ย้อนกลับไปในปี 2016 มีข่าวน่าตื่นเต้นในวงการอวกาศเรื่อง เครื่องยนต์ EmDrive ผ่าน Peer Review ใช้งานได้จริงแม้ไม่รู้ว่าทำไม ซึ่งช่วยสร้างความหวังให้การเดินทางในอวกาศโดยไม่ต้องมีข้อจำกัดเรื่องเชื้อเพลิง มาวันนี้ทีมนักวิทยาศาตร์จากเยอรมันอาจสามารถไขปริศนาดังกล่าวได้แล้ว
ทีมวิจัยนำโดย ศ.ดร. Martin Tajmar แห่ง Technische Universität Dresden ได้ทดลองสร้างเครื่องยนต์ EmDrive แบบเดียวกับของ NASA ในสภาพแวดล้อมสุญญากาศที่ควบคุมแรงสั่นสะเทือน การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและแหล่งพลังงานอื่นๆ ที่อาจมีผลกระทบกับแรงผลักของเครื่องยนต์ อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยไม่สามารถห่อหุ้มเครื่องยนต์เพื่อป้องกันผลจากสนามแม่เหล็กโลกได้
เมื่อทีมทำการทดลองเปิดระบบโดยยังไม่จ่ายไฟไปที่เครื่องยนต์จริง ซึ่งทำให้ไม่มีคลื่นไมโครเวฟซึ่งคาดกันว่าจะเป็นแหล่งสร้างแรงผลักเกิดขึ้น ผลการตรวจวัดกลับพบว่ามีแรงผลักเกิดขึ้นเล็กน้อย (ระดับ Micronewton) นอกจากนี้ ทีมงานยังพบว่าเมื่อหันเครื่องยนต์เปลี่ยนทิศ ทิศของแรงที่เกิดขึ้นก็เปลี่ยนไป ในขณะที่ปริมาณของแรงไม่เปลี่ยน สะท้อนให้เห็นว่าแรงที่เกิดขึ้นอาจมาจากปฏิกิริยาระหว่างสายเคเบิลที่ไม่มีฉนวนป้องกันกับสนามแม่เหล็กโลก ทั้งนี้ การทดลองก่อนหน้านี้ของ NASA ที่ระบุว่าตรวจพบว่าเครื่องยนต์นี้สร้างแรงได้จริงก็ไม่มีฉนวนป้องกันสนามแม่เหล็กโลกเช่นกัน
อย่างไรก็ดี ทีมวิจัยระบุว่าการทดลองในครั้งนี้ใช้ระดับพลังงานไฟฟ้าต่ำกว่าที่ทีมอื่น ๆ เคยใช้มาก ทางทีมจึงเตรียมการจะทำการทดลองอีกครั้งด้วยระดับพลังงานเดียวกับที่ทีมวิจัยอื่นเคยใช้ รวมถึงอาจห่อหุ้มพื้นที่ทดลองด้วย mu metal เพื่อลดผลกระทบจากสนามแม่เหล็กโลกให้มากที่สุด
ที่มา iflscience , National Geographic
Comments
หึหึหึ พอกับ FTL particle รอบที่แล้วเลย
Newton : "เปล่าประโยชน์ๆๆๆ"
5555555
All limit from human.
ผมว่ารอดูหลายๆที่แล้วค่อยสรุปดีกว่าใหม อ่านแล้วเหมือนเอาแค่ผลการทดลองที่ได้ผลต่างจากแหล่งเดียวมาหักล้างจากทุกแหล่ง ควรมีการทดสอบมากกว่านี้ก่อนสรุปใหมในเรื่องที่เป็นข้อเท็จจริง เช่นเพิ่มพลังงานดูว่ามีการตอบสนองอย่างไร ดูวิดีโอจบ เห็นมีคนทำตัวอย่างทดสอบในแนวดิ่งพวกนี่เชื่อถือไม่ได้เหลอเนี้ย หรือแค่รีปปลอม
ตามที่เขียนไว้ครับว่า "อาจ" เกิดจากการวัดค่าผิดพลาด ทางทีมเองก็จะทดลองที่ระดับพลังงานสูงขึ้นอยู่แล้วครับ (ซึ่งถ้ามีผลออกมาแล้วผมเห็นข่าวก็จะนำมาเขียนแน่นอน) แต่นี่เป็นทีมแรกที่ให้คำอธิบายถึงที่มาของแรงผลักโดยไม่ขัดกับกฎฟิสิกส์ที่รับรู้โดยทั่วกันได้
ถ้าเช่นนั้นผมว่าในหัวข่าวไม่น่าใช้คำว่า "คลี่คลายแล้ว" นะครับ
ผมอ่านหัวข่าวแล้ว คิดเหมือนกันครับ นึกว่าได้ผลสรุปแล้ว