หลังจากไอบีเอ็มปล่อย Roadrunner ซูเปอร์คอมพิวเตอร์พลัง Cell ทะลุหลัก PetaFLOPS จนได้ตำแหน่งคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงที่สุดในโลกไปครองแล้ว ข่าวล่าสุด ประเทศจีนประกาศตั้งเป้าสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ความเร็วระดับ PetaFLOPS ไว้ที่ปี 2010 โดยใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ Godson * ผลิตภัณฑ์สัญชาติจีน โดยจีนฝากความหวังไว้กับโปรเซสเซอร์ที่ชื่อ Godson 3 ซึ่งจีนอ้างว่าสามารถเป็นคู่แข่งของ Cell ที่ใช้กับ Roadrunner ได้
จากแหล่งข่าวยังกล่าวถึง Godson 2g ที่จะถูกออกแบบแล้วเสร็จในเดือนหน้า โดย Godson 2g ผนวกฟังก์ชันหลายๆอย่างลงในโปรเซสเซอร์เดียว (อย่างเช่นผนวก GPU เข้าไป) คล้ายกับที่ Intel และ AMD กำลังทำอยู่ ส่วน Godson 3 ที่เป็นเวอร์ชัน quad-core (4 คอร์) ความเร็วสัญญาณนาฬิกา 1 GHz มีกำหนดวางตลาดปีหน้า
ในช่วงท้ายของแหล่งข่าว Tom Halfhill นักวิเคราะห์อาวุโสจาก In-Stat วิเคราะห์ว่าการสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระดับ PetaFLOPS ในปี 2010 มันน่าจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้จริงอยู่แล้ว ทำไมจีนต้องตั้งเป้าให้ดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ และกล่าวว่า "เนื่องด้วยประชากรของประเทศจีนที่มีจำนวนมาก Godson จะเป็นคู่แข่งสำคัญในตลาดไมโครโปรเซสเซอร์ หากจีนเน้นขายแค่เพียงในประเทศจีนเท่านั้น"
* Godson มีชื่อเรียกชื่ออื่นคือ Loongson และ Dragon chip เป็นไมโครโปรเซสเซอร์แบบ MIPS ปัจจุบันมีอยู่ 40 บริษัทที่ใช้ Godson สำหรับผลิตภัณฑ์ set-top box, laptop, และอุปกรณ์อื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น Gdium Notebook จากบริษัท Emtec ของฝรั่งเศส
ที่มา - InfoWorld
Comments
ผมสนใจเรื่องชื่อน่ะครับ Godson แปลได้ว่า ลูกเทพ คิดเล่นๆก็ เด็ก(ขั้น)เทพ ส่วน Loongson (ไม่รู้อ่่านไง ใช่ลุงสนหรือเปล่า) แปลว่า แก่นมังกร (Dragon Core)
ถ้า Godson เน้นตลาด MiniPC หรือ Mini Home Theater ผมว่าก็น่าสนอยู่ เหลือแต่ราคาว่าจะเท่าไหร่กัน จากแหล่งข่าว มีอ้างถึงการรัน Windows บน Godson โดยเขาบอกว่าต้องใช้ซอฟต์แวร์สำหรับแปลคำสั่งของ Godson ที่เป็น MIPS ให้ไปเป็น x86
Sivadon Chaisiri (JavaBoom) http://javaboom.wordpress.com
My Blog
สัญญาณนาฬิการะดับนี้ กับ binary translation ด้วย software ไม่น่าจะทำให้เร็วมากขนาดทำให้ Windows ใช้งานได้ในระดับปกตินะครับ
แต่ถ้าได้จริงก็น่าสนใจ
เห็นด้วยครับ
รัน Wine บน clock เต่าแต่มีมากกว่่่่า 1 คอร์มันจะกระตุกหรือเปล่า ? ผมไม่เคยลองครับ
มันก็คงอยู่ที่คนบ่ม Wine ด้วยมั้งครับ (ไม่่กล้าฟันธง) อย่าง Gardon 3 มันมี 4 core ถ้าเขาออกแบบ Wine ให้ code ส่วน wineserver รันหลาย thread เช่น 1. ส่วนจัดการ GUI ให้เข้ากับ X Windows 2. ส่วน translation 3. รัน Direct3D แล้วกัน เป็นต้น สำหรับแอพก็รันแยกออกไปอีก thread -- ผมพูดง่ายไปครับ ให้ผมทำก็คงยาก
แต่ที่แน่ๆผมลอง Wine สามขวดแล้วกระตุกทุกที
Sivadon Chaisiri (JavaBoom) http://javaboom.wordpress.com
My Blog
อ่านแล้วน่าอิจฉาจีน
ไม่รู้ว่าประเทศไทยมีการออกแบบพัฒนา CPU กันบ้า่งหรือเปล่า ไม่ต้องถึง CPU ก็ได้ครับ เอาแค่ FPGA หรือ IC พื้นๆก็ได้ ใครพอทราบข้อมูลบ้าง
มีครับ มีไม่น้อยทีเดียว
แค่สถานการณ์ในประเทศเราก็มีปัณหาแล้วครับแก้เรื่องนี้ให้ได้ก่อนนะครับ
ประเทศไทยฝันไปเหอะครับ nectec มีคนทำทางด้านออกแบบ processor ถึงห้าคนเปล่าไม่รู้ แต่ไม่ถึงสิบแน่นอน
ทำใช้เองไม่คุ้ม ใช้ของที่มีอยู่แล้วดีกว่า อีกอย่างเป็นที่แน่นอนว่า ทำใช้เอง ไม่มีคนไทยใช้ชัวร์ เพราะมันไม่ Inter คนไทยไม่ช้อบบบบบ
ตอนนี้จีนทำไรก็รุ่ง ฝรั่งพวกที่กลัวโดนแย่งมันก็จะออกมาพูดเยาะเย้ยประมาณนี้แหละครับ หลายเรื่องแล้ว ลองเป็นพวกมันเองทำหรือตั้งเป้าดิ ชื่นชมกันใหญ่
เชียร์จีน เชียร์คนเอเชียด้วยกัน ถ้าของไทยดีจริงก็ใช้ครับเอาจีนสู้ๆ
อย่าท้อแท้ที่จะเรียนรู้ และจงเป็นครูสอนผู้อื่นต่อ
ขอเพียงแค่ฝันให้ไกล แล้วไปให้ถึงที่จุดหมาย
โปรดจงมั่นใจ ที่ทำลงไปนะถูกแล้วอย่าฟังคำคน อย่าสนใจใคร อย่าเปลี่ยนแนว
คนแน่แน่วเท่านั้น ผู้ชนะ
คัดมาจากเพลง "ผู้ชนะ" ศิลปิน โลโซ
Sivadon Chaisiri (JavaBoom) http://javaboom.wordpress.com
My Blog
เห็นด้วยแฮะ ถ้าไม่มีคนเริ่มไม่มีการแข่งขัน เทคโนโลยี ก็คงหยุดแน่
http://tomazzu.exteen.com
น่าจะอ่านว่า "หลงซัน" หรือ "หลงซุน" นะ
เอาใจช่วย แต่ไม่ขอใช้เทคโนโลยีจากจีน -_-
ระดับไหนครับ เค้าถึงเรียกว่า ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ครับ?
อยากทราบเหมือนกันเลยครับเรื่องนี้
จำได้ว่าสมัยที่ PowerMac G4 ออกมาใหม่ๆ มีคนขนานนามให้มันว่า Desktop Supercomputer เพราะมันเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องแรกที่สามารถประมวลผลได้ถึงระดับ GigaFLOPS ในสมัยนั้น ซึ่งถือเป็นระดับการประมวลผลของ supercomputer
มาถึงยุคนี้คงไม่ต้องพูดถึง ..CPU ระดับ Core 2 มันล้ำกว่าชิพ G4 ไปเยอะมากแล้ว ถ้าจะจำกัดความแบบชิพ G4 ในยุคนั้น คอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่คงเป็น supercomputer กันทั่วบ้านทั่วเมือง
ดังนั้น Supercomputer เค้ายึดถือกันที่อะไรกันครับผม?
คำตอบผมอยู่ comment ล่าง ส่วนเรื่อง FLOPS ตอนนี้ไปไกลมากครับ โดยเฉพาะโปรเซสเซอร์หลาย core ตามที่คุณได้กล่าวไว้แหละครับ
คอมสมัยนี้ถ้าเป็นตระกูล Intel P4 คำนวณ FLOPS ง่ายๆก็คูณ 2 ของ Clock speed แต่มันเป็นค่าทางทฤษฎี ซึ่งจริงๆแล้วอาจจะประมวลผลไม่ได้ตามค่านี้ก็ได้ เช่น Intel P4 2 GHz ก็ประมาณ 4 GFlops แต่ถ้ามี 4 core ก็คูณ 4 ไปอีก ได้ 16 GFlops เป็นต้น แต่การเอาเลข 2 คูณก็ไม่ถูกเสมอไป มันอยู่ที่สถาปัตยกรรมของโปรเซสเซอร์ เพราะบางรุ่นก็คูณ 4 เช่น Intel Core 2 Kensfield 2.4 GHz ถ้า 1 core ก็ 2.4 x 4 = 9.6 GFlops ดังนั้น 4 core ก็ 9.6 x 4 = 38.4 GFlops
อย่างไรก็ดี มีคนเขาคำนวณค่า FLOPS ของโปรเซสเซอร์แต่ละรุ่นไว้จำนวนหนึ่งแล้ว โหลดไฟล์ได้ที่ Linpack Benchmark เป็นไฟล์ postscript ใหญ่ประมาณ 40 MB ครับ เขามีทั้งคำนวณทางทฤษฎีและก็ใช้โปรแกรม LINKPACK ทำ benchmark หาค่าจริงออกมา
Sivadon Chaisiri (JavaBoom) http://javaboom.wordpress.com
My Blog
ผมจำได้ว่าคนขนานนามนั้น ก็คือแอปเปิลเองไม่ใช่เหรอครับ มันแค่โฆษณาธรรมดา
ที่ว่ามานั้นผมจำมาจากนิตยสารของไทยเล่มหนึ่งครับ แต่สมัยนั้นก็ไม่ค่อยได้ตามหาแหล่งที่มาครับ เลยไม่แน่ใจว่าคนที่ขนานนามมันคือคนทั่วไปหรือเป็น apple เองกันแน่
ช่วยค้นคว้าครับ เป็นคำพูดของ Steve Jobs จากข่าวของ BBC
Apple's chief executive Steve Jobs claimed the new chip, jointly developed with IBM and Motorola, is so powerful that the US government had classified it as a supercomputer and restricted exports to certain "sensitive" countries.
ในข่าวเขาใช้คำว่า claim ครับ ซึ่งอาจจะหาหลักฐานอ้างอิงความถูกต้องไม่ได้
แหล่งข่าวจาก Apple เองพูดถึง G4 Cube
450 MHz PowerPC G4 processor with Velocity Engine™ that reaches supercomputer speeds of over three billion calculations per second (Gigaflops).
ในที่นี้ Apple เล่นใช้หลักที่อ้างว่า Gigaflops ก็จัดว่าเป็นซูเปอร์คอมแล้ว แล้วชิป G4 มันมาประมาณช่วงปี 1999 เกือบจะ 2000 ตอนนั้น Intel P4 มาช้าไป ตัวแรกออกช่วงปี 2001 เลยทำให้ทาง Appleเฮฮากับการโปรโมทคำว่า Gigaflops อย่างเมามัน
ในช่วง Playstation 3 ออกสู่ตลาด ก็มีคนพูดว่ามันเป็นซูเปอร์คอมเหมือนกัน ด้วยความเร็วระดับ 154 Gigaflops (สำหรับ single precision) แต่ 11 Gigaflops (double precision) แต่ผมว่ามันมาเทียบกับซูปเปอร์คอมก็ไม่ได้ เพราะถ้าเราพิจารณาที่ double precision (อย่างตัวแปร double) มันก็อยู่ระดับเดียวกับ workstation บางรุ่น หากพิจารณาที่แรมชอง PlayStation 3 ก็น้อยไปสำหรับรันงานที่ข้อมูลใหญ่มาก
Sivadon Chaisiri (JavaBoom) http://javaboom.wordpress.com
My Blog
ขอบคุณมากเลยครับ ^^
อ่านแล้วชวนให้นึกถึงโฆษณา Apple Computer Ad - Think Different Snail :P
เวลาผ่านไป อะไรๆ ก็เปลี่ยนไปจริงๆ
555 ขอบคุณสำหรับโฆษณาครับ
ตอนนี้ Apple คงไม่กล้าแหย่ Intel แล้วครับ ไม่งั้นคงไม่ได้ใช้ Core2 กับ Xeon ตอนนี้เลยไปแหย่พี่บิลแทน เช่น 15 short Ads Mac vs PC
Sivadon Chaisiri (JavaBoom) http://javaboom.wordpress.com
My Blog
ผมคุ้นๆ ว่ามันมีเวอร์ชันภาพที่มี tagline ประกอบด้วย แต่หาไม่เจอเหมือนกัน หาได้ใกล้เคียงสุดคือ press release ของแอปเปิลในสมัยนั้น
ที่มาตาม ลิงก์
คำถามนี้โดนใจดี เดี๋ยวรอความคิดเห็นของพี่ๆหลายๆท่านมาช่วยตอบ แต่สำหรับผมขอตอบว่าอยู่ที่ยุคสมัยครับ ยากที่จะบอกแบบฟังธงจริงๆ เมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา ซูเปอร์คอมพิวเตอร์คือคอมพิวเตอร์ที่สมรรถนะสูงกว่าเครื่องทั่วๆไป มีหลายโปรเซสเซอร์ พึ่งการเขียนโปรแกรมแบบขนานเป็นหลัก มีขนาดเครื่องใหญ่ และราคาแพงมากๆๆๆ
เรื่องยุคสมัยคอมต้องอ้างกฎของมัวร์ (Moore's Law) ผมขออิงข้อมูลจาก wikipedia มีข้อความว่า Desktop computer 1 เครื่องในวันนี้มีสมรรถนะสูงกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์เมื่อ 15 ปีก่อน เช่น Workstation Quad-core Xeon 2.66GHz ในวันนี้มีสมรรถนะสูงกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Cray C90 ของยุค 90 ที่ราคาหลายล้านเหรียญ และงานที่รันบนซูเปอร์คอมยุค 90 สามารถรันบน workstation ที่ราคาต่ำกว่า 4000 เหรียญของปัจจุบันนี้
หน่วยที่ใช้วัดสมรรถนะคอม คือ FLOPS จากที่ผมอ่านนิตยสารหรือฟังผู้คนเรียกคอมพิวเตอร์ที่จัดว่าเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ผมสังเกตว่ามันมักจะมี FLOPS สูงกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องเดี่ยวๆประมาณ 10 - 100 เท่า เช่น ถ้าคอมส่วนบุคคลทั่วๆไปเร็ว 10 GigaFLOPS ซุเปอร์คอมพิวเตอร์ก็ควรจะ 100 - 1000 GigaFLOPS ครับ
ในความคิดเห็นของท่านอื่นเป็นไง รอติดตามดูครับ
Sivadon Chaisiri (JavaBoom) http://javaboom.wordpress.com
My Blog
ใช่แล้ว มันขึ้นกับเวลา แค่เอา Atom ไปเปรียบกับ ENIAC ก็นับว่าเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่ถือว่าไม่มีธรรมาภิบาล
ประเด็นคือขนาดและสมรรถนะ
ธรรมาภิบาล ชอบคำนี้จริงๆครับพี่ ขอผมยืมคำนี้ไปหาเสียงสมัยหน้าหน่อยนะพี่
Sivadon Chaisiri (JavaBoom) http://javaboom.wordpress.com
My Blog
ก็แสดงว่าหาคำตอบไม่ได้ใช่ไหมครับ เป็นแค่การอุปมาน เอาเอง ใช่ไหมครับหรือว่า ใครทำคอมฯ ได้เร็วที่สุดในโลกเป็น ซุปเปอร์คอมฯ ตามลำดับใช่ไหมครับ?
อันนั้นก็คงเกินไป เอาแบบสั้นๆ ว่าใช้เครื่องตั้งโต๊ะที่บ้านเป็นฐาน ถ้าเร็วกว่านี้ แรงกว่านี้มากๆ ให้นับเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์
ถ้าให้ชัดกว่านั้น ก็ตั้งแบบง่ายๆ ถึง 1 Tflops ถือว่าเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ก็ได้
อย่างที่ comment ไปก่อนหน้านี้ครับ อยู่ที่กาลเวลา อยู่ที่ยุคสมัย อย่างที่พี่ sugree ตอบใช่เลยครับ แต่ถ้ากาลเวลาผ่านไปถึงช่วงหนึ่ง 1 TeraFlops มันก็จะกลายเป็นเพียงอดีตครับ ... อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ...
Sivadon Chaisiri (JavaBoom) http://javaboom.wordpress.com
My Blog