ในงาน Bangkok FinTech Fair 2019 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย Blognone ได้เข้าสัมภาษณ์ Shashi Verma ซีทีโอและผู้อำนวยการฝ่ายบริการลูกค้าของขนส่งลอนดอน (Transport for London - TfL) หรือหน่วยงานที่ดูแลระบบขนส่งมวลชนทั้งหมดในลอนดอนมาบรรยายถึงกรณีศึกษาการเดินทางในลอนดอนที่รับจ่ายผ่าน contactless เป็นอีกช่องทางจ่ายเงินที่สะดวกสบาย ไม่ต้องรอคิวหรือซื้อบัตรเดินทาง และ สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่าประจำประเทศไทย พูดถึงความเป็นไปได้ในประเทศไทย
ภาพจาก TfL-Flickr
Verma เริ่มต้นเล่าที่มาของการทำระบบรับจ่าย contactless เริ่มจาก วิสัยทัศน์ของ TfL ต้องทำให้ง่ายและสะดวกต่อคนเดินทางก่อนซึ่งที่ผ่านมาคนเดินทางใช้บัตรเดินทางหรือ Oyster Card อยู่แล้ว ประสบความสำเร็จและใช้งานได้ดีในระดับหนึ่ง แต่คำถามใหญ่คือ ทุกคนที่อยากมาต่อแถวซื้อ Oyster Card หรือไม่ ทางหน่วยงานจึงเริ่มคิดว่าจะทำอย่างไรให้คนเดินทางจ่ายเงินได้จากสิ่งที่มีอยู่ในกระเป๋าอยู่แล้ว คือ บัตรเครดิต โทรศัพท์
Shashi Verma ซีทีโอและผู้อำนวยการฝ่ายบริการลูกค้าของขนส่งลอนดอน
ทางหน่วยงานจึงต้องผนวกการจ่ายเงินเข้ากับสิ่งที่คนเดินทางมีอยู่ในกระเป๋าให้ได้ ที่สำคัญคือ การชำระเงินต้องไวมากๆ เพราะสิ่งแวดล้อมการเดินทางต่างจากสิ่งแวดล้อมในการชำระเงินที่อื่น เราอาจจ่ายเงิน contactless ผ่านร้านค้าไม่กี่วินาที แต่สำหรับการเดินทางที่คนเร่งรีบ การจ่ายต้องไม่เกินครึ่งวินาที ซึ่ง Oyster Card ทำได้ TfL จึงต้องผนวกการใช้บัตรที่ธนาคารออกให้ประชาชนลอนดอนมาผนวกกับความไวแบบ Oyster Card ให้ได้
TfL จึงต้องประสานงานกับธนาคาร ผู้ให้บริการการเงินไม่ว่าจะเป็น VISA, Mastercard, American Express เพราะ TfL ไม่ได้เป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยี contactless ขึ้นมาเอง เป็นแค่คนที่นำมาใช้เท่านั้น และทาง TfL ต้องทำระบบให้เข้ากับมาตรฐานของกลางที่กลุ่มธนาคารใช้งานกันอยู่แล้ว โดย TfL เริ่มใช้การชำระเงิน contactless ในปี 2012 และค่อยๆ ขยายให้ครอบคลุมจนถึงตอนนี้
ตั้งแต่ TfL รับจ่าย contactless มียอดผู้ใช้งานที่จ่าย contactless เฉลี่ย 6 ล้านการชำระต่อวัน และมีผู้ใช้งานรายใหม่ที่ใช้ครั้งแรกเฉลี่ย 6 หมื่นคนต่อวัน ที่สำคัญคือคนเดินทางไม่ต้องเปลี่ยนและปรับตัวเลย เพราะใช้บัตรธนาคารที่ตัวเองใช้งานมาแตะจ่ายเท่านั้น ค่าเดินทางเท่ากับจ่ายผ่าน Oyster Card จนตอนนี้มีบัตรจาก 145 ประเทศเข้ามามีกิจกรรมชำระเงินบน TfL
ซึ่งในลอนดอน คนใช้งานบัตรวีซ่า มาสเตอร์การ์ด จะเป็นบัตรเวอร์ชั่นรองรับ contactless ที่จะมีโลโก้เหมือน Wi-Fi แนวนอนบนบัตร คนเดินทางจึงไม่ต้องปรับตัวเยอะ ซึ่งธนาคารใน 145 ประเทศทั่วโลกก็มีเทคโนโลยี contactless กันหมดแล้ว
การรับจ่าย contactless ยังลดต้นทุนการบริหารขายตั๋ว Verma บอกว่า ปกติ TfL จะใช้เงิน 15% จากรายได้มาบริหารการขายตั๋ว แต่ตอนนี้ต้นทุนนั้นลดลงเหลือ 8.5% จากรายได้ทั้งหมดหรือนับว่าลดลงเกือบครึ่งเลยทีเดียว
ด้าน สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่าประจำประเทศไทย พูดถึงกรณีที่จะเกิดขึ้นได้ในประเทศไทยว่าขณะนี้ หลายๆ ธนาคารในประเทศไทยก็เริ่มออกบัตร contactless กันแล้ว ซึ่งบัตรใหม่ทั้งหมดธนาคารจะนำออกมาใช้แทนบัตรที่หมดอายุจะเป็น contactless นอกจากนี้เครื่องรับบัตรเวอร์ชั่นใหม่ที่สามารถรองรับ contactless ได้จะนำออกมาใช้เพิ่มขึ้น ซึ่งตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น
สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่าประจำประเทศไทย
การจ่ายเงินแบบ contactless ยังไม่จำกัดแค่จ่ายผ่านบัตร กับโทรศัพท์มือถือ แต่ยังรวมถึงอุปกรณ์สวมใส่ เช่น FitBit, Gamin เป็นต้น เพียงแค่ผู้เล่นในตลาดพัฒนาการใช้งานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ผู้ใช้แค่เพิ่มบัตรเข้าไปในอุปกรณ์ก็สามารถใช้งานได้
สุริพงษ์ บอกด้วยว่าตอนนี้ก็กำลังเตรียมงานกับรถไฟ MRT เรื่องระบบ ความพร้อมในไทย มีเวิร์คชอปร่วมกัน ด้านรถไฟฟ้า BTS ก็อยู่ในแผน แต่ได้พุดคุยกับทาง MRT มากกว่า โดยทีมทำงานของ MRT และธนาคารในประเทศไทยก็ได้เดินทางไปดูงานที่อังกฤษด้วย
สุริพงษ์ ระบุด้วยว่าตอนนี้มี 20 เมืองจาก 12 ประเทศที่ใช้งานระบบ contactless เพื่อการเดินทาง และมีอีก 150 เมืองทั่วโลกที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีนี้อยู่ (ไทยยังไม่รวมอยู่ใน 150 เมืองนี้) เป็นเทคโนโลยี open loop จึงไม่ได้จำกัดแค่วีซ่าเท่านั้น แต่จะใช้งานร่วมกันได้บนมาตรฐานเดียวกันไม่ว่าจะเป็นวีซ่า, มาสเตอร์การ์ด
สรุป
บทเรียนของอังกฤษยืนยันว่าการใช้บัตรธนาคารในการจ่ายค่าเดินทาง นอกจากจะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ในที่ไม่ต้องรอคิวซื้อตั๋วหรือพกบัตรหลายใบ ผู้ให้บริการเองยังสามารถลดต้นทุนระยะยาวในการบริหารบัตรได้ด้วย และการเปลี่ยนแปลงก็ทำได้ไม่ยาก ผู้คนหันมาใช้บัตรจากธนาคารแทนบัตรโดยสารกันได้อย่างรวดเร็ว
ความท้าทายคือ การใช้งานบัตร contactless ในไทย ยังไม่ทั่วถึงเท่าไรนัก บัตรจำนวนมากที่ออกโดยธนาคารไทยยังไม่รองรับมาตรฐาน Contactless ทำให้แม้ระบบขนส่งรองรับออกมาในตอนนี้ก็อาจจะต้องรออีกระยะที่จะมีการใช้งานเท่าในอังกฤษ แต่แนวโน้มโดยรวมบัตรแทบทั้งหมดก็น่าจะรองรับในอนาคต
Comments
อย่าว่าแต่ contactless เลย บัตรแมงมุมที่ปั้นกันมาหลายปียังล้มลุกคลุกคลานอยู่เลยครับ นานจนอยากรู้ว่าปัญหาจริงๆ คืออะไร
ทำไม่ได้ ไม่ทำ หรือ ไม่อยากทำ
นั่นซิ ปัญหาคืออะไรแน่ ประเทศไทย
เหมือนว่า BTS ไม่เอาด้วย ใช้ได้แต่ของเครือ MRT กับ ขสมก เท่านั้น เลยทำให้ดีเลย์แต่ถ้าจะเอาจริง ไม่ออกกฎหมายมาบังคับให้รองรับหละ มันจะได้จบ ไม่ต้องคาราคาซังแบบนี้ให้เสียเวลา ทำงานกันปัญญาอ่อนเป็นบ้าเลย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ARL นี่บอกว่าจะเริ่มใช้งานได้ตั้งแต่ปีก่อนนะครับ จนเมื่อไม่กี่เดือนก่อนเพิ่งประกาศว่า "ใช้บัตรแมงมุมซื้อเหรียญโดยสารได้ที่เคาท์เตอร์"ก็คือจนป่านนี้ก็ยังเอาบัตรไปแตะเข้าระบบเลยไม่ได้นั่นแหละ
นี่ถ้าไม่คิดตามดีๆผมนึกว่าเป็นมุกตลกเลยนะ แต่มาคิดดีๆก็ไม่แปลกกับระบบต่างๆในบ้านเรา
กฏหมาย มันกระจอก ถถถ
ไปไม่รอดผมว่าก็อย่าทำเองเลยดีกว่า ให้คนที่เชี่ยวชาญทำ ฮ่าๆ อย่าง Visa/Master นี่คนทั่วๆ ไปก็มีบัตรกันทั้งนั้นแล้ว ไม่ต้องพกบัตรเพิ่มด้วย
มันติดปัญหาว่าคนทั่วไปไม่มีบัตร Visa, MasterCard อ่ะครับ ไปๆ มาๆ จะกลายเป็นเรื่อง discrimation ไปด้วย เพราะรายได้ไม่ถึงรายได้ขั้นต่ำที่จะมีบัตรเครดิตอ่ะครับ
ยกเว้นว่าบัตร Visa Electron จะใช้ได้เหมือนกันอ่ะนะครับ
แค่เปิดบัญชีธนาคารบัตร ATM เดี่ยวนี้ธนาคารก็แทบจะให้บัตร Visa/Master Debit การ์ดเป็นค่า Default แล้วครับ ซึ่งคนส่วนใหญ่วิ่งขึ้นรถไฟฟ้าผมว่าก็มีทั้งนั้นละครับ แถมสะดวกกับน้กท่องเที่ยวต่างชาติด้วย
กำลังจะ Log in เข้ามาพิมพ์พอดี ว่าบัตรสมัยนี้เป็น Debit แบบ Contactless แทบทั้งหมดแล้ว ธนาคารไหนไม่มี ถือว่าเชยมากเลยแหละ
ถ้าผมเจอบัตรตก ก็หยิบมาแตะขึ้นขนส่งมวลชลฟรีสิ
ใช่ครับ แต่เจ้าของบัตรก็มีหน้าที่อายัติบัตรที่หายนะครับ เพื่อป้องกันเหตุการณ์แบบนี้
ปัญหามักจะเป็น กว่าจะรู้ตัวว่าหาย มันก็สายเสียแล้วนี่สิครับ
บัตรพวกนี้มันจะมีลิมิตอยู่ครับว่า ตัดได้ไม่เกินครั้งละเท่าไร และวันละไม่เกินเท่าไรครับถ้ามากกว่านั้นก็จะต้องมี Authen อะไรบางอย่างครับไม่สามารถแตะจนเงินหมดบัญชีได้หรอกครับ
ลองคิดกลับกันนะครับ บัตรเติมเงินปกติถ้าหล่นหายเราทำอะไรได้บ้างครับ อายัดได้มั้ย? แล้วถ้าทำเงินสดหล่นหาย เราทำยังไงครับ ผมหวังว่ามันอาจจะปลอดภัยกว่าการทำบัตร ATM หล่นหายนะครับ...
ในแง่ความปลอดภัยไซเบอร์ ก็แบบเดียวกับบัตรโดยสารครับ (โอเค บัตรโดยสารมักมีวงเงินต่ำกว่า อันนั้นเป็นประเด็นที่บัตรเครดิตควรป้องกันเพิ่ม)
แต่ไม่ฟรีครับ หยิบไปแตะนี่ขโมย เจ้าของเขาตามแล้วเอาเรื่องนี่เข้าคุก
lewcpe.com , @wasonliw
Visa Debit นี่ใช่ Visa Electron มั้ยอ่ะครับ คือถามเพราะไม่รู้ เพราะผมมีบัตร Visa Electron ที่ได้มาจากการเปิดบัญชีอยู่
Visa Debit ไม่ใช่ Visa Electron ครับ Visa Electron - Wikipedia
ขนาดมีรายได้ มีเงืนฝากแต่ทำธุรกิจส่วนตัวยังขอยากเลยบางเจ้าขอมา5-6ปียังไม่ได้ ลูกน้องเพิ่งมาทำงานขอได้แล้ว
ถ้ามีเงินฝาก แบงค์แทบจะกราบให้ช่วยทำบัตรเครดิต (ธุรกิจส่วนตัวเหมือนกันค่ะ)
ทำได้แต่จะอนุมัติก็แล้วแต่ธนาคารด้วยละครับ ผมก็เจ้าของกิจการ เงินฝากก็มีเหมือนกันครับ ธนาคารมาขอให้ทำบ่อยเดี๋ยวนี้พอแล้วมีเท่าไหร่ใช้เท่านั้น
เดี๋ยวมีคนออกมาโวยว่าขายชาติแน่นวล
I need healing.
มีแน่อยู่แล้วฮะ อารมณ์น่าจะประมาณว่าใช้บัตร Visa ให้พวกอเมริกันมันสืบข้อมูลบลาๆๆๆๆ
เวียนหัวเลย
ถามเพิ่ม ในกรณีที่มิจฉาชีพถือเครื่องที่ให้สำหรับแตะไปแอบแตะกับบัตรในกระเป๋าโดยที่เจ้าของบัตรไม่รู้ตัวได้มั้ยครับ?
ผมว่าได้ครับ แต่เครื่องที่จะจ่ายเงินได้นี่เห็นมาจากธนาคารไรงี้เปล่าต้องยืนยันตัวต ยืยันร้านค้าไรงี้ด้วยมั้งครับ ถึงโจรได้ไปก็น่าจะตามจับได้ไม่ยาก
เดี่ยวนี้ก็มีกระเป๋าป้องกัน NFC แล้วนะครับ ส่วนใหญ่เห็นมักชอบบอกว่ากันข้อมูลในบัตรหลุด ไม่ได้กันรูดเงินงี้ แต่ก็ป้องกันกรณีนี้ได้
ขอบคุณครับ เรื่องกระเป๋าป้องกันนี่เห็นขายใน Kicstater เต็มเลย
จริงไม่ต้อง Kickstarter หรอกครับ ฮ่าๆ บางอย่างผมว่าแพงเกิน
Ali เดี่ยวนี้ก็มี ถ้าจีนก็ Xiaomi ก็ทำ หรือยี่ห้อที่ขายไทยเน้นความปลอดภัยก็ pacsafe งี้
บ้านเราก็มีขายนะครับ ใน .Life ยังมีเลย rfid block
แต่เมื่อก่อนผมเอากระเป๋าไปกด ไม่เอาบัตรออกจากกระเป๋าด้วยนะ
ผมรู้จักครั้งแรกจาก kickstarter น่ะครับ ส่วนตัวไม่ได้สนใจอะไรแนวนี้ แต่สนใจอะไรแปลกๆ เลยวนดูใน kickstartet บ่อยๆ บางอย่างแบคไปแล้ว พอได้ของมาแล้วตลกก็เยอะครับ
ได้ครับ มีทำคลิปออกมาขู่กันระดับนึง กระเป๋าเงินก็ขยันทำบล็อคสัญญาณกันจัง แต่คือผมจะเอาบัตรแตะโดยไม่เอาบัตรออกจากกระเป๋าไงแล้วมันทำไม่ได้ถ้ากระเป๋าบล็อคสัญญาณ
เครื่องมันก็อปบัตรออกไปไม่ได้นะครับ ดังนั้นก็ต้องแตะเพื่อหักเงิน แล้วถ้าเอาเครื่องหักเงินไปแตะนี่คงโดนตามจับได้ง่ายเลย
แต่ก็สงสัยอยู่นิดนึงว่าทำ relay | proxy ได้มั้ย แบบให้อีกคนไปจ่ายเงิน ข้อมูลรับ/ส่งก็ยิงผ่านมาที่เครื่องโจมตีที่แตะกับบัตร แต่ก็ยากอีกที่จะไปแอบแตะต้นทางพร้อมกับให้ปลายทางแตะจ่ายเงิน
นั่นสิครับ ผมคิดไปถึงอันนั้นแหละ
ด้านเทคนิคไม่มีปัญหาอะไรเลยครับ แก้ไขให้รองรับมาตรฐานเดียวกันง่ายมาก อันที่จริงทำเสร็จไปตั้งนานแล้วด้วย
ที่ไม่ยอมใช้กันอยู่ทุกวันนี้เพราะเรื่องเงินกับการเมืองล้วน ๆ ครับ ใคร ๆ ก็อยากได้ float
That is the way things are.
ผมไม่อยากให้คำตอบเป็นอะไรแนวนั้นเลยครับ แค่เท่าที่เป็นก็รู้สึกว่าประเทศมันเละเทะมากแล้ว
อ่ะ แบบนี้จะรู้สึกดีขึ้นมั้ยครับ
หน่วยงานควบคุมและส่วนกลางเราไม่ออกกฎมาบังคับใช้ (ด้วยสารพัดสาเหตุที่ยังมองในแง่ดีได้) ใครๆ ก็ไม่อยากเสียค่าธรรมเนียมเพราะหมายถึงการเสียกำไร (หรือนับตรงๆ ก็ต้นทุนเพิ่มขึ้น) ถูกไหมครับ?
แต่เอ้อ ไม่รู้เค้าคิดคำนวณ "ค่าเสียเวลาและเสียความสะดวก" รวมถึงต้นทุนของการทำระบบให้ดีเท่าเข้าไปด้วยหรือเปล่านะ แต่ก็นั่นแหละครับ ระบบมันผูกขาดอยู่ คนหนีไปไหนไม่ได้ก็ต้องยอมเขาทั้งหมดนั่นแหละ ทำออกมาห่วยหรือช้ายังไงก็ต้องจ่าย ทางผู้ให้บริการก็สบายใจ ได้เงินเต็มเม็ดเต็มหน่วยไม่ต้องถูกหักและไม่มีใครบังคับให้ต้องรองรับเจ้าอื่นที่ต้องถูกหัก
ครั้นจะทำกองกลางรวม (แบบ PromptPay) มาเป็นศูนย์กลางส่งเงินข้ามกัน (จะได้ใช้ข้ามกันได้แบบเวลาเราโอนเงิน หรือฝั่งญี่ปุ่นเอาบัตรนู่นนี่จ่ายข้ามกัน) ก็ เอ่อ ไม่มีใครบังคับให้ทำ ทำไมต้องยอมเหนื่อยยอมจ่ายเพิ่มด้วยล่ะ ญี่ปุ่นเอง เมื่อก่อน Suica Pasmo และอื่นๆ ยังจ่ายข้ามกันไม่ได้เลย
ก็ไม่ได้รู้สึกดีขึ้นเท่าไหร่เลยครับ ?
พ.ร.บ.ตั๋วร่วม ที่ควรจะประกาศใช้ตั้งนานแล้ว ยังไม่ผ่านสักที นานจนบทเฉพาะกาลที่ร่างไว้ไม่ต้องใช้แล้วเนี่ย
อันนี้ก็ย้อนกลับไปอ่านคห. คุณ zerocool นี่แหละครับ ?
ฮ่าๆๆๆ ขอบคุณครับ ผมเห็นว่ามันเป็นแบบนั้นแหละก็เลยมองว่ามันเละเทะครับ
แบบนี้แหละที่ Contactless ควรจะมีในไทย ทั้งระบบขนส่งและร้านค้าทั้งประเทศ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
อยากให้เกทแตะบัตรไม่เกิน 0.5 แบบเขาบ้าง 0.2 แบบญี่ปุ่นยิ่งดี
+1 ผมก็สงสัยว่า Felica นี่ค่าสิทธิ์การใช้งานมันแพงเหรอถึงไม่มีใครเอาไปใช้ด้วย
โอ๊ะ มีสแกนลายนิ้วมือได้ด้วย
เป็น Proprietary และต้องซื้อสิทธิ์/ลิขสิทธิ์การใช้งานร่วมหรือเปล่า หรือทำมาใช้เฉพาะประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น เขาเลยไม่ขายให้ภายนอก
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
มีแสกนลายนิ้่วมือนี่แพงทั้งนั้นครับ (ชิ้นส่วนเพิ่ม ต้นทุนเพิ่ม)
lewcpe.com , @wasonliw
ของ MRT น่าจะประมาณ 2 วินาทีนะทุกวันนี้BTS น่าจะวินาทีนิดๆ
ของญี่ปุ่นนี่ ยังไม่ทันแตะโดนก็ดังแล้ว ไวมาก
ระบบจะไฮเทคฯ แค่ไหนก็ตามใจแต่ค่าโดยสารคนใช้จ่ายเองได้ไหม
ตามจริงทำให้รองรับ contactless ไปก่อนเลยก็ได้นะ พวกรถไฟฟ้า เพราะยังไงคนใน กทม ที่ใช้งาน เปลี่ยนแปลงกันเร็วอยู่แล้ว
ผมทำบัตร Visa/Master Debit มาหลายปีแล้วเป็นบัญชีแยกสำหรับ cyber โดยเฉพาะ
แยกเหมือนกัน เคยโดนแฮกเงินในบัตรเพราะผูกกับเว็บไว้ประมาณ 280 บาท แล้วก็ตัดอีกไม่ได้เพราะเงินในบัญชีที่ว่ามีแค่นั้น XD
ในจีนใช้ QR ไม่ต้องแตะบัตรแล้ว บางครั้ง QR คนอาจเข้าถึงง่ายกว่า เป็นทางเลือกสำหรับผู้ไม่พกบัตรอะไรมากมาย
QR นี่ช้ากว่ามากครับ ยากมากที่จะจ่ายสำเร็จใน 0.5 วินาที พวกนี้มีผลมากตอนคนต่อคิวกันยาวๆ ความช้าขึ้นอีก 0.5 วินาทีนี่สร้างคิวสะสมได้เร็วมาก
แต่มันก็แก้ได้ด้วยการเพิ่มจำนวนช่อง (ซึ่งเพิ่มต้นทุน) อันนี้เป็นทางเลือกการออกแบบระบบของแต่ละประเทศไป
lewcpe.com , @wasonliw
ลองดู QR Code ของไทย Rabbit LINE Pay, 7-11 True Money งี้ กว่าจะตัดเงิน จริงมัน scan แปปเดียว แต่ รออะไรก็ไม่รู้ นาน เอาไปใช้กับรถขนส่งไม่น่ารอด
เคยเห็นเวลาขึ้นเครื่องบิน สแกนก็เร็วดีนะ มีคนเอาตั๋วในมือถือมาสแกน
แต่สิ่งที่ช้าคือการเปิดแอพนี่แหละ ต้องเดินไปเปิดไปรอไว้ เหมือนผมจะกดเงินไม่ใช้บัตร ต้องเดินกดแอพไปเรื่อยๆ มือถือก็ช้า -*-
app เองก็ไม่ได้ optimize มาเร่งความเร็วกระบวนการตรงนี้เลยครับ เขียนแบบให้มีฟีเจอร์ในแอป
ลองนึกภาพ คน 100 คนต่อคิวออกจาก gate ทุกคนต้องเปิด QR หมด ดูครับแล้ว QR ก็ห้ามเป็น QR ซ้ำๆ ด้วยนะ ไม่งั้นขโมยได้ เท่ากับว่าต้อง online generate
หลักในการออกแบบสำหรับระบบขนส่งคือ ต้องไวครับ QR นี่ไม่ทันกินแน่นอน กว่าจะเปิด app กว่าจะ gen QR กว่าจะ confirm
ง่ายๆ ก็ลองเทียบคนออกจาก MRT บ้านเรากับญี่ปุ่นก็ได้ครับ
ของญี่ปุ่นนี่ คนใช้รถไฟเยอะกว่าเรามาก แถม gate ทางออกก็ไม่ได้เยอะแบบเรา ยังแทบไม่มีคนต่อแถวเลยนะครับ (บางทางออก มีแค่ 1-2 gate, shinagawa ใหญ่มาก ตรงทางเข้าฝั่งนึงมีแค่ 4 gate เองมั้ง แถมแชร์กับทางออก 2 gate ด้วย)เพราะของเขาไวมาก แค่แตะลอยๆ ไม่ทันโดนก็ออกได้แล้ว ประตูก็เปิดตลอดเวลา ไม่ต้องรอ (ปิดตอนคนเดินผ่านโดยไม่แตะบัตร)
ส่วนตั๋วธรรมดา ก็สอดได้ทั้ง 2 ทาง ขอแค่ให้เอาด้านแม่เหล็กลงเท่านั้น
ของบ้านเรานี่ MRT แตะบัตร 2 วินาที (แตะค้างด้วยนะ)
รอประตูเปิดก่อน (ออกทีละคน)
บัตรสอดได้ทางเดียว แถมไม่ชัดเจนด้วยว่าเอาด้านไหนเข้า
แวะมาแปะ ฮ่าๆ คนเยอะแบบต่อตัวกันนี่ญี่ปุ่นก็ยังพลาด ฮ่าๆ ถ้าเป็นของไทยนี่คงไม่แย่กว่านี้เยอะเลย
จากหัว title นี่น่าจะเป็นรถไฟขบวนแรกที่มางาน Comiket (ที่เวลาคนจะเข้างานต้องต่อแถวยาวมากๆน่ะครับ ลองไปหารูป หรือ video ดู) คนเลยมหาศาลมากเคสนี้ เขาเตรียมเจ้าหน้าที่มายืนด้านหน้าเพื่ออำนวยความสะดวก แต่จะเห็นว่าแต่ละคนออกได้เร็วมาก ถึงสุดท้ายจะมีแถวอยู่ดี เพราะคนมันมหาศาลกว่าปกติมาก
เข้าถึงง่ายจริง แต่มาขอยืนยันว่าช้าจริงครับ มันจะช้าตรงกระบวนการตรงหลังสแกนว่ามันต้องรอโหลดข้อมูล
เคสที่ผมใช้งานจริงคือสแกนผ่านตู้ขายน้ำอัตโนมัติ(ของทรู)จ่ายด้วยทรูมันนี่วอลเล็ต มันจะมาช้าหลังสแกนโค้ดเพราะต้องรอโหลดข้อมูล จะกดทันทีไม่ได้ไม่ผ่านต้องรอถึงจะซื้อสำเร็จ แต่ก็โหลดไม่นานขนาดนั้นขึ้นอยู่สภาพเน็ตตอนนั้น
Mekokung's Story บล็อกส่วนตัวที่ย้ายไป Blogger แล้วนะ
ถ้าสแกน QR Code แล้วหมุนโดยไม่มีจุดหมาย กดดันกว่าหยอดเหรียญแล้วเอาไปแตะอีกครับ
เรื่องการใช้ QR Code เข้าขนส่งมวลชน ผมแนะนำให้ดูตัวอย่างของ Yui Rail ของเมือง Naha เกาะ Okinawa ได้เลยครับ รถไฟฟ้าที่นี่ใช้แบบ QR Code ซึ่งเท่าที่ใช้มาเกือบสัปดาห์ บอกเลยว่า QR Code ไม่เวิร์คครับ มันช้ามากและสแกนยากด้วย กว่าจะสแกนได้ต้องใช้เวลาและขยับไปมาครับ ดีที่คนบนเกาะ Okinawa มีไม่เยอะมันเลยพอถูไถไปได้ แต่ประสิทธิภาพนี่ต่างจากระบบ RFID หรือ IC card อย่าง Suica ในแผ่นดินใหญ่อย่างชัดเจน อันนี้แตะปุ๊บติดปั๊บ ประสิทธิภาพสูงกว่าเยอะมากครับ
และเหมือนทาง Yui Line เค้าก็รู้ตัวนะว่ามีปัญหา เพราะเขียนอธิบายวิธีการใช้งานไว้ให้เห็นเยอะมาก แถมมีเจ้าหน้าที่ช่วยดูด้วย แสดงว่าปีญหาน่าจะเยอะเหมือนกัน
สาย Yui Line ก็พอจะเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ใช้งาน QR Code จริงแล้วมันไม่เวิร์คครับ ส่วนในจีนผมไม่แน่ใจว่าผลการใช้ออกมาเป็นอย่างไร แต่ถ้าดูจากตัวอย่างในญี่ปุ่นนี้คงชัดเจนว่าเราใช้ RFID ดีกว่าครับ
แล้วเป็นแอปจากรถไฟฟ้าเอง(อาจรวมกันทำ) แล้ว Optimize ให้เร็วขึ้นผูกกับบัญชี สำรองเงินจำนวนหนึ่งไว้ ไม่ต้องไปดึงข้อมูลจากระบบมากลักษณะเดียวกับบัตร แค่เปลี่ยนการอ่านจากสัญญาณวิทยุเป็นภาพแทน แบบนั้นพอช่วยได้ไหม เข้าใจว่าช้าเพราะว่าในกระบวนการของระบบต้องเช็คยอดต้องขอตัดเงินแล้วยืนยันหลายขั้นถ้าลดขั้นตอนให้เหลือเท่าบัตรน่าจะไวขึ้น
อธิบายไม่เก่งแต่ก็พยายามแล้วนะ
ยังไงก็ไม่ไหวครับ
เป็นแอพ มันจะมีขั้นตอน ปลดล็อกโทรศัพท์ เปิดแอพ เปิดหน้าจอ qr หันไปเล็ง (นึกถึงเวลาเราเล็ง barcode starbuck ครับ) เร็วสุดก็กินเวลาหลายวินาที เมื่อเทียบกับ ic card ที่ 0.5 วินาที (ญี่ปุ่น 0.2 วินาที) มันต่างกันเยอะมากๆครับ คนเดียวยังไม่เท่าไหร่ ถ้าคนเยอะๆ มันจะสะสมทันที สมมติมี 10 คน ช้าลงคนละ 2 วินาที คนสุดท้ายจะออกชานชาลาช้ากว่าเดิมถึง 2 นาทีกว่าๆ นี่ยังไม่นับว่าแต่ละคน process ในตัวเองช้าขนาดไหนนะครับแล้วลองดูที่มีคนเอา video มา post ก็ได้ครับ ลองนึกภาพแต่ละคนเปิด qr เล็งดู
เป็นห่วง BTS อยู่เจ้าเดียวนี่แหละครับ ผลประโยชน์ไม่เข้าใครออกใครจริงๆ จะดัน Rabbit สุดตัวเลยอย่างอื่นไม่ต้องให้ได้ผุดได้เกิดทั้งนั้น
ก็เข้าใจว่าธุรกิจก็ต้องเป็นแบบนี้แหละ สาวได้สาวเอา ดังนั้นรัฐต้องออกกฏหมายไปเลย ทุกเจ้าต้องใช้ระบบกลาง ถึงมีระบบส่วนตัวก็ต้องทำให้ใชัระบบกลางได้ ถ้าไม่ทำตามกฎหมาย คุยไม่รู้เรื่อง มัวแต่ต่อรองผลประโยชน์ ก็ยึดสัมปทาน จบ
"พ่อเขา" (กทม.) ไม่เอาด้วยไงครับ
พวกนี้ regulator กำหนดได้ทั้งสิ้น ไม่ทำตามอย่างมากสุดก็รอหมดสัญญา รอบหน้าไม่ต้องคุยกัน หรืออยากต่อล่วงหน้าก็ต้องทำตั้งแต่ตอนนี้อะไรว่าไป อย่าง TfL บังคับให้แท็กซี่รับบัตรเครดิต ก็แลกกับการขึ้นราคาเริ่มต้น พวกนี้มันเจรจากันได้อยู่แล้ว
แต่กทม. ภายใต้พรรคตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์ เซ็นต่อสัญญาก่อนหมดวาระ 8 เดือน แล้วก็ไม่ได้กำหนดเพิ่ม ถ้าไม่กำหนดอะไรเพิ่ม เขาจะทำทำไม?
lewcpe.com , @wasonliw
ถึงเวลาก็มีคนไปต่อสัญญาให้เงียบๆ อีกสามสิบปีอ่ะแหละ
น่าจะเหมาะกับพวกขาจรครับ ส่วนพวกที่ใช้ประจำคงยังต้องซื้อตั๋วเดือน/เหมาเที่ยว ผ่านบัตรโดยสารต่อไป หรือ VISA/Mastercard จะฝั่งระบบนี้ลงไปด้วยเลย O____O)