Ruby on Rails เว็บเฟรมเวิร์คที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในงานสาย startup เปิดตัวเวอร์ชัน 8.0.0 Beta 1 เป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2567 โดยมีสโลแกนใหม่ของการอัปเดตครั้งนี้ว่าเพื่อการ deploy แอป โดยไม่ต้องใช้ PaaS (Platform as a Service)
ใน Rails 8.0.0 Beta 1 มีฟีเจอร์สำคัญดังนี้:
Ruby on Rails เว็บเฟรมเวิร์คที่ได้รับความนิยมค่อนข้างสูงในงานสาย start up ขณะนี้ได้พัฒนามาถึงเวอร์ชั่น 7.1.2 ได้เผยแพร่ milestone สำหรับการอัพเกรดใหญ่เป็นเวอร์ชั่น 8.0.0 ผ่าน github ของโครงการ โดยมีรายละเอียดของ feature เพิ่มที่น่าสนใจดังนี้
- Read more about Ruby on Rails เผยแพร่แผนการออกเวอร์ชัน 8.0.0
- Log in or register to post comments
ตามธรรมเนียมปฏิบัติของชุมชนนักพัฒนา Ruby ที่จะออก update ทุกวันคริสต์มาสของทุกปี คริสต์มาสปีนี้เวอร์ชัน Ruby 3.3.0 ก็ได้ถูกประกาศหลุดจากสถานะ Release Candidate (RC) เป็นพร้อมใช้งาน โดยในรอบปีที่ผ่านมา แนวทางการพัฒนาของ Ruby ยังมุ่งไปในทางเพื่อเพิ่ม performance เป็นหลัก ซึ่งในเวอร์ชัน 3.3.0 นี้เอง ก็ได้มีการเพิ่มและปรับปรุงที่น่าสนใจดังนี้
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2565 กลุ่มผู้พัฒนาได้ประกาศปล่อยภาษา Ruby เวอร์ชั่น 3.2.0 ตามธรรมเนียมของชุมชนผู้พัฒนาที่จะออกอัพเดตใหญ่ทุกวันคริสต์มาส
ไฮไลท์ของการอัพเดตครั้งนี้อยู่ที่การเริ่มรองรับการพอร์ตไป WebAssembly ผ่าน WebAssembly System Interface (WASI) ซึ่งจะทำให้โค้ดของ CRuby (ภาษา Ruby ที่ใช้ C เป็น interpreter) สามารถเรียกใช้งานได้บนเว็บเบราเซอร์หรือบนแพลตฟอร์มที่รองรับ WebAssembly และประกาศให้ YJIT ที่เป็น JIT(Just-In-Time) compiler ใหม่ให้อยู่ในสถานะพร้อมใช้บน production จากเดิมที่อยู่ในสถานะ experimental
บริษัทเอกชน 8 บริษัทที่ใช้งาน Ruby on Rails เป็นหลัก ได้แก่ Cookpad, Doximity, Fleetio, GitHub, Intercom, Procore, Shopify, และ 37signals ประกาศจัดตั้งมูลนิธิไม่แสวงผลกำไร The Rails Foundation โดยให้คำอธิบายไว้ว่ามูลนิธินี้จะมุ่งเน้นพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อม (ecosystem) โดยรวมให้ดีขึ้นทั้งหมดและดึงดูดนักพัฒนารายใหม่ให้เข้ามาใช้มากขึ้น
มูลนิธิจะได้รับเงินทุนตั้งต้น (seed funding) 1,000,000 USD จากทั้ง 8 บริษัทและค่าบำรุงรายปีรวมกันปีล่ะ 400,000 USD ในปีถัดไปทุกปี มีตัวแทนแต่ล่ะบริษัทนั่งเป็นบอร์ดบริหาร และมี David Heinemeier Hansson ผู้สร้าง Ruby on Rails จาก 37signals เป็นประธานบอร์ด
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและสแตนฟอร์ด ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาโมเดลสำหรับการวินิฉัยฟิล์ม X-ray แบบใหม่ในชื่อ CheXZero (คาดว่าน่าจะจงใจให้ล้อกับชื่อ CheXNet ของสแตนฟอร์ด) โดยให้ AI สามารถเรียนรู้จากบันทึกคำวินิจฉัยของแพทย์ในเวชระเบียนโดยตรง
การพัฒนาโมเดลลักษณะนี้ เดิมที AI จำเป็นต้องเรียนรู้จากข้อมูลที่แพทย์ได้ทำการ label ไว้เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการให้ AI เรียนรู้การวินิจฉัย 10,000 ภาพ นักวิจัยต้องได้รับความร่วมมือจากแพทย์รังสีในการอ่านฟิล์มและบันทึก (label) โรคที่ตรวจพบทีละโรคในแต่ละภาพ
หลังจากที่ Salvatore Sanfilippo ( @antirez ) ผู้สร้าง Redis ได้ประกาศ ลาออกจากการเป็นผู้ดูแลเมื่อปี 2020 และจากที่ได้ประกาศว่าเค้าได้เริ่มเขียนนิยาย Sci-Fi หลังจากหยุดเขียนโปรแกรม ในที่สุดผลงานนิยายเรื่องแรกของเค้าก็ได้รับการวางขายบน Amazon แล้ว ต้นฉบับที่วางขายตอนนี้มีเพียงภาษาอิตาลี โดยฉบับภาษาอังกฤษกำลังอยู่ระหว่างการแปลและคาดว่าจะเสร็จในช่วงเดือนกันยายนที่จะถึง
Thalmic Labs เจ้าของผลิตภัณฑ์ MYO ได้ประกาศข้อความลงบนเว็บไซต์ระบุว่าตอนนี้ Thalmic Labs ได้ถูกซื้อโดย Social network ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีการบอกใบ้ถึง Social network ที่ว่าด้วยข้อความต่างๆเช่น "add a friend", "like" และมีภาพที่สื่อบอกใบ้เป็นนัยๆ โดยสามารถดูได้จาก ที่มา
มูลค่าของการเข้าซื้อในครั้งนี้เท่ากับ 2,200 ล้าน USD โดยคิดจากอัตรา price-to-gesture ซึ่งจนถึงวันนี้ MYO สามารถจับ gesture ได้แล้วกว่า 11.3 ล้านท่าด้วยกัน
โครงการ Red Hat และ CentOS ได้ประกาศความร่วมมือระหว่างกันในการสร้าง new CentOS เพื่อให้มีความสามารถเพียงพอต่อการรองรับการพัฒนา Open Source ยุคถัดไป
ความร่วมมือครั้งนี้ Red Hat จะนำทรัพยากรที่มีเข้ามาช่วยในการพัฒนา CentOS ซึ่งหลังจากประกาศครั้งนี้ หัวหน้าโครงการและสมาชิกหลักของโครงการ CentOS จะเข้าไปทำงานให้ Red Hat แต่ว่าตัวโครงการ CentOS จะยังไม่เข้าไปรวมกับ RHEL แบบเต็มตัว โดยยังมีส่วนสำคัญที่แยกจากกันอยู่ ซึ่งผู้ใช้ CentOS สามารถสบายใจได้ว่า CentOS จะไม่หายไปไหน
ข่าวดีสำหรับผู้ที่ต้องการ Cloud platform ในประเทศจีน ตอนนี้ AWS กำลังจะเปิดศูนย์บริการแห่งใหม่ที่เมืองปักกิ่ง ประเทศจีน เพื่อรองรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าในประเทศจีนโดยเฉพาะ ซึ่งมีกำหนดจะเปิดให้บริการภายในต้นปี 2014 โดยตอนแรกจะรองรับลูกค้าในวงจำกัดเท่านั้น
แต่ว่าการใช้บริการภายในประเทศจีนจะมีเงื่อนไขการให้บริการที่แตกต่างจากภูมิภาคอื่น ซึ่งทำให้ผู้ที่ต้องการใช้บริการจำเป็นต้องสร้าง account สำหรับใช้บริการในประเทศจีนโดยเฉพาะ
- Read more about AWS กำลังจะเปิดให้บริการภายในประเทศจีน
- Log in or register to post comments
Amazon Cloudfront คือผู้ให้บริการ Content Delivery Service รายใหญ่รายหนึ่งที่มีสตาร์ทอัพมากมายใช้บริการ เพื่อช่วยให้ฝั่งผู้ใช้สามารถเข้าถึง content จากภูมิภาคต่างๆได้เร็วขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น การที่เราสามารถดาวน์โหลดรูปภาพ Instagram จากประเทศไทยผ่าน Amazon Cloudfront ของสิงคโปร์ ซึ่งทำให้เร็วกว่าการดาวน์โหลดจากเซิฟเวอร์ในอเมริกาโดยตรง เป็นต้น
โดยในวันนี้ Amazon Cloudfront ได้ประกาศรองรับ HTTP method เพิ่มเติม คือ POST, PUT, DELETE, OPTIONS และ PATCH ซึ่งจะทำให้สามารถใช้พัฒนาประสิทธิภาพของเว็บไซต์ที่มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้หลายรูปแบบซึ่งรวมถึงการอัพโหลดผ่าน Amazon Cloudfront ได้โดยตรง จากแต่เดิมที่ต้องวางเซิฟเวอร์ไว้ตามภูมิภาคต่างๆ เองเพื่อรองรับการอัพโหลดจากผู้ใช้
Google Web Designer คือ เครื่องมือช่วยการพัฒนา content ของเว็บไซต์ด้วยเทคโนโลยี HTML5 ซึ่งตัวแอพพลิเคชันเองก็ทำมาจาก HTML5 เช่นเดียวกัน เปิดให้ดาวน์โหลดใช้ได้ในสองระบบปฏิบัติการคือ Window, OSX ( System Requirements )
Google Web Designer มี interface ที่คล้ายกับโปรแกรมเครื่องมือนักออกแบบทั่วไป ซึ่งจุดประสงค์ของเครื่องมือนี้ก็เพื่อทำให้การพัฒนา content และ ads ในเว็บไซต์สามารถพัฒนาได้ง่ายขึ้นโดยนักออกแบบที่ไม่มีความรู้ด้านการเขียนเว็บมากนัก
Braintree เป็นบริษัทจากชิคาโกที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2007 โดยผลิตภัณฑ์หลักคือการให้บริการประมวลผลบัตรเครดิตผ่านเว็บไซต์และ API ซึ่งมีสตาร์ทอัพที่เป็นที่รู้จักกันดีหลายบริษัทใช้บริการอยู่ เช่น Airbnb, Github, LivingSocial, Rovio เป็นต้น ซึ่งรวมทั้งหมดแล้วปัจจุบันมีบริษัทที่ใช้บริการจาก Braintree กว่า 4000 ราย โดยปัจจุบัน Braintree มีภาพรวมการใช้บริการต่อปีอยู่ที่ 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยคิดเป็นการใช้บริการผ่าน mobile กว่า 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ