เมื่อพูดถึงแพลตฟอร์มระดมทุนออนไลน์แนว crowdfunding หลายคนอาจคิดถึงโปรเจกต์ล้ำๆ ใน Kickstarter, Indiegogo, GoFundMe ซึ่งออกแนวนำเสนอสินค้าเจ๋งๆ หรือโครงการแก้ปัญหาอะไรบางอย่างในสังคม ถ้าเจ๋งพอก็จะได้รับการระดมทุนเยอะ นำเงินไปสานต่อโครงการให้สำเร็จได้
แต่สำหรับครีเอทีฟสร้างผลงานทางศิลปะ พวกเขาต่างใช้ช่องทางโซเชียลในการลงงาน ไม่ว่าจะเป็น YouTube, SoundCloud, Facebook แต่โมเดลรายได้ก็ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับว่าจะมีแมวมองตาดีมาจ้างถ้ามียอดคนติดตามมากพอในโซเชียลมีเดีย ยังไม่นับเรื่องอัลกอริทึมที่คาดเดาไม่ได้ของโซเชียลมีเดีย เรียกได้ว่าต้องพึ่งพาตัวเองสูงมากกว่าจะมีรายได้เข้ามา
ภาพจาก Patreon on Facebook
Patreon ถือเป็นแพลตฟอร์มระดมทุนอออนไลน์อีกตัวหนึ่ง แต่เน้นระดมทุนให้ครีเอเตอร์งานศิลปะโดยเฉพาะ จุดต่างของ Patreon กับแพลตฟอร์มอื่นคือใช้ระบบจ่ายค่าสมาชิก (subscription) แทนการระดมทุนรายชิ้นธรรมดา
กล่าวคือ เราอาจคุ้นเคยกับการเห็นโครงการอะไรน่าสนใจ อยากสนับสนุน ก็เลือกบริจาคให้กับสินค้าหรือโครงการนั้นๆ แต่ Patreon จะให้คนบริจาคเป็นสมาชิกจ่ายรายเดือน แถมยิ่งจ่ายมาก ก็มีโอกาสเข้าถึงงานพรีเมี่ยมของศิลปินแต่ละคนได้มากขึ้น
สมัครสมาชิกรายเดือน Patreon ยิ่งจ่ายมาก ยิ่งเข้าถึงเนื้อหาของครีเอเตอร์มาก
ครีเอเตอร์บน Patreon มีตั้งแต่นักวาดการ์ตูน คนทำเพลง คนทำโปรดักชั่น ไปจนถึงคนทำพอดคาสต์ และนักเขียน โดยแต่ละคนจะโพสต์ผลงานตัวเองลงในหน้าโปรไฟล์ ผู้ชมสามารถกดดูผลงานแต่ละชิ้นได้ และบนโปรไฟล์จะระบุจำนวนคนติดตามที่สมัครสมาชิกจ่ายรายเดือนเพื่อจะเข้าถึงเนื้อหาของครีเตอร์นั้น
แต่ไม่ใช่ทุกผลงานที่ผู้ชมจะดูได้ เพราะบางงานต้องเป็นสมาชิกที่จ่ายเงินแล้ว (patron) โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่เดือนละ 5 ดอลลาร์
ยกตัวอย่างเช่นการ์ตูน 4 ช่องของ Extra Ordinary Comics ที่หน้าโปรไฟล์จะแสดงให้ดูแค่บางส่วน แต่ถ้าอยากเห็นทั้งหมด จะต้องเป็น patron จ่ายรายเดือน 5 ดอลลาร์ จึงสามารถดูการ์ตูนได้ทั้งหมด และยังสามารถเข้าถึงเนื้อหาพิเศษ เบื้องหลังการวาดของนักวาดการ์ตูนคนนี้ได้ด้วย
โมเดลราคารายเดือนมีหลายราคา แล้วแต่ตัวครีเอเตอร์จะกำหนดว่าจ่าย...ดอลลาร์ จะสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ระดับไหน โดยเริ่มตั้งแต่ 1 ดอลลาร์ต่อเดือนไปจนถึง 20 ดอลลาร์
ยกตัวอย่างเช่น พอดคาสต์ของ Crime Junkie Podcast ถ้าผู้ใช้เป็น patron หรือเป็นสมาชิกที่จ่าย 5 ดอลลาร์ทุกเดือน จะได้ฟังพอดคาสต์ของเขาเดือนละ 1 ตัว และมีโอกาสได้โหวตหัวข้อที่อยากฟัง หากถ้าเป็นสมาชิกรายเดือนที่จ่าย 10 ดอลลาร์ จะได้ฟังพอดคาสต์ตอนพิเศษเพิ่มมาอีกเดือนละตัว ได้ไฟล์ mp3 ไปเก็บไว้ เป็นต้น ส่วนถ้าใครเป็นแฟนคลับของนักดนตรี หรือติดตามผลงานเพลงของใครคนหนึ่งอยู่ นักดนตรีนั้นๆ ก็สามารถกำหนดสิทธิพิเศษได้ เช่น ยิ่งจ่ายมาก แฟนๆ ก็ยิ่งมีโอกาสได้พบปะพิเศษ หรือเข้าชมมินิคอนเสิร์ต
ครีเอเตอร์ยังสามารถให้รางวัลคนที่สนับสนุนเขาด้วยของเล็กๆ น้อยๆ เช่น สติกเกอร์ เสื้อยืด แล้วแต่ครีเอเตอร์แต่ละคนจะกำหนดได้อย่างอิสระ แต่ต้องระบุรายละเอียดให้ชัดบนหน้าโปรไฟล์
Patreon จะเก็บค่าคอมมิชชั่นจากครีเอเตอร์ มี 3 ระดับคือ
- Patreon Lite ครีเอเตอร์จ่ายให้ Patreon 5% ของรายได้ โดยจะสามารถเข้าถึงเครื่องมือและฟีเจอร์พื้นฐานพวก ช่องทางจ่ายเงิน และการได้ติดต่อกับแฟนๆ กับเวิร์คช็อป
- Patreon Pro ครีเอเตอร์จ่ายให้ Patreon 8% ของรายได้ นอกจากเครื่องมือ Patreon Lite ครีเอเตอร์ในระดับนี้จะสามารถเข้าถึงเครื่องมือวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า เครื่องมือโปรโมท มาสเตอร์คลาสจากผู้เชี่ยวชาญ
- Patreon Premiumครีเอเตอร์จ่ายให้ Patreon 12% ของรายได้ แต่ยังไม่มีรายละเอียดเรื่องคุณสมบัติพิเศษออกมา โดยตอนนี้ให้ครีเอเตอร์ลงทะเบีนเข้ามาเพื่อใช้งาน Patreon Premium ไปก่อน
ที่มาของ Patreon
Patreon ก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2013 โดย Jack Conte นักดนตรีที่หารายได้จาก YouTube พัฒนาแพลตฟอร์มอุปภัมภ์ศิลปินร่วมกับ Sam Yam เพื่อร่วมสถาบันเดียวกัน ปัจจุบันทำหน้าที่เป็น CTO เป้าหมายคือ ทำให้ Patreon เป็นช่องที่เรียบง่ายในการขายสินค้าของผู้สร้างงาน
ทางบริษัทระบุว่าในช่วง 18 เดือนแรกนับแต่ก่อตั้ง มีผู้ใช้งานที่จ่ายเงินเพื่อสนับสนุนผู้สร้างงาน 125,000 ราย จนกระทั่งปลายปี 2014 บริษัทระบุว่ามีผู้ใช้งานจ่ายเงินใ้ผู้สร้างงานแล้ว 1 ล้านดอลลาร์ ต่อเดือน
ข้อมูลจาก Patreon ระบุว่าปัจจุบันมีผู้ใช้งานแอคทีฟรายเดือนที่ 2 ล้านราย และผู้สร้างงานที่แอคทีฟ 1 แสนราย เฉพาะปี 2018 มีผู้ใช้สนับสนุนรายได้ให้ผู้สร้างงาน 300 ล้านดอลลาร์ ทางบริษัทยังบอกอีกด้วยว่า Patreon ช่วยให้ผู้สร้างงานมีรายได้เพิ่มขึ้นสองเท่า
ตัว Jack Conte ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์เคยให้สัมภาษณ์สื่อ พูดถึง pain point ของการผลิตคอนเทนต์ซึ่งตัวเขาก็เป็นนักดนตรีมีช่อง YouTube เขาบอกว่าครีเอเตอร์รู้สึกหงุดหงิดกับความแตกต่างระหว่างสิ่งที่พวกเขารู้สึกว่าคุ้มค่า กับเงินที่พวกเขาทำได้จริง ยอดรับชมบน YouTube ไม่ได้นำมาซึ่งรายได้ และการที่อัลกอริทึม Facebook เปลี่ยนแปลง คัดเลือกเฉพาะบางเนื้อหาขึ้นหน้าฟีด หรือการที่ครีเอเตอร์พึ่งพาแพลตฟอร์มใหญ่ในการแสดงงานนั้นเป็นสัญญาณไม่ดี อ่านข้อมูลได้ที่ 1 , 2
สำหรับคนไทย Patreon อาจดูไกลตัว และยังดูงงๆ แต่โมเดลธุรกิจทำนองนี้ในไทยก็พอมีให้เห็นบ้างแล้ว เช่น การจ่ายเงินเพื่ออ่านนิยายตอนถัดไปของนักเขียนคนโปรดใน Fictionlog หรือจ่ายเพื่ออ่านการ์ตูนใน WEBTOON เพียงแต่ Patreon ขยายของเขตของงานสร้างสรรค์ให้ครอบคลุม ไม่เทหนักไปงานประเภทใดประเภทหนึ่ง ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถเข้ามาเลือกประเภทงานที่ตัวเองชอบเสพเป็นประจำอยู่แล้ว กดเลื่อนดู เห็นใครน่าสนใจหรือเราติดตามใครอยู่ก็เลือกจ่ายเงินเริ่มที่เดือนละ 5 ดอลลาร์ เพื่อจะได้ดูงานของเขาต่อได้เรื่อยๆ
Comments
พูดตรงๆนะครับผมรู้จักแพลตฟอร์มนี้จากคอนเท้นต์เถื่อน กับ 18+ ครับ แต่ไม่ได้ไปใช้บริการหรอกนะแค่รู้ว่ามีเฉยๆ
+1 จาก tumblr อีกที
Jack Conte นี่กล้ามคอดีมากครับ เล่นดนตรีแล้วโยกคอดึ๊กๆ เหมือนนก ดูแกเล่นดนตรีแล้วปวดคอแทน
Open source ใช้งานเยอะนะครับ แต่ไม่ค่อยจะโอเคกับการจ่ายรายเดือน คนไม่ชอบ เขาชอบจ่ายครั้งเดียวมากดว่า
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
ละเอียดดีครับ ^^
ສະບາຍດີ :)
รู้จักจากเพจหิ่งห้อย
┬┴┬┴┤ ͜ʖ ͡°) ├┬┴┬┴
กดเวอร์ชั่นมืดปกติหรือเคโมะไปครับ
รู้จักผ่าน DotA imba โหมดที่เวอร์วังอะลังการ จนลืมเล่นแบบธรรมดาไปเลย
สนับสนุนครับ รายได้ถึงมือเจ้าตัวศิลปินจริงๆ งานสร้างสรรค์ก็ควรได้รับค่าตอบแทน
:)
ปลาทอง
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
รู้จักครั้งแรกจาก h-game LoL
The Dream hacker..
ปลาทองสินะครับ รู้จักครั้งแรกจากเหล่านักวาดของต่างชาติ(ผมตามพวกงาน tag:furry)
แต่บางท่านพอได้ยอดคนซับเยอะๆ ก็ขึ้นราคาโดยไม่แจ้ง โก่งราคาเปลี่ยนTireงานปกติให้สู้ขึ้นบ้าง
บางท่านจากซับ10$/เดือน(ได้รับทุกงานที่ทำในเดือนนั้นๆ)ไปๆมาๆเปลี่ยนเป็น10$/งาน(เดือนไหนมีออกมา3งานโดนไป30$)
รู้สึกเหมือนโดนหักหลังอะครับ สุดท้ายก็ Un-sup. เกือบหมด ที่เหลืออยู่ส่วนใหญ่ก็ต่างชาติทั้งนั้นเลยครับที่ราคาคงที่ซับมาเป็นปีๆไม่มีเปลี่ยน
ที่ว่ามาทั้งหมดไม่ได้แอนตี้คนไทยแต่อยากเตือน
จะเริ่มซับงานอะไรใครก็คอยเช็คเงื่อนไข Rewards กันบ่อยๆด้วยครับเพราะเปลี่ยนกันได้
ไม่งั้นชื่นชมผลงานอยู่ดีๆก็เสียความรู้สึกกันได้ครับ จากประสบการณ์ตรง