หลังจากแอปเปิลเปิดตัว MacBook Air รุ่นล่าสุดที่เปลี่ยนมาใช้ชิปของตัวเอง Apple M1 หลายคนก็ตั้งข้อสังเกตว่าชิปตัวใหม่นี้นั้นจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นแค่ไหน? เพราะในงานเปิดตัว แอปเปิลเองก็ไม่ได้ให้ข้อมูลรองรับมากมายนัก (ยกตัวอย่าง PCWorld ที่ออกมาให้ความเห็น ) ทำให้ค่อนข้างกังขาว่าประสิทธิภาพอาจจะไม่ได้ออกมาดีอย่างที่แอปเปิลว่าไว้
ล่าสุดก็มีผลการทดสอบชิป Apple M1 ปรากฏขึ้นบนเว็บไซต์ของ Geekbench โดยเมื่อดูจากคะแนนที่ได้ ทั้ง Single-Core ที่ 1687 คะแนน และ Multi-Core 7433 คะแนน เอาชนะอุปกรณ์ iOS ที่คะแนนสูงสุดในกลุ่มอย่าง iPad Air ซึ่งใช้ชิป A14 (Single-Core 1585 คะแนน และ Multi-Core 4647 คะแนน) และเมื่อเปรียบเทียบกับอุปกรณ์ในฝั่งแมคด้วยกันเอง สามารถเอาชนะ MacBook Pro 16 นิ้ว รุ่นปี 2019 ที่ใช้ชิป i9-9980HK (Single-Core 1096 คะแนน และ Multi-Core 6870 คะแนน)
นอกจากนี้คะแนนของทั้ง MacBook Pro และ Mac Mini ที่ใช้ชิป M1 ก็มีความใกล้เคียงกับ MacBook Air โดยผลคะแนนทั้งหมดอยู่บนเว็บไซต์ของ Geekbench
Comments
รอดูของจริงก่อนดีกว่าGeekbench มันอิง memory มากๆ พี่เล่นเอา DRAM มาไว้บน SOC เดียวกัน มันก็เร็วกว่าข้างนอกอยู่แล้ว
ผมว่าที่เค้าเอามาใส่ด้วยกันก็เพื่อตั้งใจให้ทำงานเร็วขึ้นกว่าเดิมถูกแล้วนี่ครับ
ต้องบอกว่าเร็วขึ้นกับงาน เฉพาะทาง บางอย่างครับ พวก memory bandwidth sensitive
ถ้าใครใช้งานแบบนั้นอยู่ ผมว่าดีกว่า x86 แน่แต่งานแบบอื่นๆ ผมขอรอดู 3rd party benchmark ก่อนดีกว่า
ถ้ามันทำให้เร็วขึ้น มันไม่ดีหรือ?มันเป็นการพัฒนา ผู้บริโภคได้ประโยชน์
เหรียญมันมีสองด้านอยู่แล้ว ใส่มาให้ แต่อัพไม่ได้ เปลี่ยนไม่ได้ ถ้าชอบก็ตามใจคุณเลย
แต่ผมไม่ถูกใจการยัดเยียดแบบนี้แค่นั้นเอง แต่แน่นอน มันก็ต้องมีคนชอบ
อีกอย่างที่บอกว่าอย่าเอาคะแนน Geekbench เพราะมันให้น้ำหนัก memory bandwidth เยอะมาก ในการใช้งานจริง ถ้าโปรแกรมมันใช้ memory bandwidth มันก็เห็นผล แต่งานที่ไม่ได้ใช้ละ ?
คือ ผมว่าเค้าหมายถึงว่า มันดีขึ้นเฉพาะกับ Geekbench (และงานที่ออกแบบมาในลักษณะเดียวกัน) เลยใช้อ้างอิงได้ยาก ต้องดู benchmark หลาย ๆ ตัวประกอบกันครับ
แล้วก็เอาจริง ๆ ที่ผมกังวลจะเป็นงานที่เน้นความจุมากกว่า เท่าที่อ่านมาคือ Mac ที่ประกาศมารอบนี้มีแรมแค่ 8-16GB ซึ่งสำหรับโปรบางคนมันเล็กเกินไป (เช่นพวกนักดนตรีที่ใช้ mac รัน virtual instrument เวลาเล่นสด อันนี้บางคนต้องใช้อย่างต่ำ 64GB)
ด้วยโครงสร้างarmกับosที่ออกแบบมาสำหรับarmตัวนี้ ถ้าจะเปลียบเทียบกับpcตอนนี้เหมือน เหมือนใช้การ์ดช่วยประมวลผลรวมทั้งgpuมาร่วมประมวลผลbenchmark เพราะทุกอย่างถูกรวมในcpuตัวเดียวแล้วสร้างชุดคำสั่งที่ดึงทุกอย่างมาใช้ เป็นแนวคิดที่ใช้มากับบนios ต้องรอดูว่าemulatorกับโปรแกรมทั่วไปที่ไม่มีหนวยตัวเร่งประมวลผลมาช่วยจะเป็ยนยังไง ถ้าok intel amd คงจะหนาวๆร้อนกันบ้าง
Geekbench มันใกล้เคียงงานอะไรพอทราบไหมครับ
อินเทล อยุ่ยากแล้ว
น่าจะอยู่ยากเพราะ AMD มากกว่าครับ
ไม่นะครับ AMD ชิงไปยังมีโอกาสชิงกลับคืนได้ง่ายกว่า ก่อนหน้านี้ก็เคยผลัดกันแซงมาก่อนแล้วแต่ถ้า Apple ชิงไปนี่คือชิงกลับได้ยากมากแล้ว
แบบที่ผมเคยบอก สักวันผมก็คงฝืนไม่ไหวแล้วตามเข้าไปอยู่ในวง Apple ซึ่งถ้ายอมตามเข้าไปแล้วเนี่ยจะออกยากมาก
มันกำลังจะย้อนยุคไปช่วง ibm power pc vs intel pentium นั้นแหละดราม่ากันสนุกสนานเลยตอนนั้น แต่ช่วงนั้นถ้าผมจำไม่ผิด power pc จะเร็วกว่า pentium นะครับ
เป็นการ์ดจอออนบอร์ทที่แรงพอๆกับการ์จจอตัวท็อปเลยทีเดียว
เขาเทส CPU นี่ครับ แถมถ้าวัด GPU การคำนวณนี่ในสเปคของ apple เองก็ยังแพ้การ์ดจอแยกของ Nvidia หลัก10เท่าเลยนะครับ
M1 GPU ดูจากเสป็คความแรงประมาณ 1050TI แล้วเพิ่มคำสั่ง Ray tracking ไปเองครับ ถ้าเทียบกับการ์ดจอ onboard ด้วยกันมันก็ค่อนข้างจะแรงล่ะ แต่ถ้าเทียบกับการ์ดจอแยกก็เกินไป สู้ไม่ได้หรอกครับ
เทียบกับ 3090 ก็ต่างกันราวฟ้ากับเหวเลยนะครับ
ก็เหมือนสมั้ย mac เปลี่ยนจาก powerpc เป็น intel นั้นและครับก็มีบางอย่างที่ของเก่าดีกว่าแต่โดยรวมออกรุ่นใหม่ไปเรื่อยๆภาคร่วมก็ดีขึ้น
จะแซะอะไรกันก็ดูระบบที่มันรัน Geekbench ด้วยสิครับถ้ามัน benchmark. on same os มันจะแถเพื่อแซะอะไรไม่ทราบ เห็นทุกทีจะชอบบอก แรงเฉพาะบน os ตัวเอง อันนี้เขาก็เทียบใน os เดียวกัน พวกอคติเนี่ยน้ออ