ช่วงเช้าวันนี้ เวลา 4:39น. จรวด Falcon 9 ของ SpaceX ได้พาดาวเทียมไทยคม 8 (Thaicom 8) ปล่อยสู่วงจรสำเร็จเรียบร้อย โดยส่วนของจรวดในขั้นแรกได้กลับลงสู่พื้นโลกสำเร็จอีกเป็นครั้งที่ 4 ในประวัติศาสตร์ของ SpaceX
ดาวเทียมไทยคม 8 มีน้ำหนัก 3,100 กิโลกรัม ผลิตโดยบริษัท Orbital ATK โดยส่งขึ้นวงโคจรที่ตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก ตำแหน่งเดียวกับไทยคม 5 และไทยคม 6 รองรับการออกอากาศและบริการข้อมูลในพื้นที่ เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแอฟริกา
ที่มา: BusinessWire
Get latest news from Blognone
Follow @twitterapi
Comments
แอบแปลกใจไม่มีคนไทยไปถล่มเม้น.. Heh
ไม่มีการโปรโมทในสื่อหรือเพจเฟซบุคดัง ๆ เฉย ๆ ครับ เลยไม่มี ww
ก็ดีแล้วนี่ครับ จะได้ไม่ต้องปวดหัวกับนักเลงคีย์บอร์ดปะทะกับต่างชาติ
Get ready to work from now on.
ถ้าโปรโมท มันก็จะมีคนโยงเข้าการเมืองอีกบางส่วนก็จะบอกว่าเอางบไปกระจายให้ชาวบ้านต่างจังหวัดดีกว่า
เคาะขวา INTUCH รัวๆ :D
วันเสาร์ตลาดปิดครับ ฮ่าๆ
ไม่เคาะ THCOM รึครับ ราคาถูกเลยช่วงนี้
ดาวเทียมดวง 1 อายุ สักกี่ ปีครับ
15ปีครับ
15-17 ครับ
อยากรู้ วงโคจรนี่ต้องประมูลมั้ย
รู้แต่ว่าต้องจองใว้และส่งดาวขึ้นไปถ้าปล่อยให้ว่างจะเสียสิทธิ์ให้คนอื่นไปคนอื่น
ไม่ได้ครับ ต้องประสานขอจองผ่านองค์กรกลางอย่าง ITU
มันจะมีวงโคจรว่างอยู่ครับ ซึ่งถ้าจำไม่ผิดจะมีการประชุมของ ITU ที่จะให้แต่ละประเทศอ้างสิทธิของวงโคจรได้ครับ และเมื่อได้สิทธิมาก็ต้องนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์คือมีดาวเทียมอยู่ในวงโคจร ถ้าไม่มีภายในระยะเวลาที่กำหนดก็จะต้องคืนวงโคจรกลับไป ให้ประเทศอื่น ๆ ได้ใช้งานครับ
แต่ส่วนใหญ่แล้วเมื่อประเทศได้วงโคจรมาก็จะให้เอกชนบริหารต่อ หรือเอกชนอยากได้วงโคจรก็ต้องยื่นให้รัฐบาลไปอ้างสิทธิ
แต่ก็ไม่ใช่ว่าอยากจะยิงขึ้นไปก็ยิงนะครับ ต้องไปคุยกับเจ้าของวงโคจรข้างเคียงอีก คือวงโคจรมันจะห่างกัน 2 องศาได้ ถ้าคุยกันไม่รู้เรื่องก็ยิงขึ้นไม่ได้ครับเอาง่าย ๆ ถ้าเพื่อนบ้านข้างเคียงที่อยู่ก่อน ไม่โอเคก็ยิงขึ้นไม่ได้
แล้วถ้าเข้าใจไม่ผิด คุยกันแล้วก็ต้องไปออกแบบดาวเทียมแล้วกลับไปคุยกับเพื่อนบ้านอีกรอบ ว่าแบบนี้รบกวนคุณมั้ย รวมถึงถ้าจะให้คุ้มก็ต้องไปประสานงานแต่ละประเทศด้วยว่าความถี่นี้อนุญาตให้ใช้ในประเทศคุณได้มั้ย
รายเก่าอย่างไทยคมเลยดำเนินการได้ง่ายกว่า เพราะเพื่อนบ้านก็คุยกันง่าย แถมรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ก็คุยกันง่าย รวมถึงความรู้มีการออกแบบพลิกแพลงมันก็ทำได้ง่ายกว่า
เพิ่งรู้เหมือนกันว่า AIS ใช้บริการส่งดาวเทียมของ SpaceX ด้วย ก่อนหน้านี้ใช้ของเจ้าไหนหว่า
Get ready to work from now on.
ไทยคม 6 ใช้ของ SpaceX ครับ รู้สึกว่าจะเป็นบริษัทเจ้าแรกๆเลยมั้งที่ได้ใช้บริการ Falcon 9 ส่วนก่อนหน้านี้ใช้บริการของบริษัทเอกชน
รัสเซียฝรั่งเศษครับไทยคม 7 ซึ่งไปเช่าดาวเทียม AsiaSat 6 มาทำการตลาด ก็ใช้บริการ Falcon 9 เช่นกัน
5 เป็น Arianespace หลังจากนั้นเป็น SpaceX หมดเลยครับ
ดาวเทียมไทยคมเป็นของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ไม่ใช่ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) ซึ่งทั้งคู่เป็นบริษัทที่ถือหุ้นใหญ่โดยบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ครับ หรือก็คือเป็นบริษัทเครือเดียวกัน
ไทยคมกับ AIS เป็นคนละบริษัทนา
ดีมากเลยที่ไม่โยงเข้าการเมืองเสื้อสี
มีใครวิเคราะห์สิ่งที่ได้ประโยชน์เพิ่มไหมครับแบบเอามาใช้อะไรได้เพิ่ม
คมชัดระดับ HD
ดาวเทียม 1 ดวงมี Bandwidth ในการให้บริการจำกัดครับ ถ้าต้องการภาพที่คมชัดมากขึ้นหรือรองรับผู้บริการมากขึ้น ก็จำเป็นต้องมี Bandwidth เพิ่ม
แต่ด้วยความที่ดาวเทียมปล่อยแล้วปล่อยเลยครับ Upgrade ไม่ได้ ทำได้อีกทางคือ ส่งดวงใหม่ที่ดีกว่าขึ้นไปนอกจากนี้ ยังรองรับกรณีที่ว่าดาวเทียมเก่าเกิดมีปัญหา ก็จะมีดวงใหม่สำรองทำงานต่อได้เลยครับ
ในช่วงที่มีปัญหาคุณภาพสัญญาณอาจจะดรอปลงไปแต่ก็ยังใช้ได้ทั้งหมดครับ
แต่อีกแง่หนึ่งคือที่ไทยคมส่งดาวเทียมดวงใหม่เรื่อย ๆ เพราะดวงเก่าใกล้หมดอายุ อีกทั้งยังเป็นดาวเทียมในสัญญาสัมปทานอีกต่างหาก การทำกำไรต่าง ๆ ทำได้ไม่สุดครับ แต่พอเป็นใบอนุญาตมันทำตลาดได้ง่ายกว่า ประกอบกับการรองรับ ทีวีดิจิตอล และ Content HD หรือ UHD ผ่านดาวเทียมครับ
นอกจากนี้มันไม่ใช่แค่ประเทศไทยครับ ยังรวมถึงประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคด้วยครับถ้าเข้าใจไม่ผิดไทยคม 8 มีพื้นที่ครอบคลุมถึงแอฟริกาด้วย ซึ่งก็สร้างรายได้อย่างนึงครับ
ส่วนที่ไทยจะได้อีกแรงคือเมื่อไทยคมมีรายได้มากขึ้น จะมีการจ้างแรงงานมากขึ้น มีการจ่ายภาษีเข้ารัฐมากขึ้นครับ
งดงามจริงๆ
landing เทพมาก!!
ดูแล้วปลื้มมาก
เจ๋งตรงจรวดท่อนแรกกลับมาลงจอดนี่แหละ
จะได้มีช่อง HD จาก ดาวเทียมเพิ่ม
จะได้มีช่อง HD จาก ดาวเทียมเพิ่ม ซ้ำ
แล้วตอนนี้ ไทยคม ดวงก่อนๆยังทำงานไหมครับ หรือตกไปแล้ว
ดาวเทียมไทยคม 1 2 3 ถูกปลดระวางไปแล้วครับ (ดาวเทียมสื่อสารจะไม่ตกครับ แต่เป็นการ De-orbit คือดีดตัวเองออกจากวงโคจรไปสู่ความเวิ้งว้างอันไกลโพ้นแทน)
หรือไม่ก็โดนแรงดึงดูดโลก ดึงกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศและถูกเผาจนไม่เหลือซากแทน
Get ready to work from now on.
ดาวเทียมไทยคมทุกดวงจะอยู่วงโคจรค้างฟ้า (36,000 กม.) ซึ่งไกลเกินกว่าจะเอากลับชั้นบรรยากาศได้ ต้องดีดทิ้งออกไปอย่างเดียว
จะมีแต่พวกอยู่วงโคจรต่ำที่จะเอากลับเข้าชั้นบรรยากาศได้ครับ
คำว่า "วงจร" อ่านแล้วแปลกๆน่าจะเป็น "วงโคจร" มากกว่านะครับ
แก้ไขแล้วนะครับ
อยากถามว่า ใครเป็นเจ้าของ ไทยคม คับ
ไทยคมเป็นบริษัทมหาชน มีบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ครับ
ที่เหลือก็ตามส่วนครับ แน่นอน ผมก็เป็นเจ้าของด้วย อยู่ 100 หุ้นแหน่ะ
ข้อมูลจาก SETTRADE.COM