รายงานจากการรถไฟแห่งฝรั่งเศส (SNCF) เผยแพร่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า พร้อมแล้วที่จะพัฒนารถไฟไร้คนขับ คาดว่าจะดำเนินการได้ภายในปี 2023 โดยจะเริ่มทดสอบจากต้นแบบที่เรียกว่า “drone train” ในปี 2019 นี้
รถไฟความเร็วสูงของฝรั่งเศสเรียกว่า TGV (TGV:Train à Grande Vitesse) เตรียมออกแบบเพื่อให้เป็นแบบไร้คนขับนี้ (Autonomous Train) มีแผนดำเนินการ 2 ช่วง
- ช่วงแรก จะทำการทดสอบให้วิ่งแบบขนส่งสินค้าได้ภายในปี 2019
- ช่วงที่สอง จะทดสอบการขนส่งผู้โดยสารให้ได้ภายในปี 2023 เส้นทางจากปารีสมุ่งสู่เส้นทางตะวันออกเฉียงใต้
ตั้งเป้าให้ใหญ่ วางแผนระยะใกล้ และทำให้สำเร็จ
เป้าหมายของรถไฟความเร็วสูงของฝรั่งเศสตอนนี้คือ เตรียมเพิ่มความเร็วให้มากขึ้นและเพิ่มความถี่สำหรับรอบการเดินทาง โดยเฉพาะการเดินทางโดยรอบปารีสและการเชื่อมต่อระหว่างจุดแต่ละจุดในท้องถิ่นและภูมิภาคต่างๆ คาดว่าจะเพิ่มรอบการเดินทางระหว่างปารีสและลียงได้มากขึ้นถึง 25%
ระดับความเร็วของ TGV นั้น มีจุดมุ่งหมายให้เร็วได้ระดับเดียวกับเครื่องบิน การจัดการระบบจะเป็นลักษณะกึ่งไร้คนขับ กึ่งอัตโนมัติ (semi-autonomous / semi-automatic) ส่วนภารกิจของคนขับคือเอาไว้ช่วยในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
เปลี่ยนโฉมหน้าฝรั่งเศส เดินหน้าขับเคลื่อน “อุตสาหกรรมแห่งอนาคต”
TGV แบบไร้คนขับนี้ถือเป็นไปหนึ่งในแผนการเปลี่ยนโฉมหน้าอุตสาหกรรมฝรั่งเศส เพื่อสร้าง อุตสาหกรรมแห่งอนาคตซึ่งประกอบไปด้วย 5 เสาหลัก คือ
- พัฒนาระบบเทคโนโลยีที่จะทำให้ฝรั่งเศสกลายเป็นผู้นำยุโรปหรือผู้นำโลกได้ภายใน 3-5 ปีด้วยเงินทุนราว 730 ล้านยูโร
- สนับสนุนทางการเงินและลูกค้าให้มี SMEs 2,000 แห่งขึ้นไป
- ฝึกอบรมพนักงาน เพื่อรองรับการแข่งขันในบทบาทใหม่ภายใต้โครงการ อุตสาหกรรมแห่งอนาคต
- สนับสนุนอุตสาหกรรมแห่งอนาคตผ่านการจัดงาน Showcase ที่ทำขึ้นตลอดปี 2016
- เพิ่มความร่วมมือแบบแน่นแฟ้นระหว่างประเทศยุโรปและนานาประเทศตามข้อริเริ่มหุ้นส่วนกับเยอรมนีภายใต้แพลตฟอร์ม “อุตสาหกรรม 4.0”
ภาพจาก The Portal of Economy, Action and Public Accounts, France
9 ตลาดสำคัญที่ฝรั่งเศสจะคว้ามาให้ได้
- New Resourcesแหล่งทรัพยากรใหม่ๆ ที่มีต้นทางการผลิตและได้ผลิตผลที่ทรงประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีวิถีที่ยั่งยืน ทั้งการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ การพัฒนาทางชีวภาพ ฯลฯ
- Smart Citiesทำให้บ้านเมืองที่ผู้คนอยู่อาศัยมีความปลอดภัยอย่างยั่งยืน ทั้งการพัฒนาด้านพลังงาน การจัดการน้ำ
- Eco-Mobilityตอบสนองความต้องการผู้บริโภคให้เคลื่อนที่ง่ายขึ้น เปลี่ยนแปลงได้ เข้าถึงความปลอดภัยได้มากขึ้น
- Tomorrow’s Transportออกแบบอุตสาหกรรมขนส่งให้รักษ์ธรรมชาติมากขึ้น และรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกไปพร้อมๆ กัน
- Medicine of the Futureโลกจะเข้าสู่ยุคสังคมคนชรา โรคภัยจะเพิ่มมากขึ้น ระบบสาธารณสุข การรักษา ยา จะต้องถูกสนับสนุนในการลงทุนและพัฒนาทั้งในภาครัฐและเอกชน เร่งพัฒนาเทคโนโลยีด้านยาและสนับสนุนเทคโนโลยีชีวภาพด้านยาและนวัตกรรมทางการแพทย์มากขึ้น
- The Data Economyสนับสนุนส่งเสริมทักษะด้านเทคโนโลยี พัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งในสตาร์ทอัพและ SMEs
- Smart Devicesสนับสนุนให้มีสภาวะแวดล้อมที่สมบูรณ์ เร่งสร้างนวัตกรรม และส่งเสริมให้ฝรั่งเศสเป็นเลิศในมิตินี้
- Digital Confidenceพัฒนาเทคโนโลยี ส่งเสริมสตาร์ทอัพและ SMEs สร้างความตระหนักรู้ทางเศรษฐกิจ
- Smart Food Choicesฝรั่งเศสจะพัฒนาอาหารให้มีความปลอดภัยอย่างยั่งยืนมากขึ้น ด้วยการนำศาสตร์ทางด้านเกษตรมาปรับใช้เพื่อตอบรับโลกดิจิทัล
ที่มา - The Verge , Engadget , FranceInfo , GOUVERNEMENT.fr , SNCF , France in the UK, Science and Technology department
Comments
รู้สึกแต่ละประเทศก็มาแนวทางกระแสหลักเดียวกันแล้ว น่าสนใจนโยบายแต่ละประเทศจริง ๆ ว่าจะดึงศักยภาพของตนออกมาได้มากขนาดไหน
เฉยๆ นะ (ก็มันวิ่งอยู่บนราง)ผมกลับสนใจนโยบายด้านอื่นมากกว่า
บ้านเราขนาดมีคนขับ ยังขับมาเบียดกันได้เลยครับหวังว่าถ้ารถไฟบ้านเราไร้คนขับ จะมีระบบ fail safe ด้วยนะครับ
รถไฟ TGV เป็นรถไฟทางไกลและความเร็วสูงนะครับ ก็เป็นการพัฒนาช่วยแบ่งเบาภาระการทำงานของมนุษย์ได้ไปอีกส่วนหนึ่ง
จริงๆถามว่าไกลไหม วิ่งใกล้ๆก็มี เช่น Paris(Gare du Nord) - Lille(Flandres) หรือ Paris(Gare de Lyon) - Lyon(Part-Dieu)
ฮือ~
ร้องไห้ทำไม 555
เข้าใจไม่ผิดถ้าระบบปิดแบบ Europe ทางทฤษฎีรถไฟปัจจุบันคนขับก็ทำหน้าที่น้อยลงเยอะละ ส่วนใหญ่คือตอบสนองกับอาณัติสัญญานต่างๆ เมื่อเข้าใกล้สถานีมากกว่า
Shut up and ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ raise your dongers ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ
จริงการตอบสนองอาณัติสัญญาณ TVM ต้องอาศัยคนขับในการเพิ่ม - ลดความเร็วอยู่ครับระบบ TVM 430 จะมีสัญญาณไฟทั้งหมดสี่ประเภท(ในแต่ละสัญญาณสีจะมีเลขกำกับ)
1.เขียว ใช้ในการเพิ่มความเร็ว หรือกรณีอยู่ที่ความเร็วสูงสุด (vitesse limit : 320 km/h ou 300 km/h)
2.เขียวกระพริบ ใช้ในการลดความเร็วลง ส่วนมากจะใช้ที่ความเร็ว 270 km/h เพื่อสั่งให้รถไฟลดความเร็ว
3.เหลือง ห้ามรถไฟวิ่งเกินความเร็วที่กำหนด
4.แดง หยุด
โดยชุดสัญญาณ TVM ในแต่ละสีจะถูกส่งมาเป็นชุดๆ(ถ้าสังเกต LGV ดีๆ จะมีป้ายธงสามเหลี่ยม ป้ายนั้นแสดงถึงขอบเขตของแต่ละ Sector ส่วนมากคำสั่งจะมาก่อนถึงป้ายธงของ Sector ถัดไป
รวมถึงการเปลี่ยนระบบจาก Ligne classique เป็น Ligne à grand vitesse เพราะต้องปรับอาณัติสัญญาณ รวมถึงปรับความสูง Pantograph
ปัญหาของการนำ TGV มาใช้คือ บน LGV หรือ Ligne classique มันมีรถไฟหลายชนิดมากทั้ง ICE(Allemange) Eurostar(Siemens Velaro e320 ou TGV TMST) Thalys(TGV Réseau) ไม่นับรวมเมื่อลง Ligne classique อีกกระจุย เพราะถ้าจำไม่ผิดถ้าลง Ligne classique มันจะมีพวกป้ายบอกความเร็วอยู่ ซึ่งมันไม่ใช่อยู่ตอนเข้าสถานีนะครับ บางป้ายมันอยู่กลางทางเลย อย่างป้ายพวกความเร็วทั้งหลาย
ลองอ่านดูได้ครับ(ภาษาฝรั่งเศส)http://www.ligneduhautbugey.fr/bal_complements_signalisation.html
พวกป้ายแก้ไม่ยาก (แต่แพง) ครับ ฮา ลง RFID ให้หมด
Shut up and ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ raise your dongers ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ
บางอย่างลงทุนไปก็ไม่คุ้มครับ อย่างสาย Paris(Lyon) - Evian les Bain นี่ TGV วิ่งแค่เสาร์-อาทิตย์นะครับ
ก็นั่นแหละครับ ปัญหา real world ฮา
Shut up and ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ raise your dongers ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ
ซ้ำครับ
"Eco-Mobility ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคให้เคลื่อนที่ง่ายน..." => ง่ายน ?
เคยดูจากที่ไหนจำไม่ได้ มันจะอ่านอาณัติสัญญาณได้ด้วย เวลาผ่านจุดที่มีความเสี่ยง หรือต้องควบคุมความเร็ว รถมันจะปรับค่าตามอาณ้ติสัญญานนั้น คนขับเหมือนนั่งมอนิเตอร์เป็นหลัก หรือเผื่อสถานการณ์ฉุกเฉินที่ต้องควบคุมด้วยมือ (แต่ไม่ใช่ของฝรั่งเศษ)
ของฝรั่งเศสนั่นแหละครับ
ปล France = ฝรั่งเศสนะครัช
ทำไมแบรนด์รถฝรั่งเศสไม่ปังครับ อยากเห็นฝรั่งเศสทำรถสมรรถนะดีๆแข่งกับรถเยอรมันบ้าง 5555
จริงๆผสอยากเห็นเยอรมัน ฝรั่งเศส ทำเครื่องใช้ไฟฟ้าแข่งกับญี่ปุ่น เกาหลี จีน บางนะ หมาถึงพสกสินค้าคอนซูเมอร์ พวกสมาร์ทโฟน ทีวี กล้องมิเรอเลส บลาๆๆ อยากเห็นแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าจากยุโรปปังไปทั่วโลก
อยากรู้จะตอบให้ครับ TGV ก็ขายได้ในลายประเทศนะครับ เช่น สเปน, เกาหลีใต้, อังกฤษ, เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น
ส่วนทำไมแบรนด์ฝรั่งเศสไม่ปัง?
1.เทคโนโลยี TGV ดีก็จริง จนคู่แข่งไม่สามารถให้ได้ เนื่องจากสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมของตัวรถ
2.ฟีเจอร์ของตัวรถ การให้บริการบนรถ และบริหารการจัดการตัวรถทั้งใน และนอก ก็เก่ามากๆ ICE, Shinkansen ดีกว่าในหลายๆ ด้านครับ
พอรวม Overall ลูกค้าหันไปหา Siemens ดีกว่า
Alstom บริษัทที่ทำ TGV ก็เลยออกช่องโหว่ทั้งหมดมาทำ AGV ออกมาขาย แต่ราคาก็แพงเกินเอื้อม เพราะอัสตรอมเล่นขายทั้งแพ็คเกจ ไม่มีการ open source ใช้มาตรฐานกลาง(ซึ่งก็ไม่มีมาตรฐานกลางอยู่แล้ว) สรุปมีแค่บริษัท NTV ของอิตาลี(บริษัทลูกเฟอรารี่)ซื้อไป นอกนั้นยังไม่มีใครซื้อ ขนาด SNCF ยังไม่ซื้อเลย แค่บอกว่าจะซื้อ ถ้าอัสตรอมทำ AGV Duplex ออกมา
อัสตรอม เป็นเจ้าแรกๆ เลย ที่ทำระบบรถไฟขับเองได้นานแล้วอย่างที่เด่นๆ เลยคือ North-East Line ของ Singapore MRT และ Circle Line ของ Singapore MRT แต่ประเด็นคือ ระบบมันชอบล่มบ่อยๆ แล้วมีปัญหาย่อยเยอะ บางครั้งถึงต้องลากแมนนวลกลับอู่เลยก็มี ช่วยหลังคู่แข็งก็เริ่มพัฒนาตามมาแล้ว เข้าใจว่าอัสตรอมต้องการ game changer สำหรับกลุ่ม Very Hi-Speed ถ้าสำเร็จก็จะได้เอามาใส่ในกลุ่ม Hi-speed ที่อัสตรอมมีส่วนแบ่งการตลาดที่ใหญ่พอสมควรได้
จริงๆ AGV นี่แหละ ที่เป็นคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อกับ ICE แต่เสียดายที่แพงกว่าเท่านั้นเอง แต่อย่างว่าของพวกนี้มันเจรจาตกลงราคากันได้ แต่อัสตรอมก็ยังขาดการทำการบ้านเรื่องการตลาดในประเทศต่างๆ แถมช่วงนี้บ้านก็แบบนี้ด้วย ทั้ง Siemens และ Alstom ก็เลยเข้ามาไม่ได้ เพราะติดปัญหา... ความจริงอยากเข้ามาขายใจจะขาด
จริงๆเคส Eurostar กับ Thalys ผมไม่อยากนับเท่าไรนะท่านเพราะสมัยนั้นรถไฟที่มีเทคโนโลยี TVM เป็นหลักก็มีแต่ TGV เท่านั้นแหละ แล้ว HSL1(ทางรถไฟของเบลเยียมที่เชื่อมกับ LGV Nord(ฝรั่งเศส) และ Eurotunnel) กับ HS1(London - Eurotunnel) ก็ดันใช้ TVM ด้วย มันเลยเหมือนจำยอมต้องใช้ TGV แต่ปัจจุบัน Siemens ก็มีตัวนี้ละ เลยสั่ง Velaro e320 มาแทน
ส่วนเรื่อง Open Source ผมว่า Alstom คงกลัวเจอแบบ TGV Reseau มั้งครับ ที่เกาหลีใต้ซื้อไปครึ่งนึง อีกครึ่งก็แกะๆเอาจนได้ รวมถึงพวกรุ่นใหม่ๆด้วย
แต่ก็ต้องยอมรับข้อดีของ TGV คือเป็นรถไฟความเร็วสูงน่าจะกลุ่มแรกๆเลยมั้งที่สามารถวิ่งบนรางปกติ(Ligne classique)กับราง LGV ได้ด้วย ทำให้การขยายเครือข่ายราง LGV ไม่ลำบากมาก
ปอลอ 2 ผมว่า AGV Duplex SNCF ไม่ได้สั่งแล้วครับ เห็นสั่ง TGV 2N2 ไปเรียบร้อยละ ถ้าทำ AGV Duplex จริงผมว่าปัญหาน่าจะเยอะพอสมควร เพราะผมรู้สึกว่าถ้าทำสองชั้นในแต่ละโบกี้มันจะน้ำหนักเยอะไป
ไม่เชิงครับ เมื่อก่อนที่ Eurostar ยังอยู่ที่ Waterloo International ยูโรสตาร์ก็ยังวิ่งบนระบบอาณัติสัญญาณของอังกฤษที่เป็นระบบ AWS ได้ครับ มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ GNER เอา Class 373 (Eurostar) มาวิ่งในประเทศอังกฤษ แต่นึงด้วยโครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ และการตลาดไม่พร้อมเลยต้องพับเสื่อเก็บไปก่อนพร้อมขายรถคืนให้ Eurostar ครับ มาถึง ณ จุดๆ นี้ เราต้องแยกให้ออกว่าคุยกันเรื่องอะไร เรื่องตัวรถไฟ หรือว่าระบบอาณัติสัญญาณครับ? เพราะตอนที่สร้าง CTRL จะไม่ซื้อ TGV ก็ได้ครับ จะซื้อรุ่นอื่นก็ได้ของให้ตัวรถไฟมันติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณแบบ AWS+TVM ก็จบครับ มีหลายมิติที่ทำให้อังกฤษเลือกเทคโนโลยีของฝรั่งเศสครับ
แล้วทำไมตอนนั้นถึงสั่ง TGV?เพราะบริษัทร่วมทุนมันคือ SNCF ถือหุ้น 55% ก็ต้องซื้อของฝรั่งเศส ตอนนั้นยังไม่มีแนวคิดวิ่งไปประเทศอื่นๆ นอกจากฝรั่งเศส, เบลเยี่ยมครับ เลยไม่ต้องลงระบบอาณัติสัญญาณบนตัวรถไฟให้มากแล้วตอนนั้นมีตัวเลือกเดียวที่พร้อมมากที่สุดก็เลยเลือก TGV ดังนั้นจะนับหรือไม่นับ Eurostar กับ Thalys ก็แล้วแต่คน เพราะสมัยนี้ Eurostar ยังเลือกซื้อจากเยอรมันนีได้ครับ
ส่วนประเด็นที่ Eurostar สั่ง Velaro e320?เริ่มจากประมาณปี 1994 ตอนที่ใกล้จะรวม EU กัน การรถไฟเยอรมัน (DB) และการรถไฟเนเธอร์แลนด์(NS) มีความต้องการเปิดรูทนานาชาติร่วมกันโดยที่รถไฟสามารถวิ่งข้ามรระบบอาณัติสัญญาณระบบหนึ่งไปอีกระบบหนึ่งกันได้โดยใช้รถไฟขบวนเดิมและผู้โดยสารไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถไฟ ในปี 2002 DB และ NS ก็เปิดตัว ICE 3M (M ย่อมาจาก Multisystem) หลังจากนั้นในปี 2007 DB ก็เปิดบริการรูท Frankfurt สู่ Paris Est โดยการนำ ICE 3M มาปรับปรุงกันที่โรงงานของ Bombardier ในเมือง Hennigsdorf ใส่ระบบ TVM430 เข้าไปกลายเป็น ICE 3MF (MF ย่อมาจาก Multisystem for France) หลังจากนั้นพอระบบเริ่มนิ่งซีเมนต์ก็เลยเปิดขายแฟลตฟอร์ม Velaro ซึ่งจากการปรับปรุงมาอย่างเรื่อยก็ทำให้ Velaro D ผ่านการรองรับระบบอาณัติสัญญาณ ERTMS ได้แก่ ETCS+GSM-R+ETML ซึ่งเป็นมาตรฐานกลางของระบบอาณัติสัญญาณของยุโรปได้อย่างง่ายดาย ซึ่งหลายๆ หลังจากนั้นทาง Eurostar ก็มอบว่าเขาสามารถทำตลาดขยายบริการไปยังเยอรมันนีได้ แถมเมื่อประมาณ 3-4 ปีที่แล้ว ทาง DB และซีเมนส์เองก็ส่งรถไฟ(DB Class 406/407) มารับรองมาตรฐานการใช้กับอุโมงค์ CTRL เรียบร้อยแล้วด้วย ราคาก็ถูกกว่า แถมในปี 2012 ลอนดอนก็มีโอลิมปิกจะรออะไร?! สั่งเลยก็เลยเกิดดีลอย่างที่เห็นครับ
ไม่ได้มี TVM430 ระบบเดียวที่รองรับความเร็วสูง เยอรมันก็มีอีกระบบนึงชื่อว่า LZB ซึ่งระบบนี้คล้ายๆ กับระบบควบคุมตัวรถ ATC ของทางญี่ปุ่นที่ใช้ในชินคันเซน ซึ่งถ้าจะคุยกันเรื่องระบบอาณัติสัญญาณคุยกันยาวครับ เป็นคำจำความที่กว้างมากๆ ในระบบอาณัติสัญญาณยังมีอีกหลายเลเยอร์ ได้แก่ระบบควบคุมการครอบครองทาง (Fixed Block, Moving Block), ระบบควบคุมอาณัติสัญญาณ(GSM-R), ระบบสัญญาณ(Cab Signaling), ระบบตรวจจับขบวนรถ(Eurobalise), ระบบป้องกันขบวนรถ(ทั้งระบบ TVM, PZB/LZB, ATC, AWS)
เกาหลีไม่ได้ซื้อไปนั่งแกะนะครับ เกาหลีแค่ซื้อเทคโนโลยีทั้งหมดเลย มันมีข้อตกลงความร่วมมืออยู่ คือ
1.ทางฝรั่งเศสและเกาหลีจะร่วมพัฒนารถไฟความเร็วสูงร่วมกัน
2.รถไฟส่วนหนึ่ง(ล๊อตแรก)ผลิตในฝรั่งเศส หลังจากนั้นต้องส่งพิมพ์เขียวมาผลิตในเกาหลีใต้ โรงงานของฮุนไดครับ
3.เกาหลีใต้เปย์หนักมากจริงๆ เพื่อที่ได้ Know-How มาได้ ไม่เหมือนบางประเทศที่ออกกฎหมายมายกเว้น
ดังนั้นคุณจะบอกว่า เกาหลีใต้ซื้อมาแกะไม่ได้นะครับ ถ้าซื้อมาแกะกันจริงๆ คงโดนฟ้องร้องกันแล้วล่ะครับ
ส่วน Airport Link ถ้า TOR เขียนออกมาให้ใช้ระบบ ERTMS Level 2/3 ตั้งแต่แรกก็จบแล้ว
TGV 2N2 หรือ Euroduplex 95+15 ขบวนนั้นสั่งเล่นๆ ครับ แค่ 55 ขบวนแรกสั่งมาไว้ทำขบวนไปเยอรมันนี และ Switzerland ส่วนก็เอาไว้สำรอง ส่วน 40 ขบวนถัดมา ทาง SNCF ต้องการสั่งมาเปลี่ยนกับคุณป้า Atlantique ที่บางส่วนอยู่ก็เสียประท้วงซะงั้นและเอาไว้วิ่ง LGV Est ด้วย ส่วนอีก 15 ขบวนสั่งมาเพื่อให้พนักงานที่โรงงานเบลฟอร์ไม่ตกงาน
ส่วน AGV Duplex บอกได้แค่ว่ามีโครงการแล้วเร็วๆ นี้ เน้นขายกับโครงการ HS2 ของอังกฤษ ช่วงนี้ขอเน้นไปขาย Pendolino, Coradia, Metropolis และน้องสาว Coradia ทำเงินก่อน เพราะของพวกนี้มันขายง่ายกว่า สำหรับประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐานทางรางดีอยู่แล้ว ยิ่งถ้ารถไฟทางคู่เป็นรางมาตรฐาน การแข่งขันสูงกว่าเยอะ ส่วน TGV/AGV ขายยากแถมต้นทุนการพัฒนาสูงกว่า ยังไม่พอต้นทุนการลงทุนด้านโครงสร้างยังสูงตามด้วย แล้วยิ่งสภาพเศรษฐกิจแบบนี้ก็แล้วแต่นโยบายการเงินการคลังของแต่ละประเทศกันไปครับ
ทำไมแบรนด์รถฝรั่งเศสไม่ปังนะครับ ?
เรโน R19 หนึ่งใน ไม่กี่รุ่นที่ กล้าเอามาขายในไทย
วันดีคืนดี นึกครึ้มใจเปิดฝามาเช็คน้ำมันเครื่อง อ้าว น้ำมันขาด เติมไปหน่อยนึง ปิดฝา
สตาร์ทไม่ติด ไฟเตือนขึ้นเหมือนต้นคริสมาส
ต้อง .. เรียกรถยกไป 0 ลบ error code ถึงขับต่อได้ครับ
อันนี้เจอกัน คนรู้จักเลยทีเดียว เข็ดไปทั้งชาติ
(แถม) โปรตอน จากมาเล เครื่อง 1.2 ของ เรโน ที่เอามาขายในไทยอยู่ช่วงนึง
เคยมีกระทู้ตามล่า หาคอยจุดระเบิด สุดขอบโลก โดนการนั่งรถไฟไปมาเลยเซีย
ซือคอยจุดระเบิด แบบขาย pack 4 สูบ นั่งรถไฟกลับมา กทม.
ราคาถูกกว่าเข้า 0 มาแล้ว แต่ มีคนที่อยู่ ฝรั่งเศษบอกว่า ชิ้นนี้ ที่ฝรั่งเศษ ขายแยกสูบ
ชิ้นละประมาณ 500 บาท ... ไม่นับ ล้อ 14 นิ้ว spec ที่ไม่มีขายในไทย
จนต้องเปลี่ยนล้อ ตอนเปลี่ยนยางครั้งแรก ...
และอื่นๆอีกมากมาย
รถหน่ะดีครับ แต่เรื่องซ่อม เรื่อง ค่าอาหลัย นี่ยังห่างยี่ปุ่นอีกหลายขุม
แก้ด้วยครับ Train à Grande Vitesse => Train à grande vitesse
TGV กับ Shinkansen อันไหนดีกว่าครับ
ไม่มีอันไหนที่ดีกว่าครับ
TGV ดีเรื่องทางไกล สะดวกสบาย ไม่เน้นความถี่ รถไฟแต่ละขบวนจะวิ่งห่างกันมาก มีความปลอดภัยจากงานออกแบบเชิงวิศวกรรมชินคันเซน เน้นความถี่สูง เรียกว่าแทบจะทุกๆ 5 นาที จะมีรถวิ่งเข้าและออกจากสถานี ดังนั้นรถแทบจะเสียเวลาเลยไม่ได้ มันเลยเป็น EMU ออกตัวได้ไวกว่าครับ
ดีกันคนละแบบ แต่สุดท้ายความเร็วสูงเหมือนกัน
BTS ไทย เคยได้ยินนานแล้วบอกคนขับไม่ทำอะไรมากอยู่แล้วนี่ คอมพิวเตอร์ทำให้หมด คนแค่เผื่อความปลอดภัยเฉยๆ
ของรถไฟระหว่างเมืองยังต้องทำครับอย่างเคส TGV คนขับมีหน้าที่
1.ทำตามป้ายและอาณัติสัญญาณ(การควบคุมความเร็วยังอาศัยคนขับ)2.ทำการเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณกรณีที่รถไฟวิ่งผ่านระหว่างเขตรางปกติและรางความเร็วสูงเนื่องจากต้องมีการตั้งค่าใหม่หลายอย่าง(ในห้องคนขับจะมีที่บิดคอยเปลี่ยนอยู่ทั้งความสูง Pantograph ระบบอาณัติสัญญาณ อะไรแบบนี้ครับ)
ถ้าทำที่ไทยนี่ ชนรถยนต์กันรัวๆ แน่เลย พี่แกไม่เคยสนใจทางรถไฟกันซักเท่าไหร่
คุณกิติตค๊าาา ตัดภาพไปที่จีนมาทำรถไฟฟ้าความเร็ว"ปานกลาง" ได้เลยค่ะ
ผมละสงสัยแล้วไอรถไฟความเร็วต่ำคืออะไร รถไฟไทยที่ช้าเพราะมันติดจราจรของรถไปด้วย ออกมานอกกรุงเทพก็เหลือรางเดียวไม่น่าเรียกรถไฟความเร็วต่ำได้น่าจะปานกลาง ใครมันชอบประดิษฐ์หลอกตัวเองกันจัง...