Tags:
Node Thumbnail

หลังจาก การพิจารณาคดี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ มีการพูดถึงว่าควรมีการออกกฎหมายที่ร่วมสมัยกว่ากฎหมายเดิมที่ใช้ตั้งแต่ปี 1986 ว่าจะเป็นวิธีการยุติข้อพิพาทได้

ต่อมาเมื่อวันที่ 22 มีนาคม สภาคองเกรสลงมติให้ผ่านร่างรัฐบัญญัติสร้างความชัดเจนทางกฏหมายของการใช้งานข้อมูล (Clarifying Lawful Overseas Use of Data Act หรือ CLOUD Act) เป็นกฎหมายต่อไป

สัปดาห์ต่อมา ทั้งไมโครซอฟท์และกระทรวงยุติธรรมแถลงขอให้ศาลจำหน่ายคดี เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวระบุไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่าทางศาลสหรัฐฯ มีอำนาจออกหมายค้นข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทมีสิทธิคัดค้านได้ว่าหมายดังกล่าวขัดกับกฎหมายของต่างประเทศ

ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดี*นี้พร้อมกล่าวว่า "ไม่มีข้อพิพาทระหว่างคู่ความทั้งสองฝ่ายอีกต่อไปแล้ว"

ภายหลังจากศาลมีคำสั่ง ประธานบริษัทและหัวหน้าฝ่ายกฎหมายของไมโครซอฟท์ Brad Smith กล่าวว่าไมโครซอฟท์ยินดีที่ศาลฎีกามีคำสั่งจำหน่ายคดี เป้าหมายของบริษัทในการต่อสู้คดีตลอดมาคือการมีกฎหมายใหม่ และข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีมาตรการรวบรวมพยานหลักฐานดิจิตอลข้ามพรมแดน ที่มีความเข้มงวดในการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว

ส่วนโฆษกของกระทรวงยุติธรรมปฏิเสธจะให้ความเห็น

ตอนนี้กระทรวงยุติธรรมได้ขอออกหมายตาม CLOUD Act แล้ว และไมโครซอฟท์กำลังพิจารณาหมายดังกล่าวอยู่ว่าจะปฏิบัติอย่างไรต่อไป

*จำหน่ายคดี คือ การที่ศาลยุติการพิจารณาคดีโดยไม่มีการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี

ที่มา: Windows Central , Reuters

Get latest news from Blognone

Comments

By: obtheair on 22 April 2018 - 20:12 #1045876

ร่างพระราชบัญญัติการใช้งานข้อมูลในต่างประเทศอย่างโปร่งใส << ควรเป็นร่างบัญญัติฯ หรือเปล่าครับ ประมุขของสหรัฐฯ ไม่ใช่พระราชา

By: ipats
Contributor NOOB In Love
on 23 April 2018 - 01:00 #1045906 Reply to:1045876

ควรเป็น "รัฐบัญญัติ" ครับ อีกอย่างคือ Clarifying ไม่น่าแปลเป็น อย่างโปร่งใส นะครับ มันคือการทำให้ชัดเจน น่าจะเป็นประมาณว่า รัฐบัญญัติสร้างความชัดเจนทางกฏหมายของการใช้งานข้อมูลในต่างประเทศ


iPAtS

By: cc-sky
Contributor
on 23 April 2018 - 01:13 #1045909 Reply to:1045876

แก้ไขแล้วครับ ขอบคุณมากครับ