สำนักพิมพ์ Wall Street Journal และ New York Post ยื่นฟ้องต่อบริษัท Perplexity ฐานใช้เนื้อหาโดยไม่ได้รับอนุญาต และยังทำให้สื่อเสียชื่อเสียงเนื่องจากใส่เนื้อหาผิดๆ แล้วอ้่างว่ามาจากทางสำนักพิมพ์
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว New York Times เพิ่งส่งจดหมายทางการขอให้ Perplexity หยุดใช้เนื้อหาของทางสำนักพิมพ์ (แม้จะชื่อคล้ายๆ กันแต่ New York Times เป็นบริษัทอิสระ ขณะที่ Wall Street Journal และ New York Post นั้นเป็นสื่อในเครือบริษัท News Corp)
New York Times ส่งจดหมายทางการขอให้ Perplexity ผู้ให้บริการแชตบอต LLM แบบค้นหาข้อมูลและสรุปในตัวหยุดใช้ข้อมูลในเว็บไปสรุปบทความให้ผู้ใช้
ทาง New York Times นั้นเป็นสื่อรายใหญ่รายแรกๆ ที่เริ่มดำเนินคดีกับ OpenAI ว่าละเมิดลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์ โดย ยกตัวอย่างว่าผู้ใช้สามารถดึงบทความทั้งบทความกลับออกมาได้ และคดีตอนนี้ยังไม่จบแม้ว่าท่าทีของ OpenAI จะยอมจ่ายส่วนแบ่งให้กับสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
YouTube เปิดเผยว่าได้ปรับปรุงความสามารถการลบเพลงในวิดีโอให้กับครีเอเตอร์ กรณีคลิปวิดีโอถูกระบุว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์เพลง โดยสามารถนำเฉพาะเสียงเพลงที่ผิดลิขสิทธิ์ออกไปได้ ขณะที่ส่วนอื่นของคอนเทนต์ยังมีอยู่ตามปกติ ซึ่งมีคุณภาพที่ดีมากขึ้น
ก่อนหน้านี้หากครีเอเตอร์ถูกรายงานการละเมิดลิขสิทธิ์เพลง ทางเลือกในการจัดการแก้ไขวิดีโอให้ถูกต้องผ่านเครื่องมือ YouTube Studio ได้แก่ Trim (ตัดช่วงนั้นออกไปเลย), Mute (ปิดเสียงช่วงเวลานั้นทั้งหมด), Song Replacement (แทนที่ด้วยเพลงอื่น) และ Erase Song คือลบเสียงเพลงนั้นออกอย่างเดียว กรณีหลังสุดนั้นถูกรายงานบ่อยครั้งว่าเสียงที่ได้หลังลบเพลงไม่ดีมากนัก
Adobe ประกาศปรับปรุงเงื่อนไขการใช้งานหรือ Terms of Service (ToS) ใหม่อีกครั้ง หลังจากเนื้อหาที่อัปเดตให้ผู้ใช้งานยอมรับเพื่อให้ใช้งานซอฟต์แวร์ต่อได้ก่อนหน้านี้ ถูกวิพากษ์วิจารณ์เนื่องจากมีข้อความที่ทำให้ตีความได้ว่า Adobe อาจเข้าถึงข้อมูลลูกค้า และสามารถนำไปใช้เทรน AI ได้ ซึ่งแม้ Adobe ชี้แจงและยืนยัน ว่าไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้น แต่ดูเหมือนยังไม่พอ
Adobe บอกว่า ToS ใหม่จะออกมาในวันที่ 18 มิถุนายนนี้ ซึ่งจะปรับปรุงภาษาข้อความที่ใช้ และแสดงความชัดเจนต่อลูกค้าว่าไม่มีการนำข้อมูลไปใช้เทรน AI โดยประเด็นหลักที่ Adobe จะปรับปรุงใน ToS นี้ได้แก่
Viviane Ghaderi นักวิจัยปัญญาประดิษฐ์ที่ทำงานกับ Amazon ในช่วงปี 2022 จนถึงต้นปี 2024 ยื่นฟ้องต่อศาลแคลิฟอร์เนียร์ว่าถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมหลังเธอลาเลี้ยงดูบุตรหลังคลอด และยังระบุว่าเธอถูกกดดันให้ละเลยลิขสิทธิ์ข้อมูลที่ใช้สำหรับฝึกปัญญาประดิษฐ์
Ghaderi เคยทำงานกับ Amazon ตั้งแต่ปี 2019 ก่อนจะลาออกไปทำงานกับบริษัท Recharge Payments และถูกเรียกตัวกลับมาในตำแหน่งระดับผู้จัดการที่มีลูกน้องโดยตรง 3 คน เมื่อปี 2022 หลังจากนั้นในเดือนกันยายนเธอรับผิดชอบปรับปรุงการดึงข้อมูลเว็บและคุณภาพข้อมูล ได้ลูกน้องเพิ่มเป็น 6 คน
New York Times อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัว 3 คน ระบุว่า OpenAI ดูดวิดีโอ YouTube มากกว่าล้านชั่วโมงเพื่อไปฝึก GPT-4 แม้ว่าทีมงานภายในจะมีความกังวลว่าการทำเช่นนี้จะเป็นการละเมิดข้อตกลงการใช้งานของ YouTube
ที่ผ่านมาผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ในกลุ่ม LLM ต้องการข้อความจำนวนมากเพื่อมาฝึกปัญญาประดิษฐ์ และที่สำคัญข้อความเหล่านั้นต้องเป็นคอนเทนต์คุณภาพสูงเชื่อถือได้ เพื่อฝึกปัญญาประดิษฐ์ให้ตอบเฉพาะข้อมูลที่ถูกต้อง ทาง OpenAI เองก็มีโครงการซื้อคอนเทนต์เหล่านี้อยู่ โดยมี ข่าวหลุดออกมาว่าราคาประมาณ 1-5 ล้านดอลลาร์ต่อปี
Ed Newton-Rex อดีตวิศวกรผู้พัฒนา AI สร้างเสียงที่ Stability AI ได้ตัดสินใจลาออกจากบริษัทเมื่อปลายปีที่แล้ว เหตุผลคือเขาไม่แน่ใจในทิศทางการพัฒนา AI โดยเทรนด้วยคอนเทนต์ที่มีลิขสิทธิ์คุ้มครอง ทำให้เขาตั้งองค์กรชื่อ Fairly Trained เพื่อรับรองโมเดล AI ที่ยืนยันแล้วว่าเทรนด้วยข้อมูลที่ซื้อไลเซนส์มาถูกต้อง หรือใช้ข้อมูลที่เป็นสาธารณสมบัติ (Public Domain) ซึ่งทุกคนสามารถใช้งานได้ไม่มีการคุ้มครองแล้ว
จากกรณี มิกกี้เมาส์เวอร์ชันแรกกลายเป็นสาธารณสมบัติแล้ว หลังลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อ 1 มกราคม 2024
ทางค่ายคู่แข่ง Warner Bros. Discovery เจ้าของบริการสตรีมมิ่ง HBO Max ก็ "ลองของ" ด้วยการให้รายการทอล์คโชว์ Last Week Tonight ที่มีพิธีกรชื่อดัง John Oliver นำคาแรกเตอร์เจ้าหนู Steamboat Willie (มิกกี้เมาส์เวอร์ชันแรก) มาออกในรายการ พร้อมพาดหัวด้วยว่า "พวกเขา (Disney) จะฟ้องไหม"
รายการตอนนี้ออนแอร์ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ แต่ทาง HBO ยังไม่เผยแพร่คลิปรายการในตอนนี้ เพื่อดึงให้คนที่อยากดูต้องไปดูบน HBO Max เท่านั้น
ที่มา - 9to5google
OpenAI ออกมาเขียนบล็อกชี้แจงกรณี The New York Times (NYT) ยื่นฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ โดยระบุว่าเป็นบั๊กที่เกิดได้ยากแล้ว และกำลังแก้ไขให้ไม่มีเหตุการณ์แบบนี้อีก พร้อมกับยืนยันว่าต้องการเป็นพันธมิตรกับสำนักข่าวต่างๆ
กูเกิลประกาศปรับข้อตกลงการใช้งานโดยเพิ่มความคุ้มครองผู้ใช้จากการถูกฟ้องร้อง โดยครอบคลุมสองกรณี คือ การถูกฟ้องว่านำข้อมูลไปใช้ฝึกปัญญาประดิษฐ์, และการถูกฟ้องว่าเอาท์พุตจากโมเดลนั้นไปละเมิดลิขสิทธิ์งานอื่น
ในกรณีการฟ้องฐานใช้ข้อมูลไปฝึกนั้นครอบคลุมโมเดลของกูเกิลเอง ที่หลายครั้งมีการฟ้องว่าผู้สร้างปัญญาประดิษฐ์ LLM ไปฝึกโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่บางครั้งผู้ฟ้องอาจจะไปฟ้องผู้ใช้โมเดลแทน กรณีแบบนี้กูเกิลจะเข้ามารับผิดชอบค่าเสียหายแทน
กรณีที่สองคือการสร้างเอาท์พุต กูเกิลมองว่าเจ้าของงานคือลูกค้าผู้เขียนพรอมพ์ลงไปยังปัญญาประดิษฐ์ หากงานที่เกิดขึ้นไปละเมิดลิขสิทธิ์คนอื่นกูเกิลก็จะเข้ามารับผิดชอบแทนเช่นกัน แต่มีเงื่อนไขว่าพรอมพ์นั้นต้องไม่ได้สร้างขึ้นโดยจงใจให้ไปละเมิดงานผู้อื่น
ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ออกคำตัดสิน จากกรณีที่สำนักงานลิขสิทธิ์สหรัฐฯ ถูกฟ้อง ที่ไม่รับจดลิขสิทธิ์คุ้มครองผลงานซึ่งสร้างด้วย AI โดยผู้ฟ้องคือ Stephen Thaler เจ้าของบริษัท Imagination Engines ผู้พัฒนาระบบ AI ชื่อ Creativity Machine ที่สร้างผลงานภาพวาดชื่อ A Recent Entrance to Paradise ซึ่ง Thaler ยื่นขอเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพวาดนี้เนื่องจากเป็นระบบ AI ที่เขาสร้างขึ้น
Sony Music Entertainment ยื่นฟ้องต่อศาลเมืองฮัมบูร์ประเทศเยอรมนีให้สั่งให้ Quad9 ผู้ให้บริการ DNS แบบไม่หวังผลกำไร บล็อคโดเมน Canna.to ที่เป็นเว็บแชร์ไฟล์ระเมิดลิขสิทธิ์ชื่อดัง ออกจากบริการทั้งโลก แม้ทาง Quad9 จะยอมบล็อคโดเมนนี้สำหรับผู้ใช้ในเยอรมนีแล้วก็ตาม
คดีนี้อยู่ระหว่างการต่อสู้กับ และทาง Quad9 บล็อคโดยคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว (injunction) โดยบล็อคจากข้อมูล geo IP เพื่อตรวจว่าผู้ใช้นั้นใช้งานจากเยอรมนี แต่ทาง Sony ก็ฟ้องว่าผู้ใช้ในเยอรมนียังเข้าถึงโดเมนนี้ได้ หากใช้ VPN และหากใช้อินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือบางราย
ทาง Quad9 พยายามต่อสู้ว่าตนเองเป็นเพียงบริการ DNS ไม่ได้โฮสต์คอนเทนต์ผิดลิขสิทธิ์ใดๆ ไว้กับตัวเอง
สำนักงานลิขสิทธิ์สหรัฐฯ ออกแนวทางจดลิขสิทธิ์งานจาก AI: แค่สั่ง prompt แล้วได้งานจดไม่ได้ ต้องทำเพิ่ม
สำนักงานลิขสิทธิ์สหรัฐฯ (US Copyright Office - USCO) ออกแนวทางถึงการจดทะเบียนลิขสิทธิ์งานสร้างสรรค์ที่เกิดจากปัญญาประดิษฐ์ หลังจากมีผู้ส่งงานเข้ามาจดทะเบียนโดยระบุว่าใช้ปัญญาประดิษฐ์สร้างงานอย่างเดียว หรือแม้แต่ระบุชื่อปัญญาประดิษฐ์เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ โดยระบุว่ากฎหมายลิขสิทธิ์นั้นมอบสิทธิ์ให้กับมนุษย์เท่านั้น และหากงานนั้นๆ ไม่ได้มีส่วนที่มนุษย์เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์มากพอก็ไม่สามารถจดลิขสิทธิ์ได้
Clarkesworld Magazine สำนักพิมพ์นิยายวิทยาศาสตร์ต้องหยุดรับงานเรื่องสั้นจากนักเขียนชั่วคราวพร้อมแบนนักเขียนกว่า 500 คน เพราะใช้ปัญญาประดิษฐ์ช่วยเขียน
Neil Clarke บรรณาธิการสำนักพิมพ์ระบุว่าได้แบนหนังสือมากขึ้น 38% ในเดือนนี้หลังมีสำนักข่าวหลายแห่งตีพิมพ์บทความที่แสดงความสงสัยว่ามีเรื่องสั้นจำนวนมากที่เขียนจากปัญญาประดิษฐ์โดยไม่ได้รับการเปิดเผยจากผู้ที่ส่งงานเข้ามาซึ่งผิดจากนโยบายสำนักพิมพ์ที่ห้ามไม่ให้ส่งเรื่องที่ใช้ AI ร่วมเขียนหรือใช้ AI ช่วยเขียน
ระบบตรวจสอบและป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์และเพลงของ Twitter ใช้งานไม่ได้ ทำให้มีผู้ใช้จำนวนมากโพสต์เธรดภาพยนตร์ทั้งเรื่องลงบนแพลตฟอร์ม ซึ่ง The Verge คาดว่าที่ระบบใช้ไม่ได้ส่วนหนึ่งมาจากที่มีพนักงานลาออกจากบริษัทหลายร้อยคน
มีผู้ใช้รายหนึ่งโพสต์เธรดภาพยนตร์ Avatar (2009) ในวันที่ 17 พฤศจิกายน จนมาถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน Twitter ก็ยังไม่ได้จัดการกับโพสต์ดังกล่าว รวมถึงมีผู้โพสต์ภาพยนตร์เรื่อง The Fast and the Furious: Tokyo Drift ด้วย ทั้งนี้ ขณะนี้ Avatar ได้ถูก Twitter ลบไปแล้วเพราะปัญหาด้านลิขสิทธิ์ ส่วนบัญชีที่โพสต์ The Fast and the Furious ถูกระงับชั่วคราวซึ่งไม่แน่ว่ามาจากเรื่องลิขสิทธิ์หรือไม่
ศิลปินชื่อ Kris Kashtanova เปิดเผยผ่านบัญชี Instagram ส่วนตัวว่าผลงานหนังสือนิยายประกอบภาพที่มีภาพที่สร้างจาก AI ของเขาได้รับการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ในสหรัฐฯ ในวันที่ 15 กันยายน
หนังสือนิยายมีชื่อว่า Zarya of the Dawn ซึ่ง Kashtanova สร้างภาพประกอบโดยใช้ Midjourney โดยได้ยื่นต่อสำนักงานลิขสิทธิ์ของสหรัฐฯ ว่าใช้ AI เพื่อช่วยสร้างภาพประกอบ (ไม่ได้สร้างภาพทั้งหมดด้วย AI) เขาเขียนเรื่องราวและสร้างสรรค์การจัดวางรูปแบบหนังสือด้วยตนเอง
Getty Images ตลาดซื้อขายภาพรายใหญ่ประกาศงดรับภาพที่สร้างจากปัญญาประดิษฐ์ เช่น Stable Diffusion, DALL‑E 2, MidJourney และภาพที่เคยส่งเข้ามาแล้วหากใช้ปัญญาประดิษฐ์ในกลุ่มนี้ก็จะถูกถอดออกด้วย โดยระบุเหตุผลว่าลิขสิทธิ์ของภาพจากปัญญาประดิษฐ์ยังไม่แน่ชัด อาจจะมีประเด็นสิทธิ์ในตัวภาพที่สร้างขึ้นและภาพที่ใช้ฝึกปัญญาประดิษฐ์
ภาพที่ใช้เครื่องมืออื่นๆ เช่น ซอฟต์แวร์เรนเดอร์สามมิติ หรือซอฟต์แวร์ตกแต่งภาพปกติ ยังคงสามารถใช้งานได้ต่อไป
- Read more about Getty Images ประกาศไม่รับภาพจากปัญญาประดิษฐ์ทั้งหมด
- 3 comments
- Log in or register to post comments
ในความเป็นจริงแล้วเพลงทุกเพลงบนโลกนี้มีลิขสิทธิ์คุ้มครอง แต่ผู้สร้างเพลงหลายรายก็เลือกอนุญาตให้ผู้อื่นใช้ผลงานของพวกเขาได้โดยไม่คิดเงิน และเพลงกลุ่มนี้ที่หลายคนเรียกกันง่ายๆ ว่า "เพลงไม่ติดลิขสิทธิ์" นี้เอง คือที่พึ่งหลักของผู้ผลิตวิดีโอจำนวนมากในการเลือกใช้งานกับวิดีโอของตนเพื่อให้สามารถผลิตรายได้บนแพลตฟอร์มอย่าง YouTube ได้
ก่อนหน้านี้การปล่อยคลิปวิดีโอที่มีเพลงซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่อนุญาตให้ใช้งานนั้น อาจทำให้คลิปดังกล่าวถูกบล็อกหรือถูกดูดเสียงหายไป หรือยิ่งกว่านั้นอาจกลายเป็นโดนลบหรือโดนโอนเงินที่ได้จากโฆษณาในคลิปนั้นทั้งหมดไปยังเจ้าของเพลง แต่ตอนนี้ YouTube ได้เพิ่มโปรแกรม Creator Music เป็นทางเลือกเพื่อแก้ปัญหานี้ให้กับผู้ผลิตวิดีโอแล้ว
บริษัทด้านการลงทุนบล็อกเชน Galaxy Digital ออกรายงานเกี่ยวกับโครงการภาพ NFT หลายราย โดยสาระสำคัญส่วนหนึ่งระบุว่ามีโครงการจำนวนมากที่ไม่ได้จัดการถ่ายโอนลิขสิทธิ์เหนือภาพเหล่านั้นให้กับเจ้าของ NFT อย่างถูกต้อง
โครงการที่ Galaxy Digital กล่าวถึงนี้เน้นไปที่โครงการใหญ่ๆ อาทิ Bored Ape Yacht Club (BAYC), VeeFriends, World of Women รวมทั้งแพลตฟอร์มอย่าง Decentraland และ Sandbox โดย Galaxy Digital ระบุว่าจาก 25 โครงการ NFT ใหญ่ๆ นั้น มีเพียงแค่รายเดียว คือ World of Women ที่พยายามจะจัดการถ่ายโอนความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เหนืองานศิลปะไปให้แก่ผู้ซื้อ NFT อย่างถูกต้องจริงจัง
โปรดิวเซอร์เพลง Jose “Chenel” Medina Teran และ Webster Batista ถูกตั้งข้อหารวม 30 ข้อหาหลังอ้างการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงลาตินอย่างไม่ถูกต้องและฉ้อโกงเงินค่าลิขสิทธิ์รวมมูลค่ากว่า 23 ล้านเหรียญสหรัฐมาเป็นเวลา 4 ปี นับตั้งแต่การก่อตั้งบริษัทฉ้อโกงที่ใช้ชื่อว่า MediaMuv ในปี 2560
หลักการทำงานของระบบการจัดการลิขสิทธิ์ และระบบ Content ID ของ YouTube คือ ผู้ใช้ที่ทาง YouTube อนุญาตเท่านั้นที่จะสามารถเข้าถึงได้ ทำให้ศิลปิน นักแต่งเพลงหรือผู้มีส่วนร่วมในการทำเพลงบางคนที่ไม่สามารถควบคุมการจัดการลิขสิทธิ์และเก็บเงินค่าลิขสิทธิ์ผลงานผ่านทางระบบของ YouTube ได้ด้วยตนเองหันไปพึ่งพาบริษัทที่สามเพื่อจัดการลิขสิทธิ์ผลงานเพลง
กูเกิลประกาศยอมเซ็นสัญญากับบริษัทสื่อในยุโรปกว่า 300 รายในเยอรมนี ฮังการี ฝรั่งเศส ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ เพื่อดึงเนื้อหาข่าวไปแสดงผลบน Google News และบริการค้นหาของกูเกิล
เหตุผลของเรื่องนี้เกิดจากกฎหมาย European Copyright Directive ที่ระบุว่า search engine มีสิทธิใช้งานแค่หัวข่าวและคำโปรย (snippet) เท่านั้น หากต้องการมากกว่านั้นจำเป็นต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งกูเกิลก็เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่าพร้อมจ่าย และเซ็นสัญญากับสื่อในเยอรมนีไปบ้างแล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม 2022
DuckDuckGo เว็บไซต์เสิร์ชเอนจินเน้นความเป็นส่วนตัวได้ถอดเว็บไซต์ปล่อยคอนเทนต์ละเมิดลิขสิทธิ์รวมถึงเว็บไซต์ดาวน์โหลดวิดีโอจาก YouTube หลายเว็บออกจากผลการค้นหา
TorrentFreak รายงานว่า เว็บไซต์ที่ถูกถอดจากผลการค้นหา DuckDuckGo มีทั้ง The Pirate Bay, 1337x, Fmovies และ youtube-mp3 โดยทางเว็บไซต์ระบุว่า DuckDuckGo ถอดเว็บเหล่านี้ออกจากผลการค้นหาทุกประเทศ
นอกจาก DuckDuckGo แล้ว Google เองก็ต้องลบผลการค้นหาเว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์เช่นกัน (แต่กรณี Google เป็นแค่บางประเทศ) และคาดกันว่า DuckDuckGo น่าจะโดนแจ้งเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์จึงทำให้ต้องนำเว็บไซต์กลุ่มนี้ออกจากผลการค้นหา
YouTube ออกรายงานเพื่อความโปร่งใสด้านลิขสิทธิ์ (Copyright Transparency Report) ซึ่งจะออกรายงานทุกครึ่งปี โดยรายงานนี้เป็นข้อมูลครึ่งแรกของปี 2021 เกี่ยวกับการลบหรือแก้ไขเนื้อหาที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ จนถึงความผิดพลาดของระบบที่มีการโต้แย้งกลับมา
ตัวเลขที่รายงานนั้นมีมากกว่า 722 ล้านวิดีโอ ที่ถูกตรวจจับอัตโนมัติผ่านระบบ Content ID คิดเป็นมากกว่า 99% ของปัญหาลิขสิทธิ์ และมีการร้องขอให้ลบเนื้อหามากกว่า 1.6 ล้านครั้ง ผ่าน Copyright Match Tool
เมื่อระบบตรวจจับอัตโนมัติก็อาจมีข้อผิดพลาดได้ YouTube บอกว่ามีการโต้แย้งกลับมาที่ 0.5% ของการตรวจจับผ่าน Content ID โดยในกลุ่มที่มีการโต้แย้งกลับมานั้น 60% ได้ข้อสรุปว่าฝ่ายร้องเรียนเป็นฝ่ายถูกต้อง (ระบบผิดพลาดจริง)
เกิดดราม่าเรื่องลิขสิทธิ์นิยายขึ้น เมื่อ กศน.อำเภอ และ กศน.จังหวัด ผู้ดูแลห้องสมุดประชาชนออนไลน์สแกนไฟล์นิยายขึ้นเว็บไซต์ห้องสมุดประชาชนออนไลน์ให้อ่านฟรี ระบุเป็นเจตนาดีเพื่อให้ประชาชนได้อ่านหนังสือฟรีในยุคโควิด จนนักเขียนนิยายเตรียมดำเนินการทางกฎหมายข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์
ล่าสุด ดร.วรัท พฤกษาทวีกุล เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)ให้สัมภาษณ์ว่าได้สั่งให้ลบไฟล์ดังกล่าวแล้ว ชี้เป็นความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
เครือข่าย StarHub ของสิงคโปร์ ออกแคมเปญนำกล่องทีวีเถื่อน มาแลกเป็นกล่อง StarHub TV+ ของแท้ ใช้ฟรีนาน 2 ปี มูลค่า 120 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 3 พันบาท)
ประเทศสิงคโปร์กำลังจะมีกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ (Copyright Act) อยู่ในกระบวนการของสภา กฎหมายฉบับนี้ระบุว่าการขายกล่องเถื่อนมีความผิดอาญา มีทั้งโทษปรับและจำคุก ทำให้ StarHub ชิงจังหวะออกโปรโมชั่นให้นำกล่องเถื่อนละเมิดลิขสิทธิ์ มาแลกเป็นกล่อง TV+ แบบไม่ต้องเสียค่าเช่านาน 2 ปี ระหว่างที่กฎหมายยังไม่ผ่าน โปรโมชั่นนี้มีถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2021
StarHub ระบุว่าจะนำกล่องเถื่อนที่นำมาแลก ถือเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่เข้ากระบวนการรีไซเคิลอย่างเหมาะสม