ภายหลังงาน WWDC 2020 เริ่มมีนักพัฒนาได้รับชุด Developer Transition Kit (DTK) ซึ่งประกอบด้วยเครื่อง Mac Mini รุ่นพิเศษที่ใช้ชิป A12Z และสิทธิ์ในการเข้าถึงเครื่องมือในการพัฒนาแอปบน Apple Silicon และแม้ว่าข้อตกลงการยืมชุดพัฒนาจะไม่อนุญาตให้ทำการ benchmark ตัวเครื่องแต่ก็ได้มีนักพัฒนานำเครื่องไปรันโปรแกรม Geekbench ในเวอร์ชัน x86_64 ผลลัพธ์ที่ได้เป็นดังนี้
ผลทดสอบซีพียู A12Z ของ Mac Mini รุ่นพิเศษในชุด ฯ ซึ่งเป็นตัวเดียวกับที่ใช้ใน iPad Pro 2018 (แตกต่างเพียงจำนวน GPU คอร์ที่เพิ่มขึ้น) ด้วยโปรแกรม Geekbench เวอร์ชัน x86_64 ที่ผ่านการแปลงโค้ดด้วย Rosetta สามารถทำคะแนนแบบคอร์เดียวได้ 811 คะแนนและแบบหลายคอร์ได้ 2,871 คะแนน (ทดสอบเพียง 4 คอร์ประสิทธิภาพสูงโดยไม่ได้ใช้อีก 4 คอร์ประหยัดพลังงาน) เปรียบเทียบกับ Surface Pro X ซึ่งใช้ซีพียู SQ1 รุ่นพิเศษจาก Qualcomm ทดสอบด้วยโปรแกรม Geekbench เวอร์ชัน ARM ในแบบเนทีฟที่สามารถทำคะแนนแบบคอร์เดี่ยวได้ 726 คะแนนและแบบหลายคอร์ได้ 2,831 คะแนน จะเห็นว่าซีพียูของแอปเปิลสามารถทำคำแนนได้สูงกว่าเล็กน้อยแม้เป็นการรันผ่าน Rosetta ซึ่งผลคะแนนที่ได้นั้นก็สูงกว่า Macbook Air (Late 2018) ที่ได้คะแนนคอร์เดี่ยว 803 คะแนนและหลายคอร์ที่ 1,549 คะแนนอีกด้วย
จากผลการทดสอบก็น่าจะช่วยยืนยันในเรื่องประสิทธิภาพของ Apple Silicon ได้ ซึ่งซีพียูตัวจริงที่จะถูกนำมาใช้ใน Apple Silicon Mac รุ่นแรกในช่วงปลายปีก็น่าจะมีประสิทธิภาพที่สูงกว่านี้มาก รวมถึงในด้านซอฟต์แวร์การที่แอปเปิลได้สาธิตโปรแกรมชุด Microsoft Office และโปรแกรมกราฟิกของ Adobe ที่ได้คอมไพล์มารันบน Apple Silicon แล้วและการที่ Rosetta สามารถรันโปรแกรม x86_64 ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ดีเช่นนี้ก็น่าจะช่วยให้ผู้ใช้แมคสบายใจได้ยิ่งขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้
Comments
ขอปรับพาดหัวและเพิ่มรูปเล็กน้อยนะครับ
ขอบคุณครับผม
ผมแก้ไขเพิ่มรายละเอียดในการทดสอบเล็กน้อย (จำนวนคอร์) เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหานะครับ
ขนาดอุปกรณ์พึ่งออกนี้แล้วยังรัน x86-64 บน MacOS Rosetta ได้ด้วยเนี่ย ในขณะที่ x86-64 ยังรันบน WoA ไม่ได้ด้วย
ผมว่า MS ควรจะเริ่มทำให้ทุกแอพบน x86-64 มารัน ARM ให้เต็มที่ได้แล้วนะ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ผมยังงงอยู่ว่าไม่ติดสิทธิบัตรกับ Intel แล้วหรอ ก็ไมโครซอฟท์จะทำ Intel ก็ขู่ฟ่อๆ สงสัย Intel ยอมแอเปิลทั้งน้ำตา...
คุ้นๆว่าสิทธิบัตร x86 พึ่งหมดอายุไม่นานนี้ครับตอนนี้จีนก็พัฒนา cpu x86-x64 แล้ว
x64 น่าจะยังไม่ครอบคลุมนะครับ
ของจีนเหมือนจะเป็นไลเซนส์ของ VIA?
x86 มี Intel ถือสิทธิบัตรอยู่ก็จริง (ต่อให้กำลังหมดอายุ Intel ก็จะหาวิธีให้ยังคงอยู่ เพื่อยังเป็นผู้นำในตลาดต่อไป ประมาณเสือนอนกินผลประโยชน์เก่าๆ ไม่ปล่อยไปแน่นอน)
แต่ว่า x86-64 อันนี้ AMD ยังถืออยู่นะครับ และไม่นาหมดอายุในเร็วๆ นี้ แน่ๆ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
มีข่าวหลุดมาว่ากำลังทำ x64 instruction translator อยู่นะครับ
ลองไล่ Geekbench พอ พอๆ กับ Ryzen 5 3500U
lewcpe.com , @wasonliw
โหดมาก
ขอถามว่าถ้าซื้อ iPad Pro ช่วงนี้
ซื้อตัวที่ CPU A12Z น่าจะดีกว่า A12X
หรือเปล่าครับ ถึงกับเอาไปใส่ในแม็คได้ หรือก็เหมือนกัน
เคยอ่าน review เค้าบอกว่า performance ไม่ต่างกันครับ
ถ้ามีอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเปลี่ยน แต่ถ้ายังไม่มี และไม่รีบได้ยินว่าปลายปีจะมีอีกรุ่นออกมาครับ
แต่ถ้าต้องใช้ผมว่า new ipad pro A12Z ยังไงก็ดีกว่า ตัว A12x ครับ
A12Z เหมือนกับ A12X ครับ ต่างกันที่เพิ่ม GPU Core มา 1 ครับ A12X มี GPU 7 Core (จริง ๆ มี 8 แต่ถูกปิดไป1) A12Z มี 8 Core
เพราะฉะนั้น ประสิทธิภาพทางด้าน Graphic A12Z จะดีกว่านิดหน่อยครับ นอกนั้นจะเหมือนกัน
สรุปคือ A12X กับ A12Z คือ SoC ตัวเดียวกันทุกประการ แต่ A12X ถูกปิด GPU ไป 1 Core
สิ่งที่ดีกว่าจริงๆคือ Ram 6Gb ทุกความจุครับ ใช้งานจริงสะดวกขึ้นเยอะเหมือนกันครับ App ไม่ Reload บ่อย
น้อยจังแรม 6 จิ๊ก
บน iOS นี่เรียกว่ามหาศาลแล้วครับ
ดูเหมือนเขาจะแซวเรื่อง Gb นะคะ จาก 6 Gigabyte (GB) เหลือแค่ 6 Gigabit (Gb) เอง
บน android นี้น่าจะเทียบได้ประมาณ 32GB+ 555+
@dusitmon123 หยอกๆ@SONZON ขอบใจจ้าาา
สงสัยคนที่อกแตกตายน่าจะเป็น intel นะเนี่ย mac arm ออกเมื่อไหร่สอยแน่อยากลองใช้จริงๆ
เท่าที่ดู ไม่ได้ต่างกันระดับเห็นความชัดเจนเท่าไหร่นะครับ อย่างน้อยคือมั่นใจได้ว่า Software จะ Run ได้ดีระดับนึง แต่สุดท้ายแล้ว Native App ก็ยังเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับ Case ARM อยู่ดี
ประสิทธิ์ภาพไม่ต่างกัน แต่ต้องดูเรื่องการประหยัดพลังงานด้วยละครับ ในบทความนี้ไม่ได้พูดถึง
ประหยัดพลังงานผมว่า Apple น่าจะทำได้ดีกว่าครับ ด้วยตัวบริษัทเองที่คุมได้ทั้ง Software + Hardware ส่วน MS เป็นการร่วมมือกับ Qualcom แต่ไม่ได้คุมโดยตรง รวมถึงการที่ต้องพัฒนาให้สามารถ Support Hardware อื่นๆได้อีก รวมถึงวิธีแปลง Code ต่างกันเพราะถ้าผมจำไม่ผิด MS แปลงตอน Runtime ไม่ใช่ตอน install ก็น่าจะทำให้เปลืองพลังงานเข้าไปอีก
เขาทำมาให้ใช้แค่ช่วงเปลี่ยนผ่านครับ พอผ่านไปเดี๋ยวมันก็หายไป (เหมือน Rosetta 1)
A12Z เป็น iPad Pro 2020
ถ้า 2018 เป็น A12X ครับ
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
สงสัย MS ต้องเอาเงินไปลงกับ แผนก R&D ทำ CPU ของตัวเองแล้วมั้งเนี่ย หรือจะซื้อ Mediatek ดีละ
ทำไม ทางไมโคร ทำไม่ได้แบบนี้ ช้าๆ
ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดคือแนวทางต่างกันนะครับ ที่อ่านก่อนหน้านี้คือของ macOS จะแปลง binary ตอนที่ install ซึ่งกับ Windows ที่ก็อป .exe มารันกันอยู่บ่อยๆ มันน่าจะทำแบบเดียวกันลำบากด้วยและอำนาจต่อรองกับทาง Intel ก็น่าจะต่างกันด้วยอีกส่วนนึง (มั้ง)
Microsoft ทำแบบ Apple สงสัยส่วนแบ่งตลาดเปลี่ยนมือเอาได้ง่ายๆ
เห็นจาก Keynote บอกว่า Rosetta ไม่ได้ translate instruction แบบ JIT เหมือนของ Mircrosoft แต่แปลไว้รอเลยตั้งแต่ติดตั้ง นั่นคือ ทำ AOT translation ภาษีเลยออกมาดีกว่า ประกอบกับ syscall ส่วนใหญ่ตอนนี้แอปเปิลให้ทำผ่าน user mode แทบทั้งหมดแล้ว คล้าย ๆ กับ Google Fuchsia
แต่ที่ยังคาใจคือ แปลง 64-bit instruction ออกมาได้อย่างไร
เข้าใจว่า MacOS บังคับว่าต้องเป็น 64 bit อย่างเดียวมานานแล้ว เลยไม่มีปัญหาน่ะครับ
มาคิดไปคิดมา ที่บังคับให้ใช้ 64 bit นี่เพราะจริงๆ แล้วต้องการใช้ silicon ของตัวเองตั้งแต่แรกหรือเปล่า
ในระดับของ architecture แล้ว ไม่เชิงครับ เพราะต่อให้ความยาวบิตเท่ากัน แต่ชุดคำสั่งกับเรจิสเตอร์มักจะไม่เหมือนกัน ต้องมารื้อใหม่อีกทีอยู่ดี
เรื่องสถาปัตยกรรมนี่พอรู้อยู่ครับ แต่ที่ผมสงสัยคือที่ Apple บังคับให้ทำ 64 bit app ก่อนหน้านั้นเพราะต้องการปูทางให้การทำ translation ไป Mac ARM ทำได้ง่ายขึ้นหรือเปล่า ประมาณว่า 32 bit app เมื่อถูก translation แล้วมันทำงานได้ไม่ดีบน Mac ARM Apple เลยบังคับให้ compile ใหม่เป็น 64 bit ที่ถูกปรับให้รองรับการทำ translation ไป Mac ARM ได้ดีขึ้นจนเป็นอย่างที่เห็นในข่าวนี้ครับ
แรงกว่า Core i5-6200U เครื่องผมซะอีก
จะว่าไป Apple กับ Microsoft ก็ยังเติบโตไปในทิศทางที่ตัวเองถนัดเหมือนยุคแรกๆ (ถ้าผมเข้าใจผิด ช่วยแก้ด้วย 555+)
Apple มาสายออกแบบและพัฒนา Hardware เอง จนตอนนี้ลงไปควบคุมถึงระดับ CPU ละ (แต่ฝั่ง Software ก็ทำได้ดี)
Microsoft เน้นพัฒนาซอร์ฟแวร์เป็นหลัก เรียกได้ว่าทำสารพัดโปรแกรม ทุกด้าน ทุกระดับ ตั้งแต่ User ทั่วไป ไปจนถึงระดับ Enterprise ส่วน HW ทำมาเรื่อยๆ แต่แทบไม่มีตัวที่โดดเด่น
..: เรื่อยไป
ผมมองต่างนิดนึงว่า Apple กับ Microsoft ทำธุรกิจแบบตรงข้ามกันครับ
Apple เน้นว่าทุกอย่างต้องมาจาก Apple เป็นหลักพาร์ทเนอร์เป็นแค่ซัพพลายเออร์ให้ Apple เติบโต ดูจากการพยามรวบทุกอย่างไว้ที่ Apple และให้พาร์ทเนอร์อยู่ภายใต้เงา Apple แม้แต่พาร์ทเนอร์จากมือถือให้อย่าง AIS True Dtac ยังต้องใช้โฆษณาของ Apple ห้ามทำการโปรโมตการขายเองถ้าไม่ผ่าน Apple แถมราคาก็ต้องเท่ากันด้วยถูกกกว่ากันหรือแพงกว่ากันไม่ได้เลย
Microsoft เน้นความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์เป็นสำคัญ Satya เคยบอกว่าพาร์ทเนอร์จ่ายให้ MS 1$ พาร์ทเนอร์ต้องไปต่อยอดได้ 5$ ดังนั้นแนวทางของไมโครซอฟท์เน้นให้พาร์ทเนอร์เอาผลิตภัณฑ์ของตัวเองไปขาย End User อีกทีครับ สิ่งที่ชัดเจนมากที่สุดตัวหนึ่งคือ เวลาเราเปิด Windows ถ้าเราจะเห็นโลโก้ของบอร์ดค่ายต่างๆ หรือแบรนด์คอมเจ้านั้นๆ ขึ้นแทนโลโก้ Windows ดังนั้นเราจะเห็นว่าไมโครซอฟท์ชอบทำเครื่องเป็นตัวอย่างและไม่ทำตลาดเลยทำขึ้นหิ้งไว้เฉย ๆ (ผมก็สอย SP4 จากหิ้งมา) และถ้าได้ทำงานร่วมกับไมโครซอฟท์จะพบว่าไมโครซอฟท์จะไม่ขายของเองจะหิ้วพาร์ทเนอร์ไปเสมอครับแม้จะเป็น Office 365 และ Dyanmics 365 เวลาขายองค์กรใหญ่จะดึงพาร์ทเนอร์ไปช่วยทำโปรเจคแล้วตัวเองซัพพอร์ตและขาย License เป็นหลัก ไม่มีทีม Dev และไม่รับ Dev เองด้วย
ปล.ด้วยพลังทุนและทีม R&D ของไมโครซอฟท์ ผลิต CPU เองไม่ยากเลยครับ มีส่งทีมไปช่วยพาร์ทเนอร์ผลิตฮาร์ดแวร์ด้วยซ้ำครับ
Apple คือเลือกที่จะไม่ไว้ใจใคร ถ้าต้องร่วมงานกับคนอื่นคือทุกคนต้องทำตามข้อกำหนดที่แจ้งมาอย่างเคร่งครัด ส่วนฝั่ง Microsoft คือบางทีตามใจคู่ค้าจนตัวเองขยับไม่ได้ - -
เห็นภาพชัดเลยครับ เรื่องพาร์ทเนอร์เนี่ย
..: เรื่อยไป
เห็นด้วยเลยครับตลาด VR ของ Microsoft ก็มาแนวทางนี้เลย (อันนี้ไม่ออก hardware ของตัวเองมาด้วยซ้ำ)
PC, Notebook อัตราส่วนประมาณ Apple 8% Windows 90%+
Smartphone อัตราส่วนประมาณ Apple 10% Android 90%+
การชิงพื้นที่ข่าว และ กระดานสนทนาบน internet Apple 99.9999%+, Windows รวมกับ Android ประมาณ 0.000001% (อันสุดท้ายนี่ผมเดาเอานะ อย่าจริงจัง)
ถ้าใช้ arm แล้ว work จริงก็เยี่ยมเลยตอนนี้รำคาญกับความร้อนของ macbook pro 16 มาก
ร้อนมากครับ ต้มไข่สุกเลย ถ้าวางบนตัก
ไข่ไก่ใช่ไหมครับ
ถ้าประสิทธิภาพเท่าๆ กับ i5 15W แต่กินไฟไม่ถึง 10W นี่ก็ยอดเยี่ยมแล้วนะ ถ้าใช้ big.LITTLE ก็สแตนด์บายได้นานมาก อินเทลเองก็เริ่มใช้ big.LITTLE เหมือนกัน
AMD 15W แรงกว่าข้างบน 2 เท่านะ
อยากรู้จังว่า DTK มี USB 4 มั้ย เพราะในงานแถลง ตา Craig แกใช้ DTK คู่กับจอ XDR ให้ดู ซึ่งจอมันความละเอียด 6K และปกติต้องใช้ Thunderbolt 3 เท่านั้น เพราะข้อจำกัดเรื่อง badnwidth แบบนี้ถ้าใน Dev Kit ไม่มี Thunderbolt 3 ที่เป็นเทคโนโลยีของ Intel เทคโนโลยีที่นำมาใช้แทนพอไหว น่าจะต้องเป็น USB 4 เลย ซึ่งน่าสนใจมากๆ
เดี๋ยวทำไปๆ มาๆ จาก RISC กลายร่างเป็น CISC อิอิ
มีตัวไหนเป็น RISC ตัวไหนเป็น CISC แบบชัดเจนอยู่อีกเหรอครับ?
+1
RISC-V ป่าว