จากประเด็นหลายๆ อย่างของ dtac ในช่วงหลัง ตั้งแต่ ยอดลูกค้าถดถอย ไปจนถึง การประกาศลาออกของซีอีโอ ลาร์ส นอร์ลิ่ง อาจทำให้ความเชื่อมั่นใน dtac สั่นคลอน
วันนี้ Blognone มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณซิกเว่ เบรกเก้ ประธานและซีอีโอของ Telenor Groupในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของ dtac ที่เดินทางมายังประเทศไทยพอดี และได้ถามคำถามที่หลายคนอยากรู้ว่า "Telenor จะยังอยู่ในเมืองไทยต่อไปหรือไม่"
ยืนยัน Telenor ไม่ถอนตัวจากเมืองไทย
ซิกเว่ เริ่มต้นด้วยคำว่าที่เขามาวันนี้ มีเรื่องหนึ่งที่เหมือนเดิม เรื่องหนึ่งที่เปลี่ยนไป (one thing is the same, one thing is different)
เรื่องที่เหมือนเดิมเสมอ แม้จะถูกถามเสมอมาตลอด 18 ปีคือ Telenor จะยังยืนหยัดทำธุรกิจอยู่ในเมืองไทยต่อไป อันนี้ไม่ใช่สัญญาลมปาก แต่เป็นเพราะ dtac ถือเป็นบริษัทที่ทำเงินให้ Telenor Group มากเป็นอันดับสองในเครือ รองจาก Telenor ในนอร์เวย์ประเทศแม่เท่านั้น
แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคืออุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่เปลี่ยนไปมาก นี่เป็นปัญหาที่บริษัทโทรคมนาคมในโลกทุกรายกำลังเผชิญอยู่ และ Telenor ในฐานะผู้เล่นรายใหญ่ของโลกก็เจอปัญหานี้ คำถามคือจะปรับตัวอย่างไร ให้บริษัทเคลื่อนตัวได้เร็วขึ้น มีความเป็นดิจิทัลมากขึ้น
สิ่งที่ Telenor ทำกับ dtac อยู่ในตอนนี้คือปรับบริษัทให้กลายเป็นดิจิทัล (digital company) เพิ่มช่องทางการขายดิจิทัล เพิ่มบริการรูปแบบใหม่ๆ อย่าง LINE Mobile รวมถึงสนับสนุนสตาร์ตอัพ ในแง่ของตัวองค์กรเองก็ต้องยืดหยุ่นมากขึ้น มีไดนามิกมากขึ้น บริษัทต้องเรียนรู้จากบริษัทอย่าง Alibaba, Google หรือ Amazon ว่ามีจุดเด่นอย่างไร
ซิกเว่ยอมรับว่าการพยากรณ์อนาคตเป็นเรื่องยาก ไม่มีใครรู้ว่าอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในอนาคตจะหน้าตาเป็นอย่างไร แต่ Telenor มอง dtac เป็นบริษัทต้นแบบที่ใช้ทดลองสิ่งใหม่ๆ และถ้าสำเร็จก็จะขยายไปทำกับบริษัทอื่นในเครือต่อ ตัวอย่างเช่น ตอนนี้กำลังขยายบริการแบบเดียวกับ LINE Mobile (แต่ใช้แบรนด์อื่น) ในบังกลาเทศแล้ว
ยอมสละเป้าระยะสั้น เพื่ออนาคตระยะยาว
ซิกเว่ตอบคำถามประเด็นการเสียลูกค้า เสียส่วนแบ่งตลาดให้กับคู่แข่ง ว่าเป็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ แต่เขามองถึงเป้าหมายระยะยาวมากกว่าระยะสั้น บริษัทไม่ได้ต้องการชนะทางตัวเลขในไตรมาสหน้า แต่ต้องการให้ตัวเองอยู่รอดได้ในอีก 10 ปีข้างหน้า
ซิกเว่บอกว่า สมัยที่เขาเป็นซีอีโอของ dtac ตลาดตอนนั้นเป็นพรีเพด บริการเสียง การเอาชนะกันอยู่ที่ตัวแทนจำหน่าย (distribution) แต่ตลาดตอนนี้เปลี่ยนไปจากเดิมมาก บริการกลายเป็นข้อมูล รายได้หลักมาจากโพสต์เพดแทน การเอาชนะกันอยู่ที่บริการ (service) และสภาวะของ dtac เริ่มเหมือนบริษัทโทรคมนาคมในสแกนดิเนเวีย มากกว่าบริษัทโทรคมนาคมในเอเชีย
ตอนนี้ dtac หันมาเน้นลูกค้ากลุ่มโพสต์เพดที่มีความยั่งยืนมากกว่า (รายได้จากโพสต์เพดเกิน 50%) และลดการทำตลาดพรีเพดลงหลายช่องทาง เช่น การช่วยจ่ายค่าเครื่อง (handset subsidy) ก็เลิกทำแล้วเพราะใช้เงินเยอะ หันมาเน้นการสร้างสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว โดย DiGi ของมาเลเซียก็อยู่ในสถานการณ์คล้ายๆ กัน
ส่วนการปรับลดค่าใช้จ่าย ปรับลดพนักงาน ก็สอดคล้องอยู่ในยุทธศาสตร์เดียวกัน คือทำองค์กรให้เล็ก ลีน ถือเป็นส่วนหนึ่งของ transformation ครั้งใหญ่ของบริษัท สถานะการเงินของบริษัทยังแข็งแกร่ง มีอัตรากำไรสูงแม้รายได้จะลดลงก็ตาม การลดค่าใช้จ่ายของ dtac ไม่ใช่การขนเงินกลับไปจ่ายปันผลที่นอร์เวย์ แต่เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อการลงทุนในอนาคต
ซิกเว่ระบุว่าช่วงนี้ลูกค้าอาจเห็นแคมเปญโฆษณาของ dtac น้อยลง นั่นเป็นความตั้งใจ เพราะมองว่าการยิงโฆษณาแบบแมสเริ่มไม่ได้ผลอีกต่อไป dtac กำลังเปลี่ยนวิธีมาคุยกับลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัลโดยตรงแทน ดูจากภายนอกอาจดูน่าเบื่อ แต่เป้าหมายคือการใช้ช่องทางดิจิทัลให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แผนการ 3 เรื่องเพื่ออนาคต
ซิกเว่ บอกว่าสิ่งสำคัญที่ dtac ต้องทำเพื่ออนาคต มีด้วยกัน 3 เรื่อง
- Data Networkที่แข็งแกร่ง แน่นอนว่าต้องการคลื่นเพิ่ม ส่วนในแง่เทคโนโลยี ตอนนี้ Telenor เริ่มทดสอบ 5G ในนอร์เวย์แล้ว และต้องใช้ระยะเวลาเรียนรู้อีกสักพักหนึ่ง
- เข้าใจลูกค้าให้มากกว่าเดิมการเซกเมนต์กลุ่มลูกค้าแบบเดิมใช้ไม่ได้ผลแล้ว ต่อไปต้องดูความต้องการของลูกค้าเป็นรายคน ใช้เทคนิค machine learning มาช่วยเรียนรู้พฤติกรรมของลูกค้า
- IoTตอนนี้ Telenor เป็นผู้เล่นในตลาด IoT รายใหญ่ของโลก กำลังทำเรื่อง smart city, smart building, digital healthcare ถ้าทำสำเร็จแล้วจะขยายมายังประเทศอื่นๆ ต่อไป
ซิกเว่มองว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คล้ายกับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยเมื่อ 18 ปีก่อน ตอนนั้น dtac เป็นผู้นำเสนอบริการแบบพรีเพดเป็นรายแรกในไทย และประสบความสำเร็จอย่างสูง อยากทำแบบเดียวกันในรอบนี้ dtac จะกลับมาในฐานะ digital service provider
เลื่อนประมูลคลื่นไม่กระทบ แต่ต้องการความชัดเจนจาก กสทช.
ซิกเว่ พูดถึงประเด็นการประมูลคลื่น 1800MHz ที่อาจต้องเลื่อนออกไป ว่าไม่กระทบกับบริษัท เพราะต่อให้หมดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800MHz ก็ยังเข้ากระบวนการคุ้มครองผู้บริโภคของ กสทช. เหมือนกับที่ True และ AIS เคยผ่านมาก่อน การให้บริการจะไม่หยุดชะงัก แต่แน่นอนว่าถ้าประมูลได้คลื่นมาเร็วก็เป็นเรื่องที่ดีกว่า
ซิกเว่ บอกว่าต้องการความชัดเจนของ กสทช. ในแง่การประมูล ทั้งเรื่องกำหนดเวลา และเงื่อนไขการประมูล โดยเฉพาะเรื่องขนาดของบล็อคความถี่ที่ใช้ประมูลว่าตกลงแล้วจะเป็นเท่าไร ตอนแรก กสทช. บอกว่าจะเป็น 5MHz แต่ภายหลังก็เปลี่ยนเป็น 15MHz อีก ในมุมของ dtac ต้องการ 5MHz เพราะยืดหยุ่นกว่าและเป็นแนวทางที่ใช้กันในสากลทั่วไป ส่วนจะเข้าประมูลเท่าไร ขึ้นกับประเด็นสำคัญคือขนาดบล็อคและงวดการจ่ายเงิน
ส่วนประเด็นเรื่องคลื่น 2300MHz ที่อยู่ระหว่างกระบวนการเจรจากับ TOT ซิกเว่ระบุว่าได้คุยกับรองนายกรัฐมนตรี สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และหารือประเด็นนี้ว่าการได้ 2300MHz จะเป็นประโยชน์กับ dtac และ TOT ทั้งสองฝ่าย ในมุมของ dtac จะได้คลื่นมาให้บริการเพิ่ม ส่วน TOT ก็จะได้รายได้เพิ่มเข้ามาอีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งนายสมคิดก็รับทราบ และรับปากจะไปคุยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้
กำลังหาซีอีโอใหม่ มีตัวเลือก 5-6 คน
ซิกเว่พูดถึงการลาออกของลาร์ส นอร์ลิ่ง ว่าเป้าหมายจริงๆ คือลาร์สอยากกลับบ้านที่สวีเดนแล้ว ส่วนซีอีโอคนใหม่ที่จะมาแทน กำลังดูๆ อยู่ โดยมีตัวเลือกประมาณ 5-6 คน แต่ไม่ระบุว่าเป็นคนไทยหรือคนต่างประเทศ
ภาพประกอบจากสไลด์ dtac FY2017
Comments
ทำให้องค์กรเล็ก ลีน ...คืออะไรครับ ?
ทำให้องค์กรเล็ก ลีน (lean = ผอม) แปลว่า ทำการปรับโครงสร้างในองค์กรให้เล็กลง ลดส่วนหรือแผนกหรือคนที่ไม่จำเป็นออกไป เพื่อเพิ่มความไวในการตัดสินใจครับ ตัวอย่างเช่น ในองค์กรใหญ่ๆ การจะตัดสินใจเรื่องหนึ่งๆ ต้องผ่านฝ่ายโน้นฝ่ายนี้ ก็ลดส่วนที่เกี่ยวข้องออกไป การตัดสินใจอะไรก็ทำได้ไวขึ้นครับ ตัวอย่างง่ายๆ ให้เห็นชัดเจนก็คือ ลองเทียบระหว่างหน่วยงานราชการ หรือองค์กรใหญ่ๆ กับบริษัท SME หรือพวก Start up ที่มีคนน้อยๆ ดูครับ เวลาจะเริ่มลงมือทำอะไรกันที Timeline และ Overhead จะต่างกันมหาศาลครับ องค์กรใหญ่ๆ ก็มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วก็พยายามจะแก้ปัญหากันอย่างที่เห็น
SPICYDOG's Blog
ขอบคุณครับ ผู้เขียนก็เขียนซะงง น่าจะใข้ภาษาอังกฤษไปเลยนะคำนี้
มันเป็นศัพท์ที่ใช้กันปกติในหลายวงการนะครับ ทั้งการผลิต การบริหาร การพัฒนา etc.
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
10 ปี?
line mobile เป็นอะไรที่ผมใช้แล้วรู้สึกแย่มากครับ ไม่รู้เป็นคนเดียวหรือเปล่า คือลองแพ๊ก unlimited แล้วเน็ตวิ่งจริงๆ ยังไม่ถึง 10Mbps เลย แล้วเหมือนพอวันนี้เราใช้เน็ตไปเยอะๆ วันต่อมาเน็ตจะวิ่งที่ความเร็วต่ำมากๆ ราวๆ 1-3Mbps ไปวันสองวันได้ ขนาดของทรูเน็ต 4Mbที่ว่าหนักแล้ว เจออันนี้เข้าไปหนักกว่ามาก ใช้ AIS 6Mbps นี่ถือว่าดีสุดล่ะ ส่วน 4G Home wifi ของ AIS 10Mbsp นี่แย่ไม่ต่างกับ line mobile เท่าไร เน็ตตัดบ่อยมาก แล้วดาวน์บ่อยมาก
The Dream hacker..
ปัญหาของ DTAC คือ คลื่น ทุกวันนี้ที่มีก็ไม่ได้ครอบคลุมอะไร เหมือนไม่ได้ลงทุนเสาอะไรเลย จะมีอะไรดี ๆ แต่สัญญาญมันแสนจะเลวร้าย แล้วใครจะใช้ล่ะครับ
การพูดแต่ไม่ทำ ใครก็ตีความว่าคุณจะไม่อยู่ นี่ก็ไม่รู้พูดเพราะกลัวหุ้นร่วงหรือยังไง ดูทรงยังไงก็อยู่ไม่ได้ สภาพสัญญาณมันสะท้อน ตัวเลขก็แค่ภาพลวงตา สัญญาณห่วย ๆ นี่แหละของจริง ~
+1 สัญญาณห่วย ๆ นี่แหละของจริง พึ่งตั้งกระทู้พันทิพไปเมื่อกี้เลย ทนไม่ไหว - - https://pantip.com/topic/37532633
+1 แถวบ้านผมเมื่อ 5 ปีที่แล้วสัญญาณไม่ดี ทุกวันนี้ยังเหมือนเดิม ไม่คิดจะลงทุนตั้งเสาเพิ่มเลย
อยู่ต่อเถอะ แม้ว่าจะห่วยยังไงก็อยากให้มี 3 ค่ายใหญ่จะได้ไม่ฮั่วกันเอง
DTAC ตอนนี้รู้สึกแย่จริงๆ ต่อให้เน็ตทบไปเดือนหน้าได้ก็จริง แต่เน็ตที่ใช้ได้ก็ช้าเหลือเกิน กับคลื่นที่จะหมดในปีนี้อีก คงต้องลาก่อน
แล้วใครจะมาบอกว่าตัวเองจะหอบของหนีล่ะครับ -_-"
That is the way things are.
ซื่อกินไม่หมด
ผมใช้อยู่
เพราะราคารักษาเบอร์ถูกสุดแล้ว
เดือนละสองบาทหาได้ที่ไหน
ลองใช้ cat ไหมครับ
ค่ารักษาเบอร์ของ my by CAT น้อยกว่า ถ้าเน้นรักษาเบอร์และอยู่ในเขตสัญญาณของ my by CAT (ซึ่งน้อยกว่าผู้ให้บริการรายอื่น) แนะนำครับอ๊ะ ข้อเสียอีกอย่างของ my by CAT คือร่วมส่งชิงโชคไม่ได้เหมือนเครือข่ายผู้ให้บริการรายอื่นด้วย
ทำไมตอนเขาประมูลกัน ไม่สู้หว่า
ง่ายๆครับ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คาดการณ์ ความต้องการของผู้บริโภคผิด นะตอน 2-3 ปีที่ผ่านมา ผู้บริหารดีแทค เองก็เคยออกมาพูด ว่า ศักยภาพการเข้าถึง อุปกรณ์ data ของคนไทย นั้น ก้าวกระโดด เกินความคาดหมาย
ไงละ เน็ต dtac นั้น ไม่ว่าจะ 3g/4g ช้าจนแทบไม่วิ่ง ที่ไหนคนเยอะ นี่รอโหลดหมุนติ้ว
อั้มลื่นๆ กว้างงงงงๆ ไรนั้น ลืมๆไปเหอะ
เสียดายค่าตัวอั้มแพง
12 นี้ รอ ปลดแอก ย้ายออกแน่นอน
ดูอนาคตกันจริงๆตอนประมูล 1800Mhz แหละครับTRUE และ AIS ก็รู้ว่า DTAC อยากได้ และ ต้องได้แน่นอน คงแพงระยับแน่เลย
ไม่น่ามีปรมูลเลยไม่เสมอกัน กสทช น่าจะให้ซื้อคลื่นเอาแบบเท่าๆกัน จะได้ความเร็วเท่ากันน่ะ ไม่รวมเสา
จากที่สองกลายเป็นที่สาม น่าจะหัวร้อน
อยากให้ตั้งเสาตามที่ลูกค้าต้องการครับ ในกทม.ยังช้าเลยหลายที่ แล้วบางที่ก็ไม่ยอมตั้งเสาทั้งๆที่ลูกค้าต้องการมากๆ เลยย้ายออกกันเยอะ
รวมถึงคลื่นที่มีเหลือน้อย น่ากังวลมากๆ ถ้าคว้า 1800 ไม่ได้ 2300 ไม่ผ่าน ก็เตรียมตัวกลับบ้านเก่าได้เลย
Line mobile ก็ชอบครับ แต่พอมาอยู่กับ dtac ตอนนี้(ที่ทั้งช้า และคลื่นน้อย)ก็ทำให้คนไม่ค่อยชอบกัน
ส่วนตัวยังใช้ dtac เป็นเบอร์หลักอยู่ แต่ถ้าไม่มีอะไรดีขึ้นภายใน 1 ปีก็คงย้ายออกครับ
ผมว่าใน กทม. นี่แหละช้าที่สุดแล้วในที่ที่มีสัญญาณ ขนาดผมนั่งเล่นในรถระหว่างเดินทางยังเร็วกว่าเลย
จากคนใช้ดีแทคไปๆซะถ้าไม่จริงจัง
ผมใช้ dtac มานานมาก เกิน 15 ปีละ
ผมชอบสมัยที่คุณซิกเว่ เป็น CEO มากที่สุด
ช่วงนั้น dtac มีอะไรใหม่ๆเยอะ
ใช้มา 17 ปีแล้วเหมือนกัน ติดอยู่อย่างเดียวเรื่องสัญญาณอ่อน/หายบางทีนี่แหละ นอกนั้นผมว่าดีแล้ว
ลูกค้าก็น้อยกว่าคนอื่นเค้า สัญญาณยังแย่สุด ระบบล่มบ่อยสุด เอาคุณภาพให้ดีก่อนจะปรับเป็น Digital คนย้ายหนีไม่ใช่เพราะอีกสองค่ายมี Digital Service ที่ดีแต่คุณภาพเค้าดีกว่าเยอะ