Oracle เปิดตัวฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล Exadata รุ่นใหม่ X11M (นับเป็นรุ่นที่ 13 ของ Exadata แล้ว) อัพเกรดซีพียูมาใช้ AMD Epyc รุ่นล่าสุด ประสิทธิภาพต่อคอร์สูงขึ้น 25% ใส่ได้สูงสุด 96 คอร์ต่อเซิร์ฟเวอร์, เครื่องแบบ on-premise ใส่แรมได้สูงสุด 512GB ต่อเซิร์ฟเวอร์ ถ้าเป็นเครื่องบนคลาวด์ใส่แรมได้สูงสุด 2800GB
Oracle Exadata 11M ยังมีรุ่นย่อย High Capacity (HC) ที่ใส่สตอเรจได้มากๆ สูงสุด 264TB ต่อเซิร์ฟเวอร์ (ฮาร์ดดิสก์ 22TB x 12 ตัว) และรุ่นย่อย Extreme Flash (EF) ปรับแต่งสตอเรจแฟลชให้ส่งข้อมูลได้เยอะขึ้น 2.2 เท่า บนสถาปัตยกรรม PCIe 5.0 รองรับสตอเรจรวม 122.88 TB ต่อเซิร์ฟเวอร์
Turso สตาร์ตอัพด้านฐานข้อมูล ผู้ดูแล โครงการ libSQL ที่เป็น fork ของ sqlite เพื่อแก้ปัญหา SQLite ไม่รับแพตช์ภายนอก ประกาศโครงการ Limbo ฐานข้อมูลใหม่เขียนด้วย Rust แต่ยังเข้ากันได้กับ SQLite
โครงการนี้เริ่มจากโครงการทดลองของ Pekka Enberg ทีมงานของ Turso โดยทดลองส่วนตัวอยู่ระยะหนึ่ง แม้ไม่ได้โปรโมทแต่กลับได้รับความสนใจ GitHub Star เกินพันและมีผู้ส่งแพตช์หลายสิบคน
ความยากของการพัฒนาคือ ชุดทดสอบ SQLite นั้นไม่เปิดให้คนภายนอก และต้องเสียค่าไลเซนส์เพื่อใช้งาน ทาง Turso เลือกใช้ Deterministic Simulation Testing (DST) เพื่อจำลองการทำงานและตรวจสอบว่าพฤติกรรมเหมือนกับ SQLite ดั้งเดิม
AWS เปิดตัวบริการฐานข้อมูลกระจายตัว Amazon Aurora DSQL ฐานข้อมูลกระจายตัว (distributed SQL database) เน้นความน่าเชื่อถือสูง กระจายตัวข้ามภูมิภาค (multi-region) ทำให้ความน่าจะเป็นที่ระบบจะล่มไปนั้นต่ำลงมาก แต่ยังได้ฟีเจอร์เหมือนฐานข้อมูลปกติโดยเฉพาะ consistency ที่มองเห็นข้อมูลตรงกันบันทึกข้อมูลโดยได้ฟีเจอร์ ACID ครบถ้วน
ไมโครซอฟท์เปิดตัวฐานข้อมูล SQL Server 2025 มีฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญคือรองรับ vector search สำหรับใช้ข้อมูลในงานด้าน AI
SQL Server 2025 เก็บข้อมูลเวกเตอร์และดัชนีด้วยเทคโนโลยี DiskANN สำหรับค้นหาความเชื่อมโยงของเวกเตอร์ได้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังรองรับการเชื่อมต่อกับโมเดล AI ภายนอกผ่าน T-SQL และ REST API นอกจากนี้ยังรองรับ GraphQL ผ่าน Data API Builder และรองรับ JSON แบบเนทีฟด้วย
Confluence เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่เรียกว่า Confluence database ซึ่งก็คือ... การเปลี่ยน Confluence ให้เป็นฐานข้อมูล
เดิมทีนั้น Confluence ถูกใช้เก็บข้อมูล-คลังความรู้ในรูปหน้าเอกสาร (page) ที่เก็บลงในฐานข้อมูลอีกต่อหนึ่งอยู่แล้ว แต่การมาถึงของฟีเจอร์ database ทำให้ข้อมูลที่เก็บใน Confluence ไม่จำเป็นต้องปรากฏตัวในรูปของ page เสมอไป (แยกส่วน data storage กับ presentation ออกจากกัน) เราสามารถนำข้อมูลจากภายนอก Confluence เช่น Jira, CSV, HTML เข้ามาเก็บลง Confluence database ได้โดยตรง แล้วเลือกนำเสนอข้อมูลเหล่านั้นเป็น page ในรูปแบบเทมเพลตที่แตกต่างกันได้
Prisma บริษัทสร้างเครื่องมือ PostgreSQL ที่มีตัวสำคัญคือ Prisma ORM ประกาศเปิดบริการคลาวด์ PostgreSQL ของตัวเองในชื่อ Prisma Postgres ที่มีฟีเจอร์สำคัญคือคิดราคาตามจำนวนครั้งที่คิวรี และปริมาณข้อมูลที่เก็บอยู่บนดิสก์เท่านั้น แถมระยะเวลารอคิวรีหากเป็นงานที่การใช้งานต่ำๆ ยังคงทำงานได้เร็วไม่ต้องรอ cold start
Cloudflare รายงานถึงการอัพเกรดฐานข้อมูลสำคัญของบริษัท คือฐานข้อมูล DNS ที่ทางบริษัทเป็น Authoritive DNS ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คิดเป็น 14.3% (ที่สองคือ GoDaddy 10.3%) ฐานข้อมูลนี้เก็บ zone file ที่ระบุไอพีต่างๆ โดยเปิดให้ใช้งานผ่านทาง DNS Records API และซิงก์ออกไปยังฐานข้อมูล key-value ทั่วโลกเพื่อให้คนทั่วไปมาคิวรีอีกครั้ง
SQLite ฐานข้อมูลขนาดเล็กแบบทำงานเครื่องเดียวกับแอปพลิเคชั่น ออกเวอร์ชั่น 3.47.0 ปรับแก้บั๊กเล็กน้อยจำนวนมาก แต่เพิ่มฟีเจอร์สำคัญคือคำสั่ง sqlite3_rsync
คำสั่ง rsync
เวอร์ชั่นพิเศษที่เข้าใจ transaction ของฐานข้อมูลเพื่อให้สามารถซิงก์ฐานข้อมูลไปยังเครื่องสำรองได้
คำสั่ง rsync
นั้นอาศัยการเทียบค่าแฮชข้อมูลทีละบล็อค หากพบว่ามีบล็อคใดที่ปลายทางมีอยู่แล้วก็ไม่ต้องส่งข้อมูลไปใหม่ ทำให้การซิงก์ไฟล์ขนาดใหญ่แต่มีความเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย (เช่นฐานข้อมูลที่อาจจะเก็บข้อมูลมานาน แต่แต่ละวันกลับมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก) ได้เปรียบมาก อัตราการส่งข้อมูลจะลดลงมาก หากไม่มีความเปลี่ยนแปลงเลยจะใช้แบนวิดท์เพียง 0.5% ของข้อมูลเต็มเท่านั้น
PostgreSQL ออกเวอร์ชั่น 17 ตามรอบปีโดยปรับปรุงย่อยๆ หลายอย่าง ฟีเจอร์ที่ชัดเจนที่สุดสำหรับคนใช้งานคือความสามารถในการสำรองข้อมูลแบบ incremental ในตัว ทำให้กระบวนการสำรองข้อมูลทำงานได้เร็วขึ้นมาก ส่วนอื่นๆ นั้นเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพ และเพิ่มคำสั่งบางส่วน
ฟีเจอร์สำคัญในรอบนี้ เช่น
Cloudflare เปิดบริการ SQLite-in-DO บริการฐานข้อมูลตัวที่สองของบริษัท ถัดจาก D1 ที่ใช้ SQLite เหมือนกัน แต่รอบนี้สร้างบริการขึ้นจาก Durable Objects (DO) ที่ปกติแล้วใช้เป็นสตอเรจเก็บค่า key/value เท่านั้น
ตัว SQLite จะรันบนเซิร์ฟเวอร์ DO โดยตรง ไลบรารีที่เรียกใช้ก็ออกแบบให้เรียกแบบ synchronous โดย Cloudflare พยายามออปติไมซ์ latency ในการเรียกใช้งานให้ต่ำ
- Read more about Cloudflare เปิดบริการ SQLite-in-DO ฐานข้อมูลสำหรับ Workers
- Log in or register to post comments
ดิสโทรลินุกซ์หลายตัวย้ายฐานข้อมูลดีฟอลต์จาก MySQL มาเป็น MariaDB กันนานพอสมควรแล้ว เช่น Fedora เริ่มตั้งแต่ปี 2013 , RHEL ปี 2014 , Debian ในปี 2017 แต่ดิสโทรยอดนิยมอย่าง Ubuntu ยังไม่ยอมเปลี่ยนมาใช้ MariaDB แทนสักที
ServiceNow เปิดตัว Now Platform เวอร์ชั่น Xanadu อัพเกรดฟีเจอร์ด้านปัญญาประดิษฐ์จำนวนมาก และยังเปลี่ยนโครงสร้างภายใน จากเดิมเป็น MariaDB มาใช้ RaptorDB ที่แยกโครงการมาจาก PostgreSQL
ฟีเจอร์ด้าน AI ที่เพิ่มเข้ามา เช่น
Hydra สตาร์ตอัพด้าน data processing พัฒนาส่วนขยาย pg_duckdb ที่ฝัง DuckDB เข้าไปอยู่ใน PostgreSQL ในตัว ทำให้สามารถคิวรีข้อมูลในไฟล์ parquet หรือ CSV จากสตอเรจเช่น S3, R2, หรือ Google Cloud Storage ได้โดยตรง
โดยปกติ DuckDB ก็สามารถคิวรีด้วย SQL ได้อยู่แล้ว แต่ก็มีความต่างจาก PostgreSQL อยู่ส่วนหนึ่ง การนำข้อมูลเข้ามาคิวรีใน PostgreSQL จะทำให้นักพัฒนาสามารถใช้คิวรีเดิมๆ ได้ ส่วนขยายจะพยายามใช้ DuckDB คิวรีก่อน และหากใช้งานไม่ได้จะหันไปใช้ PostgreSQL คิวรีแทน แผนการพัฒนาส่วนขยายนี้จะพยายามรองรับชนิดข้อมูลทุกชนิดที่ PostgreSQL รองรับ
CockroachDB ระบบฐานข้อมูลกระจายตัว ประกาศเปลี่ยนไลเซนส์เป็นแบบเปิดซอร์สให้ตรวจสอบเท่านั้น (source available) หลังจากก่อนหน้านี้เคยเปิดให้ใช้งานได้ฟรีในแบบ Business Source License (BuSL) เมื่อปี 2019 และเคยเป็นโอเพนซอร์สเต็มรูปแบบสัญญาอนุญาต Apache 2.0 ในช่วงต้นๆ ของโครงการ
โครงการ PGlite ฐานข้อมูล PostgreSQL ตัวเต็มที่รันบน PostgreSQL ออกเวอร์ชั่น 0.2 พร้อมกับความสามารถในการโหลดส่วนขยายเพิ่มเติม เช่น pgvector สำหรับการเก็บข้อมูลในกลุ่มงานปัญญาประดิษฐ์
โครงการนี้พัฒนาโดย ElectricSQL ผู้พัฒนาบริการซิงก์ข้อมูลข้ามฐานข้อมูล PostgreSQL จึงมีฟีเจอร์ในการซิงก์ข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์เข้าสู่เบราว์เซอร์ด้วย การเรียกใช้งานเบื้องต้นนั้นมองเห็นเป็นไลบรารีไคลเอนต์อย่างเดียว แต่สามารถใช้งานใส่ข้อมูลและคิวรีได้ทันที แม้ไม่ได้คอนฟิกการเชื่อมต่อเซิร์ฟเวอร์ใดๆ เลยก็ตาม หากต้องการเก็บข้อมูลระยะยาวสามารถใช้ IndexedDB ในเบราว์เซอร์ก็ได้
Google Bigtable เป็นฐานข้อมูลแบบ NoSQL ของ Google Cloud ที่ เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2015 และปัจจุบันมีฐานลูกค้าจำนวนมาก ตัวมันเองยังเป็นแรงบันดาลใจให้ฐานข้อมูลโอเพนซอร์สตัวอื่นๆ อย่าง HBase และ Cassandra ด้วย
ล่าสุดกูเกิลพัฒนาให้ Bigtable รองรับการคิวรี่ด้วย GoogleSQL ซึ่งเป็นภาษา SQL เวอร์ชันที่ใช้ในบริการตัวอื่นๆ เช่น BigQuery และ Cloud Spanner เพื่อให้ผู้ใช้สามารถคิวรีข้อมูลจาก Bigtable ได้ด้วยภาษา SQL ที่คุ้นเคย (GoogleSQL เข้ากันได้กับ ANSI SQL ที่ใช้กันทั่วไป)
กูเกิลมี ฐานข้อมูลที่กระจายตัวไปยังศูนย์ข้อมูลทั่วโลกชื่อ Cloud Spanner เปิดบริการในปี 2017 แนวคิดของมันคือการทำสำเนาฐานข้อมูลไว้ทั่วโลก สำหรับองค์กรระดับโลกที่มีลูกค้ากระจายตัวอยู่ในประเทศต่างๆ ต้องการเสถียรภาพสูง รองรับการขยายตัวได้ดีกว่า
แต่ Spanner ก็มีข้อจำกัดตรงที่หากข้อมูลมีขนาดใหญ่มากๆ การสำเนาข้อมูลไปทั่วโลกก็สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ล่าสุดกูเกิลจึงเพิ่มฟีเจอร์ geo-partitioning อนุญาตให้ตัดแบ่งบางส่วนของตารางในฐานข้อมูล ไปวางไว้บนศูนย์ข้อมูลบางแห่งได้
เมื่อต้นเดือนนี้ Oracle ออก MySQL 9.0 มาแบบเงียบๆ โดยเรียกว่าเป็น "Innovation Release" ที่เน้นฟีเจอร์ใหม่ ยังไม่เน้นการใช้งานในระดับโปรดักชัน และออกมาขนานกับ MySQL 8.0.38 และ 8.4.1 LTS ที่ใช้งานอยู่เดิม
ฟีเจอร์ใหม่ของ MySQL 9.0 เองก็มีไม่เยอะนัก มีเพียงการแก้ไขบั๊กเล็กๆ น้อยๆ หลายจุด ฟีเจอร์เด่นที่เพิ่มเข้ามาอยู่ในเวอร์ชัน HeatWave ที่ต้องจ่ายเงินเท่านั้น เช่น การรองรับตัวแปรประเภท Vector และ การเขียนรูทีนด้วย JavaScript Stored Programs
Oskar Dudycz นักพัฒนาด้านผู้สนับสนุนแนวทาง Event-Driven Architecture เปิดตัวไลบรารี Pongo สำหรับการจำลอง MongoDB โดยเชื่อมต่อเข้าไปยัง PostgreSQL แทน
แนวทางการใช้งาน PostgreSQL มาแทนที่ MongoDB นั้นมีมานานแล้ว เช่น FerretDB ที่จำลองการทำงานของ MongoDB ระดับ wire-protocol ทำให้แอปพลิเคชั่นสามารถเชื่อมต่อกับ FerretDB โดยนึกว่าเป็น MongoDB ได้ แต่เอนจินเบื้องหลังจริงๆ เป็น PostgreSQL แต่แนวทางของ Pongo ต่างออกไป โดยไลบรารีจะเป็นฝั่งไคลเอนต์ที่จำลอง API ให้เหมือนไลบรารี MongoDB ในภาษาจาวาสคริปต์ขึ้นมา แต่การเชื่อมต่อไปยังฐานข้อมูลนั้นสามารถเชื่อมต่อไปยัง PostgreSQL เดิมๆ ไม่ต้องการแก้ไขอะไร
OpenAI ประกาศดีลซื้อกิจการบริษัทอื่นเป็นครั้งแรก โดยจะซื้อกิจการ Rocksetสตาร์ทอัปผู้พัฒนาฐานข้อมูล ที่มีจุดขายคือสามารถทำ Index ได้แบบเรียลไทม์ในสเกลระดับบนคลาวด์ รองรับการค้นหาวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ได้
OpenAI บอกว่าเทคโนโลยีการจัดการข้อมูลของ Rockset จะนำมาเสริมกับโครงสร้างพื้นฐานของทุกผลิตภัณฑ์ใน OpenAI โดยพนักงานส่วนหนึ่งของ Rockset จะเข้ามาร่วมทีมกับ OpenAI
ดีลดังกล่าวไม่มีการเปิดเผยมูลค่า โดยที่ผ่านมา Rockset ได้รับเงินจากนักลงทุนไปแล้วรวม 105 ล้านดอลลาร์
ParadeDB ผู้พัฒนา PostgreSQL เวอร์ชั่นสำหรับงานวิเคราะห์ข้อมูล เปิดตัว pg_lakehouse ที่เพิ่มฟีเจอร์ทำให้สามารถใช้งาน PostgreSQL แทนที่ฐานข้อมูลเฉพาะทางอย่าง DuckDB
ฟีเจอร์สำคัญของ pg_lakehouse คือการดึงข้อมูลภายนอกออกมาเป็นเหมือนตารางใน PostgreSQL โดยข้อมูลที่ดึงเข้ามาใส่ไปยัง Apache DataFusion ที่เป็นเอนจินการคิวรีแบบ analytics ประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ DuckDB โดยก่อนหน้านี้ก็มีส่วนขยายอื่นคล้ายกัน แต่ pg_lakehouse ใช้ Apache OpenDAL สำหรับแปลงข้อมูลทำให้รองรับชนิดไฟล์จำนวนมาก หากการคิวรีใดไม่สามารถใช้ DataFusion ได้ก็จะถอยไปใช้เอนจิน PostgreSQL แทน
Oracle ประกาศออกฐานข้อมูล Oracle Database รุ่นเสถียรตัวใหม่ ที่เรียกเลขเวอร์ชันว่า... 23ai
สิ่งที่น่าสนใจคือ Oracle เปิดตัวฐานข้อมูลเวอร์ชันนี้รุ่นทดสอบมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยเรียกมันว่า Oracle Database 23c ซึ่งตัว c ห้อยท้ายหมายถึงคำว่า "cloud" และใช้มายาวนานตั้งแต่ Oracle Database 12c ที่เปิดตัวในปี 2012
ฐานข้อมูลของ Oracle เริ่มใช้เลขเวอร์ชันแบบมีตัวห้อยครั้งแรกใน Oracle 8i (i = internet) แล้วขยับมาเป็น Oracle 10g (g = grid) และ Oracle 12c (c = cloud) สะท้อนถึงเทคโนโลยีการใช้งานฐานข้อมูลในแต่ละยุคสมัย
D. Richard Hipp ผู้สร้าง SQLite ไปออกรายการ The Stack Overflow Podcast เล่าถึงช่วงเริ่มต้นของโครงการ โดยระบุว่าเขาสร้าง sqlite เพราะไปรับงานแล้วมีปัญหาว่าฐานข้อมูล Informix ไม่รันตอนเครื่องบูต ทำให้แอปมีปัญหาแม้เขาจะไม่ได้เป็นคนรับผิดชอบฐานข้อมูลก็ตาม สุดท้ายจึงตัดสินใจสร้างฐานข้อมูลเพื่อใช้งานในโครงการของตัวเองเพราะคิดว่าไม่น่ายากมาก โดยตอนนั้นเขาไม่เคยเรียนวิชาฐานข้อมูลมาก่อน เพียงแค่ใช้ฐานข้อมูลเวลารับทำงานโปรเจคต่างๆ เท่านั้น
ISO ออกมาตรฐาน ISO/IEC 39075:2024 มาตรฐานภาษา GQL สำหรับคิวรีฐานข้อมูลกราฟเมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยตัวภาษาเป็นส่วนขยายออกมาจากมาตรฐาน SQL ที่นิยามชนิดข้อมูลต่างๆ เอาไว้อยู่แล้ว ในมาตรฐาน GQL จะเพิ่มนิยามของการประมวลผล vertex และ edge ซึ่งเป็นแนวทางการมองข้อมูลของฐานข้อมูลกราฟ
ภายในตัวมาตรฐาน จะแยกรูปแบบการคิวรีออกเป็นสองแบบ คือ Cypher ที่นำมาจาก Neo4j และ SQL ที่นำทีมโดย TigerGraph แต่โครงสร้างภายในคล้ายกัน ต่างกันเพียง syntax เท่านั้น
แนวทางของ GQL จะสามารถคิวรีข้อมูลในกราฟได้ทั้งจาก ชนิดของ vertex และข้อมูลภายใน แล้วหาว่ามันเชื่อมโยงไปหา vertex อื่นๆ ด้วย edge ชนิดใดโดยอาศัยระบบ pattern matching ผู้ใช้สามารถคิวรีการเชื่อมโยงซ้อนกันหลายๆ ชั้นได้ในคิวรีครั้งเดียว
- Read more about ISO ออกมาตรฐาน GQL สำหรับคิวรีฐานข้อมูลกราฟ
- 3 comments
- Log in or register to post comments
Infisical โครงการแพลตฟอร์มเก็บความลับ (secret management platform) แบบโอเพนซอร์ส รายงานถึงการย้ายระบบฐานข้อมูลจาก MongoDB มาเป็น PostgreSQL ว่าประสบความสำเร็จดีและทำให้การเซ็ตอัพโครงการใช้งานเองทำได้ง่ายขึ้น
ทางโครงการระบุว่าเลือก MongoDB พร้อมกับ Mongoose ORM เพราะทีมงานเคยชินกับ stack นี้ที่สุด และตอนแรกไม่ได้คิดว่าจะมีผู้ใช้พยายามติดตั้งแพลตฟอร์มใช้งานเองมากนัก แต่หลังจากโครงการได้รับความนิยม MongoDB กลับเป็นคอขวดเนื่องจากฟีเจอร์สำคัญคือการทำ transaction จำเป็นต้องติดตั้งแบบคลัสเตอร์แบบโปรดักชั่นและคนที่เชี่ยวชาญการเซ็ตอัพ MongoDB ก็หาได้ยากกว่า ขณะที่ฝั่งนักพัฒนาเองหลายครั้งก็อยากได้ฟีเจอร์ฝั่ง SQL เช่น CASCADE ที่สามารถลบข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกไปพร้อมกันทีเดียวได้