อินเทลเปิดตัวซีพียูสถาปัตยกรรม Alder Lake ที่จะออกวางขายช่วงปลายปี 2021 (นับเป็น 12th Gen ถ้ายังใช้ชื่อ Core ทำตลาดแบบของเดิม)
การเปลี่ยนแปลงสำคัญของ Alder Lake คือเปลี่ยนมาใช้สถาปัตยกรรมไฮบริด คอร์ใหญ่ผสมกับคอร์เล็ก เพื่อรองรับโหลดงานที่หลากหลาย แบบเดียวกับ big.LITTLE ที่เราคุ้นจากฝั่ง Arm
อินเทลเรียกคอร์ใหญ่ว่า Performance Core(P-core) ใช้คอร์ซีพียู Golden Cove (ตัวต่อจาก Willow Cove ที่ใช้ใน Tiger Lake ) เน้นงานเธร็ดเดี่ยว โดยระบุว่าประสิทธิภาพในงานประมวลผลทั่วไป general purpose เพิ่มขึ้น 19% จาก 11th Gen และเรียกคอร์เล็กว่า Efficient Core(E-core) ใช้คอร์ซีพียู Gracemont (ตระกูลที่ใช้ในสาย Atom) นำมายกเครื่องใหม่ให้ประสิทธิภาพดีขึ้น เหมาะกับชิปที่มีทรานซิสเตอร์หนาแน่นกว่าเดิม เน้นงานมัลติเธร็ด
การที่ Alder Lake มีซีพียูทั้งสองประเภท ทำให้การเลือกว่าจะใช้คอร์ใหญ่หรือเล็กเป็นความท้าทาย อินเทลจึงแก้ปัญหานี้ด้วยกาเพิ่ม Intel Thread Director เป็นเลเยอร์ที่อยู่ระหว่าง OS Scheduler และตัวซีพียูโดยตรง ทำหน้าที่บอกสถานะของแต่ละคอร์ เพื่อให้ OS ตัดสินใจเลือกคอร์ได้อย่างเหมาะสม
Thread Director ยังช่วยเรื่องการย้ายงานไปรันจากคอร์เล็ก-คอร์ใหญ่ ตามสถานะของงานที่อาจเปลี่ยนไประหว่างทางด้วย
การเปลี่ยนแปลงอีกอย่างของ Alder Lake คือเป็นสถาปัตยกรรมซีพียูตัวเดียว ใช้ได้กับงานทุกประเภท ตั้งแต่ซีพียู Ultra Mobile กินไฟต่ำ 9 วัตต์ ไปจนถึงซีพียูเดสก์ท็อปสมรรถนะสูง 125 วัตต์ ( ผลิตด้วยกระบวนการแบบ Intel 7 ที่ไม่ได้แปลว่า 7 นาโนเมตร )
แนวทางใหม่นี้ทำให้เราไม่ต้องแยกซีพียูสายโน้ตบุ๊กและเดสก์ท็อปที่เป็นคนละตัวแล้ว อย่างใน Gen 11 เรามี Tiger Lake เป็นฝั่งโน้ตบุ๊ก และ Rocket Lake เป็นฝั่งเดสก์ท็อป ซึ่งมีฟีเจอร์ไม่เท่ากัน กระบวนการผลิตไม่เท่ากัน
Alder Lake จะมีคอร์สูงสุด 16 คอร์ และเธร็ดสูงสุด 24 เธร็ด (คอร์ใหญ่มี 2 เธร็ด, คอร์เล็ก 1 เธร็ด) ส่วนฟีเจอร์อื่นๆ นอกตัวคอร์ซีพียูหลักคือ
- รองรับแรม DDR5-4800 และ LP5-5200
- รองรับ PCIe Gen 5 จำนวน x16 เลน
- รองรับ Thunderbolt 4 และ Wi-Fi 6E
อินเทลยังไม่เผยรายละเอียดรุ่นย่อยของ Alder Lake และยังไม่บอกว่าจะทำตลาดฝั่งเดสก์ท็อปหรือโน้ตบุ๊กก่อน บอกแค่ว่าจะเริ่มเปิดตัวผลิตภัณฑ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ปลายปี 2021
ที่มา - Intel , Intel (PDF)
Comments
ขาดวงเล็บปิดครับ
ระบุ
การ
ทำไมผมรู้สึก gen 4 เพิ่งมาแป๊บเดียว ?
ถ้าจำไม่ผิดตอน AMD เอา PCIE Gen 4 มาใช้กับ Zen 2 เครื่อง server เริ่มใช้ Gen 5 กันแล้วครับ
พึ่งมา Gen เดียว เดี๋ยวตามหลัง AMD อีก เพราะ AMD ใช้ 4.0 มาสักพักแล้ว Intel พึ่งจะมี ถ้ามาลากยาว 4.0 อีก เดี๋ยวโดนทิ้ง
ว่าแต่มีแค่ 16 เลนนี่กั๊กหรือยังไง หรือจะเปลี่ยน เป็น GPU ใช้แค่ 8 เลนพอ แล้วที่เหลือแบ่ง ๆ กันไป
อ่านแล้วก็งง ทำไมใช้แค่ 16 เลยทั้งที่ปกติให้มา 24(การ์ดจอ 16, ssd 4, southbridge 4)
มี gen 4 ด้วยครับ
อยากให้เพิ่มข้อมูลประสิทธิภาพ E-Core กับเรื่องที่ fused off AVX-512 ทิ้ง
https://www.anandtech.com/show/16881/a-deep-dive-into-intels-alder-lake-microarchitectures/4https://www.anandtech.com/show/16881/a-deep-dive-into-intels-alder-lake-microarchitectures/5
เขียนส่งเข้ามาได้นะครับ
Ryzen 9 5950X ตอนนี้ยังน่าซื้ออยู่ไหมครับ เห็น Core ยังเยอะกว่า
oxygen2.me , panithi's blo g
Device: HP Zbook, iPad Pro, iPhone 15PM, iPhone 16+, Nothing Phone 1
เห็นข่าวหลุดออกมาว่า i9 12900k แรงกว่านะครับ(แต่ราคาจะแรงกว่าหรือเปล่า)
ปีก่อนๆ โน้น เคยรอ เคยตื่นเต้นแต่ละ gen เวลาเปิดตัวปัจจุบันนี้ไม่มีความรู้สึกแบบนั้นแล้วอ่ะ นี่รอตื่นเต้นกับ M1X มากกว่า ...
WE ARE THE 99%
+1024
PCIE gen 4 ของผมยังบั๊กเปิดใช้ไม่ได้อยู่เลย
ว้าวนะรอบนี้ ดูมีอะไรใหม่เยอะหลังจากหยุดนิ่งมาหลายปี
E-core ทำไมไม่แบ่งเธร็ดกันนะ E-core ความเร็วอยู่ 3.0-3.8Ghz พอๆกับ gen 4
มันมีอะไรที่ดีกว่า x86 ไหมครับ
อยากเห็นฝั่ง windows ก้าวข้ามสักที?
มันก็ x86 ตามปกตินี่ครับ
M1 ตัวเดียวพิสูจน์ให้เห็นว่าอินเทลล้าหลังแค่ไหน
หรือออกแบบไว้นานแล้ว แต่ไม่เปิดตัว เพราะของเดิมๆยังทำกำไรอยู่ตอนนี้ไฟลนก้น เลยต้องปล่อย
ของใน Lab อาจจะมีเยอะ แต่ไม่ขาย เพราะยังไม่ถึงยุคของมันงี้ครับ 55+ ผมดูหนังมากไป
เท่าที่ฟังนายอาร์มก็อย่างนี้จริงๆ ของทดลองมีเยอะ แต่ยังไม่อยู่ในจุดที่คุ้มกับการผลิตขาย
ให้เดาก็ถ้ามีความไฟลนก้น เลยยอมขาดทุนหน่อยแล้วก็เข็นออกมาขายกันไป
เริ่มขยับตัวแล้ว