ทีมนักวิทยาศาสตร์จาก University of California San Diego และ University of California Berkeley ตีพิมพ์เปเปอร์วิชาการ ที่พบข้อมูลว่ามี "น้ำในสภาพของเหลว" อยู่ใต้ดินของดาวอังคาร
ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์พบน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกของดาวอังคาร และพบร่องรอยของน้ำในสภาพของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคารเมื่อ 3 พันล้านปีก่อน แต่คาดว่าระเหยออกนอกชั้นบรรยากาศไปหมดแล้ว คำถามสำคัญคือยังมีน้ำอยู่ในชั้นใต้ดินของดาวอังคารหรือไม่
งานวิจัยนี้อาศัยข้อมูลจาก ยาน Mars Insight Lander ของ NASA ที่ส่งไปปฏิบัติภารกิจบนดาวอังคารระหว่างปี 2018-2022 ยานสำรวจลำนี้มีเซ็นเซอร์วัดแผ่นดินไหว (seismometer) เก็บสถิติของแผ่นดินไหวบนดาวอังคารรวม 1,319 ครั้ง
เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2023 มีอาสาสมัคร 4 คนเข้าร่วมภารกิจ Crew Health and Performance Exploration Analog ( CHAPEA ) ของ NASA เป็นการอยู่อาศัยในบ้านจำลองที่สร้างด้วย 3D Printer และอยู่ในนั้นนานเกิน 1 ปี เพื่อจำลองวิถีชีวิตของนักบินอวกาศบนดาวอังคาร
ล่าสุดเมื่อเช้ามืดวันนี้ (7 กรกฎาคม ตามเวลาบ้านเรา) การทดลองเสร็จเรียบร้อย ผู้ทดสอบทั้ง 4 คนได้แก่ Kelly Haston, Anca Selariu, Ross Brockwell, Nathan Jones ออกมาจากบ้านแล้ว ใช้เวลาอยู่ในพื้นที่ปิดทั้งสิ้น 378 วัน
ทีมวิจัยจาก Chinese Academy of Sciences รายงานถึงการทดสอบมอส Syntrichia caninervis ที่พบในพื้นที่กันดารหลายแห่งในโลกว่าอาจจะเป็นกุญแจสู่การสร้างนิคมบนดาวอังคารในอนาคต โดยมอสชนิดนี้เดิมพบอยู่ตามทะเลทราย แต่มีความทนทานต่อสภาพอากาศหนาวเย็น
ทีมวิจัยทดสอบความทนทานของมอส S. caninervis ตั้งแต่ความทนทานต่ออากาศแห้งรุนแรงจนเสียน้ำ, เจออากาศเย็นจนแข็ง รวมถึงการแช่ไนโตรเจนเหลว -196 องศาเซลเซียส, ฉายรังสีระดับ 4,000 Gy (สำหรับการรักษามะเร็งอยู่ที่ 1-2 Gy ต่อครั้ง และประมาณ 60-70 Gy ต่อคอร์ส) และเมื่อจำลองอากาศใกล้เขตศูนย์สูตรของดาวอังคาร มอสนี้ก็ยังเติบโตได้
นาซ่าประกาศจบภารกิจของเฮลิคอปเตอร์ Ingenuity หลังพบว่าภารกิจล่าสุดทำให้ใบพัดบิ่นไป ตอนนี้นาซ่ายังไม่รู้สาเหตุที่ทำให้ สัญญาณขาดหายระหว่างภารกิจที่ 72 ที่กลายเป็นภารกิจสุดท้ายของ Ingenuity แต่หลังจากกลับมาเชื่อมต่อได้ก็ดาวน์โหลดภาพกลับมาแสดงให้เห็นเงาของใบพัดว่าเสียหายไปแล้ว
Ingenuity ลงจอดบนดาวอังคารตั้งแต่ 18 กุมภาพันธ์ 2021 พร้อมรถสำรวจ Perseverance และขึ้นบินจริงในวันที่ 19 เมษายน 2021 เดิมมีกำหนดบินทดสอบ 14 ภารกิจ ระยะเวลาที่ยืดออกมาทำให้ Ingenuity ผ่านบททดสอบหลายอย่าง ทั้งการลงจอดในพื้นที่ลงจอดยาก, เซ็นเซอร์เสียหาย, ผ่านพายุทะเลทรายบนดาวอังคาร, ผ่านหน้าหนาวดาวอังคาร, และต้องลงจอดฉุกเฉินถึง 3 รอบ
นาซ่ากู้ลิงก์เชื่อมต่อเฮลิคอปเตอร์ Ingenuity ได้สำเร็จหลังสัญญาณหายไประหว่างลงจอดในเที่ยวบิน 72 ที่เป็นการบินแนวดิ่งสูง 12 เมตรเมื่อวันที่ 18 มกราคมที่ผ่านมา และระหว่างนี้ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลว่าเฮลิคอฟเตอร์ยังใช้งานได้หรือไม่
ทีมงานที่ Jet Propulsion Laboratory (JPL) สั่งให้ยานแม่ Perseverance เข้าโหมดฟังคลื่น (long-duration listening) และสามารถกลับมาเชื่อมต่อได้ในที่สุด
Ingenuity ถูกส่งไปยังดาวอังคาร ตั้งแต่ปี 2021 ตอนนี้บินไปแล้ว 72 เที่ยวบิน รวมระยะเวลา 128 นาที ระยะทาง 17 กิโลเมตร และทำความสูงสูงสุด 24 เมตร
องค์การอวกาศยุโรป หรือ European Space Agency (ESA) รายงานข้อมูลของโครงการ Mars Express ยานสำรวจดาวอังคาร ที่ส่งออกจากโลกไปตั้งแต่ปี 2003 ซึ่งมีอุปกรณ์ MARSIS ที่ใช้สัญญาณเรดาร์ตรวจสอบหาสิ่งที่อยู่ใต้ผิวดินของดาวอังคาร แต่ปัญหาคือซอฟต์แวร์ของ MARSIS ถูกผลิตขึ้นเมื่อ 19 ปีที่แล้ว ทำงานอยู่บน Windows 98
โดยทีมวิศวกรซอฟต์แวร์ของ Enginium ได้เข้ามาช่วย ESA ในการอัพเกรดซอฟต์แวร์ของ MARSIS เพื่อให้การเก็บข้อมูลภาพและรายละเอียดต่าง ๆ ทำได้ละเอียดมากขึ้น บนความท้าทายสำคัญคือโปรแกรมนี้ต้องทำงานอยู่บน Windows 98 ต่อไป ซึ่งผลลัพธ์นั้น ESA บอกว่าเหมือนได้ MARSIS ตัวใหม่ อย่างไรก็ตาม ESA ไม่ได้ให้รายละเอียดวิธีการอัพเกรดนี้
ทวิตเตอร์ของยาน Curiosity บนดาวอังคาร ทวิตโชว์ภาพท้องฟ้าดาวอังคาร ที่มีเมฆมาก เหนือหน้าผาหิน พร้อมอธิบายว่าสภาพชั้นบรรยากาศดาวอังคารที่บางและแห้ง ทำให้เกิดเมฆได้ยาก
Curiosity ยังโชว์ภาพ GIF ที่ประกอบจากกล้อง 6 กล้องถ่ายภาพต่อเนื่องกัน แสดงให้เห็นเมฆกำลังเคลื่อนที่, ภาพเมฆสะท้อนแสงสีขาวนวลที่เรียกว่า "mother of pearl" ที่เกิดเพราะอนุภาคในเมฆที่มีขนาดเกือบเท่าๆ กัน
หน่วยงานอวกาศของรัฐบาลจีน China National Space Administration ประกาศความสำเร็จของยาน Zhurong ที่สามารถลงจอดบนดาวอังคารได้สำเร็จ ทำให้จีนกลายเป็นชาติที่สองที่สามารถส่งยานไปถึงดาวอังคารได้
ยาน Zhurong เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจสำรวจดาวอังคาร Tianwen 1 ที่เริ่มยิงจรวดออกนอกโลกตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม 2020 และเดินทางจนมาถึงดาวอังคารในวันนี้
Zhurong ลงจอดที่บริเวณ Utopia Planitia ทางตอนใต้ของดาวอังคาร หลังจากนี้จะมีรถสำรวจ (rover) ออกสำรวจพื้นผิวของดาวต่อไป
ชื่อ Zhurong มาจากเทพเจ้าแห่งไฟตามตำนานจีน จู้หรง หรือบ้างก็เรียก จู้หยอง
NASA ประสบความสำเร็จในการบินเฮลิคอปเตอร์ Ingenuity ครั้งแรกบนดาวอังคาร ซึ่งถือเป็นการบินอากาศยาน (aircraft) ครั้งแรกบนดาวอังคารด้วย
การบินเฮลิคอปเตอร์ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของ ภารกิจยาน Perserverance ที่เดินทางและลงจอดบนดาวอังคารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2021 โดยขนเฮลิคอปเตอร์ Ingenuity มาด้วย และทดสอบบินจริงครั้งแรกในวันนี้
เฮลิคอปเตอร์ Ingenuity มีชิ้นส่วนจากปีกของเครื่องบิน Wright Flyer เครื่องบินลำแรกของมนุษยชาติที่บินเมื่อปี 1903 ติดไปด้วย
Starlink ระบุหากใช้งานในวงโคจรโลกต้องทำตามกฎหมายแคลิฟอร์เนีย แต่หากใช้บนดาวอังคารจะไม่ใช้กฎหมายบนโลก
Starlink เริ่ม เปิดให้บริการแบบเก็บเงิน ตอนนี้ผู้ใช้ที่สมัครก็ต้องยินยอมตามข้อตกลงการใช้งาน โดยมีหมวดหนึ่งของข้อตกลงระบุถึงกฎหมายที่จะใช้ในกรณีเกิดข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้กับบริษัท โดยระบุว่าหากยังใช้บริการอยู่ในวงโคจรโลก รวมถึงการโคจรรอบดวงจันทร์จะต้องใช้กฎหมายแคลิฟอร์เนียในสหรัฐฯ ยกเว้นการให้บริการบนดาวอังคารและบริการระหว่างเที่ยวบิน Starship ไปยังดาวอังคาร
ข้อตกลงระบุว่าผู้ใช้ต้องยอมรับว่าดาวอังคารไม่อยู่ภายใต้รัฐบาลใดบนโลกและข้อพิพาทต้องทำตามหลักการปกครองตนเองของนิคมดาวอังคาร
องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (The Japan Aerospace Exploration Agency: JAXA) ประกาศความร่วมมือกับสมาคมแพร่ภาพกระจายเสียงแห่งประเทศญี่ปุ่น หรือ NHK เพื่อพัฒนากล้องถ่ายภาพในอวกาศที่ความละเอียดระดับ 4K และ 8K สำหรับจับภาพดาวอังคาร
JAXA ระบุว่ากล้องดังกล่าวเป็นกล้อง Super Hi-Vision ที่ใช้ในปฏิบัติการ Martian Moons eXploration (MMX) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการเก็บภาพดาวอังคาร และดวงจันทร์ที่ความละเอียดสูงในระดับนี้ โดยภาพทั้งหมดจะเก็บไว้ในตัวอุปกรณ์ มีเพียงบางส่วนที่ส่งข้อมูลกลับมายังโลกก่อน เพื่อนำมารวมกับชุดข้อมูลภายหลังยานสำรวจเดินทางกลับมาที่โลก
หนึ่งในความ(เพ้อ)ฝันของ Elon Musk กับโครงการอวกาศคือการที่ SpaceX พามนุษย์ไปตั้งอาณานิคมบนดาวอังคาร ให้ได้ ล่าสุด Musk ไปพูดถึงที่ Satellite 2020 มีใจความตอนหนึ่งพูดถึงโครงการดังกล่าวว่า ถ้าหาก SpaceX ไม่เร่งความเร็วในการพัฒนา เขาคงจะตายก่อนที่มนุษย์จะได้ไปเหยียบดาวอังคารแน่ ๆ
Elon Musk เคยบอกไว้ว่าเขาต้องการแบ่งมนุษย์ไปอยู่อาศัยบนดาวอังคารเพราะลดความเสี่ยงที่เผ่าพันธุ์มนุษย์อาจสูญพันธุ์ในอนาคต แต่ก็มีนักวิจารณ์บางส่วนบอกว่าเขาไม่ได้จริงจังว่าจะเอาอย่างไรต่อหากเราเดินทางไปถึงดาวอังคารได้จริง
ล่าสุดเว็บไซต์ Ars Technica รายงานว่าได้เห็นคำเชิญจาก SpaceX ส่งถึงนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจากหลายแขนง รวมถึงคนจาก NASA ที่อยู่โครงการสำรวจดาวอังคาร รวมเกือบ 60 ชีวิต ให้มาเข้าร่วมเวิร์คช็อปลับชื่อ “Mars Workshop” ที่จะถกว่าเราต้องทำอย่างไรที่จะทำให้ภารกิจต่างๆ เกี่ยวกับดาวอังคารเป็นจริงขึ้นมาได้ โดย SpaceX ขอให้ผู้เข้าร่วมงานไม่เปิดเผยรายละเอียดของงาน หรือแม้กระทั่งเปิดเผยว่าตนไปเข้าร่วมงานดังกล่าว
องค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency - ESA) ประกาศข่าวการค้นพบแหล่งน้ำชั้นใต้ผิวดาวอังคารเมื่อวานนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบน้ำที่ยังคงสถานะเป็นของเหลวบนดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้
การค้นพบดังกล่าวมาจากการสำรวจของยาน Mars Express ซึ่งถูกส่งออกไปจากโลกตั้งแต่ปี 2003 โดย Mars Express ใช้สัญญาณเรดาร์ตรวจสอบหาสิ่งที่อยู่ใต้ผิวดินของดาวอังคาร โดยใช้การวิเคราะห์สัญญาณเรดาร์ที่สะท้อนพื้นผิวดาวอังคารกลับมายังยานสำรวจ ซึ่งจะวิเคราะห์ทั้งระยะเวลาที่สัญญาณเดินทางไปสะท้อนผิวดาวกลับมายังยาน และความแรงของสัญญาณที่สะท้อนกลับมา
NASA เปิดเผยวันนี้ว่าโครงการส่งยานอวกาศไปดาวอังคารในปี 2020 ที่ชื่อ Mars 2020 จะลำเลียงเฮลิคอปเตอร์ขนาดเล็กชื่อว่า The Mars Helicopter ไปด้วย เพื่อทำการถ่ายภาพพื้นผิวดาวอังคารในมุมสูงกลับมา
ความท้าทายของโครงการนี้คือชั้นบรรยากาศบนดาวอังคารที่เบาบางกว่าโลกมาก เป็นโจทย์ว่าเฮลิคอปเตอร์นี้จะสามารถบินเหนือพื้นผิวดาวอังคารได้ราบรื่นดีหรือไม่ โดยโครงการดังกล่าวได้เริ่มออกแบบพัฒนาตั้งแต่ปี 2013 ได้ออกมาเป็นเฮลิคอปเตอร์น้ำหนัก 1.8 กิโลกรัม ติดตั้งกล้อง 2 ตัว และด้วยชั้นบรรยากาศที่เบาบางกว่า ใบพัดเฮลิคอปเตอร์ก็จะหมุนเร็วกว่าบนโลกถึงสิบเท่า
- Read more about NASA เตรียมส่งเฮลิคอปเตอร์เล็ก ไปเก็บภาพมุมสูงบนดาวอังคาร
- Log in or register to post comments
Elon Musk อยากให้แบ่งมนุษย์ไปอยู่ดาวอังคารเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์, ย้ำประเด็นความอันตรายของ AI
Elon Musk ซีอีโอ Tesla และ SpaceX ได้ไปพูดในงานสัมมนา SXSW (South by Southwest) ที่เมืองออสติน รัฐเท็กซัส โดยนอกจากจะปล่อย วิดีโอ จากภารกิจยิงจรวด Falcon Heavy แล้ว เขายังพูดถึงประเด็นอื่นๆ อีก ดังนี้
Elon เล่าถึงการที่เขาอยากไปตั้งฐานบนดาวอังคารและดวงจันทร์เพื่อให้เผ่าพันธุ์มนุษย์สามารถคงอยู่ต่อไปได้หากเราเข้าสู่ยุคมืด (dark ages) ซึ่งเขาไม่ได้ทำนายว่าจะเกิดขึ้นจริง แต่ก็มีโอกาส โดยเฉพาะถ้าเกิดสงครามโลกครั้งที่สาม ทำให้การที่มนุษย์ไปตั้งรกรากอยู่ดาวอื่นจะทำให้มี “เมล็ดพันธุ์” ของพวกเรามากพอที่จะดำรงความเจริญอยู่ได้ รวมถึงนำความเจริญกลับมายังโลก หากเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น
จาก เหตุการณ์ SpaceX ยิงจรวด Falcon Heavy พร้อมส่งรถยนต์ Tesla Roadster ไปยังดาวอังคาร ที่สร้างเสียงฮือฮาอย่างมากในสัปดาห์ก่อน
แต่สิ่งที่เดินทางไปยังดาวอังคารด้วย ไม่ได้มีแค่รถ Tesla และชุดอวกาศ Starman ในที่นั่งคนขับเพียงเท่านั้น เพราะ Elon Musk ส่งนิยายวิทยาศาสตร์ชุด "สถาบันสถาปนา" ไตรภาคแรก (Foundation Trilogy) ขึ้นไปกับ Tesla ด้วย
เราน่าจะเคยได้ยินกระแสกันมาบ้างว่า Elon Musk ตั้งเป้าส่งมนุษย์ไปเหยียบดาวอังคารภายในปี 2022 แต่ล่าสุด Dennis Muilenburg ซีอีโอของ Boeing ได้ประกาศว่าบริษัทของเขาต่างหากที่จะเป็นผู้ส่งมนุษย์คนแรกไปเหยียบดาวอังคาร
Muilenburg กล่าวว่าพวกเขากำลังพัฒนาจรวดยุคถัดไปร่วมกับ NASA ภายใต้ชื่อ Space Launch System โดยจรวดรุ่นใหม่นี้มีความสูง 36 ชั้น อยู่ระหว่างการประกอบขั้นสุดท้ายใกล้ๆ เมือง New Orleans และจะทดลองยิงครั้งแรกในปี 2019 โดยการบินวนรอบดวงจันทร์
ก่อนหน้านี้ Muilenburg เคยคุยทับ Elon Musk ในประเด็นนี้เมื่อปีที่แล้ว โดยระบุว่ามนุษย์คนแรกที่ได้เหยียบดาวอังคารจะบินไปด้วยจรวดของ Boeing
หลังข่าวนี้ออกมา Elon ได้ทวีตตอบกลับสั้นๆ ว่า "Do it"
องค์การ NASA เคยพูดถึงการเดินทางไปดาวอังคาร พูดถึงการส่งคนไปสู่ระบบมาร์เชียนในทศวรรษ 2030 สิ่งหนึ่งที่องค์การอวกาศไม่เคยทำสำเร็จเลยคือการสรุปว่าต้นทุนในการเดินทางนั้นเท่าไร?
มีรายงานชิ้นใหม่เพิ่งออกมาเพื่อช่วยให้ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับภารกิจนี้ทั้งในสภาคองเกรส องค์กรธุรกิจ ฝ่ายวิจัย ฯลฯ ได้ประเมินว่า จะทำให้โครงการสำรวจดาวอังคารนี้ยั่งยืนได้อย่างไร โดยคาดว่าน่าจะเดินทางไปได้ในช่วงปลายทศวรรษ 2030 ถึงต้นทศวรรษ 2040
Elon Musk เคยแสดงวิสัยทัศน์และความฝันเกี่ยวกับการเดินทางและตั้งอาณานิคมบนดาวอังคารอยู่หลายครั้ง ล่าสุดดูเหมือนความพฝันของเขาน่าจะเข้าใกล้ความเป็นจริงมากขึ้นแล้ว จากการเปิดตัวยานอวกาศภายใต้โครงการ Interplanetary Transport System ที่ตั้งเป้าจะส่งมนุษย์ไปตั้งอาณานิคมบนดาวอังคารให้ได้ภายในระยะเวลาไม่กี่สิบปีข้างหน้า
ยานสำรวจดาวอังคาร Curiosity Mars Rover ของ NASA ทำเก๋ เช็คอิน ในแอพ Foursquare โดยระบุสถานที่เป็นแอ่ง Gale Crater บนดาวอังคาร มีภาพประกอบพร้อมข้อความว่า "เดี๋ยวจะได้เป็น mayor ของดาวอังคารแล้ว!"
นี่เป็นกิจกรรมร่วมกันระหว่าง NASA กับ Foursquare เป็นครั้งที่สอง เพราะก่อนหน้านี้เคยมีนักบินอวกาศของ NASA ไปเช็คอินบนสถานีอวกาศนานาชาติมาแล้ว
ใครอยากไปแย่ง mayor ก็ตามสบายครับ
ที่มา - Foursquare Blog
- Read more about ยาน Curiosity เช็คอินบนดาวอังคาร
- 26 comments
- Log in or register to post comments
Rovio ปล่อยฉากใหม่ของเกม Angry Birds Space ทั้งบน iOS/Android แล้ว โดยฉากดาวอังคารนี้มีเนื้อเรื่องว่าเหล่าหมูสีเขียวบุกยึดยาน Curiosity Mars Rover เพื่อใช้ค้นหาไข่ ดังนั้นเหล่านกโกรธทั้งหลายต้องไปตามเอายานมาคืน
Angry Birds Space เป็นเกมที่ Rovio จับมือร่วมกับ NASA พัฒนามาตั้งแต่ต้น โดยแทรกสาระข้อมูลด้านการสำรวจอวกาศมาในเกมเรื่อยๆ และเมื่อยาน Curiosity กำลังเป็นกระแส ทาง Rovio ก็ย่อมไม่พลาดโอกาสนี้ (ไอเทมลับในภาคนี้คือยาน rover ที่ซ่อนอยู่)
ที่มา - Rovio
นักวิจัยของ NASA ออกมาเปิดเผยว่าภาพถ่ายจากยานสำรวจบนดาวอังคารในภารกิจ Mars Exploration Rover และ Mars Science Laboratory ถูกนำมาประมวลผลผ่านบริการกลุ่มเมฆ Amazon Web Services
เหตุผลก็เพราะศูนย์ข้อมูลของห้องปฏิบัติการวิจัย Jet Propulsion Laboratory (JPL) ที่รับผิดชอบภารกิจเหล่านี้ถูกใช้งานเต็มศักยภาพแล้ว และ NASA ก็ไม่ต้องการสร้างศูนย์ข้อมูลขึ้นมาใหม่ ทางออกคือเช่าใช้บริการคอมพิวเตอร์จากกลุ่มเมฆแทน ผลคือ NASA สามารถทำระบบรองรับภาพถ่ายจำนวนมหาศาลจากดาวอังคารได้ในเวลา 2-3 สัปดาห์ แทนที่จะเป็นหลักเดือนถ้าเลือกสร้างศูนย์ข้อมูลเองทั้งระบบ
- Read more about NASA ใช้กลุ่มเมฆของ Amazon ประมวลภาพถ่ายจากดาวอังคาร
- 4 comments
- Log in or register to post comments
Rovio ปล่อยโฆษณาของ Angry Birds Space ฉากใหม่ "Red Planet" หรือการบุกตะลุยดาวอังคาร ซึ่งจะเปิดให้เล่นจริงๆ ภายในฤดูใบไม้ร่วงนี้
ในวิดีโอโฆษณายังไม่แสดงภาพของฉาก Red Planet ให้เห็น แต่เนื่องจาก Angry Birds Space จับมือกับ NASA ก็เลยตั้งใจปล่อยโฆษณาตัวนี้ออกมาวันเดียวกับที่ ยาน Mars Curiosity ลงจอดบนดาวอังคาร นั่นเอง
ที่มา - Android Community
หลังจากที่ NASA เคยให้ ส่งชื่อไปดวงจันทร์ เมื่อกลางปีที่แล้ว มาวันนี้ NASA ได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจ สามารถส่งชื่อของตนเองไปกับ Mars Science Laboratory rover (หุ่นยนต์อวกาศสำรวจดาวอังคาร) เพียงเข้าไปที่เว็บ SEND YOUR NAME TO MARS กรอกชื่อ, นามสกุล, ประเทศ และรหัสไปรษณีย์ เพียงเท่านี้ชื่อของคุณก็จะได้รับการนำไปบันทึกบนไมโครชิปที่จะติดไปกับ Mars Science Laboratory rover ก่อนมุ่งหน้าสู่ดาวอังคารในปี 2011 แถมยังสามารถสร้างเกียรติบัตรเก็บไว้เป็นที่ระลึกได้อีกด้วยนะ (น่าเสียดายที่ระบบไม่รองรับภาษาไทย)
- Read more about NASA พาคุณสู่ดาวอังคาร
- 5 comments
- Log in or register to post comments