จากข่าวของน.ส.ณิชา เกียรติธนะไพบูลย์ ที่อ้างว่าถูกขโมยบัตรประชาชนจนคนร้ายสามารถไปเปิดบัญชีได้ที่ธนาคาร 7 แห่ง รวม 9 บัญชี จนกระทั่งถูกจับกุมในข้อหาฉ้อโกง ตอนนี้หน่วยงานกลางของธนาคารก็ออกรับแสดงท่าทีรับรู้ปัญหานี้แล้ว ทั้งสมาคมธนาคารและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ธปท. ออกมาระบุว่าได้สั่งการให้สถาบันทางการเงินตรวจสอบ ชี้แจงสาเหตุ และแนวทางดำเนินการ ให้ธปท. ทราบ "โดยเร็ว"
ทางด้านสมาคมธนาคารออกจดหมายข่าว ระบุว่าธนาคารที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการตรวจสอบ (เนื้อหาอยู่ที่ย่อหน้าสาม ที่เหลือเป็นเรื่องทั่วไป ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นข่าว)
ข่าวของ น.ส.ณิชา เปิดเผยต่อสาธารณะมาตั้งแต่ วันที่ 13 ธันวาคมที่ผ่านมา เมื่อเธอตั้งกระทู้ในเว็บพันทิบ รายงานว่าถูกสวมรอยเปิดบัญชี โดยในกระทู้ได้ระบุว่าเธอได้โทรไปขอความช่วยเหลือจาก ธปท. ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม ผ่านทางหมายเลข 1213 ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โดยระบุว่า คคง. อ้างว่า "ไม่รับช่วยกรณีส่วนบุคคลแบบนี้"
ที่มา - จดหมายข่าวสมาคมธนาคาร
ทีมข่าว New18 ทดลองให้ผู้สื่อข่าวนำบัตรปชช.ผู้อื่น(น้องฝึกงาน)ซึ่งอายุอ่อนกว่าผู้สื่อข่าวเกือบ1รอบไปเปิดบัญชีธนาคาร ปรากฏว่า จนท.ธนาคารทักเพียงว่าหน้าดูเด็กลงและเปิดบัญชีให้ในเวลาไม่ถึง10นาที pic.twitter.com/UctUhrdXqj
— Jirapha NewTV18 (@Jeed_New18) January 10, 2018
Comments
อยากให้มาตรการหละหลวมของธนาคารในการเปิดบัญชีโดนเอาผิดซะบ้าง แค่ขั้นตอนนี้รอบคอบหน่อย คดีคงจะลดลงไปได้เยอะ เว้นแต่ธนาคารเห็นเป็นอย่างอื่น ถึงได้มีเจตนาปล่อยประละเลย ;(
my blog
กฏระเบียบใครๆก็รู้ แต่พนักงานละเลยเพราะอะไร คนร้ายอาจเสนอทำประกันจนพนักงานแบงค์ลืมตรวจสอบที่จริงเปิดหน้ากากอนามัยออกมาให้พนักงานดูไม่กี่นาที คงไม่ถึงตายหรอก คนธรรมดาไม่มีปัญหาหรอกที่จะเปิดแสดงความบริสุทธิ์ใจ
ตามในกระทู้บอกว่า พนักงานเสนอบัตรพ่วงประกันแพงๆ แบบไหน คนร้ายก็ยอมทำหมด เลยอาจมีส่วนให้พนักงานหละหลวมมากขึ้นด้วยครับ
คิดแล้วต้องเป็นแบบนี้เคยเปิดบัญชีค่ายสีเขียว พนักงานเสนอบัตรพ่วงประกันผมไม่เอา ลดราคามาผมก็ไม่เอาจนเสนอบัตรเดบิตผมไม่เอา กว่าจะเปิดเสร็จเป็ยชม.พนักงานบอกถ้าทำบัตรด้วยเสร็จถายในครึ่งชม.คิดในใจไม่น่าใช่ไม่สมัครบัตรด้วยก็น่าจะเร็วเพราะไม่ต้องลงทะเบัยนอะไรนอกจากบัญชี ที่เสียเวลาน่าเป็นเพราะโต้เถียงเรื่องสมัครไม่สมัครบัตรเดบิตมากกว่า
สนับสนุนให้ต้องลงทะเบียนด้วยลายนิ้วมือ เลียนแบบลงทะบียนเบอร์มือถือเลยครับ และต้องใช้บัตรประชาชนพร้อมchip ลงทะเบียนเท่านั้นด้วย
และควรจะลงเลขบัตรประชาชนบนหน้าแรกของสมุดคู่กับชื่อบัญชีด้วย ไม่งั้นคนชื่อนามสกุลซ้ำกันก็โดนมั่วกันได้อีก
กระบวนการใดๆที่มีผลต่อคดีอาญาฯร้ายแรง ก็ควรมีข้อกำหนดกฎหมายลงโทษคนตรวจสอบในกระบวนให้ชัดเจนตามไปด้วย
ตรวจอีกกี่อย่าง ออกมาตรการแก้ผ้าตรวจปานก็ไม่ได้ผลครับ
ถ้าแค่ตรวจใบหน้าตามบัตรประชาชนยังไม่ทำก็ได้ จะเพิ่มอีกร้อยอย่างก็ข้ามได้ทั้งนั้น
lewcpe.com , @wasonliw
ต้องมีบทลงโทษทางอาญาฯกับพนักงานที่ประมาทเลินเล่อไงครับ ถ้าไม่มีกฎหมาย เขียนprocedure กี่ร้อยข้อก็ไม่สนใจทำกันหรอก
ผมสนับสนุนแบบเดียวกับการลงทะเบียนซิม และกระบวนการออกซิมใหม่ ที่ต้องมีบทลงโทษทางอาญาฯที่ชัดเจนกับผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการลงทะเบียน/ออกบัญชี
ไม่งั้นก็จะมีอีกเรื่อยๆ ที่ผู้ได้รับผลกระทบจากความประมาทหรือจงใจของจนท. แล้วโดนโทษทางอาญาฯ หลายคนอาจต้องโดนโทษจำคุกไปแล้ว ถึงพิสูจน์ตัวเองได้ภายหลัง
ในเมื่อใช้สมุดบัญชี/ซิมการ์ด เป็นตัวยืนยันการกล่าวหาบุคคลจนโดนลงโทษทางอาญาฯได้ มันก็ย้อนแย้งในตัวเองว่า ทำไมยังไม่มีกฎหมายควบคุมกระบวนการออกบัญชี/ซิม กันสักที?
เรื่องลงทะเบียนซิม ผมมองว่าธุรกิจโทรศัพท์โดยทั่วไปมูลค่ามันไม่สูงนักครับ โทรศัพท์รับผิดชอบวงเงินอย่างมากคงไม่เกิน 20,000 บาทเท่านั้น การกำกับดูแลก็ต้องอีกแบบ
ส่วนธนาคาร ธุรกิจรับผิดชอบเงินมากกว่านั้นมาก การกำกับดูแลก็อีกแบบ ธนาคารต้องหากระบวนการยืนยันตัวตนที่เหมาะสมกับความรับผิดชอบของตัวเอง
ในกรณีของหมายเลขโทรศัพท์ ไม่มีใครอยากลดตำแหน่งขายซิมให้พนักงานของค่ายโทรศัพท์โดยตรงเท่านั้น ไม่อย่างนั้นคนจำนวนมากก็จะเข้าไม่ถึงแบบทุกวันนี้ เราก็ต้องยอมรับว่าความถูกต้องมันมีข้อจำกัด (ควรทำ แต่เราเชื่อถือข้อมูลได้ระดับหนึ่ง)
ส่วนธนาคารมีกฎหมายชัดเจน ต้องแสดงตัวต่อสาขา หรือใช้กระบวนการ "ที่เทียบเท่า" เท่านั้น โทษหรือมาตรการก็ต้องต่างกัน
แต่ทั้งนี้ เราไม่ควร "เพิ่มขึ้นตอน" ไปเรื่อยๆ โดยขั้นตอนเติมยังไม่มีปัญหา แต่ปัญหากลับเป็นการไม่ทำตามครับ ถ้าคนมันข้ามก็ข้ามเหมือนเดิม เรากำหนดโทษแต่ขาดการบังคับมันก็เหมือนเดิมได้เหมือนกัน
ปัญหาในกรณีนี้ไม่ใช่เคสประหลาดเช่นฝาแฝดไปเปิดบัญชีให้กันจนเราต้องเพิ่มมาตรการ (เพิ่มได้ก็ดี แต่ถ้าทั้งหมดบังคับไม่ได้ เพิ่มไปก็เสียเวลา)
lewcpe.com , @wasonliw
ผมกลับมองในประเด็นกฎหมายอาญาฯครับ
ถ้าเราใช้ซิมการ์ด ในการกล่าวโทษคดีอาญาฯ ที่มีโทษจำคุกสูงมากๆได้(ตามคดีตัวอย่างที่เคยมีมาก็โทษกระทงละ 3-15ปี) และมีโอากาสที่จะผิดพลาดจากการปลอมแปลง ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ก็ควรมีกระบวนการตรวจสอบอย่างเข้มงวดและบทลงโทษทางอาญาฯเช่นกัน
ในกรณีนี้จนท.ใช้บัญชี กล่าวโทษคดีอาญาฯ จนผู้ถูกกล่าวหาต้องขังไปหลายคืน ทั้งๆที่ยังไม่มีโอกาสพิสุจน์ถูกผิด ก็ไม่ต่างกัน
ไม่ว่าใครกำกับดูแล หรือมีขั้นตอนมากน้อยแค่ไหน อย่างไรถ้าไม่มีบทลงโทษที่สมน้ำสมเนื้อกับความเสี่ยง ก็คงมีข้ออ้างพนักงานเลินเล่อมาอีกเรื่อยๆ
อย่างถ้าเป็นจนท.รัฐ ทำคดีพลาดหรือดำเนินการทางเอกสารผิดพลาดร้ายแรง โดนฟ้องประพฤติโดยมิชอบ โทษสูงสุดคือจำคุก แต่พนักงานธนาคารล่ะ? พนักงานผู้รับลงทะเบียนซิมล่ะ? (รวมไปถึงพนักงานที่ออกซิมอย่างผิดพลาด)มีโทษจำคุกกันบ้างไหม นอกจากไล่ออกเฉยๆ?
มืดใช้ฆ่าคนได้ครับ โทษตลอดชีวิต ผมซื้อครั้งล่าสุดไม่ได้ลงทะเบียน
lewcpe.com , @wasonliw
อืม ยกตัวอย่างมีดมาเทียบไม่ได้ครับเพราะตัวมีดที่ใช้ก่อเหตุเฉยๆ มันใช้ในการกล่าวหาคุณไม่ได้ ถ้าไม่มี identity อื่นๆ เช่นลายนิ้วมือแฝง หรือ DNA แฝง ซึ่งมันปลอมแปลงได้ยาก ไม่เหมือนบัญชีธนาคารหรือซิม ที่สวมรอยออกใหม่จากความประมาทเลินเล่อ(?)ของพนักงานได้กันบ่อยๆ แต่ดันใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการกล่าวหาดำเนินคดีได้
ถ้าจะให้ยกตัวอย่างแบบสุดโต่งแบบที่เกิดขึ้นจริงได้ เช่นคุณโดนสวมรอยออกซิมใหม่โดยใช้บัตรหน่วยงานปลอม และขโมยเลข IMEI จากบันทึก CDR ของคุณโดยผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึง(อาจจะสวมรอยมาขอรายการ อ้างว่าสงสัยว่ามีรายการมั่ว) และนำซิมนั้นไปใช้โทรไปสั่งการให้เกิดการระเบิด โดยโทรจากมือถือที่ปลอม IMEI เดียวกับของคุณ แล้วบังเอิญเหลือหลักฐานซิมที่จุดระเบิดไม่เสียหายมาก เลยไล่หาเบอร์ที่โทรเพื่อจุดชนวนได้
ถ้าคุณไม่มีหลักฐานที่อยู่ตัวเองในเวลาที่เกิดเหตุอย่างชัดเจน(เช่นทำงานมีพยานเยอะ) ก็อาจจะต้องโดนสอบยาว หรือถ้าอยู่ภายใต้พรก.ฉุกเฉินหรือม.44 ก็อาจโดนควบคุมตัวในค่ายทหารอย่างน้อย 1 เดือน(ต่อเวลาได้เรื่อยๆทีละ 1เดือน) เพราะความประมาทเลินเล่อของพนักงานผู้ออกซิมและให้ข้อมูล CDR ? ซึ่งบทลงโทษพนักงานนั้นก็แค่โดนหักเงินเดือน หรือมากสุดก็ไล่ออก แต่คุณต้องเข้าคุกไปก่อน?
อันนี้อาจฟังดูเว่อไปหน่อย เพราะในความเป็นจริง เขาใช้ซิมกับมิือถือที่โดนปล้นมาก่อเหตุกันง่ายกว่า
อีกประเด็นหนึ่ง ถ้าจะบอกว่า หลักฐานพวกนี้ควรจะสามารถใช้เป็นได้แค่พยานแวดล้อมเท่านั้น ต้องมีหลักฐานที่หนักแน่นอื่นๆชี้มาก่อน แต่ในความเป็นจริง เขาสั่งขังคุณตามอำนาจฝากขังไปแล้ว เพราะพยานแวดล้อมล้วนๆนี่แหละ ยังไม่นับคดีแบบอากง ที่พยานแวดล้อม 100% ทำให้จำคุกได้จริง
มันก็ขัดแย้งในการปฎิบัติไหม?
ผมเข้าใจความคิดคุณนะครับ
แต่ผมมองว่าการดู identity ของสิ่งของแล้วกล่าวหา ทำชีวิตผู้ต้องหาลำบาก เป็นความมักง่ายของเจ้าหน้าที่ ไม่ใช่ความรับผิดชอบของผู้ออก ID โดยตรงครับ
ถ้ามีเจ้าหน้าที่เจอ IMEI ของผู้ต้องหาก่อการร้ายแล้วไล่ยิงเอาตายอย่างเดียว เราคงไม่บอกว่าหลังจากนี้ใครออกซิมผิดต้องมีโทษประหาร
lewcpe.com , @wasonliw
อันนี้เราเห็นด้วยเลยนะ ให้เอกชนตรวจสอบมันก็ได้แค่ระดับหนึ่ง แต่ที่สำคัญเลยคือต้องเปลี่ยนวิธีคิดของเจ้าหน้าที่ ไม่ใช่บัญชีชื่อใคร เบอร์โทรชื่อใคร ก็สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าคนนั้นเป็นคนร้าย เพราะมิจฉาชีพจริงๆมันก็ไม่ใช้ชื่อตัวเองมาทำการแบบนี้ เราว่าเคสนี้ตำรวจผิดมากกว่าธนาคาร
อย่างกรณีนี้ คนคนอาจจะไม่พอใจกันเยอะเพราะถึงขั้น "เข้าคุก" ตรงนั้นผมมองว่าเป็นปัญหาของกระบวนการยุติธรรมครับ (รวมๆ ตั้งแต่การส่งหมายเรียก ไปจนถึงขั้นตอนประกันตัว)
แต่อย่างรายงานแรกตั้งแต่เดือนที่แล้ว ที่คุณณิชาต้องเดินทางไปติดต่อธนาคาร, แจ้งความ, ทำเรื่องอายัดบัญชี ฯลฯ เป็นสิ่งที่ธนาคารควรเล็งเห็นผลได้จากความเลินเล่อของตัวเอง และหากเป็นความผิดของธนาคารก็ควรชดใช้ตรงนั้นทั้งหมด (ค่าเสียเวลา ค่าใช้จ่ายต่างๆ ฯลฯ)
lewcpe.com , @wasonliw
ผมเข้าใจว่าบัตรประชาชนมันน่าจะเป็นบัตรแบบใหม่เกือบหมดแล้ว ก็น่าจะมีลายนิ้วมืออะไรก็ว่าไป ก็ตรวจคู่กันกับคนที่มายื่นเปิดบัญชี
ผมเชื่อว่ามันทำได้ กระบวนการไม่ได้ยากเกินไปเลยครับ
เฉพาะเรื่องตรวจใบหน้า/ลายนิ้วมือนะครับ
ผมมองว่าถ้าการตรวจสอบลดการใช้วิจารณญาน (ใช้สายตาพนักงานดูว่าเหมือน/ไม่เหมือน) เปลี่ยนเป็นใช้ระบบเปรียบเทียบ (ลายนิ้วมือ/อื่นๆ) และใช้ระบบคุมเพิ่ม (จะเปิดบัญชีต้องเสียบบัตร + สแกนนิ้วว่าตรงกับในบัตร/ระบบ ถ้าไม่ตรงระบบล็อคเปิดบัญชีไม่ได้) น่าจะช่วยแก้ปัญหาในภาพใหญ่ได้ ส่วนภาพเล็ก กลุ่มคนพิการ etc. อะไรก็มีมาตรการสำรองไป
ถ้าครั้งนี้ไม่มีการลงโทษอะไรธนาคาร
ปีหน้ามีลูกค้าเปิดบัตรพิเศษแต่สแกนลายนิ้วมือไม่ผ่าน พนักงานก็ทำแบบเดิมได้อยู่ดี
ปีต่อไปจะตรวจ DNA เครื่องสแกนไม่ผ่านสักที ลูกค้าจะรีบไปทำธุระต่อ ก็ทำแบบเดิมได้อยู่ดี?
lewcpe.com , @wasonliw
ถ้าลูกค้าสแกนนิ้วไม่ผ่าน ธนาคารไม่สามารถอ้างได้ว่า คนร้ายปลอมตัวมาเหมือนมากเลยอนุมัติไป ไงครับ
ในกระทู้จากที่ผู้เสียหายไปขอดูกล้อง คนร้ายมีหลายคน ช่วงแรกๆ พยายามปลอมตัว ตัดผมให้เหมือน พาเด็กไปด้วย etc. แต่หลังๆ ใส่ Mask ไปดื้อๆ ซึ่งกรณีหลังผมเห็นด้วยว่าเลินเล่อ ควรโดนลงโทษจริง แต่กรณีแรกธนาคารจะอ้างได้ว่า พนักงานใช้วิจารณญานอย่างดีที่สุดแล้วก็ได้ ซึ่งถ้าจะฟ้องร้องลงโทษก็ต้องมานั่งพิสูจน์กันอีกว่า พยายามดีที่สุดแล้วหรือยังไงครับ
ส่วนเรื่องการลงโทษธนาคาร ถ้าเป็นผลการพิจารณา/บทลงโทษจาก ธปท. ก็คงไม่เปิดเผยอะไรอยู่ดี คงได้แต่เดากันไปครับ
เห็นด้วยครับ
ถ้าลดการตรวจสอบโดยใช้วิจารณญาณ ให้เหลือแค่ 0-1 มันก็จบ
เวลาตรวจสอบก็ง่าย อันนี้เปิดกล้องก็อ้างได้ว่าหน้าเหมือน
แต่ถ้าตรวจลายนิ้วมือ คำจำกัดความว่า “เหมือน” มันชัดเจนกว่า
แล้วมองในมุมธนาคาร ทางธนาคารก็สามารถปฏิเสธได้เต็มปากเต็มคำ กว่าพูดว่า “หน้าไม่เหมือย”
สมาคมธนาคาร >> สมาคมธนาคารไทย
หากลูกค้าทำผิด ลูกค้ารับผิดชอบ แต่หากธนาคารทำผิด กรูไม่รับผิดชอบมาตรฐานโลกไหนวะนี่
มาตรฐานประเทศไทยครับ ธนาคารไม่เคยผิดขนาดพนักงานตัวเองทำผิดไม่ยอม ออกกฏมาให้ตัวเองได้ประโยชน์
จริงๆ แนวทางการเปิดบัญชี ถ้า หน้าไม่เหมือนบัตรประชาชน
ก็มีการตรวจสอบเพิ่มเติมได้ เช่นขอดูบัตรอื่นๆ เช่น ใบขับขี่ บัตรพนักงาน
อย่างน้อยต้องมีชื่อเดียวกัน ถ้าไม่มีเวลาก็ค่อนข้างน่าสงสัย
เมื่อไหร่จะเลิกระบบ แจ้งเรื่องเฉพาะสาขาที่เปิดบัญชี กับ แจ้งความในท้องที่ที่เกิดเหตุ ซะที
มิวิธีเยอะแยะ แต่เขาไม่ทำกันเองครับ องค์กรห่วยๆ ขอให้เจ้งไปซะ
ที่ไม่อยู่ในเนื้อข่าวคดีนี้ ตำรวจก็มีส่วนทำให้เรื่องราวมันใหญ่โตโดยการรีบรวบรัดตัดความ ขนาดเขามีใบแจ้งความกระเป๋าตัวค์หาย เป็นเจ้าทุกข์แท้ๆ ตำรวจก็ไปดึงใบแจ้งความของเขาออกจากสำนวนกะจะรีบจบคดี จนจากเจ้าทุกข์ กลายเป็นผู้ต้องหาเข้าคุกไปแล้ว 3 วัน แล้วแบบนี้จะให้เชื่อใจการทำงานตำรวจได้สนิทใจ?
ในส่วนของธนคารอยากให้ลองมองหลายๆมุม คนร้ายหลอกเปิด บช ได้ตั้ง 7 ธนาคาร แสดงว่าคนร้ายก็แพรวพราวพอตัว ถึงจะใส่แมสก์มาแต่เอาเข้าจริงถ้าขอให้เปิดหน้าแล้วมันไม่เหมือนเลย เป็นคุณเป็นพนักงานจะทำไงครับ? ระบบเอกชน ลูกค้าเป็นใหญ่ไปถามไรมากจุกจิกไม่เข้าเรื่อง ถ้าเขาเป็นตัวจริงขี้หงุดหงิดร้องเรียนขึ้นมา พนักงานคนนั่นก็ซวยอีก ที่สำคัญเลยคือ ผมมองว่า พนักงานแบงก์อาจไม่ได้ตระหนักด้วยซ้ำว่าการเปิดบัญชีใหม่จะมีผลเสียอะไรได้มากมายต่อธนาคารเพราะเป็นการเอาเงินไปให้เขา เหมือนเวลาเอาเงินไปฝาก เขาก็ไม่ดูอะไรมาก ผิดกับตอนเอาเงินออกจะยุ่งยากกว่า
ย่อหน้าสองของคุณนี่ล่ะครับ ความผิดธนาคาร คุณเป็นธนาคารภายใต้ระบบกำกับดูแล ไม่ใช่ร้านโชว์ห่วยขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถ้าพนักงานบอกว่าไม่รู้ผลกระทบนี่ธนาคาร audit ไม่ผ่านแล้ว
lewcpe.com , @wasonliw
ไม่ได้บอกว่า ธนาคารไม่ผิดเลยนะครับ แต่ขอให้มองดีๆ โจรหลอกแบงก์ได้ 7 เจ้าใหญ่ๆ แสดงว่าโจรเองก็ไม่ธรรมดานะครับ
หรือไม่ก็วงการธนาคารมันแย่มากจนกระทั่งมาตรการทั้งหลายไม่ได้ทำตามจริงจัง เป็นกระดาษ๋กองไว้เฉยๆ
lewcpe.com , @wasonliw
ต้องบอกว่าธนาคาร 7 แห่งสัพเพร่าที่อนุญาตให้เปิดบัญชีโดยไม่สามารถยืนยันความถูกต้องของเอกสารมากกว่า เพราะปกติทุกที่จะดูหน้าว่าตรงกับบัตรประชาชนหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจอาจจะให้คนอื่นช่วยยืนยันก็ได้ครับ
พนักงานธนาคารสะเพร่าเพราะอยากได้ค่าคอม แค่เสนอบัตรเอทีเอ็มพ่างประกันพอบอกเอาก็ลืมตรวจสอบแล้วไม่ใช่เก่งอะไรหรอก
มันลักลั่นตั้งแต่ใช้ สมุดบัญชีในการกล่าวโทษคดีทางอาญาฯได้
แต่ไม่มีบทลงโทษทางอาญาฯกับกระบวนการออกบัญชี?
ถ้ามันแค่ฟ้องแพ่งเฉยๆ ก็ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายอาญาฯ บังคับ แต่เอกสาร identity ใดๆที่สามารถใช้อ้างอิงเพื่อกล่าวโทษทางอาญาฯได้ ก็ควรจะต้องมีบทลงโทษเพื่อควบคุมกระบวนการออก identity นั้นๆด้วยเช่นกัน
อันนี้ก็เห็นด้วย ที่สำคัญคือขั้นตอนยืนยันตัวตนที่ชื่อมันบอกชัดเจนว่าต้องยืนยันตัวตน แต่ไม่กล้าปฏิบัติขั้นตอนยืนยันตัวตน ทั้งๆ ที่มีกฎหมายรองรับให้สิทธิในการปฏิบัติก็ยังไม่ทำ
ฉะนั้น ถ้าขั้นตอน verify มันผิดพลาด ทำงานไม่ครบกระบวนการก็ควรเอาผิดได้ และในกรณีอันนี้ ธนาคารควรชดใช้ให้ผู้เสียหายด้วย (ควรมีเป็นกฎหมาย) ไม่ใช่ไล่ไปฟ้องอย่างเดียวแล้วลอยตัวเหนือความผิด
ตำรวจเอย หน่วยงานกำกับดูแลเอยก็ควรดูแลเต็มที่ รวมถึงผู้พิพากษาและกระบวนการยุติธรรมด้วย จะมาลอยตัวเหนือปัญหากล่าวแค่ว่าฉันทำตามหลักฐานอย่างเดียวแล้วส่งคนเข้าคุกจนจะกลายเป็นคอกเลี้ยงแพะ แต่ถึงเวลาก็ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรแบบที่ผ่านๆ มา
แบบนี้สังคมก็แย่ลงทุกวัน
สายป่านพลาดลงรูปนี่จะเป็นจะตาย ทั้งๆ ที่เป็นเหยื่อของการทำให้เสื่อมเสียแท้ๆ จะเรียกเข้ามาสอบสวน บลาๆๆๆๆ
ถ้าคิดจะไม่รับผิดชอบอะไรเลย จะโทษอะไรก็โทษได้ครับ มาหน้าสด เปิดบัญชีได้ ก็โทษกล้องถ่ายรูป หรือ ตัวปริ้นรูปลงบัตรของกรมการปกครอง เอาก็ได้ว่าถ่ายรูปบัตรมาแล้วหน้าไม่เหมือนตัวจริงครับ อยากให้ธนาคารสาขาที่ ใส่หน้ากากกันหวัดเข้าไปเปิดบัญชีออกมาได้ รับผิดชอบมากกว่านี้ครับ จะให้ดีอยากให้ ผจก สาขา กับ พนักงานที่เปิดบัญชี ลองเข้าไปอยู่ในตารางที่ สน. ดูซัก 24 ช.ม. ก็ได้ครับ ว่าสนุกมั้ย ทำคนอื่นติดคุกเนี่ย
Something you have
Something you know
Something you are
สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่พนักงานเคาน์เตอร์ธนาคารไม่รู้ครับ เพราะห่วงแต่ยอดประกันที่จะขายได้ขออนุญาตสบประมาทแล้วกันนะครับ เพราะเห็นคนติดคุกทั้งที่ไม่ได้ทำผิด แถมยังมีการมาปกป้องด้วยกันเองจากในองค์กรอีก
ได้อ่านกระทู้พันทิปตั้งแต่ต้นเดือนธันวา ปีก่อน ผู้เสียหายลำบากมาก ต้องไปแจ้งตำรวจหลาย สน ไปธนาคารหลายสาขา เหนื่อยแทน บางทีก็โบ้ยกันไปมา ราชการชอบใช้คำว่าบูรณาการแต่พอมีเรื่องกลับไม่ประสานงานกัน แทนที่จะแจ้งที่เดียวจบ ต้องไปๆ มาๆ นี่ถึงกับต้องนอนคุก ธนาคารควรต้องถ่ายรูป เช็คลายนิ้วมือเพิ่ม
ผมก็เคยทำบัตร ปชช หายเหมือนกัน ลงแอป กสทช 3 ขั้นอะไรนั่น ก็โชคดีว่าไม่มีเบอร์โทรศัพท์แปลกปลอม ส่วน บช นี่ไม่รู้เหมือนกัน อาจจะโชคดีที่หัวล้าน โจรมันคงไม่ลงทุนปลอมตัวขนาดนั้น
เคยทำบัตรประชาขนหายไปที่เขตเค้าก็บอกไม่ต้องแจ้งความ แต่เจอข่าวแบบนี้ยังไงก็ขอไปลงบันทึกประจำวันกันไว้ดีกว่า
ถ้าตำรวจว่างและยินดีรับแจ้งความนะครับ เพราะตอนนี้ไม่ต้องแจ้งความแล้ว
ใช้เอกสารที่เราไปให้ข้อมูลกับเขตโดยตรงว่าบัตรหาย อ้างอิงได้เหมือนกันกับแจ้งความ
เป็นเคสที่อ่านแล้วเหนื่อยใจมาก แจ้งความก็เกี่ยงกันไม่รับ จขกท คือไฟว้มากวิ่งไปแจ้งความตามท้องที่ วิ่งไปธนาคารเองทุกสาขา ข้อมูลบัตรประชาชนในชิปที่ธฯาคารบอกว่าไม่มีการแจ้งเตือนว่าบัตรไม่ใช่บัตรล่าสุดคือสงสารมากเหนื่อยขนาดนี้แล้วยังต้องโดนนอนคุกอีก
อยากเห็นว่าธนาคารแต่ละเจ้าจะรับผิดชอบอะไรไหม ไม่ใช่แค่เพิ่มความปลอดภัย แต่อยากให้โดนลงโทษกันบ้าง แต่กลัวว่าจะลอยตัว แค่บอกว่าจะเพิ่มความปลอดภัยให้แล้วก็จบกัน ชีวิต จขกท ที่เสียไป ก็แล้วกัน
ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดสำหรับความมั่นคงของระบบ
มีกฎที่อ่อนแอหรือซับซ้อนเกินไป และที่มีกฎแต่ไม่รับการปฎิบัติหรือทำตามกฎหรือเพิกเฉยต่อกฎหรือคำแนะนำ
ปัญหานี้จับพนักงานธนาคารมาติดคุกแทนก็เท่านั้น เพิ่มกฎให้ยุ่งยากขึ้นก็มีแต่จะปฏิบัติตามไม่ได้ หรือยากจนไม่มีใครอยากใช้
ถ้าไม่ปฏิบัติตามคนที่เดือดร้อนจริงๆ ต่อไปคือตัวธนาคารเองนั้นละ ถ้ายังมักง่ายแบบนี้ ต่อไปจะมีกฎออกมาว่าจะออกเลขบัญชีได้ต้องได้รับการออกโดยคนที่มีใบอนุญาตจากแบงค์ชาติ เพราะตรวจสอบตามกฎจริงๆ และถ้าพลาดก็จะถูกพักใบอนุญาตหรือมีบทลงโทษตามกฎหมาย เหมือนสถาปนิก วิศวกร และอีกหลายๆ อาชีพ ที่ถูกควบคุมอยู่
กฎ หรือ กระบวนการ ที่ดูงี่เง่าบางอย่างเราก็มองว่าไม่จำเป็นต้องมี เมื่อคนนั้นมักง่ายชีวิตมันเลยยุ่งๆ แบบที่กำลังจะเป็น
เป็นไปได้มั๊ยที่
ถ้าระบบ ถ่ายรูป+scan ลายนิ้วมือ แบบที่ ตม.ใช้ ราคาถูกลง
จนเอามาวางตามธนาคารสาขาต่างๆได้?
เหมือนแต่ละแบงค์จะเริ่มมีนโยบายป้องกันส่วนตัวกันแล้วมั้งครับ
ล่าสุดวันนี้ผมไปเปิดบัญชีกสิกรเพิ่ม เห็นมีการจับถ่ายรูปในการเปิดบัญชี และกรอกเอกสารที่เกี่ยวข้องกับส่วนตัวเยอะมาก
แถมต้องพ่วงเบอร์โทรศัพธ์เพื่อยืนยันตัว ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนใช้แค่บัตรประชนชนยื่นให้แป๊ปเดียวก็จบแล้ว
KYC
ผมว่านะวิธีแก้ที่ง่ายกว่านี้คือบัตรประชาชนเป็นสมาร์ทการ์ดจริงสักทีมันควร call service ไปที่ส่วนกลางเปิดขอข้อมูล และล็อกบัตรได้ทำ policy คล้ายธนาคารก็ได้ ล็อกบัตรได้ ปัญหาพวกนี้ก็หายไปเยอะละ แล้วก็เลิกใบขับหรือสารพัดใบสักทีจะได้เป็น 4.0 อย่าวที่โม้ไว้บ้าง
ปล. แสกนนิ้วไม่เหมาะเพราะว่าไม่ใช่ทุกคนจะลายมือชัดเจนตลอดครับแม่ผมก็เป็นคนที่ลานมือชอบหายแสกนไม่เจอ และมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องทำวานจนลายนิ้วมือมีปัญหา ถ้าใช้วิธีแสกนนิ้วเท่าคนเหล่านี้หมดสิทธิ์เปิดบัญชีแน่ๆครับ
แล้วกระบวนการปลดล็อกจะเป็นยังไงครับ? แล้วพนักงานต้องยืนยันตัวตนอย่างไรบ้างเพื่อล็อกหรือปลดล็อก?
lewcpe.com , @wasonliw
จริงๆผมว่า บัตรประชาชนแค่มี pin (6หลักแบบบัตรเอทีเอ็ม)นี่ก็น่าจะช่วยได้มากแล้วนะครับ
แล้วก็เพิ่มระบบไปว่า ถ้าจะอ่านการ์ดต้องมี alert ผ่านช่องทางใดช่องทางนึงเสมอๆ ก็น่าจะพอแก้ได้เบ็ดเสร็จแล้ว
แต่ที่ยากคือพอจะทำเข้าจริงๆก็ติดระบบราชการนั่นแหล่ะ
ใครๆก็รู้ว่าวงการนี้เร่งเอายอดอย่างเดียว ใครจะฉิบหายช่างมัน
ตอนนี้เรามีระบบอะไรที่สามารถสิบค้นได้ว่าชื่อของเราถูกนำไปเปิดบัญชีที่ไหนบ้างแบบทีเดียวเลยไหมครับยกตัวอย่างเคสนี้ ต้องไล่ติดต่อเอาเองทุกๆธนาคารเลย ถ้าเป็นธนาคารเล็กๆที่คนไม่ค่อยรู้จัก ก็จะไม่รู้เลยว่ามีชื่อไปเปิดบัญชีเอาไว้
นั่นสิครับ อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้โดยตรง แต่ว่าเบอร์โทรที่เพิ่งเปิดใหม่ของผมซึ่งน่าจะเป็นเบอร์เวียน ก็มีการเอาไปสมัครใช้งานอย่างน้อยบริการหนึ่งจากธนาคาร อ. ซึ่งทำให้ผมต้องรับ sms ต่างๆ เช่นแจ้งให้ไปชำระสินเชื่อ ฯลฯ ทุกๆ เดือน พอแจ้งไปที่ CC ก็บอกให้ไปที่ธนาคารซึ่งมันไม่ใช่เรื่องของคนที่เดือดร้อนที่จะต้องเสียเงินเสียเวลาไปตามเรื่องเอง
ตรงนี้ผมว่ามันควรมีกระบวนการอะไรที่สามารถเช็คและจัดการได้แบบ one stop service. ซึ่งจริงๆ แล้วมันก็ควรล้างข้อมูลเบอร์ก่อนที่จะเอามาเวียนขายนะครับ
การเอาเบอร์มาเวียนขายเป็นการจัดการของโอเปอร์เรเตอร์มือถือครับ ส่วนการเอาเบอร์ไปลงทะเบียนเป็นเรื่องของลูกค้ากับธนาคาร ถ้าก่อนจะเอาเบอร์ใดๆ มาเวียนขาย โอเปอร์เรเตอร์ต้องไปแจ้งธนาคารทุกธนาคาร (และรวมถึงทุกหน่วยงานที่มีการติดต่อผ่านมือถือ ยังมีพวก 2nd-factor authentication ทั้งหลายอีก) คงไม่ได้เวียนขายเบอร์แน่นอน
ในกระบวนการที่เกิดขึ้นปัจจุบันผมทราบดีครับ ก็พอจะเข้าใจถึงเงือนไขและภาระผูกพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการกับเจ้าของเบอร์โทร โอเปอเรเตอร์ก็ต้องดูแลเจ้าของเบอร์ ธนาคารก็ต้องรับผิดชอบดูแลเจ้าของเบอร์ที่เอามาลงทะเบียน แต่สิ่งที่มันดูจะเป็นปัญหาอยู่คือใครที่จะเป็นผู้รับผิดชอบดูแลเจ้าของเบอร์ใหม่ในกรณีข้างต้น? ถ้าคำตอบคือไม่มีแสดงว่านั่นมันก็เป็นปัญหาละ
ตอบแบบสั้นที่สุดเลยคือ "ไม่มี" ครับ สำหรับฝั่งเงินฝาก ส่วนฝั่งเงินกู้ สินเชื่อต่างๆ เช็คได้ที่ NCB (เครดิตบูโร) ครับ
สาเหตุที่ไม่มีระบบที่ว่า เนื่องจากข้อมูลสินทรัพย์ส่วนบุคคลถือเป็นข้อมูลลับมากๆ และโดยปกติแล้วคนเรามักจะไม่ค่อยลืมว่ามีเงินฝากไว้ที่ไหนบ้าง การมีช่องทางที่แบบ เช็คทีเดียวรู้หมด จะสร้างความเสี่ยงอาชญากรรมต่างๆ เพิ่มขึ้นเยอะครับ แค่ข้อมูลว่ามีบัญชีที่แบงก์ไหนบ้าง กี่บัญชีก็มีความเสี่ยงแล้ว