ความคืบหน้าต่อจาก คดีศาลสหรัฐตัดสิน Google มีพฤติกรรมผูกขาดบริการ Search Engine เมื่อเดือนสิงหาคม 2024
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice หรือ DoJ) ในฐานะผู้ยื่นฟ้อง ได้ยื่นแนวทางบรรเทา (remedies proposal) พฤติกรรมการผูกขาดต่อศาล ทั้งหมด 4 ข้อ
- Search Distribution And Revenue Sharingเป็นเรื่องพฤติกรรมของกูเกิลในการควบคุมช่องทางการใช้งาน search ไม่ให้คู่แข่งเข้ามาโดยง่าย เช่น Chrome, Android, Google Play โดยกระทรวงยุติธรรมเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง (structural remedies) ซึ่งหมายถึงการแยกธุรกิจเหล่านี้ออกจากกูเกิล
- Accumulation And Use Of Dataเสนอให้กูเกิลเปิดข้อมูล ดัชนี อัลกอริทึม ผลการค้นหา ฯลฯ ให้หน่วยงานภายนอกเข้ามาดูได้
- Generation And Display Of Search Resultsเป็นเรื่องการที่กูเกิลนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ ไปสร้าง "คำตอบ" ให้การค้นหาด้วยพลัง AI ทางกระทรวงยุติธรรมเสนอให้กูเกิลต้องยอมให้เว็บไซต์ไม่อนุญาต (opt-out) การนำข้อมูลไปใช้เทรน AI หรือไม่อยู่บนคำตอบสรุปด้วย AI
- Advertising Scale And Monetizationเสนอให้กูเกิลแยกส่วนโฆษณา ออกจากผลการค้นหา แล้วเปิดไลเซนส์ให้หน่วยงานอื่นใช้งาน รวมถึงเพิ่มความโปร่งใสในการแสดงผลโฆษณา
ข้อเสนอที่เป็นประเด็นข่าวคือ การเสนอให้กูเกิลแยก Chrome, Play, Android ออกมาเป็นบริษัทใหม่ เพื่อไม่ให้พัวพันกับธุรกิจ Search
แน่นอนว่ากูเกิลย่อมไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของกระทรวงยุติธรรม และออกมาตอบโต้ในประเด็นต่างๆ
- การแยก Chrome หรือ Android จะเป็นการทำลายซอฟต์แวร์เหล่านี้ และจะสร้างผลกระทบต่อเนื่องมากมาย เพราะคงมีแค่ไม่กี่บริษัทที่มีทรัพยากรและความสามารถมากพอในการพัฒนา Chrome/Android เป็นโอเพนซอร์สได้แบบเดียวกับที่กูเกิลทำ ซึ่งซอฟต์แวร์ทั้งสองตัวกลายเป็นฐานให้ซอฟต์แวร์อื่นๆ มากมาย อีกทั้งจะเป็นการปล่อยให้ iPhone/App Store ยิ่งผูกขาดตลาดเพิ่มขึ้น
- การแชร์ข้อมูลการค้นหาให้คู่แข่ง มีความเสี่ยงต่อความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ เพราะสามารถตามรอยได้ว่าผู้ใช้คนไหน ค้นหาข้อมูลอะไร
- การจำกัดฟีเจอร์ AI สรุปเนื้อหาคำตอบ จะส่งผลต่อการพัฒนานวัตกรรม AI ของสหรัฐอเมริกา ในช่วงเวลาสำคัญที่ AI กำลังเปลี่ยนผ่าน
- การแยกธุรกิจโฆษณาออนไลน์ออกจาก Search จะทำให้คุณค่าของโฆษณาลดลง เพราะโฆษณาไม่ตรงกับความสนใจของผู้ค้นหา และทำลายอุตสาหกรรมโฆษณาลงไป
กูเกิลประกาศว่าจะโต้เถียงกับข้อเสนอของกระทรวงยุติธรรมในชั้นศาล ส่วนแนวทางของคดีก็จะยื่นอุทธรณ์ต่อไปด้วย ซึ่งคดีนี้น่าจะใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะได้ข้อยุติ
ที่มา - Ars Technica , Google
Comments
ตอบดี
น่ากลัวมากตัดสินแบบนี้ระบบที่รัดกุมและปลอดภัยมันไม่ได้ทำขึ้นมาได้ง่ายๆนะ ทำไมศาลไม่เอาไปเทียบกับผู้ให้บริการอื่นที่ทำแล้วสู้ไม่ได้เพราะมันไม่ปลอดภัยละมีตัวอย่างหลายๆเจ้าเลย (Hotmail, Yahoo,ฯลฯ)ยิ่งเดียวนี้การป้องกันมันทำได้ยากขึ้นและซับซ้อนขึ้นไปอีก ใครไม่เคยโดน Hack hotmail กับ yahoo เนี่ยบอกได้เลยปวดหัวตั้งป้องกันทุกช่องทางยังโดนแถมระบบกู้คืนก็ยุ่งยากมาก
เมื่อก่อนโดนแฮคกันเป็นว่าเล่นสมัยนี้ยังดีที่โดนยากขึ้นแต่ผมก็เคยโดนอยู่นะขนาดใช้แอพ authentication ส่วนหนึ่งผมพลาดไปลงแอพนอกสโตร์ที่ใช้สิทธิ์อันตรายมันปิดจอผมไปเลยเป็นสีดำทำอะไรไม่ได้เลยสุดท้ายรหัสหลุดหมดเลยมานั่งแก้เป็นอาทิตย์กว่าจะเปลี่ยนรหัสกว่าจะไล่ลบแอพแปลกๆออก ปวดหัวจริงๆ
ต่อให้ Chrome Android เปลี่ยนตัว Search หรือมีให้เลือกตั้งแต่แรกว่าจะเอาเจ้าไหน คนก็น่าจะยังเลือก Google อยู่ดี
แหมม คำตอบบบ
That is the way things are.
Google เป็นคนริเริ่ม และลงทุนกับ Android มาตั้งแต่ต้น จะให้เขาแยกโน่นนี่ไปทำไม เหมือนคุณไปเดินตลาดมีร้านปลามาอยู่ตรงนี้ ร้านผักมันอยู่ตรงนั้น คุณจะบอกให้เอาร้านปลาร้านอื่นมาแทนร้านเดิม เพราะคุณไม่พอใจที่เขาขายดี...หรอครับ
ตรรกะคืออะไร งงมานานแล้ว ก็ไปซื้อของยี่ห้อเขามาใช้ เขาก็ใส่แอพของเขาไว้สิ ตอนเริ่มไม่เห็นมีสปอนเซอร์มาร่วมทุน พอเขาไปรอดมีกำไร เติบโต ตอนนี้มาโวยวายอะไรกันครับ ทำมือถือยี่ห้อตัวเองมาแข่งสิครับ ถึงจะแฟร์
แต่ส่วนของข้อสามนี่เห็นด้วยกับศาลนะ ว่าเจ้าของเว็บควรมีสิทธิ์อนุญาตหรือไม่อนุญาต ในการที่ Google นำคำตอบบนเว็บไปสรุปให้กับผู้ใช้
เพราะแม้มันจะอำนวยความสะดวกให้กับคนหาข้อมูล แต่มันแทบจะไม่ช่วยอะไรกับเจ้าของเว็บที่ Google นำไปใช้งานเลย