อุตสาหกรรมการเงินและธนาคารเป็นอุตสาหกรรมที่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงเทคโนโลยีที่เร็วเป็นอันดับต้น ๆ และด้วยความที่ธนาคารเป็นองค์กรใหญ่ การเปลี่ยนแปลงในแต่ละองค์กรจึงมีรูปแบบเฉพาะตัวตามโครงสร้างองค์กรที่ต่างกันไป
CIMB THAI เป็นธนาคารขนาดเล็ก ที่ปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลโดยเลือกการสร้างทีม Digital Technology ขึ้นมาใหม่หมด เพื่อตอบโจทย์ของลูกค้าให้ได้มากที่สุดและเป็นแนวหน้าในการพา CIMB THAI เปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในอนาคต
แน่นอนว่าทีมที่ค่อนข้างใหม่แบบนี้ CIMB THAI เลยอยากได้คนรุ่นใหม่เข้ามาช่วยกันสร้างสิ่งใหม่ ๆ เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปด้วยกัน
ดิสรัปตัวเองด้วยการสร้างซอฟต์แวร์เฮ้าส์ขึ้นมาภายใน
CIMB THAI อยู่ภายใต้ CIMB Group ซึ่งเป็นกลุ่มการเงินขนาดใหญ่สัญชาติมาเลเซีย ที่มีบริษัทลูกอยู่ทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงในประเทศไทยในชื่อธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMB THAI Bank) ที่ใช้นโยบายหลักเดียวกัน โดยปรับให้เข้ากับบริบทของสังคมไทยมากขึ้น
แต่เดิมการพัฒนาแอปพลิเคชัน มีความจำเป็นต้องรอการสนับสนุนจากทีม Dev ส่วนกลางของ CIMB Group ที่มาเลเซียและเวนเดอร์ภายนอก ทำให้กระบวนการต่าง ๆ ไม่รวดเร็วเท่าที่ต้องการ อีกทั้งกระบวนการพัฒนาที่เป็น waterfall ส่งผลให้ CIMB THAI ขยับตัวด้านเทคโนโลยีค่อนข้างช้า
คุณโจ - ฉัตรชัย แซ่อึ้ง, Head, Digital Technology
คุณโจ - ฉัตรชัย แซ่อึ้ง ตำแหน่ง Head, Digital Technology เล่าว่าแนวทางของ CIMB THAI จึงเป็นการสร้างทีม Digital Technology แยกขึ้นมาต่างหาก เหมือนเป็นบริษัทเทคโนโลยีภายใน มีกระบวนการทำงานและวัฒนธรรมที่แยกออกมาเป็นอิสระ แม้จะยังคงมีบางส่วนที่ต้องเติมเต็มกฎระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ก็ถือว่ามีความรวดเร็วคล่องตัวมากขึ้นกว่าเดิม คุณโจเปรียบว่าทีมนี้เหมือนเป็นสตาร์ทอัพ ที่มีแบ็คเป็นธนาคารใหญ่ ทำให้มีความมั่นคงกว่ามาก
“ ทีม Digital Technology มีอายุได้ราว 1 ปี กว่า ๆ แล้ว งานแรกของทีมคือสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับผลิตภัณฑ์ลูกค้าทั่วไป อย่างแอป CIMB THAI Digital Banking ขึ้นมาใหม่แทนที่ของเดิม แน่นอนว่าเราเลือกใช้ Microservice Architecture และประยุกต์ใช้ Container Technology เชื่อมต่อกับ Legacy System อย่าง Core Bank รวมถึงระบบของภาครัฐอย่าง Promptpay, ITMX หรือ NDID ขณะเดียวกันก็ทำ API Gateway สำหรับเชื่อมกับฝั่ง front-end รวมถึง API ของพาร์ทเนอร์ ”
ปัจจุบันการพัฒนา Digital Platform มีการพัฒนาไปได้ด้วยดี ซึ่ง Mission ต่อไปของทีมคือการ Utilize ฟังก์ชันงานต่างๆที่มีความเป็นไปได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันกระบวนการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีหลังบ้านของ CIMB THAI ทั้งหมด
Tech Stack
เครื่องมือที่ทีม Digital Technology ใช้ จะเป็นโอเพนซอร์สเสียส่วนมาก ยกตัวอย่างเช่น Development Tools เราใช้ Jenkins, SonarQube, GitLabs ส่วน Platform solution ใช้ OpenShift หรืออื่นๆ เช่น HAProxy, Redis, MySQL, Elastic Search, Grafana, Prometheus และ Kibana เป็นต้น
ส่วนภาษาที่ใช้ก็มี Java, Swift, Kotlin และ Django
กระบวนการการทำงาน
ทีม Digital Technology เลือกประยุกต์ Agile SCRUM practice ซึ่งระยะเวลาของ Sprint จะอยู่ที่ประมาณ 3 สัปดาห์ ภายในทีมย่อยจะเป็นการรวมผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาสร้างเป็นทีมย่อยๆ ซึ่งเราจะเรียกกันว่า squad เพื่อให้กระบวนการต่าง ๆ กระชับที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
นอกจากนี้ในทุก ๆ ครึ่งวันสุดท้ายของ sprint จะเป็นช่วงส่งเสริมการเรียนรู้ของคนในทีมว่าเจออะไร ระหว่างทำงาน คือนำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนกัน หรือ อาจเป็นการทดลองสร้างนวัตกรรมอะไรใหม่ ๆ ที่อยากทำ เพื่อเป็นการเตรียมตัวสำหรับ sprint ถัดไป
และด้วยการมีรากฐานอยู่ในอาเซียน ทำให้มีโอกาสได้ทำงานร่วมกับคนต่างชาติอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนพนักงานจากประเทศอื่น หรือ คนที่มาจากบริษัทแม่ที่มาเลเซีย รวมถึงโอกาสที่จะได้เดินทางไปทำงานที่ต่างประเทศด้วย
สวัสดิการ
คุณโจบอกว่า จุดเด่นของที่นี่คือการทำงานทุกอย่างเหมือนสตาร์ทอัพ อาทิ มี Macbook ให้ใช้งาน โดยมีการควบคุมการใช้งานในระดับที่ไม่เกิดความเสี่ยงต่อธุรกิจ แต่ก็ไม่ทำให้การทำงานติดขัด สามารถเข้าถึงเวบไซต์ที่จำเป็นต่อการทำงานได้ทั้งหมด มีเวลาเข้างานที่ยืดหยุ่น มีคอร์สฝึกอบรมทั้งภายในและภายนอกองค์กร มีการจัดแข่ง Hackathon ของ CIMB Group ที่มาเลเซียซึ่งก็มีการส่งคนไปร่วมทุกครั้ง วันลาพักร้อนขั้นต่ำ 15 วัน
แต่สิ่งที่เหนือกว่าคือมีทรัพยากรและการสนับสนุนด้านสวัสดิการในระดับบริษัทใหญ่ อย่างทุนการศึกษาระดับปริญญาโท กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และที่สำคัญคือสวัสดิการด้านเงินกู้ ที่จะได้ดอกเบี้ยอัตราพิเศษ อีกทั้งประกันสุขภาพกลุ่มและการตรวจสุขภาพประจำปีที่เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว
มองหาคนแบบไหน
คุณโจบอกว่าคนที่จะเหมาะสมกับที่ CIMB THAI คือคนที่ไม่เป็นน้ำเต็มแก้ว พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา มี passion ในการทำงาน มีความรับผิดชอบในงานที่ทำ ขณะเดียวกันก็สามารถบาลานซ์เรื่องงานและไม่ใช่งานได้ด้วย
เสียงสะท้อนจากพนักงาน
คุณนนทนันท์ สุดลาภา Development Team Lead
- มาร่วมทีม Digital Technology ตั้งแต่แรก สร้างทุกอย่างขึ้นมาจากศูนย์
- หน้าที่ที่ทำคือ รับ requirement จาก Product Owner รวมถึงการพิจารณาดูแล เพื่อตอบสนองต่อความต้องการอีกทั้ง Balances team capacity อีกด้วย
- มีโอกาสได้ทดลองเล่นของใหม่ ๆ ตลอดเวลาจากเทรนด์เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอด ได้ทำและเห็นกระบวนการทำงานทั้งหมดตั้งแต่ต้น
- ประทับใจเพื่อนร่วมงานและบรรยากาศการทำงาน ส่วนใหญ่เป็นคนวัยใกล้กันทำให้มีมุมมองและวิธีคิดไม่แตกต่างกันมากนัก เวลางานก็จริงจัง เวลาเล่นก็คือเล่น
คุณอธิบญาณ ภาคย์สุภาพ UX Designer
- ทำงานที่นี่มาได้ราว 9 เดือน
- ประทับใจความ flexible การเปลี่ยนแปลงภายในที่ค่อนข้างเร็ว
- แม้ภาพลักษณ์องค์กรจะดู conservative แต่ทีมนี้มีแต่คนรุ่นใหม่ วิธีการทำงาน กระบวนการต่าง ๆ ใหม่หมด รวมถึงไม่ปิดกั้นวิธีการทำงาน แต่ละทีมย่อยสามารถหาวิธีทำงานที่ช่วยให้งานออกมาประสบผลสำเร็จ
- ข้อดีกว่าหลาย ๆ ที่ คือมั่นคงมากกว่า ทรัพยากรครบกว่า อิมแพคเยอะกว่า ทำออกไปแล้วเห็นผลหรือพิสูจน์ได้ทันที
- ที่ประทับใจอีกอย่างคือมีการประชุมใหญ่เป็นช่วง ๆ ให้ทุกทีมช่วยกันระดมไอเดีย ช่วยกันคิดว่าวิธีไหน โซลูชั่นไหนน่าจะเป็นไปได้
คุณกัญญณัช บุญสิทธิผล Quality Assurance
- ทำงานที่นี่มาได้ราว 1 ปี แต่รู้สึกว่าได้เรียนรู้ ได้ประสบการณ์ เติบโตมากกว่าที่เก่าที่อยู่มา 3 ปี
- ได้ทักษะที่หลากหลายมากขึ้นกว่าเดิม เจอปัญหา หรือมีข้อสงสัยอะไร สามารถถามพี่ ๆ ได้เสมอ
- การทำงานเป็นทีมเวิร์ค เดินไปข้างหน้าด้วยกัน ถ้าใครเจอปัญหา ทำไม่ได้ ก็จะมีพี่ ๆ มาช่วย อยู่กันเหมือนพี่น้อง
Comments
ผมไม่แน่ใจว่าปุ่ม + อันใหญ่ใน app CIMB THAI บน Android เป็นการตัดสินใจของใคร
คือเอาปุ่ม + มาใช้ในความหมายของ expandable menu แล้วเอาวางไว้อันใหญ่อันเดียวใน main screen ซึ่งทำให้เข้าใจผิดว่าเอาไว้ เพิ่มอะไรสักอย่าง แทนที่จะเข้าใจว่าเป็นเมนู
และที่สำคัญคือเนื้อที่ครึ่งบนเหนือปุ่ม ก็เป็นพื้นที่ว่าง เลยไม่แน่ใจว่าจะซ่อนเมนูในปุ่ม + เพื่ออะไร
ถ้าดีไซน์นี้เป็นความต้องการของคนที่มีตำแหน่ง และอำนาจการตัดสินใจเหนือ UX designer ผมบอกได้เลยว่าไม่ใช่ทีมที่น่าทำงานด้วยเลยครับ
เกรี้ยวกราด 555
มากๆ ครับ ใช้แล้วรู้สึกว่าปล่อย UX แบบนี้มาได้ยังไง ออกมาหลังธนาคารอื่น (เพิ่งออกปลายปี 2019) แต่ practice แย่มาก ทั้งๆ ที่มี practice ดีๆ ให้ดูมากมาย แต่กลับทำ UX ได้ออกมาแย่
อันนี้ไม่ใช่ discredit แต่เป็นติแรงๆ อ่ะนะ ผมโพสท์ feedback ไปที่ Android แล้ว แต่ไม่คิดว่าจะมีใครอ่านหรอก เลยมาแปะไว้ที่นี่ด้วย
ก็ยังดีนะครับ อย่างน้อยเขาก็ยังคิดจะเปลี่ยนแปลง นึกถึงธนาคารนึงสีฟ้าๆ ไม่รู้ชาตินี้จะพัฒนารึเปล่าก็ไม่รุ ระบบยัง offline อยู่เลยครับผม
พอดีผมไม่ชอบแนวคิดแบบว่า "ก็ยังดี" อ่ะครับ ทำใหม่มีโอกาสทำให้ดีได้สูงมาก แต่ไม่ใช้โอกาสให้เป็นประโยชน์
ส่วนอีกธนาคารผมไม่เอามาเปรียบเทียบกัน เหมือนชีวิตกำลังแย่แล้วต้องไปเทียบกับคนที่แย่กว่าเพื่อปลอบใจตัวเอง
แต่ชีวิตก็ไม่ได้ดีขึ้นนะ แค่ได้ปลอบตัวเองแค่นั้น
ใจเย็นนะครับ…
นี่ไม่ได้อารมณ์ร้อนเลยนะ แต่จริงจังอ่ะใช่ ผมหงุดหงิดนะ เวลาที่จริงจังแล้วมีคนบอกให้ใจเย็น คือผมไม่ได้ใจร้อนอ่ะนะ
ถ้าอย่างนั้นแอปของ BBL ถึง UI จะเก่าก็ยังดูดีกว่านะนี้เปรียบเทียบกับโฆษณาก่อนหน้านี้
เมนู สแกน QR ก็เอาไปไว้ซะบนสุดเลย ถ้าไม่สังเกตหรือไม่เคยใช้มาก่อนก็จะนั่งหาว่าจะสแกนตรงไหน
บัตรเดบิตดีอยู่นะ ที่ดูหนัง 80 บาท ฟรีค่าธรรมเนียมตลอดชีพ กดฟรีทุกตู้ทุกธนาคาร
"วันลาพักร้อนขั้นต่ำ 15 วัน"ใช้ได้เลยครับ
จำได้ว่า บริษัทแรกที่ผมทำ บริษัทคนไทย ปีแรก ลาพักร้อนได้แค่ 6 วัน T T
แก้ไข/ลบ รายการโปรด ได้ซักทีเถอะครับ //กราบรักตัวบัญชี Digital + Debit Card มาก ตอนนี้เลยใช้เป็นบัญชีใช้จ่ายโอนเงินเข้าออก/กดเงิน