Alison Hardacre ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท HealthKit บริษัทด้านซอฟต์แวร์สุขภาพจากออสเตรเลีย ออกมาให้สัมภาษณ์โวยแอปเปิล ที่ออก API ชื่อ HealthKit บน iOS 8 มาชนกัน
Alison บอกว่าเธอไม่ได้รับการติดต่อใดๆ จากแอปเปิลในการเจรจาขอใช้ชื่อนี้ และอาจพิจารณาใช้มาตรการด้านกฎหมายกับแอปเปิลด้วย
HealthKit เปิดกิจการตั้งแต่ปี 2012 และมีธุรกิจหลักอยู่ในออสเตรเลีย แต่ก็เริ่มหาเงินลงทุนจากนักลงทุนฝั่งสหรัฐอเมริกาบ้างแล้ว
ที่มา - Business Spectator , Computerworld
Get latest news from Blognone
Follow @twitterapi
Comments
รู้สึกว่าชื่อที่เป็นคำทั่วๆไปโดนใ้ช้ซ้ำ แล้วออกมาโวยวายเป็นเรื่องอยากดังหรือปล่าว
อันนี้มันชัดเจนนะครับเขาจดและดำเนินธุรกิจกับชื่อนี้มานานแล้ว แล้วอยู่ดีๆ Apple จะเอาไปใช้โดยไม่ได้ขอไม่ได้แจ้ง เป็นผมก็ฟ้องครับ ทำ Brand มาแทบตายแต่อยู่ๆดีคนบอก นี้มันของแอปเปิลหรอ หรือ ลอกแอปเปิลมานี้หว่า นี้ผมขึ้นนะ
ผมว่าชื่อ "HealthKit" มันไม่ค่อยทั่วไปเลยนะครับ
Trademark นะครับ
เหมือนผมจะใช้ชื่อ apple ไม่ได้ไงครับ
Trademark
Trademark
Trademark
blog
APPLEนี่คำทั่วไปเลยครับ งั้นผมก็ใช้ชื่อนี่ได้สิ
ใช่ครับ ผมว่ารายนี้แค่ออกมาโวยวายแต่ทำอะไรไม่ได้หรอกเพราะมันเป็นแค่ชื่อ API
Health kit = ทั่วไปHealthkit = Trademark
แบบนี้ผมเข้าใจละครับ
สงสัยคงไม่สนใจ มหากาพย์ของ SkyDrive สินะ :/
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
มันเป็นชื่อ API นะ
มันจะเป็นยังไงหว่า ฟ้องได้หรอ
ขึ้นกับว่า API ที่ออกมาเอาไปใช้ในทางการค้ารึเปล่าถ้าใช่ก็ยังสามารถฟ้องได้ขนาด skydrive ยังโดนมาแล้ว
เครื่องหมายการค้าอย่าว่าแต่เหมือนเลยครับคล้ายยังไม่ได้เลยเสื้อตราห่านดำมีอยู่ก่อนจะไปจดเสื้อตราห่านดำสามตัวก็ไม่ได้ครับ
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าไม่ใช่เพียงคุ้มครองไม่ให้จดซ้ำยังป้องกันผู้บริโภคสับสนด้วยครับ
มันไม่ใช่ว่าต้อง API เหมือนกันครับ กฎหมายเรื่อง Trade mark กับ Service Mark โดยหลักแล้วมันเอาไว้ป้องกันผู้บริโภคสับสนครับถ้า API ตัวนี้มันทำให้ผู้ใช้บริการคิดว่า API ตัวนี้เป็นของเจ้าของเครื่องหมายการค้าเดิม สุดท้ายก็ต้องเปลี่ยนชื่อทิ้งอยู่ดีครับ ถ้าเจ้าของเครื่องหมายการค้าเขาพิสูจน์ได้ว่าผู้ใช้บริการสับสนก็ฟ้องให้เลิกใช้ชื่อนั้นได้ครับดังนั้นข้ออ้างที่ว่า skydrive เป็น API ตรงไหนจึงตกไปครับมันไม่ใช่ประเด็น เพราะ API มันก็คือ สินค้า หรือ บริการตัวหนึ่งถูกไหมครับ จะบอกว่า API ไม่ใช่สินค้าหรือบริการก็ไม่ได้หรอกครับเรื่องนี้ศาลในอเมริกาก็เล่นมาแล้วมีเป็นคดีมาแล้ว
ผมพูดถึงเรื่อง Trade mark และ Service mark เป็นหลักครับ
ที่ผมพูดนี่ไม่ใช่เรื่องเล่นๆนะครับ ถ้าเป็นบริษัทในอเมริกาด้วยกันเองรับรองครับมีโดนฟ้องชัวร์ครับอย่าได้เปิดช่องให้ฟ้องเชียวแน่นอนว่าเจ้าเครื่องหมายการค้าคุ้มครองเฉพาะในแต่ละประเทศครับ Apple อาจจะคิดว่าไม่มีใครจดชื่อนี้ในอเมริกาแต่ไม่ได้หมายความว่าชื่อนี้ไม่ได้ถูกจดในต่างประเทศนี่ครับ
จริงๆแล้ววิธีแก้แสนจะง่ายแค่เปลี่ยนชื่อ API เฉยๆมันไม่ได้เสียตังอะไรมากมายถ้ามองในมุมว่ามีโอกาสถูกฟ้องไหมผมบอกเลยว่ามีครับไม่ใช่ไม่มี
พูดตามตรงอย่าว่าแต่ Health Kit กับ Healthkit เลยต่างกันแค่มี space ก็โดนครับ เปลี่ยนชื่อซะก็จบ คำที่ใช้ในเชิงความหมายว่าสุขภาพมีเยอะแยะครับ
Skydrive เป็น service mark ครับ
เอาง่ายๆนะถ้ามีคนบอกว่า IOS ใช้ Health kit นะ
ในทางกฎหมายเหตุผลที่คุณพูดมันฟังไม่ขึ้นครับ ไม่ใช่ว่าใครเป็นคนเอามาใช้
แต่ประเด็นมันคือ มันทำให้คนทั่วไปสับสนหรือไม่ ถ้าใช่ ก็ผิด ถ้าไม่ใช่ก็ไม่ผิด
เจตนารมณ์ของกฎหมายพวกนี้คือกันการสับสนครับ ยกเว้นแต่ว่าพิสูจน์ได้จริงว่า คนทั่วไปสามารถแยกแยะได้ระหว่างต่างกันอย่างชัดเจน เวลาเป็นคดีแล้วมันจะมีประเด็นแห่งคดีครับ ประเด็นหลักเรื่องนี้ก็มีแค่ประเด็นเดียว
ไม่ต้องไปลงลึกใน detail ของ API หรอกครับมันไม่สาระสำคัญของคดีว่าใครเป็นคนเอามาใช้
แต่สาระสำคัญคือมันทำให้คนทั่วไปสับสนหรือไม่ต่างหากที่สำคัญที่สุด ซึ่งเวลาสู้กันหมายความว่าถ้ามีคนสับสนกับชื่อแม้แต่คนเดียวก็แพ้แล้วครับ ประเด็นแบบนี้มันยากที่จะชนะ
เวลาคุณไปปรึกษา Law firm คุณก็แค่ถามว่าจะฟ้องได้หรือไม่แค่นั้น
ผมยกตัวอย่างคดีที่ของ Google ศาลบอกว่า API ไม่คุ้มครองด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์แต่ถูกศาลสูงตีกลับให้ไปพิจารณาใหม้เพราะยังติดเรื่องสิทธิบัตรอยู่ ซึ่งมันก็อยู่ในหมวดเดียวกันคือทรัพย์สินทางปัญญาครับ
คดีนี้ถ้าให้ Apple ชนะปัญหาตามมามากมายครับจะบอกว่าไม่ได้ใช้ในการโฆษณาก็ไม่ใช่เพราะถึงอยากเอาไปโฆษณาก็ทำไม่ได้ต่างหากถ้ามีบริษัทที่ชื่อซ้ำกับแบบนี้อยู่
หลักของกฎหมายตัวนี้ก็แค่เพื่อมิให้คนทั่วไปสับสน ในเครื่องหมายการค้า
เช่น คนทั่วไปอาจเผลอคิดไปว่า Health kit API เป็น API ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัท HealthKit แค่นี้ก็โดนแล้วครับ
เวลาสู้กันในศาลอีกฝ่ายมีหลักฐานว่ามีคนสับสนเรื่องนี้จริงก็จบแล้วครับเพราะวัตถูประสงค์ของกฎหมายตัวนี้มีไว้เพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ เครื่องหมายค้านี่อย่าว่าแต่ชื่อซ้ำครับชื่อคล้ายยังไม่ได้เลย
Apple ไม่ใช่นักกฎหมายเป็นบริษัททั่วไปทำมาหาเงิน
จะพลาดเรื่องแบบนี้ก็ไม่แปลกหรอกครับ แต่ถ้าเป็นที่อเมริกาอย่าได้เผลอเชียวเพราะค่ายอมความไม่ใช่น้อยๆ
สมมติ ถ้าผมมีบริษัทที่เชื่อ HealthKit มีชื่อทางการค้าชื่อนี้ด้วยเป็นผมๆก็ฟ้องฮะ ได้ตังดีกว่าไม่ได้
แต่เรื่องนี้เหตุมันเกิดกับบริษัทในออสเตรเลีย Apple เลยไม่ได้สนใจใยดีเท่าไหร่
แต่ถ้าบริษัทที่ชื่อ HealthKit นี่อยู่ในอเมริกา รับรองว่าขำไม่ออกหรอกครับ
เคยเห็นหลายๆเคส API บางทีมันก็มี codename ที่ชื่อซ้ำ แต่พอออกมาแพร่หลายสุดท้ายก็เปลี่ยนชื่อเพราะเหตุผลที่ว่าชื่อมันซ้ำอยู่ดี สำหรับผมไม่ถือว่าเป็นเรื่องแปลกอะไร
ชื่อหมากับ API ไม่น่าเทียบกันได้นะครับ
API ยังไงก็ยังสามารถจดสิทธิบัตรได้นะครับ (อิงคำตัดสินในคดี google)
แต่ชื่อหมาจดสิทธิบัตรไม่ได้นะครับ
ตรรกะแบบนี้มันไม่ไหวนะครับ
ถ้าเอาชื่อหมามาเทียบได้นี่แสดงว่าหมดมุกแล้วล่ะครับ
ในเคสนี้บริษัทเป็นบริษัท ซอฟท์แวร์ครับ ถ้าบริษัทที่ว่าผลิตผงซักฟอกผมจะไม่โต้แย้งเลยครับ
นิดเดียวครับ
ผู้บริโภคที่คุณมองข้ามก็คือ Dev ครับ
และต้องดูเจตนาและกฏหมายแต่ล่ะประเทศอีกทีนึง กฏหมายแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน คงจะฟันธงอะไรตอนนี้ไม่ได้
คนหนึ่งเอากฏหมายประเทศหนึ่งมาพูด อีกคนก็เอากฏหมายอีกประเทศหนึ่งมาพูด มันคงเถียงกันไม่จบครับ
ถ้าคุณไม่ใช้กฏหมายตัดสิน คุณจะใช้อะไรตัดสินครับ API เป็นสินค้าหรืออะไร เดาเอาเองหรือครับ หืม?
มันไม่เกี่ยวครับว่า API มันคืออะไร แต่เกี่ยวตรงที่มันสร้างผลกระทบอะไรมากกว่าครับ
คนที่ใช้งานแอพ ก็ถือเป็นผู้บริโภคของ Dev และ Dev ก็ใช้งาน API ที่มี Apple เป็นผู้ผลิต ทำไม Dev ถึงไม่อยู่ในฐานะผู้บริโภคหรือครับ API ก็ถือเป็นบริการอย่างหนึ่ง ที่ Apple ผลิตมาเพื่อ Dev
API เป็นสิ่งที่มีเป็นรูปธรรมและจับต้องได้นะครับ มีลิขสิทธิ์ด้วย แต่สมการทางคณิตศาสตร์ไม่มีนะครับ อันที่จริงมันก็ถือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งนะ ผู้บริโภคก็คือสิ่งที่ได้ประโยชน์จากผู้ผลิตไม่ใช่หรือครับ นักบัญชีก็หาประโยชน์จากสมการเหมือนกัน
คุณมองในมุมไหนล่ะครับ ?
ตอบแบบเหน็บคนอื่นไปด้วยแบบนี้ไม่ดีเลยครับ เสียดายความใฝ่รู้ ความกระตือลือล้นที่จะเรียนรู้มากถ้าไปทำงาน คนที่เป็นหัวหน้าคุณคงจะปวดหัว
^
^
that's just my two cents.
อะไรของคุณครับนี่ ช่างประชดประชันซะเหลือเกิน
ผู้บริโภค หมายถึง ผู้ที่ได้ประโยชน์จากผู้ผลิตครับ ถ้าคุณได้ผลประโยชน์จาก API ที่ Apple สร้าง คุณก็คือผู้บริโภคของ Apple
ผมบอกไปแล้วไงครับ ว่ามันไม่เกียวว่า API คืออะไร แต่มันส่งผลกระทบอะไรมากกว่า ถ้าวันหนึ่งเกิด API ตัวนี้สร้างชื่อเสียขึ้นมา ไม่ว่าจากสาเหตุใด แล้วมีคนเข้าใจผิดว่าhealthkit ของ apple กับบริษัท healthkit เป็นอันเดียวกัน ส่งผลต่อชื่อเสียงบริษัท apple ก็ผิดไปเต็ม ๆ แต่จะผิดถึงขั้นฟ้องร้องกันได้ไหมนั้น ก็ต้องดูกฎหมายแต่ละประเทศอยู่ดีครับ อาจผิดบางประเทศในยุโรป แต่อาจไม่ผิดบางประเทศในเอเชียก็ได้ครับ
SkyDrive มันเป็นชื่อของ Service ที่ให้ End User ใช้ไม่ใช่เหรอครับ?
กรณีของ HealthKit เนี่ย...มันเป็นแค่ชื่อของ API ครับ
ซึ่งโดยปกติแล้ว จะไม่ถูกใช้ในการโฆษณาใดๆทั้งสิ้น
(WWDC เนี่ย..มันคือ Developer Conference ครับ..ชื่อ API เลยถูกพูดถึงในงาน)
เหมือนเวลาค้นGoogle แล้วชื่อบริษัทเราหายไป มีคนใช้บริษัทซ้ำกับเรามาแทน จะยอมไหมละ
เหมือนกันตรงไหน?
healthkit ของออสเตรเลียเป็นชื่อบริษัท
healthkit ของ apple เป็นชื่อ api ให้นักพัฒนาเอาไปใช้ ไม่ใช่ชื่อบริษัท
ก่อนจะเปรียบเทียบอะไร หัดลืมหูลืมตาขึ้นมาดูโลกบ้างนะ
นวัตกรรมใหม่อาจตายไปพร้อมกับสตีฟจ๊อบ แต่นิสัยขี้ก๊อปไม่เคยตายไปจากแอนดรอย
WebKit= is an open source web browser engineHealthKit = Apple health API
มีโอกาสที่จะพลาดกันได้ เพราะทาง Apple อาจจะใช้แนวคิดเดียวกับ WebKit คือเขียนติดกัน แต่สิ่งที่ไม่ควรพลาดคือทีมกฏหมาย Apple ควรจะรอบคอบและตรวจสอบชื่อให้ละเอียดกว่านี้
แล้วถ้า healthkit ไม่ฟ้องไว้ก่อน แล้วออก api healthkit ออกมา แล้ว apple มาฟ้อง healthkit ว่าทำให้ลูกค้าที่ใช้ api นี้ของ apple สับสน
ทำเป็น poll มาโหวตกันดีไหม ว่าคนส่วนใหญ่คิดว่า ซ้ำหรือไม่ซ้ำ
^
^
that's just my two cents.
ซ้ำน่ะซ้ำแน่นอนครับ สั่ง compare string ยัง true เลย :p
ปัญหาอยู่ที่ซ้ำในกรณีนี้แล้วจะเป็นปัญหาหรือเปล่ามากกว่า
อ่าา อันนี้แหล่ะครับ
^
^
that's just my two cents.