กูเกิลประกาศจับมือกับเฟซบุ๊ก และบริษัทเคเบิล Pacific Light Data Communication และ TE Subcom ลาสายเคเบิลใต้น้ำ เชื่อมทวีปอเมริกาเหนือกับเอเชียเข้าด้วยกัน
สายเคเบิลเส้นนี้มีชื่อว่า Pacific Light Cable Network (PLCN) เชื่อมต่อตรงระหว่างลอสแองเจลิสและฮ่องกง ความยาว 12,800 กิโลเมตร มีศักยภาพส่งข้อมูลได้ 120 Tbps ถือว่าสูงที่สุดในสายเคเบิลข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมด (เจ้าของสถิติเดิมคือ เคเบิล Faster ที่กูเกิลร่วมสนับสนุน ส่งข้อมูลได้ 60 Tbps )
ก่อนหน้านี้ กูเกิลเข้าไปลงทุนในสายเคเบิลใต้ทะเลมาแล้ว 5 โครงการคือ Unity, SJC, FASTER, MONET, Tannat ส่วนโครงการ PLCN นี้จะเริ่มเปิดบริการในปี 2018
ที่มา - Google Cloud Platform Blog
Comments
อยากรู้จังว่า เส้นนึงลงทุนกันเท่าไหร่
+1
while a new $560 million trans-pacific cable connecting the U.S. and Asia only ran about $28,000 per kilometer.
อื้อหือ กิโลละล้าน
ลาสาย => ลากสาย
ลากมาไทยหน่อยเดะทำ single gateway ให้
อาหารฉลามเส้นใหม่
ถามหน่อยครับลากเส้นข้ามมหาสมุทรแล้ว มีประโยชน์อะไรตามมาบ้างครับ
ประโยชน์อย่างน้อยๆ ก็แบนวิชสูงขึ้นครับ เพื่อรองรับบริการของ Google กับ Facebookประโยชน์อย่างมากนี้ต้องไปดูว่าใช้สายทำอะไรบ้างอ่ะครับ
การสื่อสารผ่านสายเป็นอะไรที่เสถียรและมีคุณภาพสูงสุดแล้วครับ
จริงๆ ก็มีสายอื่นที่ลากไปก่อนหน้าแล้วนะครับ ที่เราใช้ๆ กันนี่ก็ลากข้ามมหาสมุทรครับ(ถ้ารู้แล้วขออภัย) แต่กรณีกูเกิลกับเฟสบุคที่มีสายที่ตัวเองลงทุน
สายใหม่มีความเร็วเพิ่มขึ้น และทั้งสองบ.มีความเป็นเจ้าของในสายเพิ่มมากขึ้น ลดอาการหน่วงจากแต่ละเครือข่ายย่อยของตัวเอง และ ฯลฯ ครับ
สายใหม่มีความเร็วเพิ่มขึ้น -> แก้ไขเป็นแบรนด์วิธสูงขึ้ครับ(ขนดาต้าในแต่ละครั้งที่ส่งข้อมูลได้มากขึ้น)
ขอบคุณที่ช่วยแก้ไขให้ครับ โควต้าหมด ใจจะขาดครับ
เร็วขขาดนี้ ในเคเบิล มีใยแก้วกี่เส้นครับ