Tags:
Node Thumbnail

ข่าวเก่าหน่อยนะครับ พอดีเพิ่งไปเห็นมาแล้วพบว่าน่าสนใจสำหรับผู้สนใจทางด้าน Internet Policy และ Cyber Law และเข้ากับกระแสกฎหมายความมั่นคงทางดิจิทัลของบ้านเราเลยเอามาเขียนลง

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ที่การประชุมครั้งที่สามของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้รับรองรายงานที่มีชื่อว่า "การเคารพและการปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัวในยุคดิจิทัล" ซึ่งการรับรองดังกล่าวเป็นปฏิกิริยาต่อเนื่องมาจากการรับรองสิทธิความเป็นส่วนตัวในยุคดิจิทัล ที่ผลักดันโดยประเทศเยอรมนีและบราซิลเพื่อเป็นการตอบสนองต่อการออกมาเปิดโปงการสอดแนมประชาชนของ Edward Snowden

สำหรับรายงาน "การเคารพและการปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัวในยุคดิจิทัล" ฉบับนี้เป็นรายงานที่ได้รับการผลักดันโดยเยอรมนีและบราซิลเช่นเคยโดยมีประเทศที่ร่วมให้การสนับสนุนทั้งหมด 35 ประเทศรวมถึงคิวบาและรัสเซีย โดยมีเนื้อหายาวขึ้นกว่าในฉบับก่อน (สิทธิความเป็นส่วนตัวในยุคดิจิทัล) แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญใดมากนัก เนื้อหาส่วนที่เน้นมากในรายงานฉบับนี้คือข้อมูลอ้างอิง Metadata ที่คาดหมายได้ว่าจะเป็นการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลและการสอดแนมการสื่อสารดิจิทัลจะต้องถูกควบคุมดูแลภายใต้กรอบของกฎหมาย

ที่มา: Council of Foreign Relation

Get latest news from Blognone

Comments

By: Frioniel
Windows Phone Windows
on 3 March 2015 - 13:32 #796155
Frioniel's picture

ตรงที่มา Concil -> Council ครับ

By: panurat2000
Contributor Symbian Ubuntu In Love
on 3 March 2015 - 14:15 #796167 Reply to:796155
panurat2000's picture

ซึ่งการรับรองดังกล่าวเป็นปฏิกริยาต่อเนื่อง

ปฏิกริยา => ปฏิกิริยา

และการสอดแนมการสื่อสารดิจทัลจะต้อง

ดิจทัล => ดิจิทัล

Foreign Realation

Realation => Relations

By: Flurrywong
Contributor MEconomics Android Windows
on 3 March 2015 - 16:00 #796189 Reply to:796167

แก้ไขแล้วฮะ ขอบคุณครับ

By: Hadakung
iPhone Windows Phone Android Windows
on 3 March 2015 - 14:25 #796172

ผมสงสัยว่าถ้า UN ออกมาแบบนี้ประเทศต่างๆจะต้องปฏิบัติอย่างไรอะครับ

By: Yone on 3 March 2015 - 16:02 #796190 Reply to:796172

US ยังไม่สนเลยครับ

By: Flurrywong
Contributor MEconomics Android Windows
on 3 March 2015 - 16:06 #796191 Reply to:796172

ประเทศที่ได้ร่วมลงนามและให้สัตยาบันในปฏิณญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) จะต้องออกกฎหมายอนุวัตรการเพื่อให้การเคารพและปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัวในยุคดิจิทัลมีผลในกฎหมายภายในครับ ถ้าไม่ปฏิบัติตามอาจเป็นเหตุให้ประเทศอื่นที่ร่วมลงนามและให้สัตยาบันใน UDHR อาจจะใช้เป็นเหตุในการไม่ยอมให้เอกชนของประเทศตนเข้ามาทำธุรกิจหรือติดต่อธุรกิจที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลกับประเทศที่ไม่ยอมทำตามได้ case คล้ายๆ กันในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตาม UDHR เมื่อเร็วๆ นี้คือการที่อุตสาหกรรมประมงไทยใช้แรงงานทาส เป็นเหตุให้สหภาพยุโรปอ้างไม่รับซื้อสินค้าประมงจากไทยครับ

By: hydrojen
iPhone Red HatWindows
on 5 March 2015 - 13:52 #796664 Reply to:796191
hydrojen's picture

ว่าแล้วก็หันมามอง พรบ.ดิจิทัล ตามปริมๆ