Tags:
Node Thumbnail

สภาของรัฐแคลิฟอร์เนีย ผ่านกฎหมายสำคัญเรื่อง Gig Economy ที่กำหนดให้บริษัทอย่าง Uber, Lyft, DoorDash, Instacart, Postmates ฯลฯ จำเป็นต้องให้สวัสดิการพื้นฐานกับคนทำงานที่เรียกว่าเป็น "คู่สัญญา" (independent contractor) แบบเดียวกับพนักงานประจำ

กฎหมายฉบับนี้มีชื่อเรียกว่า AB5 ตอนนี้ผ่านทางสภาผู้แทนและวุฒิสภาของรัฐแคลิฟอร์เนียแล้ว เหลือขั้นตอนลงนามของผู้ว่าการรัฐ Gavin Newsom ซึ่งก็เคยแสดงท่าทีสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ จากนั้นจะมีผลบังคับใช้ในปี 2020

เป้าหมายของกฎหมาย AB5 คือคุ้มครองแรงงานในระบบ Gig Economy ที่ไม่มีสวัสดิการใดๆ เลย มีเพียงค่าจ้างตามจำนวนชิ้นงานเท่านั้น ไม่มีการการันตีค่าแรงขั้นต่ำหรือค่าแรงล่วงเวลา รวมถึงสวัสดิการด้านอื่นๆ เช่น ประกันสุขภาพ

ส่วนผู้ที่คัดค้านกฎหมาย AB5 มองว่ากฎหมายฉบับนี้จะเพิ่มต้นทุนของบริษัทแนว Gig Economy และมองว่าแรงงานเหล่านี้ต้องการเลือกเวลาทำงานอย่างอิสระ (flexible hours) ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว

การผ่านกฎหมายนี้ในระดับรัฐบาลท้องถิ่นระดับรัฐ ถือเป็นก้าวสำคัญของอุตสาหกรรม Gig Economy ในสหรัฐ เพราะผู้สมัครประธานาธิบดีจากฝั่งพรรคเดโมแครต ไม่ว่าจะเป็น Elizabeth Warren, Bernie Sanders, Kamala Harris, Julian Castro, Pete Buttigieg ต่างก็สนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ และหากการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2020 เป็นชัยชนะของเดโมแครต ก็มีโอกาสสูงที่เราจะเห็นการผลักดันกฎหมายในระดับชาติตามมา

ที่มา - San Francisco Chronicle , BBC

No Description

ภาพจาก DoorDash

Get latest news from Blognone

Comments

By: api on 12 September 2019 - 12:53 #1127903

ฝันร้ายผู้ประกอบการ ?

By: put4558350
Contributor Android Ubuntu Windows
on 12 September 2019 - 13:27 #1127915 Reply to:1127903
put4558350's picture

มั้ง ... ผู้ประกอบการ ก็อาจจะไล่คนออก + เก็บส่วนแบ่งมากขึ้น เพื่อชดเชยค่าสัวสดิการที่ต้องจ่ายออกไป

... ถ้าจำเป็น ก็หยุดรับคนขับในรัฐแคลิฟอร์เนียไปเลย


samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: Ford AntiTrust
Contributor Android Blackberry Ubuntu
on 12 September 2019 - 17:04 #1127972 Reply to:1127903
Ford AntiTrust's picture

รัฐต้องหาทางป้องกันปัญหาในอนาคตจากการที่ตัวประชาชนทำงานในระบบการจ้างงานแบบใหม่นี้ เช่นหากไม่มีระบบประกันสุขภาพ เงินชดเชยระหว่างว่างงาน เงินสำรองเลี้ยงชีพยามแก่ รวมไปถึงความเป็นอยู่ของลูกจ้างของระบบการจ้างงานแบบใหม่ จะตามมาซึ่งปัญหาสังคมในอนาคตของสังคมนั้นๆ

คนไทยอาจจะนึงไม่ออก เพราะรัฐไทยเพิ่งเริ่มมีระบบรัฐสวัสดิการได้ไม่นานนัก จึงเน้นพึ่งตัวเอง กอบโกยให้มากที่สุด เพื่อหวังสบายตอนแก่ ซึ่งไม่ดี เป็นรัฐที่สูบเลือดสูญเนื้อคนในชาติช่วงวัยทำงาน แล้วโยนทิ้งปล่อยตามมีตามเกินในปั่นปลายชีวิต แต่ในหลายประเทศ ประชาชนในปั่นปลายชีวิต รัฐจะลงมาอุ้มคนกลุ่มนี้ให้มีชีวิตอยู่ต่อไปได้จนสิ้นอายุขัย ส่วนกลุ่มคนทำงานก็เสียภาษีเพื่ออุ้มคนแก่อีกทีหนึ่งผ่านระบบภาษี แล้วเป็นวัฏจักรของสังคมแบบนี้ไปเรื่อยๆ (มองในแง่ดีสุด) ทำให้คนในวัยทำงานทำงาน ใช้เงิน ลงทุน แล้วห่วงอนาคตหลังจบวัยทำงานได้น้อยลง คืออย่างน้อยๆ ก็มีระบบอุ้มชูให้มีชีวิตอยู่ได้ในระดับที่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไม่ลดต่ำลง

ส่วนบริษัทอาศัยช่องว่างของกฎหมายของรัฐ ในรูปแบบการจ้างงานแบบ gig economy เพื่อลดต้นทุนต่างๆ ผลักภาระหลายๆ อย่างให้รัฐไปดูแล แทนที่จ่ายให้รัฐเพื่อนำไปสนับสนุนประชาชนอย่างเป็นระบบ รัฐก็ต้องหาทางเพื่อดึงจุดที่เสียไปกลับมาเพื่อให้ยังสมดุลเหมือนเดิม ไม่งั้นปัญหาในอนาคตเกิดได้

By: port on 12 September 2019 - 13:37 #1127918

employee = working Hours
independent contractor = flexible hours
employee = flexible hours ?
employee ≠ working Hours ?
independent contractor = working Hours ?
independent contractor ≠ flexible hours ?

By: Fourpoint
Windows Phone Android Symbian
on 12 September 2019 - 15:07 #1127938

รัฐก็ต้องวิ่งไล่ตามแบบนี้แหละ

นึกถึงสมัยมีโรงงานใหม่ๆ กว่าแรงงานในโรงงานจะได้สวัสดิการคุ้มครองแบบปัจจุบัน ช่วงนั้นผู้ประกอบการก็คงบ่นไม่ต่างกัน