Meta เริ่มเปิดบริการ แช็ทบ็อท Meta AI บน WhatsApp, Facebook, Messenger, Instagram สำหรับตลาดประเทศอินเดียอย่างเป็นทางการ หลังจาก เปิดทดสอบมาสักระยะหนึ่ง (ไทยยังไม่มีเช่นเคย)
Meta AI เป็นการนำโมเดล Llama 3 มาให้บริการโต้ตอบผ่านแอพแช็ทในเครือ ผู้ใช้สามารถคุยกับ Meta AI ทั้งการสนทนาเดี่ยว และเพิ่มเป็นเพื่อนเข้ามาในกลุ่มสนทนา เพื่อให้ช่วยพูดคุย หาข้อมูล และวางแผนต่างๆ ให้ได้ รวมถึง สั่งให้เรียกโมเดลสร้างรูปภาพจากข้อความผ่านหน้าแช็ท ได้ด้วย
Civil Resolution Tribunal หรือคณะอนุญาโตตุลาการแคนาดาตัดสินใจให้สายการบินแคนาดาต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย เนื่องจากแชตบอตบนหน้าเว็บของสายการบินเองตอบข้อมูลผิดพลาด
คดีนี้เกิดขึ้นหลัง Jake Moffatt เดินทางโดยสายการบินแคนาดาเพื่อไปงานศพยายของเขา แต่ Moffatt ซื้อตั๋วราคาเต็มแม้สายการบินจะมีตั๋วราคาพิเศษสำหรับการเดินทางไปร่วมงานศพ หลังจากนั้น Moffatt ได้สอบถามกับแชตบอตบนหน้าเว็บของสายการบินว่าสามารถขอคืนเงินส่วนต่างได้หรือไม่และแชตบอตยืนยันว่าทำเอกสารย้อนหลังได้ภายใน 90 วันหลังการเดินทาง
NVIDIA เปิดตัว Chat with RTXเป็นไคลเอนต์สำหรับรันแช็ทบ็อท Generative AI บนเครื่องพีซีของเราเอง ไม่ต้องพึ่งพาเซิร์ฟเวอร์ภายนอก ช่วยรักษาความเป็นส่วนตัวเรื่องข้อมูลได้ดีกว่าการไปใช้บริการ LLM บนคลาวด์
Chat with RTX เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้รันโมเดลภาษาโอเพนซอร์ส (ตอนนี้รองรับ Llama 2 และ Mistral สองตัว) มารันบน Tensor Core ของจีพียู GeForce RTX ซีรีส์ 30 ที่มี VRAM 8GB ขึ้นไป (เบื้องหลังของมันคือ TensorRT-LLM และ RAG on Windows ) ตอนนี้ยังรองรับเฉพาะบน Windows 10 และ 11 เท่านั้น
Hugging Face แพลตฟอร์มด้าน AI ชื่อดัง เคย เปิดตัวบริการแช็ทบ็อท HuggingChat แบบเดียวกับ ChatGPT แต่เป็นโอเพนซอร์ส ไปก่อนแล้ว
ล่าสุด Hugging Face เปิดตัวบริการเสริมชื่อ HuggingChat Assistantสำหรับปรับแต่งแช็ทบ็อทให้มีความสามารถเฉพาะทาง แบบเดียวกับ GPT Builder และ GPT Store ของค่าย OpenAI แต่มีจุดต่างสำคัญคือเป็นโอเพนซอร์ส และใช้งานได้ฟรี (ค่าย OpenAI ต้องสมัคร ChatGPT Plus ราคา 20 ดอลลาร์ต่อเดือน)
LMSYS ผู้จัดอันดับแชตบอทโดยอาศัย Chatbot Arena เป็นการ "ต่อสู้" ระหว่างแชตบอทสองตัวให้ตอบคำถามเดียวกันแล้วให้ผู้ใช้เลือกว่าชอบคำตอบฝั่งใด รายงานผลรอบล่าสุดวันที่ 26 มกราคม 2024 และพบว่า Bard รุ่นที่ใช้ Gemini Pro นั้นแซงหน้า GPT-4 ขึ้นมาเป็นรองเพียง GPT-4 Turbo เท่านั้น
กูเกิลเปิดตัว Gemini โดยระบุว่าทดสอบวงปิดกับผู้ทดอบแล้วว่า Bard รุ่นใหม่นี้เป็นแชตบอทฟรีที่คุณภาพสูงสุดในตลาด ผลการทดลองนี้ก็ดูจะสนับสนุนว่า Gemini ให้ผลโดยรวมที่ดีในภาพรวมจริงๆ
Microsoft อัปเดตเพิ่มวิดเจ็ตของแอป Bing บน iOS ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสนทนากับ AI แชตบอตได้เพียงแค่แตะครั้งเดียวผ่านหน้า Home ซึ่งก่อนหน้านี้มีให้บริการแค่บน Android เท่านั้น
แต่การอัปเดตครั้งนี้เป็นเพียงแค่เพิ่มช่องทางลัดให้ผู้ใช้สามารถกดเข้าสู่หน้าแอป Bing Chat เท่านั้น ยังไม่สามารถโต้ตอบกับวิดเจ็ตบนหน้าจอ Home ได้ คาดว่าจะมีการพัฒนาในส่วนนี้ต่อไป
รัฐบาลท้องถิ่นกรุงโตเกียวประกาศจะเริ่มใช้ ChatGPT สำหรับงานเอกสารและงานธุรการภายในสำนักงาน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม
รัฐบาลกรุงโตเกียวจะใช้ ChatGPT สำหรับงานเอกสารต่าง ๆ เช่น การเตรียมเอกสารในรูปแบบถาม-ตอบ รวมถึงจะสอบถามความเห็นข้าราชการของกรุงโตเกียวว่าควรจะนำ Generative AI ไปใช้ทำอะไรต่อไป
Koike ผู้ว่าการกรุงโตเกียวเผยว่า การประเมินข้อดีข้อเสียของเครื่องมือ AI ที่จะนำมาใช้งาน จะช่วยให้การบริหารจัดการภาครัฐดีมากขึ้น ส่วนประเด็นความลับของข้อมูล รัฐบาลท้องถิ่นมีการจัดตั้งทีมงานขึ้นมาทดสอบทั้งประสิทธิภาพ และวางแนวทางการใช้งานเพื่อป้องกันข้อมูลรั่วไหล
องค์กรวิจัยของรัฐบาลจีนเปิดเผยรายงานว่า องค์กรจีนได้เปิดตัว large-language models (LLMs) ทั้งหมด 79 โมเดล ในประเทศช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เพื่อเพิ่มการพัฒนาอัลกอริธึมของ AI ให้มากยิ่งขึ้น
รายงานได้บอกว่า การพัฒนา LLMs ต้องใช้การเทรนด้วยเทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกกับข้อมูลจำนวนมหาศาลและถูกเร่งพัฒนาเร็วมากขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงปี 2020
ในปี 2020 จีนได้เปิดตัวออก LLM 2 โมเดล เมื่อเทียบกับสหรัฐฯ ที่ตอนนั้นมีอยู่ 11 โมเดล แต่ในปี 2021 ทั้งจีนและสหรัฐเปิดตัว LLMs ประเทศละ 30 โมเดล และในปี 2022 สหรัฐฯ ได้เปิดตัวอีก 37 โมเดล ส่วนจีนเปิดตัว 28 โมเดล และในปีนี้จีนเป็นปล่อย LLMs จำนวน 19 โมเดล แซงหน้าสหรัฐฯ ที่มี 18 โมเดล
Lazada เปิดตัว LazzieChat แชตบอต AI สำหรับอีคอมเมิร์ซที่ใช้เทคโนโลยีเบื้องหลังเป็น Azure OpenAI Service ของไมโครซอฟท์ เพื่อสร้างประสบการณ์การซื้อสินค้าที่มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้นให้แก่ลูกค้า โดยความสามารถของ LazzieChat เป็นแอปแชตบอตที่ช่วยตอบคำถามการซื้อและเป็นผู้ช่วยช้อปส่วนตัวด้วยการแนะนำข้อเสนอผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าต้องการ
Diomedes Kastanis CTO ของ Microsoft ได้กล่าวว่า Azure OpenAI Service จะเปลี่ยนแปลง Shopping journey การซื้อของสำหรับลูกค้า, ผู้ขาย และ แบรนด์บน Lazada รวมถึงเพิ่มประสบการณ์การบริการลูกค้า, ให้บริการรวดเร็วยิ่งขึ้น และเปลี่ยนประสบการณ์ซื้อในภูมิภาค APAC
กูเกิลประกาศฟีเจอร์ชุดใหม่ของแชตบอต Bard โดยหลังจากนี้ผู้ใช้ไม่ต้องขอใช้งานล่วงหน้าแล้ว แต่สามารถสมัครใช้งานได้ทันที โดยส่วนสำคัญคือการรองรับภาษาเพิ่มเติม เริ่มจากภาษาญี่ปุ่นและภาษาเกาหลี นอกจากนี้ยังมีอีกกว่า 40 ภาษารวมถึงภาษาไทยจะเปิดให้บริการเพิ่มเติมเร็วๆ นี้
ฟีเจอร์ใหญ่ในการอัพเดตครั้งนี้คือการรองรับปลั๊กอิน ทำให้สามารถทำงานร่วมกับบริการอื่นๆ ได้ เช่น สร้างภาพจาก Adobe Firefly หรือค้นหาข้อมูลจาก Google Search และแสดงภาพและข้อความในแชตโดยตรง, ใส่ภาพในแชตและใช้ Google Lens เพื่ออธิบายภาพให้ Bard
บริษัท Inflection AI ที่ก่อตั้งโดย Reid Hoffman ผู้ร่วมก่อตั้ง LinkedIn และ Mustafa Suleyman ผู้ร่วมก่อตั้ง DeepMind ช่วงต้นปี 2022 ตอนนี้มีผลงานออกมาแล้ว เป็นแชทบ็อทชื่อว่า Pi
Pi ย่อมาจาก “personal intelligence” จุดเด่นของมันที่ต่างจากแชทบ็อทตัวอื่นๆ อย่าง ChatGPT, Bing, Bard คือการตั้งใจให้เป็นผู้ช่วยส่วนตัวที่ "ใจดี" และพยายามช่วยเหลือเราในเรื่องต่างๆ (kind and supportive) ตัวบทสนทนามีความเป็นมนุษย์มากขึ้น พยายามชวนเราคุยด้วย ไม่ใช่ตอบคำถามอย่างเดียว
วันนี้ทาง PyThaiNLP กับสถาบันวิจัยปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย AIReserach.in.th ได้เปิดตัวโมเดล WangChanGLM (วังช้างแอลเอ็ม) โมเดลแชทแบบ ChatGPT รองรับทั้งภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาเวียดนาม, และภาษาอื่น ๆ ออกสู่สาธารณะ โดยเปิดซอร์สโค้ดทั้งหมด ชุดข้อมูล และโมเดล ให้สามารถนำไปใช้งานต่อได้แบบฟรี ๆ รวมถึงเทรนต่อได้ โดยโค้ดเป็น Apache License 2.0 ส่วนโมเดลใช้ CC BY-SA 4.0
Hugging Face บริษัทด้าน AI เปิดตัวบริการ HuggingChat ซึ่งเป็นแช็ทบ็อทที่ใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) ลักษณะเดียวกับ ChatGPT มีขนาด 3 หมื่นล้านพารามิเตอร์ ที่สำคัญคือเป็นโมเดลโอเพนซอร์ส
โมเดลที่ HuggingChat ใช้งานคือ OpenAssistant LLaMA ที่ต่อยอดมาจาก LLaMA ของ Meta AI และ มีหน่วยงานหลายแห่งนำไปต่อยอด พัฒนาโมเดล LLaMA ให้ดีขึ้นในวิธีของตัวเอง
NVIDIA เปิดตัวโครงการ NeMo Guardrails ตัวควบคุมปัญญาประดิษฐ์ในกลุ่มโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) โดยทำงานร่วมกับโมเดลปัญญาประดิษฐ์ตัวอื่นๆ รวมถึง GPT ของ OpenAI โครงการนี้ควบคุม 3 ด้าน ได้แก่
- ควบคุมหัวข้อการพูดคุย: ไม่ให้ผู้ใช้ล่อให้ตัวปัญญาประดิษฐ์ตอบนอกเรื่อง
- ควบคุมความปลอดภัย: กรองคำตอบให้เหมาะสมไม่มีคำหยาบ และอ้างอิงแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้เท่านั้น
- ควบคุมการเจาะระบบ: ในกรณีที่แอปพลิเคชั่นเชื่อมต่อ API ภายนอกได้ ต้องเชื่อมต่อกับ API อย่างปลอดภัย
การคอนฟิก NeMo Guardrails ใช้ภาษาคอนฟิกของโครงการเองที่เขียนได้ง่ายกว่าการเขียน prompt เพื่อควบคุม LLM
เมื่อสัปดาห์ก่อนทาง Snapchat ได้ปล่อยฟีเจอร์ใหม่ในชื่อ My AIให้ผู้ใช้งานทั่วไปหลังจากเดิมที่จำกันให้เฉพาะสมาชิกแบบจ่ายรายเดือนอย่าง Snapchat+ได้ใช้ไปก่อนหน้านี้ โดยระบบ AI ใหม่ของ Snapchat นั้นใช้เทคโนโลยีของ Open AI GPT นั่นเอง
ผู้ใช้งานแอปฯ สามารถ ถาม หรือพูดคุยกับ My AI ได้โดยได้รับคำตอบในทันที ตัว My AI ถูกปักหมุดไว้บนสุดของหน้า Chat ไม่สามารถย้ายหรือลบออกได้ ซึ่งเสียงตอบรับจากผู้ใช้งานนั้นไม่ดีอย่างที่ Snapchat คาดหวังไว้เท่าไหร่ และในสัปดาห์ที่ผ่านมาคะแนนเฉลี่ยใน App Store ของ U.S. อยู่ที่ 1.67 ดาว โดยคิดเป็น 75% ของผู้ใช้งาน ให้รีวิวที่ 1 ดาว
Google เปิดให้ผู้ใช้ในไทยสมัครใช้งาน Bard ปัญญาประดิษฐ์แบบแชตบอท หลังจากเปิดให้สมัครเฉพาะในสหรัฐฯ และอังกฤษเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แม้จะเปิดให้ใช้งานแต่ผู้ใช้ก็ต้องลงชื่อขอรอคิวเข้าใช้งาน ผู้ใช้บางส่วนอาจจะได้ใช้งานในเวลาไม่นานนัก
ผมทดลองใช้งานพบว่า Bard นั้นตอบค่อนข้างเร็วมาก เมื่อเทียบกับ ChatGPT การตอบมักตอบมาทั้งชุดทันทีไม่ต้องรอค่อยๆ พิมพ์ อย่างไรก็ดี Bard ไม่ยอมตอบภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษ ทำให้การใช้งานอาจจะจำกัดพอสมควร
ที่มา - bard.google.com
- Read more about Google Bard เปิดให้สมัครในไทยแล้ว
- 29 comments
- Log in or register to post comments
สำนักข่าวรอยเตอร์สพบว่าแชตบอต Bard ที่กูเกิลเพิ่งเปิดตัวไปกลับตอบคำถามผิด โดย Bard ให้ข้อมูลว่ากล้อง JWST ถ่ายภาพดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ (exoplanet) ได้เป็นครั้งแรก แม้ว่าที่จริงแล้วกล้องโทรทรรศน์ของสหภาพยุโรปจะถ่ายภาพดาวเคราะห์ 2M1207b ได้ตั้งแต่ปี 2004 ก็ตาม
หลังมีข่าว หุ้นกูเกิลตกจากก่อนหน้า ราคา 106.77 ดอลลาร์ ลงไปต่ำสุดในรอบสัปดาห์เหลือ 98.04 ดอลลาร์ก่อนจะกลับขึ้นมาได้เล็กน้อย แม้ว่ากูเกิลจะเตือนตั้งแต่แรกว่า Bard อาจจะให้ข้อมูลไม่ถูกต้อง แต่การที่ข้อมูลผิดตั้งแต่คำถามแรกที่นำมาโฆษณาก็อาจจะแสดงว่ากูเกิลไม่พร้อมให้บริการนัก
กูเกิลเปิดตัว Bardแชทบ็อท AI แบบเดียวกับ ChatGPT ที่ใช้ โมเดลประมวลผล LaMDA ของกูเกิลเอง ซึ่งชื่อของแชทบ็อทก็ตรงตาม รายงานก่อนหน้านี้ และเป็นการเปิดตัวก่อน งานแถลงข่าว ผลิตภัณฑ์ใหม่ 1 วัน
โดยกูเกิลบอกว่า Bard เป็นการรวมข้อมูลองค์ความรู้จากเว็บ ที่มีพลัง ความฉลาด และความคิดสร้างสรรค์ บน Large Language Models (LLMs) ได้ผลลัพธ์คำตอบที่สดใหม่และมีคุณภาพ ทั้งนี้ Bard จะใช้โมเดลตัวเล็ก (lightweight) ของ LaMDA ที่ใช้ปริมาณการประมวลผลน้อยกว่า เพื่อให้สามารถสเกลกับผู้ใช้งานที่มากขึ้นได้ และทำให้รวบรวมความเห็นจากผู้ใช้งานได้มากกว่า
CNBC รายงานข่าวลือว่า กูเกิลกำลังพัฒนาแชทบ็อทลักษณะเดียวกับ ChatGPT โดยมีชื่อภายในว่า Apprentice Bard (กวีฝึกหัด) โดยตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการทดสอบภายใน ตัวโมเดลที่รันอยู่เบื้องหลังคือ LaMDA ที่โชว์เดโมมาหลายปี และ เคยมีข่าวว่าพนักงานคนหนึ่งบอกว่ามันมีความรู้สึกเหมือนมนุษย์ แต่กูเกิลก็ ยังไม่ยอมเปิดให้คนภายนอกใช้งาน
นอกจาก Apprentice Bard กูเกิลยังมีโครงการด้านแชทบ็อทอีกหลายตัว ตัวอย่างอีกโครงการเป็นการปรับหน้า search บนเว็บแบบเดสก์ท็อปใหม่ ใช้ใช้งานถามตอบกับบ็อทได้ด้วย
งานประชุมวิชาการ International Conference on Machine Learning (ICML) ประกาศห้ามนักวิจัยเขียนงานวิจัยด้วยปัญญาประดิษฐ์ เช่น ChatGPT มาส่ง โดยระบุประเด็นปัญหาว่ายังไม่แน่ชัดว่าจะถือว่าใครเป็นผู้เขียน โดยอาจจะเป็นได้ทั้งผู้พัฒนา ChatGPT, ตัว ChatGPT เอง, หรือจะเป็นคนสั่งให้ ChatGPT เขียน นอกจากนี้การส่งรายงานวิจัยที่สร้างโดย ChatGPT เข้ามาก็จะทำให้กระบวนการรีวิวรายงานยุ่งยากขึ้น ทาง ICML จึงขอให้นักวิจัยงดใช้ปัญญาประดิษฐ์ช่วยเขียนงานวิจัยในปีนี้ไปก่อน และจะพิจารณากฎนี้อีกครั้งในอนาคต
ข้อห้ามนี้ไม่รวมถึงการใช้ปัญญาประดิษฐ์ช่วยแก้คำผิด, แก้แกรมมาร์, หรือเกลาประโยคด้วยเครื่องมือต่างๆ รวมถึงโมเดลปัญญาประดิษฐ์ แต่ตัวนักวิจัยต้องเขียนข้อความเริ่มต้นด้วยตัวเอง
OpenAI เปิดให้ทดลองคุยกับ แชทบ็อต ChatGPT ที่ใช้เอนจิน GPT เวอร์ชัน 3.5 ที่ปรับปรุงเพิ่มขึ้นจาก GPT-3 ที่เปิดตัวในปี 2021
ความสามารถของ ChatGPT เน้นไปที่การสนทนาโต้ตอบ ตอบคำถาม และสามารถยอมรับความผิดพลาดในสิ่งที่ตัวเองสุนทนาได้ ตัวอย่างที่ OpenAI นำมาโชว์คือการใช้ ChatGPT ช่วยหาบั๊กในโค้ดโปรแกรมตัวอย่าง
Mira Murati ซีทีโอของ OpenAI บอกว่าจุดเด่นของ ChatGPT ที่ต่างจากโมเดลสนทนาโต้ตอบตัวอื่นๆ คือการยอมรับได้ว่าไม่รู้ ไม่เข้าใจ หรือตอบผิดพลาดไป ไม่ได้พยายามตอบทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนกับโมเดลรุ่นก่อนหน้า
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Plasma Bot แชทบ็อทไว้ถามคำถาม เพื่อรับอาสาสมัครผู้ที่หายป่วยจากโรค COVID-19 ที่อยากบริจาคพลาสมาเพื่อเป็นประโยชน์แก่การรักษาและการป้องกันโรคต่อไป
โดย Plasma Bot หรือบ็อทตัวนี้จะเสนอคำถามง่ายๆ เกี่ยวกับอาการที่ผู้ที่หายป่วยเป็นในช่วงที่เป็นโรค ความสามารถในการฟื้นตัว ไปจนถึงสอบถามความตั้งใจที่อยากจะบริจาคพลาสมา รวมถึงเป็นการประเมินเบื้องต้นว่า อาสาสมัครมีความสามารถในการบริจาคพลาสมาได้หรือไม่ และจะให้คำแนะนำเพื่อให้ไปบริจาคพลาสมาที่ศูนย์บริจาคที่ใกล้ที่สุด โดยอาสาสมัครสามารถเข้าไปลองใช้งาน Plasma Bot ได้ที่เว็บไซต์ CoVIg-19 Plasma Alliance
ไมโครซอฟท์เปิดบริการ Power Virtual Agents บริการสร้างแชตบอตโดยไม่ต้องโค้ด แต่อาศัยการเขียน flow บนตัวออกแบบ GUI แทน
ไมโครซอฟท์เตรียมหัวข้อ (topic) ที่พูดคุยกับลูกค้าไว้บ่อยๆ ให้แล้ว เช่น การถามเวลาเปิดปิดร้าน, ถามตำแหน่งร้าน, หรือยกเลิกคำสั่งซื้อ แต่ละหัวข้อจะมีประโยคเข้าเรียกใช้หัวข้ออย่างน้อย 5-10 ประโยค เช่น หากถามเวลาเปิดปิดร้าน อาจจะถามว่า "ตอนนี้เปิดอยู่ไหม" หรือ "พรุ่งนี้เที่ยงเปิดหรือเปล่า"
แชตบอทสามารถเชื่อมต่อ API กับโลกภายนอกผ่านทาง Power Automate ซึ่งทำให้เข้าถึงข้อมูลบนฐานข้อมูลต่างๆ รวมถึงการคิวรีผ่านเว็บและการบันทึกผลผ่าน API
เมื่อไม่กี่เดือนที่แล้ว เราเห็น อดีตคู่กัดตลอดกาล Oracle/Microsoft ประกาศจับมือเป็นพันธมิตรด้านคลาวด์ ล่าสุดทั้งสองบริษัทขยายความร่วมมือกันไปอีกขั้น โดยบริการแชทองค์กร Microsoft Teams จะเชื่อมต่อกับผู้ช่วยส่วนตัว Oracle Digital Assistants
Oracle Digital Assistants เป็นบริการสำหรับสร้างผู้ช่วยส่วนตัว/แช็ทบ็อตสำหรับองค์กร โดยองค์กรสามารถเชื่อมระบบ ERP/CRM ของตัวเองเข้ากับ Digital Assistants เพื่อให้บริการลูกค้าผ่านแอพแชทยอดนิยมอย่าง Facebook Messenger, WeChat, Slack รวมถึงลำโพงอัจฉริยะอย่าง Amazon Echo, Google Home, Apple HomePod
SCB Abacus บริษัทลูกของธนาคารไทยพาณิชย์ทำงานด้าน AI และ Big Data ร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดตัว “เพิ่มพูน” แชทบ็อตบนLINE และ Facebook Messenger ช่วยตอบคำถามเรื่องการลงทุน
ในขณะที่คุยกับน้องเพิ่มพูน ระบบ AI จะแนะนำแท็บคำถามที่ที่ผู้ใช้อาจอยากรู้เช่นถามว่าผู้ใช้เป็นมือใหม่ในการลงทุนหรือไม่ ถ้าใช่ ระบบจะแนะนำและให้ความรู้เรื่องการลงทุน เป็นรูปภาพและลิงก์บทความ เมื่อตกลงใจสมัครระบบจะส่งลิงก์เพื่อสมัครลงทุนให้