ช่วงนี้เห็นผู้คนคุยกันว่าแรม DDR4 สำหรับพีซีราคาเริ่มมีแนวโน้มลดลง ล่าสุดมีข่าวจาก SK Hynix แบรนด์ผู้ผลิตชิปเมมโมรีใหญ่อันดับสองของโลก ออกมาระบุว่า แรมแบบ DDR5 พร้อมแล้วที่จะเปิดตัวลงตลาดในปี 2020 นี้ และขณะเดียวกันก็กำลังวางแผนพัฒนา DDR6 อยู่ซึ่งจะเริ่มผลิตในระยะห้าถึงหกปีข้างหน้า
ส่วนสเปคของ DDR5 ที่ SK Hynix ระบุไว้เมื่อปลายปี 2018 คือชิปชิ้นหนึ่งมีความจุ 16Gb (หรือ 2GB) สามารถทำงานได้ที่ 5200MT/s (เข้าใจได้ว่าเป็น 5200MHz) ที่แรงดันไฟ 1.1 โวลต์ จะทำแบนวิดธ์ได้เป็นสองเท่าของ DDR4-2666 ซึ่งวางแผนจะนำไปใช้กับวงการรถยนต์ในอนาคตด้วย
ที่มา - CDRinfo
ภาพประกอบ DDR5 จาก ข่าวประชาสัมพันธ์ ของ SK Hynix
Comments
เริ่มต้นอันละ64GBคงหมดปัญหาแรมไม่พอไปอีกนาน
ผมดีใจมากครับ ในที่สุดก็จะได้หมดปัญหาเปิดโครมได้แค่แท็ปเดียว
ยังใช้ DDR3 อยู่เลย
ที่ Office พึ่งเปลี่ยนเครื่อง DDR2 โล๊ะทิ้งบานเลยครับ ตอนนี้ 3กับ4 ล้วนๆๆ
DDR4 แพงมาก
เปลี่ยนเมนบอร์ดทีก็โละแรมทิ้งที เมนบอร์ดอันต่อไปนี่น่าจะรองรับ ddr5 นี่แหละ
DDR5 จะมีความเร็วเริ่มจาก 3200MT/s per pin ถึง 6400MT/s ต่อขา ดังนี้
-มี Bus clock เริ่มต้นตามมาตรฐานที่ 1600 MHZ(3200 MT/s)(3.2GT/s)(51.2 Gbps)(5120 MB/s)(5.12 GB/s) Dual Channel-มี Bus clock สูงสุดตามมาตรฐานที่ 3200 MHz(6400MT/s)(6.4GT/s)(102.4 Gbps)(12800 MB/s)(12.8 GB/s) Dual Channel
-มีจำนวนขา 288 ขาเท่ากับ DDR4 แต่มีรอยบากไม่ตรงกันเพื่อป้องกันการเสียบหน่วยความจำผิดประเภทที่ใช้แรงดันไฟต่างกัน
และจากการทดสอบของ SK เองโดยใช้หน่วยความจำ DDR5 แบบชนิด RDIMM จำนวน 1 แถว (Single Chennel)ที่มีความเร็ว 5200MT/s/p หรือมีเบสบัสคล๊อคที่ 2600MHz สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 41.6 Gbps/p หรือมีความเร็ว 5.2 GB/s/p เลยทีเดียว
ที่มาhttps://www.techquila.co.in/sk-hynix-develops-first-16-gb-ddr5-5200-memory-chip/
แปลกที่ทำไมไม่ทำ Slot เดียวแต่อัพเกรดสเปคแบบ PCI-E, SATA หรือ USB เนี่ย กลายเป็นอัพเกรดทั้งที ต้องซื้อบอร์ดใหม่เลย ย้อนแย้งเป็นบ้า ปัญหานี้รวมไปถึง CPU ด้วย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
มันเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมในแต่ละยุคด้วยครับ เมื่อต้องการเพิ่มความเร็วให้มากกว่าเดิมจำเป็นต้องออกแบบใหม่ แต่ที่ไม่ทำให้ใช้กับของเก่าไม่ได้โดยเฉพาะอินเทล ก็ด้วยเหตุผลด้านการค้า อย่าง Ship X570 กับ X470 ของค่ายเอเอ็มดี ต่างกันตรงที่ รองรับ PCIE แบบ 4.0 กับ 3.0 เท่านั้น แต่เมื่อมองดูตลาด VGA จะพบว่า ยังไม่มีการ์ดจอเจ้าไหนที่ใช้แบนด์วิดท์เกิน 16 GB/s ที่ PCIE 3.0 สามารถรองรับได้ในปัจจุบัน เพราะ GTX 2080Ti เองก็วิ่งได้สูงสุดที่ 14GB/s เท่านั้น แต่ตามเนื้อหาข่าวที่ถูกเปิดเผยในเบื้องต้น X570 จะออกมากลาง ๆ ปี หรือราว ๆ ต้นเดือนมิถุนายน ในตอนนั้นคงจะมีการ์ดจอที่มีความเร็ว มากกว่า 16GB/s ก็อาจเป็นได้ แต่คาดว่าน่าจะเป็นปลายปี 2019 หรือราว ต้นปี 2020 ถึงจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นรหัส 3000 สำหรับค่ายเขียว สำหรับหน่วยความจำที่ต้องเปลี่ยนแนวช่องเสียบใหม่ก็ด้วยเหตุผลด้านพลังงาน เป็นเพราะ DDR5 ผลิตที่ความละเอียดที่ 10 นาโนเมตเตอร์ ทำให้ต้องการไฟเลี้ยงเพียง 1.1 โวลต์ในขณะที่ DDR4 ใช้ไฟเลี้ยงที่ 1.2 โวลต์ และส่วนที่ต่างคือ ซีพียูในตระกูลใหม่บางตัว อาจจะมีระบบควบคุมหน่วยความจำทั้งแบบ DDR4 และ DDR5 แต่บางรุ่นอาจจะมีแต่ DDR5 เพียงอย่างเดียว ทำให้เมนบอร์ดบางรุ่นที่ใช้ DDR5 จึงไม่รองรับ DDR4 เพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงให้ผู้คนหันไปใช้ของที่ใหม่ขึ้น นั่นเอง. (และที่สำคัญคือ เพื่อขายของหรือการค้านั่นแหล่ะ สำคัญที่สุด ๆๆ)
ถ้ามันวิ่งไม่ถึงก็ปรับไปวิ่ง PCIe 4.0 x8 ครับ เลนก็เหลือไปทำอย่างอื่นได้อีกเยอะ
เอาเข้าจริง ปัจจุบันมี PCI-E หลายๆ lane ให้ได้มากสุดเป็นดีครับ เช่นอย่าง NVMe เองก็วิ่งบน PCI-E ด้วย หาก AMD ให้ CPU control PCI-E แบบปัจจุบันการมี PCI-E ให้ใหม่สุด มากสุด ถือว่าเป็นจุดขายที่ดีอย่างหนึ่งเลย ตรงนี้ผมว่า AMD มองเกมถูก
เข้าใจผิดแล้วครับ PCI-E bandwidth กับ VRAM memory bandwidth เป็นคนละตัวกันนะครับ
PCI-E bandwidth คือ bandwidth ระหว่าง CPU-GPU ครับ ส่วน VRAM เป็น internal bandwidth มีไว้ให้ GPU ใช้เท่านั้น ไม่ได้เอามาวิ่งผ่าน PCI-E โดยตรง
ตัวเลข 14GB/s สำหรับ 2080Ti นี่คงไม่ใช่ครับ น่าจะเป็นตัวเลข 14G bps หรือจะพูดให้ถูกขึ้นมาหน่อยคือตัวเลข 14G T/s ที่เป็น memory speed/ transfer ต่อพินของ VRAM ครับ ดังนั้นถ้าพูดถึง memory bandwidth จริงๆจะเป็น transfer*bus_width ซึ่งเท่ากับ 14GT/s*4928bit = 4928Gbps = 616GB/s ครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ตัวเลข 14GB/s สำหรับ 2080Ti นี่คงไม่ใช่ครับ น่าจะเป็นตัวเลข 14Gbps หรือจะพูดให้ถูกขึ้นมาหน่อยคือตัวเลข 14GT/s ที่เป็น memory speed/transfer ต่อพิน ของ VRAM ครับ ดังนั้นถ้าพูดถึง memory bandwidth จริงๆจะเป็น transfer bus_width ซึ่งเท่ากับ 14GT/s 4928bit = 4928Gbps = 616GB/s ครับ(อันนี้ถูกต้องแล้วครับไม่ผิด Memory Speed 14GB/s นั่นแปลงจากพินของ 14GT/s(14Gb/s/p) ให้แล้วครับ ความเร็วที่ GDDR6 ที่ค่ายเขียวเลือกใช้)
ที่ผมเคยเขียนไว้ลองไปพิจารณาดูครับ ปริมาณความเร็วของ PCIE ในแต่ละรุ่น :
ภายในปีนี้ ระบบพีซีไออีบัส แบบ เวอร์ชั่น 4.0 จะถูกนำมาใช้ทดแทน เวอร์ชั่น 3.0 ซึ่งกำลังจะถึงทางตันแล้ว
ประสิทธิภาพ PCI-E ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ความเร็วต่อลิงค์ ดังนี้
รุ่น 1.0,a,1
เริ่มปี 2003
ขนส่งข้อมูลใช้ 8 bit/ถอดรหัสข้อมูลใช้ 10 bit ต่อ link (8bit/10bit)
มีความเร็วต่อลิ้งที่ 2.5 GT/s
ความเร็วเริ่มต้น 250MB/s(1x) ถึง 4 GB/s(16x)
รุ่น 2.0,1
ปี 2007
data/encode: 8b/10b
5.0 GT/s
500MB/s(1xLink) - 8.0 GB/s(16xLink)
รุ่น 3.0,1
ปี 2010
data/encode: 128b/130b
8.0 GT/s
984.6 MB/s - 15.8 GB/s
รุ่น 4.0
เริ่มใช้เฉพาะเมนบอร์เซิฟเวอร์บางสำนักในปี 2017 คาดว่าจะถูกใช้ในเมนบอร์ด Desktop ในปี 2019 หรือปีนี้
ใช้จำนวนบิตเรทในการขนส่งข้อมูลแบบ 128bit/ใช้จำนวนบิตเรทในการถอดรหัสข้อมูลแบบ 130bit
ความเร็วต่อลิ้งสูงสุดที่ 16.0 GT/s
ความเร็วเริ่มต้น 1969 MB/s ที่ความเร็ว 1x และสูงสุด 31.5GB/s(32GB/s)ที่ความเร็ว 16x
สำหรับการ์ดจอในตลาดรุ่นทอปในขณะนี้
GTX 1080ti มีความเร็ว 11 GT/s ใช้เม็ดหน่วยความจำแบบ GDDR5X ที่ความเร็ว 10 GB/s หรือ 10.83 Gbit/s per pin(11Gbps per pin) มีปริมาณแบนด์วิดธ์สูงสุด 484GB/s(352bit) บนระบบบัสแบบ PCI-E v3.x ที่ 16x รองรับความเร็วสูงสุดได้ 15.8 GB/s (16 GB/s)
GTX 2080ti มีความเร็วประมาณ 14.25 GT/s(15GT/s) ใช้เม็ดหน่วยความจำแบบ GDDR6 ที่มีความเร็ว 14GB/s หรือ 14 Gbit/s per pin มีปริมาณแบนด์วิดธ์สูงสุด 616GB/s(352bit) บนระบบบัสแบบ PCI-E v3.x ที่ 16x รองรับความเร็วสูงสุดได้ 15.8 GB/s (16 GB/s)
สรุปคือ VRAM to GPU มีปริมาณแบนด์วิดท์ 616GB/s PCI-E BUS TO CPU มีความเร็วสุงสุดไม่เกิน 14-16 GB/s และ CPU I/O DDR4 SDRAM ก็ตามสภาพที่เลือกใช้ แค่นี้ก็เยอะแล้วนะครับ เกมส์ปัจจุบัน มีข้อมูลที่โหลดใช้ประมาณ 3-11 GB ขึ้นอยู่กับความละเอียดที่เลือกใช้งาน FHD 2K 4K
ผิดไปเยอะครับ ความเร็วต่อพินของ GDDR บน VRAM ไม่เกี่ยวอะไรกับ PCI-E เลยครับ การทำงานแยกส่วนกัน
RAM <-----> Memory Controller <-----> CPU(/DMA) <-----> GPU <-----> GPU Memory Controller <------> VRAM
PCI-E ที่คุณพูดถึงมันอยู่ส่วน CPU(/DMA) <-----> GPU ครับ แต่ GDDR transfer คือส่วน GPU Memory Controller <------> VRAM ครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ครับขอบคุณที่แนะนำ ก็ตามนั้น ที่ผมกล่าวมาก็ตามนี้เลยไม่ผิด
.... คุณบอกว่า
ดังนั้นมันผิดอยู่แล้วครับ ข้อความของคุณบอกว่า 14GB/s|16GB/s ไปวิ่งบน PCI-E ซึ่งมันไม่ใช่ เพราะมันคือ 616GB/s วิ่งบน GPU เท่านั้นและไม่เกี่ยวข้องกับ PCI-E
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)