วันนี้ในงาน NDID Day ทาง AIS ประกาศเปิดบริการ Public IDP (identity provider) ให้บริการยืนยันตัวตนแก่บริการอื่นๆ เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร, การสมัครกองทุน, หรือการใช้บริการประกันภัย
ที่ผ่านมาทาง AIS ใช้จุดบริการของตัวเองกว่า 16,277 จุดให้บริการ IDP Agent เป็นบริการแสดงตัวตนที่ลูกค้าจะต้องไปแสดงตัวเพื่อพิสูจน์ตัวตน การขยายบริการเป็น Public IDP จะทำให้ผู้ใช้บริการ myAIS สามารถแสดงตัวได้ทันที จากเดิมที่ผู้ให้บริการ IDP มักเป็นธนาคารเป็นหลัก
ตอนนี้ยังไม่มีกำหนดว่าบริการ Public IDP จะเปิดให้บริการจริงช่วงใด แต่ทาง AIS ระบุว่าจะเปิดเร็วๆ นี้
ที่มา - จดหมายข่าว AIS, งาน NDID Day
Comments
ยกเคส ยกกรณี ให้ฟังหน่อยสิครับ มันใช้ในกรณีไหนยังไงเหรอครับ
เปิดบัญชีธนาคารโดยไม่ต้องไปยืนยันตัวตนที่สาขาครับ หรืออีกเคสที่เคยเจอเปิดบัญชีกองทุนด้วย NDID กับธนาคารที่ผูก NDID ไว้ครับ
ถ้าเอาคอนเซปที่ผมเข้าใจเองคือ NDID เป็นการเก็บข้อมูลชีวภาพ(ใบหน้า, ลายนิ้วมือ หรืออื่นๆ) กับข้อมูลบัตรมาอยู่ใน NDID แล้วให้ธนาคารสแกนใบหน้าและบัตรเข้ามาจากนั้นส่งคำร้องมาที่ NDID แล้วให้ทาง NDID มาประมวลผลความถูกต้อง แล้วก็ส่งต่อให้ธนาคารดำเนินการต่ออะไรประมาณนี้ครับ (ปล.ที่กล่าวมาข้างต้นคือระบบอัตโนมัติทั้งหมดครับ)
Mekokung's Story บล็อกส่วนตัวที่ย้ายไป Blogger แล้วนะ
ก็คือ ndid เหมือนที่เราใช้ผ่านแอปธนาคารปัจจุบันนั่นแหละใช่มั้ยครับ แปลว่าถ้าเราทำไว้กับแอปธนาคารอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป้นต้องมาสมัครเปิดเพิ่มกับ ais ก็ได้ ผมเข้าใจถูกมั้ยครับ
ใช่ครับ ก็เป็นตัวเลือกเพิ่มอีกทาง เพราะเอาเข้าจริงประเทศไทยนี่คนเข้าไม่ถึงบริการธนาคารยังเยอะอยู่มาก คนจำนวนมากประมาณครึ่งประเทศมีแค่สมุดบัญชีสักเล่ม แล้วไม่ใช้บริการอื่นอีกเลย (underbanked) อีกประมาณ 15-18% นี่เข้าไม่ถึงธนาคารเลย
พวกนี้ค่ายมือถือเขาเข้าถึงกว้างกว่า ก็มีโอกาสที่จะพาคนมาใช้บริการออนไลน์อื่นๆ ต่อครับ (ex. ลงทะเบียนคนละครึ่ง)
จำเป็นต้องสมัครของ AIS เพิ่มไหมนี่เป็นอีกเรื่อง จริงๆ แล้วในบรรดาผู้ให้บริการยืนยันตัวตนทุกรายมีค่าธรรมเนียมอยู่ เป็นค่าใช้จ่ายที่เขาไปตั้งตู้ อ่านบัตรประชาชน ตรวจสอบใบหน้า ฯลฯ แต่ละรายเก็บไม่เท่ากันครับ ถ้าผมเป็นผู้ให้บริการภายนอกแล้วต้องการยืนยันตัวตนผ่าน NDID ผมจะมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าธรรมเนียม NDID เอง + ค่าธรรมเนียมของผู้บริการยืนยันตัวตน (IDP)
ในกรณีที่ AIS แข่งขันได้เก่งกว่า คิดค่าบริการได้ถูกกว่าธนาคารมากพอ ก็อาจจะเกิดปรากฎการณ์ว่า บริการ X รองรับการยืนยันตัวตนกับ NDID เฉพาะ AIS เท่านั้น
lewcpe.com , @wasonliw
ระบบเดิม ... เมื่อคุณเปิดบัญชีเพื่อทำอะไรสักอย่าง จะต้องส่งเอกสารวุ่นวายมากเมื่อเปิดบัญชีหลายๆที่ก็ต้องถ่ายเอกสาร เผื่อไว้หลายๆที่ด้วย เอกสารบางที่ที่เปิดนานแล้วก็อจจะไม่อัพเดต
ระบบใหม่...เมื่อคุณเดินไป บริษัทหนึ่งแล้วขอเปิดบัญชี...แค่ยื่นบัตรประชาชน ระบบจะถูกส่งเข้ามาสอบถามจากเครือข่าย NDID ให้เครือข่ายช่วยยืนยันให้....ทุกอย่างง่ายมากกกก
อย่างน้อยๆคนเราะต้องเคยส่งเอกสารยืนยันมาก่อนแล้วสัหหนึ่งที่ เช่นเปิดซิมมือถือ...AIS ก็จะมีข้อมูล
ถ้าอ่านตามที่ท่านว่ามาแล้ว journey แปลกๆอยู่นะครับ ไปนั่งอยู่ในธนาคารและยื่นบัตรประชาชนตัวจริง แล้วยังต้องมายืนยันผ่านมือถืออีก แล้วตัวเราที่นั่งอยู่นั่นคือใครอะ? เพิ่มขั้นตอนหรือลดขั้นตอนอะครับ
จริงๆ ต้องบอกว่าต้อง onboard ครั้งแรกโดยการเอาบัตรไป DIP CHIP ที่จุด DIP CHIP ก่อน
พอจะเข้า Platform จริงๆ ก็ต้อง BIometric/OTP/PIN ซักรอบเพื่อเข้ามาบน Platform NDID ก่อนครับแล้วที่นี้พอจะใช้ Use Case ที่ไหนเช่นเปิดบัญชีเราก็เลือกว่าจะใช้ ใครเป็น IDP เพื่อดึงข้อมูลเรามาใช้
พอเลือกแล้วมันก็จะส่ง Request หลังบ้านเรามีหน้าที่เข้าไปใน Platform ที่เรา Onboard ไว้ทำ Biometric/PIN/OTP อีกรอบ มันก็จะส่งข้อมูลกลับไปหาคนขอเพื่อเปิดบัญชีได้เลยครับ (กรณี IDP + AS เป็นคนเดียวกัน)
โดยสรุปมันเหมือนเอา Profile เราไปทำเป็น Online ผ่านการ DIp chip +Biometric/PIN/OTPแล้วพอจะใช้ก็ทำ Step Biometric/PIN/OTP อีกทีเป็นอันจบโดยไม่ต้องไปสาขาใหม่
ตัวอย่างใช้ย้ายค่ายมือถือ จาก A ไป D
ผมเคยย้าย ก็ทำผ่านเว็บ+otpได้เลย ไม่เคยต้องไปยืนยันใบหน้าอะไรนะ
ปีนี้ผมยื่นภาษีโดยใช้ NDID ครับ เลือกธนาคารที่ต้องการ กรอกเบอร์โทรแล้วมันก็มีโนติมาที่ App ธนาคารในมือถือผมเลย
I need healing.
เหมือนจะเน้นว่าลูกค้าสามารถเปิดใช้งานหรือสมัครบริการต่างๆ พร้อมยืนยันตัวตนได้ ได้โดยไม่ต้องไปสาขาเลยด้วยซ้ำ
เพราะการสมัครบริการที่ต้องการความถูกต้องและการยืนยันเอกสาร เช่นการเปิดบัญชีหรือสมัครบัตร เหมือนว่ายังต้องเข้าสาขาอยู่ เลยพยายามผลักดันบริการนี้ให้ลูกค้าสะดวกพร้อมยืนยันตัวเองไปในตัวเลย ไม่ต้องไปไหน ประมาณนี้ ยิ่งตอนนี้มีโควิดด้วยก็ช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าได้เยอะนะ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
สำหรับท่านที่สงสัย นึกถึงการที่เราต้องเอาบัตรประชาชนตัวจริงไปเสียบเครื่อง เพื่อให้พนักงานหน้าเครื่องดูว่าเราเป็นคนที่บัตรบอกว่าใช่นะครับ กระบวนการ NDID ทำมาเพื่อทดแทนสิ่งนี้ โดยยืนยันตัวตนเราได้โดยไม่ต้องเดินทางไปเสียบบัตรให้คนดูน่ะครับ เช่นอยากไปเปิดบช.กับธนาคารใหม่ ก็ไม่ต้องเดินทางไปเสียบบัตรที่สาขา อยากไปขอเปิดเบอร์ใหม่ก็ไม่ต้องเอาบัตรไปเสียบที่ร้านมือถือ
ในขณะเดียวกัน ฝั่ง กสทช. ก็ทำ Mobile ID ทำซ้ำซ้อนเพื่อออ
ในกรณีของไทย เปิดให้เอกชนทำบริการ ID กันเองได้ ไม่เหมือนสิงคโปร์ที่ใช้ SingPass อันเดียว ก็อาจจะควรมีหลายอันซ้ำซ้อนเพื่อให้แข่งกันจริงๆ ครับ แต่ระยะยาวก็น่าจะเหลือไม่กี่อัน (คิดสภาพ Visa, Mastercard, ITMX)
lewcpe.com , @wasonliw
แน่นอนครับ เพราะว่า การแลกเปลี่ยนข้อมูลกันใน NDID มีค่าใช้จ่ายครับ ฉะนั้น ใครถือข้อมูลไว้เยอะถือว่าเป็นทองคำครับ
ผมเคยไม่เข้าใจเรื่อง NDID จนได้ใช้งานจริง ๆ ส่วนหนึ่งคิดว่าเพราะชื่อใช้ประชาสัมพันธ์อย่าง NDID หรือ National Digital ID ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นรหัสประจำตัวระดับชาติ แต่ที่จริงคือ NDID เป็นตัวกลางให้ข้อมูลที่ยืนยันตัวตนจากที่หนึ่งมาใช้เป็นการยืนยันตัวตนในบริการอื่นได้
คือให้หน่วยหนึ่งเป็นผู้ยืนยันตัวตนผู้ใช้งานและผู้ใช้งานขอให้หน่วยยืนยันตัวตนนั้นเปิดบริการ NDID ด้วย เมื่อเวลาผู้ใช้งานไปใช้บริการอื่นที่ต้องยืนยันตันตน และบริการนั้นเชื่อมต่อกับ NDID ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลจากน่วยยืนยันตัวตนมายืนยันตัวตนได้
ทั้งนี้ ถ้าผู้ใช้งานไปเปิด NDID กับหน่วยยืนยันตัวตนมากกว่าหนึ่งแห่ง ผู้ใช้งานจะเลือกได้ว่าจะใช้ข้อมูลจากแห่งไหนครับ
National Digital ID => กำลังเปิดตัวตามหลังมาไม่นานครับ D.DOPA อนาคตน่าจะได้เห็นเยอะกว่านี้ครับ