สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องบอกว่า SoftBank และ Arm ซึ่ง SoftBank เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ กำลังพิจารณาซื้อกิจการบริษัท Ampere Computing บริษัทผู้ผลิตซีพียูสถาปัตยกรรม Arm สำหรับเซิร์ฟเวอร์
ก่อนหน้านี้ Ampere ได้เจรจากับที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อให้หาบริษัทที่สนใจซื้อกิจการทั้งบริษัท ทำให้สะท้อนถึงสภาพตลาดการผลิตซีพียูเซิร์ฟเวอร์ว่ามีการแข่งขันสูงจน Ampere เองยังไม่สามารถ exit ด้วยการไอพีโอเข้าตลาดหุ้นได้ ดังนั้นหากการเจรจาของ SoftBank กับ Arm ไม่บรรลุข้อตกลง Ampere ก็จะหาบริษัทอื่นมาซื้อกิจการอยู่ดี
Ampere มีผู้ลงทุนในบริษัทหลายรายรวมทั้ง Oracle ซึ่งถือหุ้นอยู่ประมาณ 29%
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คดีความระหว่าง Arm กับ Qualcomm เรื่องไลเซนส์การใช้งานซีพียู Arm ของ Nuvia บริษัทลูกของ Qualcomm เข้าสู่กระบวนการไต่สวนในศาล ผลลัพธ์ในภาพรวมออกมาเป็นประโยชน์กับทาง Qualcomm มากกว่าทาง Arm
รายละเอียดของคดีนี้คือ Nuvia ซื้อไลเซนส์พิมพ์เขียวซีพียูจาก Arm เพื่อใช้กับซีพียูเซิร์ฟเวอร์ แต่หลังจากนั้น Nuvia โดน Qualcomm ซื้อกิจการ แล้วนำเทคโนโลยีของ Nuvia มาใช้กับซีพียูไคลเอนต์ Snapdragon X โดยจ่ายค่าตอบแทนให้ Arm ในราคาที่ Qualcomm จ่ายอยู่เดิม (ซึ่งถูกกว่าที่ Nuvia จ่าย) Arm มองว่าผิดเงื่อนไขใบอนุญาตและตัดสินใจฟ้อง Qualcomm
แอพดังสองตัวคือ Google Drive และ Signal ออกเวอร์ชัน Windows 11 Arm64 มาในช่วงไล่เลี่ยกัน
- Google Drive for Desktopออกเวอร์ชัน Beta สำหรับ Arm64 โดยจุดต่างเดียวกับเวอร์ชัน x86-64 คือยังไม่รองรับปลั๊กอิน Outlook Meet (ที่ไม่น่าจะมีใครใช้สักเท่าไร) - Google , Windows Central
- Signalรองรับการรันบน Arm64 เต็มตัว ไม่ต้องรันผ่านอีมูเลเตอร์แล้ว - Windows Central
แอพแชทยอดนิยมตัวอื่นๆ อย่าง Telegram และ Slack ต่างรองรับ Windows on Arm มาก่อนหน้านี้แล้วเช่นกัน
ในที่สุดไมโครซอฟท์ก็เปิดให้ดาวน์โหลดไฟล์ ISO ของ Windows 11 Arm โดยตรง จากที่ก่อนหน้านี้ต้องซื้อเฉพาะเครื่องที่พรีโหลด Windows 11 Arm มาให้เท่านั้น
รูปแบบการใช้งานไม่ต่างอะไรกับไฟล์ ISO ของ Windows 11 สถาปัตยกรรม x86 สามารถนำไปใช้ติดตั้งได้ทั้งบนฮาร์ดแวร์จริงที่ใช้ซีพียู Arm64 (กลุ่ม Snapdragon X สามารถบูตได้เลยโดยไม่ต้องมีไดรเวอร์เพิ่มเติม) หรือจะไปรันใน VM ผ่าน Hyper-V ก็ได้เช่นกัน
การที่ไมโครซอฟท์ยอมเผยแพร่ไฟล์ ISO ของ Windows 11 Arm โดยตรง ย่อมทำให้อนาคตของพีซีประกอบเองที่ใช้ซีพียู Arm แพร่หลายมากขึ้น และเปิดทางให้เราเห็นสินค้ากลุ่มนี้วางขายจริงในอนาคตด้วย
ไมโครซอฟท์ออก Windows 11 Insider Preview Build 27744 Canary Channel มีของใหม่ที่น่าสนใจคือ ตัวอีมูเลเตอร์ Prism สำหรับรันแอพเก่า x86 บนซีพียูสถาปัตยกรรม Arm รองรับชุดคำสั่งส่วนขยายเพิ่มเติม (instruction set extension) ของซีพียูตระกูล x86 เช่น AVX, AVX2, BMI, FMA, F16C
ฟีเจอร์นี้จะทำให้แอพหรือเกม x86 บางตัวที่เรียกใช้ชุดคำสั่งเหล่านี้สามารถรันบน Arm ได้แล้ว ไมโครซอฟท์บอกว่าก่อนหน้านี้ได้เปิดใช้งานฟีเจอร์นี้สำหรับ Adobe Premiere Pro 25 มาแบบเงียบๆ โดยจำกัดเฉพาะบางแอพเท่านั้น แต่หลังจากนี้ไปจะเปิดให้ใช้กับแอพ x64 ทุกตัวที่นำไปรันบน Arm แล้ว (ส่วนแอพ 32 บิตยังไม่รองรับ)
Arm รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสเดือนกันยายน 2024 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 5% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 844 ล้านดอลลาร์ มีกำไรสุทธิตามบัญชี GAAP 107 ล้านดอลลาร์
Rene Haas ซีอีโอ Arm กล่าวว่าความต้องการทั้งสถาปัตยกรรม Armv9 และแพลตฟอร์ม CSS ยังคงสูงกว่าที่บริษัทประเมิน ทำให้ภาพรวมรายได้เติบโต จึงมองว่ากระแสของ AI เป็นโอกาสให้กับ Arm ทั้งระดับคลาวด์จนถึง Edge
รายได้ส่วนรอยัลตี้เพิ่มขึ้น 23% เป็น 514 ล้านดอลลาร์ โดย Armv9 คิดเป็น 25% ของรายได้รอยัลตี้ทั้งหมด, รายได้จากไลเซนส์ลดลง 15% เป็น 330 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นตัวเลขตามที่ Arm ประเมินไว้ตามแบ็คล็อก และปัจจัยตามฤดูกาล
กูเกิลเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ตระกูล C4A ใช้ ซีพียู Axion ที่เปิดตัวเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยชูประเด็นความคุ้มราคาดีกว่า x86 ที่ขนาดเท่ากันสูงสุดถึง 65% และยังระบุว่าดีกว่าชิป Arm ของคู่แข่งอยู่ 10% แม้จะไม่ระบุว่าเป็นของคลาวด์รายใด
เมื่อแยกตามประเภทงาน C4A ดีกว่า x86 แตกต่างกันไป เช่น SPEC 2017 ทดสอบการประมวลผลเลขจำนวนเต็มประสิทธิภาพดีกว่ามาก แต่ดีกว่า 30% เมื่อเป็น MySQL และ 35% เมื่อเป็น Redis
เครื่องมีให้เลือก 3 กลุ่ม ได้แก่ Standard 1 คอร์ต่อแรม 4GB, High CPU 1 คอร์ต่อแรม 2GB, และ High Memory 1 คอร์ต่อแรม 8GB อัดสุดได้ 72 คอร์ แรม 576GB พร้อมเน็ตเวิร์ค 100 Gbps
มีให้ใช้งานทั้งสหรัฐฯ, ยุโรป, และสิงคโปร์แล้ววันนี้
ความคืบหน้าของ คดีฟ้องร้องระหว่างบริษัท Arm Holding Plc กับ Qualcomm ที่ Arm มองว่า Qualcomm ทำผิดไลเซนส์การใช้งานสถาปัตยกรรม Arm โดยนำไลเซนส์ของบริษัทลูก Nuvia มาใช้กับบริษัทแม่ Qualcomm ด้วย ซึ่ง Arm มองว่าไม่สามารถทำแบบนั้นได้
ไมโครซอฟท์เริ่มให้บริการ VM ที่รันอยู่บนซีพียู Cobalt 100 ที่ไมโครซอฟท์ออกแบบเอง หลังจาก เปิดรันแบบทดสอบมาสักระยะหนึ่ง ตอนนี้เปิดให้บริการทั่วไป หรือ generally available แล้ว
ไมโครซอฟท์เปิดตัวซีพียู Cobalt 100 ครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2023 โดยเป็นสถาปัตยกรรม Arm64 ตัวแรกที่ไมโครซอฟท์ออกแบบเองทั้งหมดเพื่อรันงานบน Azure
ไมโครซอฟท์บอกว่า Cobalt 100 ให้ประสิทธิภาพดีกว่าซีพียู Arm ตัวก่อนๆ บน Azure (ไม่ได้เทียบกับ x86) เฉลี่ย 1.4 เท่า, งาน Java ประสิทธิภาพดีขึ้น 1.5 เท่า, งานเว็บเซิร์ฟเวอร์และ .NET ดีขึ้น 2 เท่า หากเทียบประสิทธิภาพต่อราคาดีขึ้น 50%
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง รายงานว่า Arm ได้ติดต่อพูดคุยกับอินเทล เพื่อขอซื้อกิจการเฉพาะฝ่ายผลิตภัณฑ์ (Products Division) อย่างไรก็ตามข้อเสนอนี้ถูกปัดตกทันที เพราะอินเทลแจ้งว่าไม่ต้องการขายส่วนธุรกิจนี้
ปัจจุบันโครงสร้างธุรกิจตาม รายงานงบการเงิน ของอินเทลมี 3 ส่วนคือ Products (ชิปพีซี, ศูนย์ข้อมูล, AI, อุปกรณ์เครือข่าย), Intel Foundry ส่วนโรงงานผลิตชิป และ Others ธุรกิจอื่นที่ตั้งบริษัทแยกและอินเทลถือหุ้นใหญ่ ซึ่ง Arm ต้องการเฉพาะส่วน Products ไม่ต้องการส่วนโรงงานผลิต
ทั้ง Arm และอินเทล ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อรายงานข่าวนี้
Globes เว็บข่าวธุรกิจอิสราเอล รายงานข้อมูลจากแหล่งข่าวว่า Arm กำลังพัฒนาจีพียูของตัวเองในศูนย์วิจัยที่เมือง Ra’anana ในอิสราเอล เพื่อยกระดับคุณภาพจีพียูให้สามารถแข่งขันกับ NVIDIA และอินเทลได้ในตลาด AI
ที่ผ่านมา Arm มีจีพียูตระกูล Mali และ Immortalis สำหรับสมาร์ทโฟนอยู่แล้ว แต่ถ้ามองถึงตลาดพีซี เซิร์ฟเวอร์และ AI ที่ใช้จีพียูแบบ discrete นั้น Arm ยังไม่มีจีพียูสำหรับตลาดนี้โดยตรง
ตามข่าวบอกว่าทีมพัฒนาจีพียูที่เมือง Ra’anana มีอยู่ประมาณ 100 คน นำทีมโดย Dedi Yellin ที่ทำงานกับ Arm มาตั้งแต่ปี 2015 ทีมนี้ดูแลการพัฒนาจีพียู Immortalis อยู่ก่อนแล้ว
อินเทลส่งรายงาน 13-F ให้กับ SEC เกี่ยวกับการถือครองหุ้นบริษัทอื่น โดยพบว่าอินเทลได้ขายหุ้น Arm ที่ถืออยู่ทั้งหมดออกไปจำนวน 1.8 ล้านหุ้น ในช่วงไตรมาสเดือนเมษายน-มิถุนายนที่ผ่านมา จึงไม่มีข้อมูลว่าอินเทลขายหุ้น Arm ออกไปวันไหน และได้เงินจากการขายเท่าใด
Arm ไอพีโอเข้าตลาดหุ้นเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ซึ่งมี หลายบริษัทเทคโนโลยี ที่ร่วมซื้อหุ้นไอพีโอรวมทั้งอินเทล โดยมี SoftBank เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด
ในรายงาน 13-F ได้ระบุถึงหุ้นบริษัทอื่นที่อินเทลลงทุนอยู่ได้แก่ Astera Labs, Joby Aviation, MariaDB และ Senti Biosciences
Arm รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสเดือนมิถุนายน 2024 มีรายได้รวม 939 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 39% จากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิตามบัญชี GAAP 223 ล้านดอลลาร์
รายได้ของ Arm แบ่งเป็นสองส่วนคือค่ารอยัลตี้ เพิ่มขึ้น 17% เป็น 467 ล้านดอลลาร์ และกลุ่มรายได้จากไลเซนส์และอื่น ๆ เพิ่มขึ้น 72% เป็น 472 ล้านดอลลาร์ เป็นสถิติสูงสุดภายในไตรมาส ซึ่ง Arm บอกว่าเป็นผลจากการได้ทำข้อตกลงมูลค่าสูงหลายสัญญา กับบริษัทเทคโนโลยีผู้นำในตลาด
- Read more about Arm รายงานผลประกอบการ รายได้ไลเซนส์เติบโตทำสถิติใหม่
- 2 comments
- Log in or register to post comments
Arm เปิดตัวเทคนิคการอัพสเกลภาพของตัวเองชื่อว่า Accuracy Super Resolution ตัวย่อ Arm ASR โดยพัฒนาต่อมาจาก AMD FSR 2 ที่เปิดเป็นโอเพนซอร์สอยู่แล้ว
Arm บอกว่าเทคนิคอัพสเกลภาพแบ่งได้ 2 วิธีใหญ่ๆ คือ spatial ที่เรียบง่ายกว่า เพราะใช้ภาพจากเฟรมเดียวกันมาคำนวณการอัพสเกล ประหยัดพลังการคำนวณมากกว่า แต่มีข้อเสียคือภาพที่ได้อาจเบลอ แนวทางนี้ใช้ใน FSR 1 ส่วนอีกวิธีคือ temporal ที่ซับซ้อนกว่า ใช้ภาพจากหลายเฟรมมาช่วยคำนวณ เปลืองพลังประมวลผลมากกว่า แต่ได้คุณภาพผลลัพธ์ดีกว่า และหากใช้เทคนิคนี้ร่วมกับข้อมูลจากเอนจินเกม จะช่วยให้ผลลัพธ์ดีขึ้น แนวทางนี้ใช้กับ FSR 2
ไมโครซอฟท์เปิดเผยผ่านบล็อก DirectX Developer ว่าประเด็นเรื่อง การเล่นเกมบนเครื่อง Windows on Arm มีความคืบหน้าไปอีกขั้น โดยซอฟต์แวร์ป้องกันโกงยอดนิยม 3 ตัวในตลาดคือ BattlEye, Denuvo Anti-Cheat, Wellbia XIGNCODE3 / UNCHEATER รองรับ Windows on Arm เรียบร้อยแล้ว
Slack ออกไคลเอนต์เวอร์ชัน Windows ARM64 ตามที่เคยประกาศไว้ในงาน Microsoft Build 2024 โดยยังนับสถานะเป็น Beta
หลังจากไมโครซอฟท์ดัน Arm สุดตัวผ่านความร่วมมือกับ Qualcomm Snapdragon X เลยทำให้เราเห็น แอพยอดนิยมหลายๆ ตัวออกเวอร์ชัน Arm กันมาถ้วนหน้า เช่น Docker Desktop, Blender, GIMP, PyTorch, กลุ่มเว็บเบราว์เซอร์และโซเชียลต่างๆ ดูแผนผังรายชื่อแอพ Arm ได้ท้ายข่าว
ที่มา - Windows Central
- Read more about Slack ออกไคลเอนต์เวอร์ชัน Windows on Arm แล้ว
- 2 comments
- Log in or register to post comments
Raspberry Pi นำบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนแล้ววันนี้ โดยราคาเปิดของหุ้นเพิ่มขึ้น 31% จากราคาไอพีโอ ตอนนี้ยังเป็นการซื้อขายหุ้นแบบมีเงื่อนไข โดยจะเปิดให้ซื้อขายทั่วไปได้ในวันศุกร์
มูลค่ากิจการที่ราคาไอพีโอของ Raspberry Pi อยู่ที่ 541.6 ล้านปอนด์ สูงกว่าตัวเลขที่ มีรายงาน เมื่อเดือนที่แล้วเล็กน้อย ผู้ลงทุนรายสำคัญในบริษัทได้แก่ Arm (ที่มี SoftBank ถือหุ้นอีกที) และ Sony
Raspberry Pi มีรายได้ในปี 2023 ที่ 265.8 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 41% จากปีก่อน ถึงแม้สินค้าของบริษัทจะเป็นที่นิยมในกลุ่มนักทดลองพัฒนาฮาร์ดแวร์ แต่รายได้หลัก 72% ของบริษัทมาจากลูกค้าอุตสาหกรรมเช่นโรงงาน
นอกจาก Arm เปิดตัวสถาปัตยกรรมซีพียูใหม่ของปี 2024 ยังมีจีพียูใหม่ของปี 2024 มาพร้อมกัน
จีพียูตระกูล Immortalis และ Mali ที่เปิดตัวรอบนี้มีด้วยกัน 3 รุ่นย่อย
สัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัท Arm เปิดตัวสถาปัตยกรรมซีพียูใหม่ประจำรอบปี ( ข่าวของรอบปี 2023 ) ปีนี้ฝั่งซีพียูมีการเปลี่ยนแปลงชื่อแบรนด์ของคอร์ใหญ่ที่สุด (prime core) จากเดิมใช้ชื่อ Cortex-X4 เปลี่ยนมาเป็นรหัสเลขสามตัว Cortex-X925ให้เหมือนกับคอร์ขนาดอื่นๆ
คอร์ซีพียูใหม่ของปี 2024 มีด้วยกัน 2 ตัวคือ คอร์ใหญ่ที่สุด Cortex-X925(นับต่อจาก Cortex-X4) และคอร์พี่รอง Cortex-A725(นับต่อจาก Cortex-A720) ในขณะที่คอร์น้องเล็ก Cortex-A520ยังใช้สถาปัตยกรรมเดิม แต่ใช้กระบวนการผลิตที่ขนาดเล็กลงแทน
ในงาน Build 2024 ไมโครซอฟท์มีเซสชันเรื่องการเกมพีซีบน Windows on Arm โดยสาธิตการรันเกมดังๆ อย่าง Borderlands 3 และ Baldur's Gate 3 บน Snapdragon X Elite
นอกจากการรันเกมโดยตรง ไมโครซอฟท์ยังมีตัวช่วยคือ ฟีเจอร์ Auto Super Resolution (Auto SR) ใช้ NPU ช่วยอัพสเกลภาพ เพื่อตอบโจทย์ทั้งแง่เฟรมเรตและความละเอียดของภาพ ผลคือเกมเด่นๆ เหล่านี้สามารถรันที่ความละเอียดระดับ 1080p 30 FPS โดยไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม (Auto SR ทำให้ที่ระดับ OS เลย)
เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม Unity ออก Unity 6 Preview ซึ่งเป็นพรีวิวรุ่นแรกของ เอนจิน Unity 6 ที่เปิดตัวช่วงปลายปี 2023
นอกจากฟีเจอร์ด้านระบบกราฟิกและเครื่องมือช่วยสร้างเกมต่างๆ ในแง่ของแพลตฟอร์มที่รองรับเกม ยังมีของใหม่มากมาย ดังนี้
ไมโครซอฟท์ประกาศข่าวแอพดังๆ หลายตัวเริ่มรองรับ Windows on Arm นอกเหนือจาก แอพของ Adobe และ แอพคอนซูเมอร์อื่นๆ ที่ประกาศบนเวทีหลัก ยังมีแอพฝั่งนักพัฒนา-โอเพนซอร์สอีกชุดใหญ่ดังนี้
- Docker Desktop รองรับ Windows on Arm อย่างเป็นทางการแล้วในเวอร์ชัน 4.31
- Blender เริ่มรองรับในรุ่นทดสอบแล้ว ส่วนรุ่นเสถียรตัวแรกจะเป็นเวอร์ชัน 4.2
- GIMP เริ่มรองรับในรุ่นทดสอบแล้ว ส่วนรุ่นเสถียรตัวแรกจะเป็นเวอร์ชัน 3.0
- PyTorch เริ่มทดสอบ Arm build แล้ว
- Qt จะเริ่มรองรับในเวอร์ชัน 6.8
- Audacity ประกาศรองรับแล้ว
Microsoft Azure เปิดบริการเครื่อง VM ที่ใช้ ซีพียู Cobalt 100 ที่ไมโครซอฟท์ออกแบบเอง และเปิดตัวซีพียูครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2023
ซีพียู Cobalt 100 พัฒนาอยู่บนพิมพ์เขียวของ Arm Neoverse N2 มาพัฒนาต่อ ก่อนหน้านี้มันถูกใช้งานเฉพาะบริการของไมโครซอฟท์เอง แต่คราวนี้เป็นครั้งแรกที่เปิดให้คนนอกใช้งาน
ไมโครซอฟท์อธิบายประเด็นเรื่องการรองรับแอพ x86 เดิมของวินโดวส์ บน Copilot+ PC ที่ใช้ซีพียูสถาปัตยกรรม Arm (Snapdragon X) ดังนี้
มีรายงานจาก Nikkei Asia ว่า Arm จะตั้งแผนกใหม่ภายในบริษัท เพื่อพัฒนาชิปสำหรับ AI โดยเฉพาะ คาดว่าต้นแบบแรกจะออกมาในต้นปี 2025 และเริ่มเข้าสู่การผลิตกับโรงงานพาร์ตเนอร์ซึ่งคาดว่าเป็น TSMC ในปลายปี 2025
การตั้งฝ่ายใหม่ย่อมมาพร้อมต้นทุนในการวิจัยและพัฒนา ซึ่งรายงานบอกว่า Arm จะออกค่าใช้จ่ายเองก่อน โดยมี SoftBank ผู้ถือหุ้นใหญ่ใน Arm ให้เงินทุนสนับสนุนระดับหลายแสนล้านเยน จนกระทั่งการผลิตชิป AI นี้ เข้าสู่สายการผลิตหลักและมีรายได้ชัดเจน SoftBank มีแผนจะให้ Arm แยกส่วนธุรกิจนี้ออกมาเป็นอีกบริษัทในเครือ SoftBank ต่อไป