ง dist-upgrade เป็น 8.04 เมื่อคืนนี้เอง -_- ...........
ลงเสร็จ Font แปลกๆ ไปเลยอ่ะ รอหน่อยเดี๋ยวคงดีเอง
ออกตรงเวลาทำให้มีความหวังออกถี่ๆ ทำให้ไว้ใจ
ผมสนับสนุนเต็มที่ (อัพเกรดไปแล้ว)
ถ้าใช้งานจริงคงต้องอยู่กับ LTS ครับ ส่วน ตัวปกตินั้นเป็นอะไรทีั่ทำให้คนเห็นว่ามีการพัฒนาต่อยอดต่อไปไ้ด้เรื่้อยๆครับทีมนักพัฒนาน่าจะแบ่งเป็นส่วนๆอยู่แล้วนะครับ ว่าใครพัฒนาอะไร ... ถ้าหากเน้นอะไรมากเกินไปก็จะทำให้ลูกค้าอีกประเภทหายไปครับ (เช่น User ธรรมดาก็อยากได้อะไรธรรมดาๆ ไม่รู้ว่าอะไร Stable ไม่ Stable แค่มันใช้ง่าย ดูดี เป็นพอ) ส่วนคนที่ใช้งานองค์กรก็จะต้องการ Packages ที่ทนทานหน่อย Stable สูง ส่วน Localisation ก็จะต้องแปลทั้งหมดอยู่ดีเพื่อการใช้งานที่ง่ายขึ้นซึ่งตรงนี้การแปลจะต้องมีความเชี่่ยวชาญการแปลหน่อย
ปัญหาสำหรับผมน่าจะอยู่ที่ว่าทำอย่างไร Ubuntu จะเพิ่มจำนวนนักพัฒนาได้มากขึ้นอีก และมากขึ้นอีก จนกระทั่งมีเหลือเฟือที่จะทำงานทัน 6 เดือน และสามารถล้นจนไปช่วยพัฒนา Packages ให้ Debian ได้อีกด้วย ซึ่งนั่นหมายความว่าจะต้องมีการทำการตลาดมากขึ้นเช่นการเคลมว่า Ubuntu มันออกทุก 6 เดือน และมันใช้ง่าย หรืออะไรก็ตามแต่ครับ : )
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
:: Take minimum, Give Maximum ::
8.04 เหรอครับ ลงได้สองชั่วโมง กลับไปเป็น 7.10 โดยพลัน (เล่น beta อยู่ 4 เดือนจนผมคิดว่า Windows เสถียรกว่ามันเยอะ)