The Royal Society เผยแพร่บทสัมภาษณ์เฌอปราง อารีย์กุล กัปตันวง BNK48 ในฐานะผู้ร่วมเขียนในชื่อที่สามของรายงานวิจัย "A DFT investigation of the blue bottle experiment: E ∘ half-cell analysis of autoxidation catalysed by redox indicators" (doi: 10.1098/rsos.170708 ) และยังเป็นนักร้องไปพร้อมกัน
บทส้มภาษณ์พูดถึงตัวงานวิจัยที่สำรวจกลไกใน การทดลอง blue bottle และเสนอสูตรเคมีของกระบวนการในการทดลอง โดยรายงานวิจัยนี้เป็นชิ้นที่สองของเธอในการเรียนที่มหาวิทยาลัยมหิดล และยังต้องทำต่อเนื่องอีกชิ้นเพื่อจบการศึกษา
คำถามต่อมาเป็นเรื่องของอนาคตด้านการงาน เฌอปราง ระบุว่าเธอแม้เธอจะสนใจและมีความสุขกับการทำโครงการวิทยาศาสตร์ แต่เธอก็อาจจะไม่ใช่คนที่คิดทฤษฎีใหม่ๆ ขึ้นมาด้วยตัวเอง เธอจึงอยากเป็นคนที่ทำความเข้าใจกับการทำงาน, อธิบายให้คนอื่นๆ เข้าใจ, และดูแลจัดการโครงการเหล่านั้น นอกจากนี้ด้วยอาชีพด้านบันเทิงของเธอยังทำให้เธอมีโอกาสจะสนับสนุนให้คนทั่วไปมาสนใจวิทยาศาสตร์มากขึ้น
ความฝันอีกอย่างของเธอคืออยากเดินทางออกนอกโลกและมองกลับเข้ายังโลกด้วยตาของเธอเอง
บทสัมภาษณ์เผยแพร่บท The Royal Society - Publishing Blog สัมภาษณ์โดย Andrew Dunn บรรณาธิการอาวุโสของวารสาร Royal Society Open Science ที่รายงานวิจัยที่เฌอปรางร่วมเขียนนั่นเอง ขณะที่เว็บวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ แปลบทสัมภาษณ์เป็นภาษาไทยไว้แล้ว
ที่มา - The Royal Society
Comments
ให้วิจารณ์ตรงๆ - เป็นงานวิจัยที่ nonsense ล่องลอย
และไม่มีจุดหมายในการใช้งาน / problem solving เลย
งานวิจัยเด็ก ม.6 หลายๆที่ยังน่าสนใจกว่านี้เยอะ
ถ้างานวิจัยต้อง problem solving อย่างเดียว การวิจัยทางด้านอื่นๆที่คิดค้นขึ้นก็คงล่อยลอยกันเกลื่อนโลกแล้วครับ
ผมรายงานถึงการสัมภาษณ์ไม่ได้ยกมาทั้งหมดน่ะครับ
ถ้าสามารถกดลิงก์ไปได้จะพบบทสัมภาษณ์เต็ม
lewcpe.com , @wasonliw
ขอแทรกบทสัมภาษณ์เพิ่มเติมนิดนึงครับ: ในบทความกล่าวถึงกลไกที่เป็นไปได้ของปฏิกิริยานี้ เสนอส่วนผสมอื่นที่สามารถนำมาใช้ทำการทดลองนี้ได้ และยังรายงานถึงการเกิดลวดลายทางเคมีที่ซับซ้อนในสูตรใหม่ที่เสนอขึ้นอีกด้วย แม้การทดลองขวดสีน้ำเงินจะเผยแพร่ครั้งแรกในบริบทของวิชาเคมี บทความวิจัยนี้กล่าวถึงการทดลองในบริบทที่กว้างกว่านั้น เช่น ปฏิกิริยานี้อาจถูกพัฒนาเป็นเครื่องมือตรวจวัดออกซิเจน หรือใช้เพื่อจำลองลวดลายทัวริงที่พบในธรรมชาติในหลายรูปแบบ ตั้งแต่ลายจุดหรือลายทางบนตัวสัตว์ จนถึงวงกลมนางฟ้าซึ่งเป็นรูปแบบช่องว่างพืชพรรณในทะเลทรายของประเทศออสเตรเลีย
คุณ lew มีความอดทนมาก ๆ เลยนะครับ user นี้โผล่มาแรง ๆ หลายครั้งแล้ว ยังคงอยู่ได้เรื่อย ๆ เลย
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
นั่นสิ เป็นเว็บอื่นนี่เด้งไปแล้วแหงเลย
เหรอ มีคนไม่เห็นด้วยเราก็บอกเหตุผลเราไปสิ จะเชื่อไม่เชื่อก็แล้วแต่ ทำทางด้านวิทยาศาสตร์ต้องใจกว้างหน่อย คนเห็นต่างไม่เห็นจะเป็นไร
ผมไม่เคยมีปัญหากับคนเห็นต่างครับ ผมชอบด้วยซ้ำไป ถกกันสนุกดี ในเว็บนี้ก็มีเห็นต่างแทบทุกข่าว แต่การเห็นต่างไม่จำเป็นต้องถ่อย เถื่อน ไม่สุภาพ ตั้งธงแล้ว ใช้วาจาที่ดูปิดกั้นตัวเองไม่รับฟังคนอื่นแล้ว ถ้าในชีวิตจริงผมเจอแบบนี้ ผมเลือกที่จะไม่ยุ่งครับ คุยต่อก็เถียงกันแบบไม่รู้จบเปล่า ๆ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
มันไม่มีจุดหมายในการใช้งาน หรือคุณไม่รู้จุดหมายในการใช้งานครับ? ไม่เหมือนกันนะครับ
ถ้าคุณไม่รู้จุดหมายในการใช้งาน ผมว่ามีอีกหลายคนที่ยินดีที่จะอธิบายให้คุณฟังนะครับ แต่ต้องไม่ใช่เริ่มการสนทนาด้วยการโจมตีแบบนี้ครับ
ม.ปลาย มหาลัย ผมยัง เล่นเกมส์ ดูหนังให้หมดไปวันๆอยู่เลยฮะ ถ้าเอาเน้นสาระนี่ งานวิจัยต้องระดับวิจัยหลุมดำให้ออก เก่งกว่าสตีเว่น เลยหรือเปล่าหล่ะครับถึงจะน่าสนใจครับ ?
ขออนุญาตวิจารณ์บุคลิกส่งตัวของคุณ coupen นะครับ (แต่ถึงไม่อนุญาต ผมก็จะวิจารณ์ไว้ตรงนี้แหละ)
ผมอ่านความเห็นของคุณแล้วสะดุดหลายรอบจนต้องเหลือบไปมองชื่อ ส่วนมากมีเนื้อความที่ค่อนข้าง ก้าวร้าวนะครับ ผมไม่รู้หรอกว่าคุณจะคิดแบบนั้นจริงๆ หรือเปล่า แต่มันให้ความรู้สึกเหมือนมาจากคนที่ พยายามขวางโลกเพื่อให้เป็นที่สนใจน่ะครับ คุณอาจจะไม่ได้ตั้งใจ แต่ผมขอเตือนไว้ในฐานะที่เคยเป็นคนแย่ๆ แบบนั้นมาก่อนว่า พยายามลดการใช้คำรุนแรง, ลดความน่าเชื่อถือคนอื่นโดยไม่จำเป็นและเราเองก็ยังไม่มีเหตุผลชัดเจนนะครับ และพยายามทบทวนสิ่งที่กำลังจะเผยแพร่ทุกครั้ง ตั้งสติก่อน start นะครับ
เป็นคำกล่าวที่รุนแรงมากครับ ลบหลู่ไปถึง อ.ที่มีชื่อร่วม ยันไปถึง reviewers ที่ตอบรับให้ตีพิมพ์ และ คุณของวารสารทางวิชาการ
ทางวิทยาศาสตร์คุณภาพทางวิชาการวัดได้ง่ายนะครับ แค่ไปดู impact factor ก็บอกได้ระดับนึงแล้ว
J of royal society open science ได้ค่า if 2 กว่า อันดับที่ 17 จาก 64 journal แบบเดียวกัน ถือว่าไม่ขี้เหร่เลยจัดว่า "ดีกว่างาน อ.มหาลัยบางที่" เสียอีก
แค่ งง ว่า คุณใช้เกณฑ์อะไรในการบอกว่า nonsense ครับ
เห็นคอมเม้นคุณแล้วนึกถึงที่ Neil Tyson พูดใน คลิป นี้เลย
คลิปดีมากๆเลยครับ แนะนำให้ทุกคนดู
+1
งานวิจัยนี้มีประโยชน์รึเปล่า คิดว่าคนในแวดวงออกมาพูดจะมีน้ำหนักมากกว่าซึ่ง The Royal Society ก็เป็นวารสารทางวิชาการที่เก่าแก่มาก ถือว่ามีน้ำหนักพอสมควร
ดังนั้นคำวิจารณ์ของคุณมีน้ำหนักรึเปล่า ก็ขึ้นกับว่าคุณมีพื้นเพในวงการนี้ที่ใกล้เคียงรึเปล่าถ้าไม่งั้นความเห็นคุณก็ล่องลอยและ nonsense ครับ
ปล.ลองวิจัยว่าทำยังไงมะละกอถึงจะเป็นส้มดูก็ได้นะครับ ไม่มีใครแย่งทำแน่
งานวิจัยแบบวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ไม่ต้องมีจุดหมายในการใช้งานครับ
เพิ่งสอนเด็กประถมปลายให้แยกวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์กับวิทยาศาสตร์ประยุกต์ออกจากกัน ไม่น่าเชื่อว่ามีเด็กประถมต้นมาเล่นเว็บนี้ด้วย เดี๋ยวรอขึ้นประถมปลายก่อนนะครูจะได้สอนให้
"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."
ข่าวนี้เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยี ยังไงครับ
เอ้อ เราลง ข่าววิทยาศาสตร์และงานวิจัยอยุ่ตลอดเลยครับ (ถ้ามีคนเขียน)
lewcpe.com , @wasonliw
รับทราบครับผม
ข่าวงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ (ซึ่งเป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีทั้งหมด) ที่นักศึกษาไทยเป็นผู้ร่วมวิจัย และได้ตีพิมพ์งานวิจัยในระดับโลก นักศึกษาคนนี้ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง The Royal Society ที่เป็นสถาบันทางวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก ข่าวนี้คุณไม่เข้าใจว่าเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอย่างไร
ในขณะที่ข่าวสินค้าลดราคา ซึ่งไม่ใช่ข่าวทางเทคโนโลยีด้วยซ้ำ ไม่เห็นคุณเข้าไปตั้งคำถามแบบเดียวกัน เพียงแต่สินค้านั้นเป็นสินค้าทางเทคโนโลยีเช่น เกม อย่างนั้นหรือ?
เพราะผมอ่านแล้วไม่เจอส่วนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี (ซึ่งผมอาจนิยามคำว่า เทคโนโลยี ผิดไปก็ได้) ถึงแม้จะลดราคาเกมส์ มันก็เกี่ยวกับเทคโนโลยีอยู่ครับ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์เพียวๆแบบนี้ ทั้งนี้ทั้งนั้นผมไม่เคยคิดว่ามันผิดที่จะลงข่าวแบบนี้
อ้อ ขอบคุณสำหรับคำอธิบายเพิ่มเติมครับ
แบบนี้ครับ มีที่ผมต้องให้ข้อมูล (ไม่ใช่อธิบาย) เพิ่มเติม คือ
อันที่จริงถ้า JuSci ยังมีคนอ่าน ก็น่าจะได้ไปอยู่ในนั้นแล้วครับ
ร้างมานานมาเลยครับ
ทั้งๆ ที่ดีมากๆ ย่อยง่าย
แต่นักเขียนหลักติดงานกันหมด
+1
The Last Wizard Of Century.
เคยหลงเข้าไปหลายครั้งแล้วครับ โทนสีส้มเหลืองยังตราตรึงอยู่ในใจ
งั้นขอพื้นที่เล็กๆตรงนี้บอกทีมงานเลยละกัน
ผมชอบอ่านงานที่นั่นนะ
อยากให้กลับมาทำใหม่ถ้าเป็นไปได้นะครับ
ผมชอบข่าวนี้นะ เป็นกำลังใจให้คุณ Lew
That is the way things are.
เราจะเจอโอตะใจดีจ่ายหนักให้น้องได้ไปนาซ่าไปเน้นคุกกี้เสี่ยงทายในอวกาศไหมนะ...
น่าสนใจครับ เป็นนักวิทย์ที่เก่งอย่างเดียวออกมาพูดก็คนฟังไม่เยอะ เป็นนักวิทย์ที่มีชื่อเสียงด้วยพููดน่าจะทำให้คนมาสนใจวิทยาศาสตร์มากขึ้น
แนวทางที่น้องจะทำมันคือนิยามของ อาชีพ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ช่วงก่อนหน้านี้ก็มีโครงการจะสร้างบุคคลากรสายอาชีพนี้ด้วย
แอบสงสาร first author ที่มีคนสนใจน้อยกว่า “third” co-author ซะอีก ที่ดันได้สัมภาษณ์เพราะเป็นศิลปิน
ทั้งที่จริงๆ แค่มาช่วยงาน “first” author
ต่อเป็นลำดับที่สาม เพราะ research assistant สองคนก่อนหน้าต้องไปเรียนต่อ
user บางท่านยังไม่ทราบเลยว่าพื้นฐาน semiconductor ไม่ได้มาจากความรู้ด้านไฟฟ้า แต่มาจากพื้นฐานด้านเคมีล้วน และศึกษาคุณสมบัติทางไฟฟ้าภายหลัง อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ทุกประเภทในสากลโลก พื้นฐานสร้างจากสสารทางเคมีครับ อุปกรณ์แรงๆ หน้าจอทนทาน วัสดุน้ำหนักเบา แบตเตอรี่ใช้งานยาวข้ามวัน ทุกอย่างมาจากพื้นฐานทางเคมี และเกือบทุกสิ่ง ค้นพบด้วยความบังเอิญและต่อยอดมาต่อเนื่อง
ใครที่พูดว่า ล่องลอย nonsense จับต้องไม่ได้ ในทางวิทยาศาสตร์ถือว่า "เป็นคนไร้คุณค่า" ครับอย่างน้อย ผลงานที่ public ออกมามันก่อให้เกิด impact การต่อยอด
ดีกว่าคนพูดและไม่ได้ทำอะไร นอกจากหายใจไปวันๆปล.ผลงานวิทยาศาสตร์ ม.ปลายไหนครับ ที่มันมี impact เอาง่ายๆแค่เครื่องมือมันในโรงเรียน มันก็ไม่พร้อมแล้ว คิดสิคิด