ธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศบริการใหม่ "มีตังค์" เป็นฟีเจอร์ที่ให้พนักงานที่รับเงินเดือนผ่านบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์สามารถเบิกเงินเดือนมาใช้ล่วงหน้าได้ผ่านแอพพลิเคชั่น SCB Easy เบิกได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของเงินเดือน โดยเริ่มทดสอบให้บริการแล้วกับพนักงานของบางบริษัท เช่น Villa Market, อำพล ฟู้ดส์
นายอิทธิพันธ์ เจียกเจิม ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารฝ่าย Global Transaction Banking Services ธนาคารไทยพาณิชย์ ระบุว่า ในช่วงแรกของการทดสอบการใช้งานบริษัทนายจ้างจะคัดเลือกพนักงานกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ได้รับสิทธิ์ในการเบิกเงินล่วงหน้า สูงสุดไม่เกิน 50% ของเงินเดือน หรือตามที่นายจ้างกำหนด แต่ต้องไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือนสามารถเบิกได้ 24 ชั่วโมงผ่านเมนูมีตังค์ในแอพ SCB Easy โดยธนาคารจะหักเงินคืนในการจ่ายเงินเดือนครั้งต่อไป
อย่างไรก็ตาม บริการ"มีตังค์"มีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 1,000 ละ 20 บาท ในกรณีที่ไม่ได้เบิกล่วงหน้าเป็นตัวเลขกลมๆ ยกตัวอย่างเช่น เบิก 2,500 บาท ก็จะคิดค่าธรรมเนียม 60 บาท โดยจะหักค่าธรรมเนียมจากบัญชีเงินฝากที่เป็นบัญชีสำหรับค่าจ้าง
ในการใช้งาน จะมีเมนูมีตังค์โผล่เข้ามาในแถบ ธุรกรรมของฉัน เลือกเมนู ขอรับค่าจ้างก่อนกำหนด ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ และกดยืนยัน ก็มีเงินโอนเข้ามาในบัญชี
Comments
อั้ยย่ะ ร้ายกาจ แต่งงนิดว่าทำไมเขียนว่าพันละยี่สิบ ทำไมไม่เขียนว่าร้อยละสองหรือสองเปอร์เซ็นต์
ก็ถ้าไม่ถึงพัน ก็คิด 20 บาทไงครับจะ 100 บาท หรือ 10 บาทก็คิด 20
อาจจะเป็นครบพันนึงคิดยี่สิบ ถ้าไม่ถึงก็ไม่คิดมั้งครับ
เขียนแบบนี้น่าจะคิดค่าธรรมเนียมที่หลักพันคืออาจจะให้เบิกล่วงหน้าเป็นเงินหลักพัน หรืออย่างโหดก็คิดเบิกร้อยก็คิดยี่สิบ
เบิก 1,001 ก็โดน 40 ไง ไม่ใช่ 20.02 บาท
ชัดเจน ขอบคุณครับ
ถ้า 100 ละ 2 บาท จะได้ 22 บาทถ้า 2% จะได้ 20.02 บาท
ห้ะ ยังไงนะครับ??? แต่ละข้อคิดจากยอดเงินเท่าไหร่นะครับ
อ่อ จากคอมเมนต์ก่อนหน้า?
คิดแบบขั้นบันใด ไม่ใช่ % สินะ
คนคิดโปรเจค เจ๋งมากเป็นการปล่อยกู้แบบความเสี่ยงต่ำ ค่าธรรมเนียมดีกว่าดอกเบี้ยอีกในมุมธนาคาร
ลูกจ้างกู้ เจ้านายจ่ายคืนให้ความเสี่ยงแทบจะเป็น 0 เพราะผลักไปไว้ที่ค่าธรรมเนียมหมดแล้ว
ยังพอมีความเสี่ยงกรณีบ.ไม่จ่ายเงินเดือน กรณีถูกไล่ออกจากความผิดร้ายแรง แต่คงเป็นส่วนน้อย ภาพรวมธนาคารก็น่าจะกำไรชิลๆ
ไม่ได้ฉลาด เก่งกล้าสามารถขนาดนั้นหรอกครับ concept พื้นๆแบบนี้ ทีม product ทุกแบงค์เค้าก็คิดและเคยยื่นขออนุมัติกันมาก่อนแล้ว อยู่ที่แบงค์ชาติอย่างเดียวเลยว่าจะยอมมั้ย ซึ่งเค้าก็เพิ่งจะมาผ่อนปรนให้กันในปีนี้เอง
หืม ไม่เคยได้ยินมาก่อนนะครับ เพื่อนผมอยู่ทีมโปรดักส์เกือบทุกธนาคาร (ยกเว้นออมสิน) เคยบ่นให้ฟังหลายเรื่อง แต่ไม่มีเรื่องนี้นะ
เมื่อวานยังคุยกันในกลุ่มไลน์อยู่เลยว่าของ SCB เจ๋ง
หายนะทางการเงินของจริง ?
ถ้าเป็นพวกใช้ด้วยความจำเป็น เช่น บริษัทมีการ delay จ่ายเงินเดือน ต้องเอาเงินออกมาจ่ายค่าห้องก่อน อันนี้ก็ไม่เลวแต่ถ้าคนไม่มีความรับผิดชอบ เอาเงินอนาคตมาใช้จ่าย ก็มีแต่พังกับพัง
แต่ในแง่แบงค์ มีแต่กำไร
มีหนี้
ลองถ้าได้ทำซักครั้งได้เป็นวงจรอุบาทว์แน่เลย เหมือนพวกบัตรเครดิตที่ต้องเอาเงินมาใช้หนี้ แล้วก็ต้องเอาบัตรมาใช้ต่อไปเรื่อย ๆ แต่นี่ไม่มีช่วงปลอดดอกเบี้ย ถ้า max สองหมื่นก็จ่ายไปเลยเดือนละ 400 ทุกเดือน ตกดอกเบี้ยปีละ 24% เลย
แต่ก็ถือว่าดอกเบี้ยต่ำมากนะครับ
24% มันคือขั้นต่ำนะ แต่ถ้ายืมตอนกลางเดือน อัตราดอกเบี้ยอาจจะพุ่งไป 48% เลยนะ
เสริมสภาพคล่อง ก็ แล้วแต่จะบริหาร พอต ละ ครับ
อ่านจาก brandinside เค้าระบุว่ามันคือค่าธรรมเนียมนะ คิดตอนเบิก ..ตัดส่วนข้อความนั้นมาให้ดู"SCB จึงกำหนดให้สามารถกดได้ตามจำนวนวันที่ทำงานไปแล้ว แต่ไม่เกิน 50% ของเงินเดือน หรือไม่เกิน 20,000 บาท (หรือตามที่นายจ้างกำหนด) และคิดค่าธรรมเนียม 1,000 ละ 20 บาท เบิกได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีดอกเบี้ย เพราะไม่ใช่การกู้เงิน"
ยุค cash less ธนาคารหากำไรจากค่าโอนไม่ได้แล้วก็ต้องมาในรูปแบบนี้แหล่ะ
ไม่นานมานี้ เพิ่งอ่านข่าว แนวๆ สมาคมแบงก์ เล็ง ทบทวนโปรโมชั่น ‘ผ่อน 0%’ หวังลดหนี้ครัวเรือน หลังหนี้ครัวเรือนทะลุ78.7% ต่อGDP
หนี้ความเสี่ยงต่ำ ใครๆก็ชอบครับหนทางทำกำไรแบงค์เลย
น่ากลัวมาก
จะไม่มีตังค์ก็เพราะ 'มีตังค์' นี่แหละ
อีกหน่อยต้องกู้เงินซื้อมาม่า
SCB มีตังค์ ไงครับ เราไม่มี
อือหือ ดอก 24%
เรื่องหนี้นี่ ผมว่าแล้วการความสามารถในการบริหารจัดการแต่ละบุคคลแล้วล่ะครับมีระบบนี้ไว้ก็ดีครับ ฉุกเฉินก็จะสามารถเอาเงินด่วนมาใช้ได้ก่อน แต่ถ้าฉุกเฉินเยอะก็ต้องมาดูแล้วว่าฉุกเฉินแบบ Must have หรือ Nice to have ถ้าเป็นแบบ Nice to have มากๆเข้าก็ต้องปรับปรุงตัวเองแล้วล่ะครับ
คิดเป็นอัตราราว ๆ 24% ต่อปีนะครับ
ฉลาดจริง กินดอกเบี้ยจากเงินเดือนเขา คนคิดนี่เก่งจริงๆ
ซ้ำจ้า
น่ากลัวดีแท้
ในแง่ผู้ใช้บริการไม่ต่างจากบัตรกดเงินสดเลยครัร
A smooth sea never made a skillful sailor.
เข้าทำนองคนเม้นไม่ได้กู้คนกู้ไม่ได้เม้น
ดีกว่าบัตรกดเงินสดหน่อยตรงที่ไม่เป็นหนี้ เพราะหักเงินเดือนทันที อย่างน้อยก็ไม่โดนดอกเบี้ยทบต้น
มันก็เป็นหนี้อยู่ดี แต่เป็นหนี้แบบเดือนชนเดือนครับ
ปัญหาจะเกิด ถ้าไปผ่อนอย่างอื่นไว้ แล้วเงินเหลือไม่พอจ่าย เลยไปจ่ายขั้นต่ำอย่างอื่นแทนเพราะอันนี้มันจ่ายขั้นต่ำไม่ได้
แต่เอาจริงๆ มันก็ไม่ต่างกับมีบัตรกดเงินสดหลายๆใบแหละครับ ถ้าคนมันจะไม่มีวินัยทางการเงิน มันก็พังอยู่ดี
ผมหมายถึงว่าพอถึงสิ้นเดือน มันหักจากเงินเดือนออกไปเลยไง ไม่มีทางเลี่ยงและไม่ลืมจ่าย ก็จะไม่โดนดอกทบต้นเหมือนบัตรกดเงินสด
เม้นบนเขาก็จะบอกว่า ผลกระทบมันจะเป็นลูกโซ่น่ะครับ
แบบ โดนหักเงินเดือนไป 50% เลยมีเงินไม่พอใช้ก็ไปกดเงินสดออกมาจากบัตรใบอื่น และใบอื่นๆ ไปเรื่อยๆ เอาใบนี้ไปโปะใบนู้น หมุนเงินไม่ทัน สุดท้ายกลายเป็นหนี้เสีย
คนที่เงินเดือนสูง และสมัคร บัตรอะไรก็ไม่ผ่าน
สาธุ.... ให้ธปท.ใส่เบรกมือที ธนาคารจะได้ดริฟท์ลงข้างทางอีกรอบ
บังเอิญผู้ถือหุ้นใหญ่ใหญ่มากด้วย
ผู้ถือหุ้นจะใหญ่มาจากไหน ถ้าทำธุรกิจก็ต้องอยู่ภายใต้กฏหมาย เช่น มีรายได้ก็ต้องเสียภาษี
ส่วนธนาคารก็ต้องอยู่ภายใต้แบงค์ชาติ ถ้าทำอะไรไม่ถูกไม่ควร ก็โดนเบรกโดนปรับ ได้ครับ
เอิ่ม แต่ผู้ถือหุ้นแบงค์นี้เค้าใหญ่จิงๆนะครับเค้าสั่งอะไรออกมา ยังไม่เคยเห็นมีใครเบรกได้เลยนะครับ
แยกแยะเรื่องฐานะกับการถือหุ้นหน่อยก็ดีนะครับ พอดีผมยังไม่เคยเห็นท่านมาสั่งเกี่ยวกับการบริหารงานบริษัทเหมือนกันอ่ะครับ อีกอย่างถ้ารวบรวมเสียงผู้ถือหุ้นได้ไม่เกินครึ่งก็ควบคุมบริษัทไม่ได้อยู่ดี (ผมพูดถึงเฉพาะการบริหารบริษัทนะครับ จะได้ไม่นอกเรื่องจากกระทู้ที่เป็นเรื่องสินค้าใหม่ของบริษัทเนอะ)
อะไรที่ผิด ก็ทำให้มันถูกซะ ง่ายจะตาย 555
เสี่ยงน้อยกว่าบัตรกดเงินสดอีก ไม่เห็นต้องเบรกเลย ไม่ดียังไงหรอครับ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
หลายคนเชื่อว่าการส่งเสริมให้คนเป็นหนี้คือหนทางสู่ความล่มสลายครับ
ผมคิดกลับกันนะ แอพ "มีตังค์" จะช่วยเรื่องคนที่ใช้สินเชื่อในกรณีเดียวคือ คนที่เงินหมุนไม่ทันในเดือนเดียวกัน แต่มันจะไม่น่าจะช่วยแก้ปัญหาการกู้ยืมเงินนอกระบบเนื่องจาก "มีเงินไม่พอ" เลย เพราะระบบนี้เป็นการไปยืมเงินล่วงหน้ามาใช้ก่อน และจะส่งเสริมให้วินัยการใช้เงินแย่ลงไปอีก
ผมว่าการแก้ปัญหาที่แท้จริงคือ บริษัทหรือหน่วยงานในไทยควรเปลี่ยนระบบการจ่ายเงินเดินเป็นทีละ 2 อาทิตย์ (biweekly) คือจ่ายทุกวันที่ 15 และ 30 ของเดือนได้แล้ว
เบิกลักษณะนี้มันเป็นการเติมสภาพคล่องอยู่แล้วแหละครับ ได้จำกัดไม่เกินครึ่งของเงินเดือน และไม่เกิน 2 หมื่นเอง ส่วนวินัยการเงินนี่คงขึ้นกับคนแหละครับ คนที่วินัยการเงินแย่ ไปใช้พวกบัตรกดเงินสดจะหนักกว่านี้อีก แล้วตัวนี้เอามาใช้เป็นเหมือนจ่ายเงินเดือนเดือนละ 2 ครั้งแบบคิดค่าธรรมเนียมก็ได้ ใครเดือดร้อนก็เสียค่าธรรมเนียมไป ใครไม่เดือนร้อนก็รับปกติไปคนมีวินัย เป็นหนี้แบบไหนก็ไม่มีปัญหา ได้ประโยชน์กว่าคนไม่เป็นหนี้อีก ส่วนคนไม่มีวินัยผมว่าแบบนี้ก็ยังดีกว่าบัตรกดเงินสดหรือบัตรเครดิตนะครับ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
เอาไว้ไปจ่ายค่าหวยวันที่ 16 ได้ แจ่ม
คิดเทียบเป็นดอกเบี้ยกันยังไงหรอครับ ถึงได้24%
1000คิด20
100คิด2
กด100จ่าย2 ใน1เดือน
ถ้าต้องถือ100 1ปี ก็จ่าย2*12=24 แบบนี้หรือเปล่าครับ
ใช่ครับ คร่าว ๆ ก็ประมาณนั้น แต่ถ้าเกิดยืมตอนกลางเดือน อัตราก็จะกลายเป็น 2% ต่อครึ่งเดือน หรือ 2% x 24 = 48% ต่อปีครับ!!!