ทีมวิจัยจาก University of Applied Sciences Graubünden ในสวิตเซอร์แลนด์ประกาศความสำเร็จใจการคำนวณค่า Pi เป็นทศนิยมจำนวน 62.8 ล้านล้านหลัก ทำลายสถิติเดิมของ Timothy Mullican ที่คำนวณไว้ 50 ล้านล้านหลักเมื่อต้นปี 2020 ที่ผ่านมา
นอกจากการทำลายสถิติโลกแล้ว ทีมวิจัยยังแสดงถึงประสิทธิภาพของอัลกอริธึม โดยการทำลายสถิติการคำนวณค่า Pi เมื่อปี 2019 กูเกิลทำไว้ที่ 31.4 ล้านล้านตำแหน่ง แต่ใช้คลัสเตอร์เครื่อง n1-standard-16 ถึง 24 เครื่อง ร่วมกับเครื่องแม่ n1-megamem-96 อีกหนึ่งเครื่อง รันนาน 112 วัน ขณะที่ Mullican นั้นรันนานกว่า 300 วันแต่ไม่มีข้อมูลว่าใช้ฮาร์ดแวร์อะไรบ้าง
ทีมจาก Graubünden ใช้เซิร์ฟเวอร์ขนาด 1U เพียงตัวเดียว พร้อมกล่องดิสก์ JBOD ใส่ดิสก์ 16TB จำนวน 38 ลูก เซิร์ฟเวอร์หลักใช้ซีพียู AMD EPYC 7542 มี 32 คอร์ 2 ซ็อกเก็ต แรม 1TB และ
ตัวซอฟต์แวร์ใช้ โปรแกรม y-Cruncher คำนวณโดยพยายามใช้แรมก่อน แต่แรมเก็บข้อมูลได้เพียงแสนล้านหลักเท่านั้น หลังจากนั้นต้องถ่ายข้อมูลลงดิสก์ ทีมงานใช้ดิสก์ 34 ลูกอ่านเขียนแบบขนาน ได้แบนวิดท์ 8.5GB/s
ตัวเลขหลักสุดท้ายที่พบของค่า Pi ในครั้งนี้คือ 7817924264 และตอนนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบความถูกต้อง หาก ได้รับรองรับกินเนสบุ๊ก แล้วทางมหาวิทยาลัยจะเปิดเผยตัวเลขต่อไป
ที่มา - Fachhochschule Graubünden
ภาพเซิร์ฟเวอร์สำหรับคำนวณค่า Pi ในครั้งนี้ ด้านบนกรอบสีเหลืองคือเซิร์ฟเวอร์หลัก ด้านล่างกรอบแดงเป็นตู้สตอเรจ
Comments
62.8 ล้านหลัก => 62.8 ล้านล้านหลัก
งานนี้ AMD ยิ้ม
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ตัวเลขหลักสุดท้ายที่พบขอค่า Pi >> ตัวเลขหลักสุดท้ายที่พบของค่า Pi
ประกาศความสำเร็จในการคำนวณค่า Pi
ตัวเลขหลักสุดท้าย >> ตัวเลขสิบหลักสุดท้าย
มันมีวิธีตรวจสอบความถูกต้องอย่างไรในเมื่อคำนวณได้คนแรกและทศนิยมเกินกว่าเจ้าของสถิติเดิม
ดูจากสถิติครั้งก่อนๆ http://www.numberworld.org/blogs/2019_3_14_pi_record/ มันมี algorithm สำหรับ verify โดยเฉพาะอยู่นะครับ
ขอบคุณมากครับ คำถามเดียวกันเลย
ความจริงก็คือสงสัยเหมือนกันเลยไล่หาอ่านครับ 555
เราสามารถเอาค่านี้มาใช้ประโยชน์อะไรได้บ้างมั้ยนะนอกจากเอาไว้ทำลายสถิติและเป็นความสวยงามทางคณิตศาสตร์
ตอบแบบความรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์เลยนะ ยิ่งค่าที่ใช้มีความละเอียดมากเท่าไหร่ ความแม่นยำในการคำนวณก็ยิ่งสูงขึ้นครับ
ปรับองศาทิศทางของการวาร์ปไม่ให้ยานไปชนดาว
เท่าที่เดา ก็คงเป็นเป้าหมายให้นักพัฒนาได้สร้างคอมพิวเตอร์ที่เจ๋งขึ้นเรื่อยๆ แล้วผลพลอยได้ก็จะตามมาเองครับ
นึกถึงการแข่งพัฒนายานไปดวงจันทร์ ผลิตภัณฑ์ที่ตามมาก็ทำให้ชีวิตพวกเราสะดวกสบายขึ้น
ตัวอย่างอื่นๆก็เช่นการแข่งรถ F1 ที่ดูเหมือนสิ้นเหลืองเผาน้ำมันทิ้งเป็นว่าเล่น (ในสมัยก่อน)
แต่ผลที่ได้คือเทคโนโลยียานยนต์ที่ดีขึ้นที่จะเอามาใช้ใน Consumer Car ต่อไปทั้งด้านความปลอดภัย แอโร่ไดนามิค ระบบรับแรงสะเทือน เครื่องยนต์
เคยดูในสารคดี F1
มี 4 ปัจจัยของชัยชนะ อย่างละ 25% คือ
1. คนขับ
2. เครื่องยนต์
3. แอร์โรว์ไดนามิก
4. ยาง
ข้อ 1 - 3 ทีมแข่งจัดการได้
แต่ข้อ 4 นั้น ทุกทีมได้ตอนลงแข่ง
วัดดวงเอา ว่าจะได้ยางที่เหมาะสม
กับสภาพอากาศ และสภาพสนามหรือไม่
ทีมงานทำได้อย่างเดียวคือ ฝึกเติมน้ำมัน
เปลี่ยนยาง เติมลมให้เร็วที่สุด
การคำนวณด้วยเลขทศนิยมจำนวนมากมันก็มีประโยชน์ในการคำนวณที่ต้องการความถูกต้องสูง อย่างเช่นการคำนวณวงโคจรของดาวเทียม หรือยานอวกาศ มันเคยมีเหตุการณ์ที่การส่งยานผิดพลาดเนื่องจากกำหนดค่าทศนิยมลองค้นดู การที่ยานจะโคจรไปยังเทหวัตถุในอวกาศมันไม่ได้บินตรงๆ มันต้องบินตามวงโคจรซึ่งต้องมีการคำนวณอย่างละเอียดเพื่อไม่ให้พลาดเป้าหมาย นึกภาพง่ายๆ เราจะต้องส่งยานไปดาวอังคารในอวกาศมันจะต้องใช้ความละเอียดขนาดไหนในการคำนวณถึงจะปาของจากโลกไปตามวิถีโคจรให้ลงบนดาวอังคารพอดีโดยไม่ผิดพลาดจากระยะทางจากโลกไปดาวอังคาร นี้เป็นตัวอย่างง่ายๆ ของความสำคัญของทศนิยม ส่วนค่าพายก็รู้อยู่ว่ามันแทรกอยู่ในสูตรคำนวณพื้นฐานมากมายก็ไม่แปลกที่มักมีการหาค่าทศนิยมที่มีความถูกต้องมากขึ้นเรื่อยๆ
ขอบคุณครับ เป็นความผิดที่ไม่ตั้งใจเรียนคณิตศาสตร์ตอน ม.ปลายของผมเอง ? รู้แค่คร่าวๆว่าตอนเรียนก็ใช้ 3.14 คำนวณ แต่นึกไม่ออกว่าเราจะพยายามหาค่าที่ละเอียดถึง 60 ล้านล้านตำแหน่งไปทำอะไร
พอมีให้อ่านเพิ่มเติมไหมฮะ เท่าที่ผมรู้มา NASA/JPL ใช้ทศนิยมแค่ 15 ตำแหน่งเองครับ เพราะมากไปกว่านั้นมันก็ error หลักเซนติเมตรแล้ว ซึ่งแทบไม่มีผลอะไร (เมื่อเทียบกับสเกลดาราศาสตร์ที่หน่วยใช้กันเป็นล้านกิโลเมตร)
ที่มา: https://www.jpl.nasa.gov/edu/news/2016/3/16/how-many-decimals-of-pi-do-we-really-need/
ปกติมันก็ใช้แค่นั้นล่ะครับ ที่หาๆกันหลักล้านหลักนี่จะออกแนวทดสอบ Algorithm + Benchmark + Challenge แข่งกันซะมากกว่า ส่วนมากทุกครั้งที่มีคนทำลายสถิติได้ก็จะออก paper ว่าใช้ algorithm ยังไง ใช้เทคนิคแบบไหนในการหามากกว่าที่จะบอกว่าเอา PI ที่ตำแหน่งทศนิยมเยอะขนาดนั้นไปทำอะไร
เอาไว้ทดสอบความแม่นยำในการคำนวนของหน่วยประมวลผล นี่ล่ะมั้งครับ , เห็นว่าเรื่องความแม่นยำในการคำนวนทางคณิตศาสตร์นี่ มันละเอียดพอจะคำนวนรัศมีจักวาลไม่ผิด ตั้งแต่ หลักร้อย แล้วมั้ง (เคยอ่านเจอ)
เป็นเพราะอัลกอริธึมดีกว่า หรือฮาร์ดแวร์ดีกว่าคนอื่นกันแน่
มันคืองานออกแบบครับ
ออกแบบอัลกอริทึมให้ทำงานได้เร็วกว่าของคนอื่น
ออกแบบ HW ให้ทำงานได้มากกว่าของคนอื่น
เอาไว้ข่มคู่แข่ง 555 intel มีหงอย