ไมโครซอฟท์มีหน่วยปราบปรามบ็อตเน็ตเป็นของตัวเอง และที่ผ่านมาก็มีปฏิบัติการร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐ ช่วยกันบุกปิดเซิร์ฟเวอร์ของบ็อตเน็ตเหล่านี้อยู่เรื่อยๆ (อ่านข่าว ไมโครซอฟท์จับมือเจ้าหน้าที่รัฐบาล บุกปิดเซิร์ฟเวอร์สำหรับรันโทรจัน Zeus )
ล่าสุด Microsoft Digital Crimes Unit ได้รับคำสั่งศาลสหรัฐให้บล็อคโดเมนจีน 3322.org ซึ่งใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์ของมัลแวร์ชื่อ Nitol เพื่อส่งข้อมูลของเครื่องที่ติดมัลแวร์ตัวนี้กลับมายังผู้สร้าง ตามข้อมูลของไมโครซอฟท์บอกว่า 3322.org มีซับโดเมนกว่า 70,000 ชื่อ ใช้สำหรับมัลแวร์กว่า 500 ชนิด
ภายใต้คำสั่งศาล ไมโครซอฟท์ได้ทำการไฮแจ็คโดเมน 3322.org ให้ส่งข้อมูลกลับมายังเซิร์ฟเวอร์ของไมโครซอฟท์เอง ช่วยลดการเผยแพร่มัลแวร์กลุ่มนี้และค้นหาเครื่องที่ติดมัลแวร์ได้ง่ายขึ้น
จุดที่น่าสนใจของกรณี Nitol คือมันถูกติดตั้งมากับพีซีตั้งแต่โรงงานเลย โดยเป็นโรงงานประกอบพีซีที่มีกระบวนการไม่ปลอดภัยเพียงพอ จนมีช่องว่างให้ผู้สร้างมัลแวร์แอบฝัง Nitol ลงในวินโดวส์รุ่นที่ติดตั้งลงบนพีซีใหม่ได้ เรื่องนี้เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจของคนใช้วินโดวส์เถื่อนที่รับรองความปลอดภัยไม่ได้ ว่ามีโอกาสเกิดปัญหาแบบเดียวกัน
ที่มา - Microsoft Blog , BBC
Comments
"เรื่องนี้เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจของคนใช้วินโดวส์เถื่อนที่รับรองความปลอดภัยไม่ได้ ว่ามีโอกาสเกิดปัญหาแบบเดียวกัน"
อืม ... ถ้าติดตั้งมาจากโรงงานเลย แสดงว่าจะเถื่อนจะแท้ก็เสี่ยง (กับกรณีนี้) พอกันมั้งครับ
ไม่รอดทั้งคู่
ถ้าแท้แล้วยังอัพเดทแพทได้อยู่ ก็คงลดความเสี่ยงได้บ้างละ
+1
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ถ้าของแท้ยังโดนขนาดนี้ ผมว่าของเถื่อนคงโดนเยอะกว่าหลายเท่า วินโดว์ที่ ปรับแต่งเพิ่ม driver หรือ app เถื่อนมา อาจแถม tojan ซักสองสามตัวด้วย *o"
📸
ลืมนึกไปเลยครับ นี่เป็นเหตุผลที่ผมพยายามเลี่ยงของเถื่อนเสมอๆ
เคยใช้พวกสนิฟเฟอร์จับเจอว่าแพคเกจส่งไป ip แปลกๆ ในจีน
ผมเคยสงสัยอยู่เหมือนกันว่า มือถือ/แทบเล็ต ถูกๆจากจีนเนี่ย จะมีการแอบติดตั้งมัลแวร์อะไรไว้จากโรงงานบ้างหรือเปล่า
บางทีก็กลัว ๆ ไม่กล้าลอกอิน Google Account ในอุปกรณ์พวกนี้ - -
อ่ะ นะ ยิ่งพูดยิ่งเสียว