วันนี้ มีฝรั่งกลุ่มหนึ่งมาเยี่ยมโดยมาจากบริษัท HP ที่เมือง Huston Texas มาจากทางด้าน marketing เขามาเพื่อมาสัมภาษณ์พวกเราว่าผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ในปีหน้าควรจะเป็นอย่างไร ทีมนี้มากันสามคน เวลานำเสนอคนที่เด็กหน่อยก็ update road map ของเขาให้ฟัง ส่วนตัวหัวหน้าคอยจด เขามาพร้อมกับรายการยาวเหยียดของคำถาม เช่น เรามองแนวโน้มอะไรเป็นเรื่องใหญ่ พวกนี้เขาไม่ได้มาขายของ แต่มาเก็บข้อมูลจาก reference customer เพื่อทำผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ๆ มาให้เราใช้ คำถามบางเรื่องเป็นเรื่องเทคนิคสูงมาก เช่น ตอนนี้เราบริหารระบบเซิร์ฟเวอร์ แคร์เรื่อง IPMI หรือไม่ การใช้งาน workload ของกลุ่มผู้ใช้เรามีกี่กลุ่มและควรปรับปรุงผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์ของเขาอย่างไรถึงจะดี
ระหว่างการสนทนาคำบางคำถูกอ้างอิงตลอดเวลาครับ คำเหล่านี้คือ
การประหยัดพลังงาน เวอร์ชวลไลเซชั่น และ มัลติคอร์
ดูเหมือนสามคำนี้กำลังฮอตและเป็น Magic word อยู่ขณะนี้ครับ
ตอนนี้ค่าใช้จ่ายเรื่องพลังงานกลายเป็นสัดส่วนสูงมากของ total cost of ownership ในสามปีแรก บางทีซื้อระบบราคาถูกอาจจะแพงกว่าระบบบที่ราคาเริ่มต้นสูงกว่าก็ได้ ถ้าไม่ระวังเรื่องการใช้พลังงาน
ส่วนการทำ เวอร์ชวลไลเซชั่น จะช่วยให้เราวางโครงสร้างพื้นฐานที่ยืดหยุ่นได้ ในส่วนงานของเรา มองเทคโนโลยีนี้ในการสร้างระบบที่แยกการใช้ของผู้ใช้ออกอย่างขัดเจนเพื่อพิทักษ์เรื่อง ความปลอดภัยของข้อมูลครับ
มัลติคอร์กำลังจะเข้ามาเร่งพลังระบบไอที บ้านเรายังขาดความเข้าใจอยู่มากว่าต้องเขียนโปรแกรมแบบมัลติเทรดด้วยเพื่อรีดเร้นพลังของมัลติคอร์ออกมา เรื่องนี้สำคัญมากๆ กรณีที่เราทำงานกับระบบที่ต้องการรับ load สูงมากๆ
สุดท้ายทีมที่มาก็ไปเยี่ยมชมเซิร์ฟเวอร์ที่เรามีอยู่ราว 200 เครื่อง หลังจากได้แลกความคิดกันมากมาย สุดท้ายเขาก็ถามผมว่าอยากได้อะไรในผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ๆ บ้าง ผมก็แซวว่าต้องขอคิดดีหน่อย นานๆ จะได้ออกความเห็นที่จะกลายเป็นของขายทั่วโลกสักครั้ง หลังจากอึ้งไปสักพักผมเลยผมเสนอไปว่า การออกแบบในอนาคตควรคำนึงเรื่อง Serviceability ในระบบให้มาก เนื่องจากค่าแรงคนด้านงานบริหารระบบจะแพงมากขึ้นทุกที ดังนั้นการถอดประกอบระบบเซิฟเวอร์รุ่นใหม่ ควรเป็น Modular สูงมากๆ เพื่อลดเวลาการซ่อมบำรุงซึ่งจะกลายเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมากในอนาคตสำหรับการดูแลศูนย์ข้อมูล
เขาเองบอกว่าตอนนี้คนสนใจทำ Cloud Computing มากขึ้นทุกที โดยเอาไปให้บริการ Web 2.0 ขนาดใหญ่มากๆ ผมเองเห็นว่าแนวโน้มของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีกำลังก้าวไปสู่การทำระบบ Cloud Computing โดยใช้เบลดเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก รวมกับการใช้เทคโนโลยีมิดเดิ้ลแวร์มาทำให้รองรับงานประยุกต์ขนาดใหญ่ได้ แล้วใช้เทคนิคของ web 2.0 กับสถาปัตยกรรมแบบ SaaS (Software as a Service) หรือ Software + Services ครับ สิ่งที่ยังขาดคือ มาตรฐาน ทั้งในแง่การพัฒนาโปรแกรมและการสร้างโครงสร้างพื้นฐานระบบครับ คงต้องตามดูกันอย่างใกล้ชิดต่อไปครับ
Comments
ลง Forum และแก้คำผิดดีกว่านะครับคราวหลัง >>หรืิอ<< บางคำภาษาอังกฤษได้ก็น่าจะใช้ เพราะ >>เวอร์ชวลไลเซชั่น<< และ มัลติคอร์ มันดูแปลกๆ และมาเล่นภาษาอังกฤษด้านล่างทีเดียวซะยาว >>ของว user<< คำบางคำ>>ผุด<< โอ๊ะโอว
แต่ยังไงก็มีประโยชน์มากๆครับ ในกรณีอ่านเล่น เพราะ Cloud เป็น Project In Progress อยู่ ยังไม่ miss พอ <เล่นคืนบ้าง
แมคไซด์ โปรไฟล์
ด้วยความเคารพคุณแมคโซด์ครับ ในกรณีของผม เวลาผมพิมพ์เร็วๆและผมเองก็ไม่ได้เขียนข่าวเป็นอาชีพน่ะครับ ดังนั้น อาจมีผิดพลาดตกหล่นบ้าง ผมเข้าใจว่าอาจารย์ท่านมีเวลาน้อยในการตรวจและแก้ไขคำครับ เพราะอาจารย์ต้องทำงานหนักให้ประเทศครับ แต่เนื้อหาที่อาจารย์โพสต์มีคุณค่ามากๆต่อประเทศในภายภาคหน้าแน่ๆครับ
Sivadon Chaisiri (JavaBoom) http://javaboom.wordpress.com
My Blog
ต้องขอขอบคุณอย่างมากในคำติของคุณ แมคไซด์ โปรไฟล์ ครับ แล้วจะพยายามปรับแก้ต่อไปครับ ผมเองก็เพิ่งเข้ามาในเขียนแนวคิดบางอย่างในนี้ อาจจะยังไม่ชำนาญเรื่องภาษา เพียงคิดว่าหากพบอะไรที่น่าสนใจ ก็อยากรีบแบ่งปันกันให้คนได้รู้เร็วๆครับ แล้วค่อยย้อนมาแก้ทีหลัง หากมีอะไรผิดพลาดก็ขอน้อมรับไว้นะครับ
ก็มีอีกสองประเด็นที่ต้องอธิบายนิดครับ เหตุผลที่ไม่ได้เขียนบทความในฟอรัม เนื่องจากมองว่าเรื่องนี้น่าจะเป็น special report มากกว่าครับ ส่วนหนึ่งจะเห็นว่า ข่าวใน blognone ส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ซื้อมาเล่นได้ หรือเป็นข่าวแปลมาจากต่างประเทศ ส่วนที่ผมพยายามจะเพิ่มเติม คือ ทิศทางของเทคโนโลยีแฝงด้วยการวิเคราะห์ โดยเป็นบทความที่เขียนจากแนวคิดและประสบการณ์ของตัวเองโดยตรงครับ
สำหรับเรื่อง cloud computing นั้นผมเองคิดว่าไม่ใช่เรื่องไกลตัวที่ไม่ฮิตอย่างที่คิดนะครับ เทคโนโลยีนี้ถูกใช้อย่างหนักโดย Google, Microsoft และ YouTube และอีกหลายหลายที่ที่ยังขาด คือ การทำเทคโนโลยีนี้ให้เป็นมาตรฐานครับ ผมเองรู้จักกับ Director, Technical Computing ของ Microsoft Research Europe ท่านบอกผมว่าปีนี้ทาง Microsoft ได้จ้างอดีต Director ของ NCSA ในสหรัฐมาสร้างกลุ่มวิจัยด้านนี้ครับ ขอให้ลองดูทาง google app engine ก็จะทราบว่ามีการเคลื่อนไหวด้านนี้มากแล้ว สำหรับในบทความ ทาง HP สหรัฐเองเป็นคนบอกผมว่าลูกค้าของเขาในสหรัฐเริ่มมองการสร้างระบบไอทีที่ใช้โปรแกรมประยุกต์แบบ WEB 2.0 บนระบบ cloud นะครับ ผิดถูกอย่างไรคงต้องแอบโทษฝรั่งก็แล้วกันครับ
ประเด็นหนึ่งที่ผมเชื่อ คือ การมองไปในอนาคต 3-5 ปีแล้วตอบโจทย์ว่าเทคโนโลยีใดมีบทบาทเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ประเทศเราแข่งขันได้ เทคโนโลยีที่ฮิตตอนนี้ เช่น Wifi, Wimax เราคงแข่งได้ยากครับ
สำหรับ มัลติคอร์ นั้น ขอให้ดูบทความ เรื่อง "A Chip Too Far?" ในวารสาร Fortune ฉบับ 1 กันยายน 2008 หน้า 35-36 นะครับซึ่งจะพูดถึงประเด็นความสำคัญของเทคโนโลยีนี้และการที่นักซอฟต์แวร์ ยังไล่ไม่ทันอยู่ครับ น่าสนใจมาก เทคโนโลยีเกิดใหม่ที่เป็น disruptive เหล่านี้ผมเชื่อว่าจะเป็นจุดที่ทำให้ไทยเราแข่งขันได้เพราะทุกคนเริ่มต้นกันหมด ทำให้เรามีความสามารถไม่แพ้คนทั้งโลกครับ
ขอบคุณครับ
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ Cloud ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยครับ ยิ่งเราใกล้ Web 2.0 เท่าไหร่ Cloud ยิ่งขยายตัวทั้งในแง่ตลาดและการวิจัยพัฒนามากขึ้นเท่านั้น และคนเราไม่ได้ใช้ Web 2.0 เพื่อการส่วนตัวหรืองานอดิเรกเท่านั้น ในแง่ธุรกิจคนก็ใช้ Web 2.0 กันหนักหน่วงแล้วครับ
มาดูเพื่อนบ้านของไทยกัน IBM เอา Cloud ไปลงที่เวียดนามเป็นประเทศต้นๆของเอเชียเลยก็ว่าได้ (IBM อ้างว่าเวียดนามเป็นประเทศแรก) ถัดจากนั้นก็เป็นจีนครับ ส่วน HP, Intel, กับ Yahoo! เพิ่งประกาศข่าวลงทุนงานวิจัย cloud ที่สิงคโปร์เมื่อเดือนก่อนเองครับ ตอนนี้ งานวิจัย Cloud ในเอเชียกำลังขยาย ผมเชื่อว่าไทยแข่งด้านนี้ได้ครับ หากไม่ใช่ในแง่การตลาด ก็ในแง่งานวิจัยหรือไม่ก็ผลิตกำลังคนทางสายนี้ครับ
ด้วยความเคารพอย่างสูง
Sivadon Chaisiri (JavaBoom) http://javaboom.wordpress.com
My Blog
เห็นด้วย
เห็นด้วย
และเห็นด้วยครับ
1.บทความเชิงวิเคราะห์ยังเป็นจุดที่ blognone มีไม่มากนักครับ ส่วนตัวถ้ามีเวลาก็อยากจะ contribute ตรงนี้มากกว่าการเขียนข่าว 2.สำหรับประเด็นเรื่อง cloud/grid computing ผมเองก็กำลังทำบางอย่างกับมันอยู่ 3.ส่วนเรื่อง vision ในระดับ 3-5 ปี ผมทดสอบมาแล้วกับตัวเองเจอและเชื่อเหมือนกันครับ การพยากรณ์ที่เลย 5 ปีไปสำหรับเทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่งแบบเฉพาะเจาะจงนั้นผมมองว่าความเสี่ยงสูงมากสำหรับวงการไอทีระดับนานาชาติ ช่วง 3-5 ปีดูเหมือนจะเหมาะสมครับ (ที่ผมทดสอบแล้วเจอมาคือระยะ 3 ปี)
เรียนอาจารย์ภุชงค์ที่เคารพครับ ผมบูมเองครับ Cloud เป็นยุทธศาสตร์ทางการค้า ส่งผลให้เกิดการแข่งขันด้านพัฒนาและวิจัยทั้งทางการศึกษาและการตลาด Cloud แม้จะ in progress แต่ progress มันไปเร็วมากๆและให้กำไรสูงครับ จะเห็นว่าบริษัทยักษ์ใหญ่หลายเจ้าทยอยออกผลิตภัณฑที่รองรับ Cloud อยู่มากมาย ทำให้้เกิดการแข่งขันสูง และส่งผลให้เกิดงานวิจัยและพัฒนาทั้งแนวกว้างและแนวลึกได้มากครับ
Green Computing + Virtualization + Multi-core/many-core เป็นกุญแจหลักของเทคโนโลยีนี้เลยก็ว่าได้ จากข่าวความร่วมมือที่ Intel, HP และ Yahoo ก็พอทำให้ทราบแล้วว่าพวกเขาเอาจริง ผมเชื่อว่า Microsoft, Intel, HP, IBM, Yahoo, Google, Dell, Sun, Amazon, Symantec, Apple, Platform, Citrix, VMWare รวมถึง DoD กระทรวงกลาโหมอเมริกา และอีกมากมาย ลงทุนและวิจัยอย่างหนักเรื่อง Cloud คงไม่ได้ทำเล่นๆพอเป็นพิธีแน่นอนครับ
ขอบพระคุณอาจารย์ที่ช่วยผลักดันให้ผมได้มาอยู่แวดวงนักวิจัยด้าน Cloud Computing ครับ
ด้วยความเคารพอย่างสูง
Sivadon Chaisiri (JavaBoom) http://javaboom.wordpress.com
My Blog
ไม่เป็นไรครับ ผมยินดีช่วยแก้