แอปเปิลปรับกฎของ App Store เล็กน้อย 3 จุด การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือลบเงื่อนไขข้อ 3.1.3 ที่เดิมทีห้ามนักพัฒนาใช้ข้อมูลจากแอพเพื่อไปสื่อสารกับผู้ใช้นอกแอพว่ามีวิธีจ่ายเงินอื่นนอกจาก in-app purchase (เช่น ส่งอีเมลแจ้งผู้ใช้ว่ามาจ่ายผ่านเว็บเราเถอะ ถูกกว่า)
การลบข้อความนี้ออกถือว่าแอปเปิลปฏิบัติตาม คำสั่งศาลจากคดี Apple vs Epic โดยถือว่าแอปเปิลดำเนินการก่อนกำหนด 90 วัน (ครบกำหนด 9 ธันวาคม) ถือเป็นข่าวดีเล็กๆ สำหรับนักพัฒนาสาย iOS
Deleted from 3.1.3. “Developers cannot use information obtained within the app to target individual users outside of the app to use purchasing methods other than in-app purchase (such as sending an individual user an email about other purchasing methods after that individual signs up for an account within the app).”
ที่มา - Apple
Comments
ถ้านอกแอปราคาเท่ากันผมจะจ่ายผ่าน app store
มีปัญหา แล้วเคลียร์ง่ายและไว
30% นี้น่าจะมีบริษัทใหญ่ๆ ที่พอมีศักรยภาพทำระบบหรือเชื่อมต่อระบบจ่ายเองได้หวังว่าราคาแอปคงลดได้อีก
หมดข้ออ้างแอพแพงเพราะแอปเปิลได้ซักทีนะ
จ่ายผ่านเว็บตรง ถ้าต้องกรอกข้อมูลบัตร ส่วนตัวยอมจ่ายกับ app store เหมือนเดิมดีกว่า กลัวข้อมูลรั่ว ระบบป้องกันการแฮกดีมั้ย
จ่ายผ่าน PayPal ก็ปลอดภัยดีนี่ครับ
ยังพอมีโอกาสโดนครับ
ผมเพิ่งโดน account Facebook ads ที่ลิ้งค์กับ Paypal อยู่
โดนเอาไปจ่าย ads ให้กับเพจอะไรก็ไมรู้ที่ mexico
Paypal ช่วยอะไรไม่ได้เพราะจ่ายให้ FB โดยตรงถือว่ารายการสำเร็จ
Facebook business ก้บอกจะตามเรื่องให้ ก็รอดูอยู่
เคสแบบนี้เป็นปัญหาของ Facebook นะครับ ไม่ใช่ปัญหาของ Paypalปัญหาเรื่องไปจ่าย Facebook ads นี่ โดนกันทุก Payment Gateway ครับ
คือต้องอธิบายว่าเคสนี้ มันไม่ใช่เป็นการเลือกระหว่างระบบจ่ายเงินของแอปเปิล มั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย แต่เสีย 30% vs ระบบจ่ายเงินของนักพัฒนารายย่อย น่ากลัว อ่อนด้อย มีปัญหาแล้วเคลมยาก เพียงแค่ 2 ตัวเลือกนะครับ
ทุกวันนี้คนเป็นล้านๆ จ่ายเงินตรงผ่านหน้าเว็บของ Netflix Spotify Amazon PayPal Square เว็บใหญ่ๆ พวกนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไรกันนี่ครับ
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือเปิดให้นักพัฒนาทุกราย จะเล็กระดับทำคนเดียว หรือใหญ่ระดับ Netflix สามารถโฆษณาวิธีจ่ายเงินของตัวเองได้ ซึ่งมีคนมากมายที่ทำระบบจ่ายเงินของตัวเองได้ดีมาก อย่าไปเชื่อการปั่นของเมนต์ต้นทางที่พยายามสร้างภาพว่ามันไม่ปลอดภัยครับ
มันมีความเสี่ยงจริงๆครับ ไม่ใช่แค่เรื่องไม่ปลอดภัย ยังมีเรื่องแอบตัดตังด้วย
เช่นบริการ subscribe ที่ให้ผูกบัตร และหักอัตโนมัติ (ถ้าเผลอ ไม่อ่านให้ละเอียด)
บางเจ้า ยกเลิกยากมาก ยกเลิกด้วยการ ติดต่อ call center (ซึ่งเป็นแบบ ต้องโทรทางไกลก็มี)
ถ้าเป็นเจ้าใหญ่คงไม่มีปัญหาอะไร แต่เป็นห่วงก็พวกเจ้าเล็กๆ มากกว่า ระบบน่าเชื่อถือได้แค่ไหน อย่างแอพพัฒนามาจากจีน
สมมติว่าถ้าจำเป็นจะต้องจ่ายจริงๆ ยอมจ่ายผ่าน apple มั่นใจกว่า ว่าไม่เอาข้อมูลเราไปทำอะไรแปลกๆยิ่งในยุคนี้ที่ข้อมูลการเงินสำคัญมาก ส่วนต่าง 30% คิดว่าเป็นค่าดูแลระบบมันก็สมเหตุสมผลอยู่นะ ถึงจะแพงไปบ้างในบางกรณีก็ตาม
ทุกวันนี้ของคุณคือรายใหญ่ทั้งนั้นเลยนะครับ คนกล้ากันอยู่แล้ว ส่วน paypal ผมก็จ่ายเฉพาะ App เป็นรายๆ แบบรอบเดียวจบและ ต้องไม่แพงถ้า ยิ่งถ้าปลายทางไม่ใช่บริษัท ก็คือเผื่อทิ้งเลยเพราะตามเอาเงินคืนยุ่งยากแน่ ไม่ได้หวังว่า paypal จะช่วยอะไรได้มากมายอะไรความคิดส่วนตัวให้ผมเดา Apple คงคาดการให้เจ้าเล็กสักเจ้าทำให้เกิดปัญหาร้องเรียน แล้วถึงจะเริ่มเปิดฉาก โฆษณาการจ่ายผ่าน Apple
ผมว่าใช่ แต่ก็ต้องยอมรับว่ายังไงผมก็มั่นใจการจ่ายผ่าน Apple store/ Google store มากกว่าอยู่ดี
ก็ไปรับความเสี่ยงกันเอาเองแล้วกันงั้นถ้ามีปัญหาอะไรขึ้นมา apple ไม่ได้กล่าวไว้
อย่างแรกก็คอยดูที่บอกว่าแอปเปิลเก็บค่าธรรมเนียมไป 30% ของราคาแอพ ว่าพอซื้อจากข้างนอกราถาจะถูกลง 30% ไหม
อย่างที่สอง พวกแอพที่ต้องจ่ายเงินก่อนแล้วค่อยได้ใช้ฟังก์ชันพิเศษ แบบว่าจ่ายเงินแล้วไม่ถูกใจขอคืนเงินได้แบบจ่าย in-app ใน App Store ไหม
อย่างสุดท้ายพวกแอพแบบ Subscribtion ถ้าตั้งใจจะยกเลิกเมื่อถึงกำหนดระยะเวลานั้น ๆ แล้วดันลืมกดยกเลิกขอเงินคืนได้แบบ App Store ไหม
ข้อแรก ถูกกว่าครับ จ่ายมาหลายแอพแล้วข้อสองข้อสาม ไม่จำเป็นครับ Apple ทำให้ได้ก็ถือว่าเป็นเรื่องดี แต่ว่าแต่ละที่ไม่จำเป็นต้องมีนโยบายการจ่ายเงินเหมือนกันครับ
เรื่องราคาแอปถูกลงผมว่าไม่ค่อยเห็นผลเท่าไรครับ ส่วนมากแอปดีๆอยู่แล้วก็จะตั้งราคาเท่า store อื่นๆ อย่างของค่าย affinity ที่ทั้งผ่าน mac store, windows store และแบบซื้อเองผ่านเวปตรง ก็มีราคาที่เท่ากันหมด โดยคนซื้อก็จะมองว่าเป็นการซื้อเพื่อข่วยผู้พัฒนาให้ได้รับเงินเต็มๆ
อันนี้หมายถึงราคาใน Store หรือราคา In-app / Subscription เหรอครับ?
ผมเข้าใจว่าถ้าเป็นราคาใน Store เข้าใจว่าหลายๆ Store จะมีกฏทำนองว่าห้ามตั้งราคาที่อื่นถูกกว่าอยู่นะครับ แต่ไม่แน่ใจว่า Store ที่ว่ามามีกฏทำนองนี้ไหม
ผมเชื่อว่าโลกนี้ไม่ได้มีแต่ Apple ที่สามารถทำระบบจ่ายเงินที่ดีได้ครับ
ปล่อยให้มีทางเลือกและแข่งขันกันได้แบบนี้แหละดีแล้ว แรกๆก็คงจะตะกุกตะกักหน่อยเพราะหลายเจ้าก็คงเพิ่งเริ่มทำ แต่เดี๋ยวมันก็จะค่อยๆพัฒนาขึ้นเองแหละ เพราะถ้าพัฒนาไม่ได้ก็ตายไปเองตามกลไกตลาด ส่วน Apple เองก็ต้องพัฒนาขึ้นอีกถ้าไม่อยากให้คนหนีไปใช้เจ้าอื่นเช่นกัน เพราะงั้นยังไงผู้ใช้แบบเราก็มีแต่ได้
ถ้าหากแอปเปิลเลี้ยวหักศอกแบบว่าผู้พัฒนาต้องจ่ายค่าลง store เป็นจำนวนที่มากขึ้นจะทำอย่างไรได้หรอครับ พอเป็นเจ้าของตลาดเก็บค่าเช่าไม่ผิด แต่พอโดนบอกให้ไปเก็บค่าเช่าแบบถูกๆโดยผ่านคนอื่นได้ ก็เลยขึ้นค่าเช่าซ่ะ
คือมันประมาณฟู๊ดคอร์ตในห้าง ที่เก็บค่าเช่าร้านแล้ว แล้วยังบังคับให้ลูกค้าต้องมาแลกคูปอง(หรืออาจเป็นบัตร) เพื่อเอาไปซื้ออาหารจากร้านต่าง ๆ ในนั้น เพื่อหักเงินจากยอดขายด้วย โดยอ้างว่าวิธีนี้ลูกค้าปลอดภัย รวมทั้งห้ามไม่ให้ร้านค้าบอกลูกค้าว่าจ่ายทางอื่นได้หรือห้ามรับเงินสดจากลูกค้า ซึ่งการหักเปอร์เซนต์จากยอดขายก็แพงมหาโหด
แต่กรณีของคดี Epic เนี่ย ศาลสั่งให้ทางห้าง ต้องอนุญาตให้ร้านค้าสามารถรับเงินช่องทางอื่นได้ รวมถึงสามารถบอกลูกค้าได้ว่าจ่ายช่องทางอื่นหรือจ่ายเงินสดได้นะ เพราะทางศาลเห็นว่าทางห้างเก็บค่าเช่าไปแล้ว จะมาบังคับให้ใช้แต่คูปองไม่ได้
เพราะงั้นถ้า apple อยากได้เงินเท่าเดิมก็ต้องขึ้นค่าเช่าไม่ใช่ไปบังคับให้จ่ายผ่านคูปองเพื่อหักเงินจากยอดขายอีก
แล้วให้ร้านค้าเลือกเอาเองว่าจะสู้ราคาค่าเช่าที่แพงขึ้นไหวไหม
หรือถ้ายังยืนยันจะเก็บหัวคิวจากยอดขาย ก็ต้องให้ตั้งร้านฟรีแบบฝั่ง Android
จริงๆเดี๋ยวนี้ถ้าจะเทียบกับฟู๊ดคอร์ท จะบอกว่าหลายๆแห่งก็มีช่องทางจ่ายหลากหลายนะครับ อย่างของสยามพารากอน จะแลกบัตรเงินสด หรือจะเอา Rabbit หรือ Linepay ไปจ่ายโดยไม่ต้องแลกบัตรนก็ได้ หรือเซ็นทรัลบางสาขา เดี๋ยวนี้ซื้อข้าวจานเดียวในฟู๊ดคอร์ท ก็ตัดบัตรเครดิตได้เลย ทุกร้านมีเครื่อง EDC อยู๋กับร้าน ก็เหมือนให้ลูกค้าเลือกเอา จะเดินไปแลกเงินกับเจ้าของ Platform ก่อน (แลกบัตรศูนย์อาหาร) หรือจะจ่ายนอกระบบ Platform ให้ร้าน
ฟูดคอร์ทในห้างเค้าจ่ายเป็น GP (Gross Profit) ครับก็คิดเป็น % ครับไม่ได้จ่ายค่าเช่าแล้วมาจ่ายค่ายอดขายสองรอบ ปกติไม่มีการเก็บสองต่อครับว่าเก็บค่าเช่าแล้วมาเก็บเพิ่มอีก (ยกเว้นค่าส่วนกลางที่ไม่เกี่ยวกับค่าเช่าครับ)
เพียงแต่เค้าจะมี Min ของเค้าอยู่ครับว่าจะต้องจ่ายอย่างต่ำเท่าไร ต่อให้ยอดไม่ถึงก็ต้องจ่ายครับอันนี้ขึ้นอยู่กับตอนทำสัญญาว่าจะตกลงกันไว้เท่าไรตอนแรก
ส่วนทางเลือกจ่ายเงินวิธีอื่นนอกจากคูปองมันก็เป็นแค่การอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าครับ เพราะมันเชคยอดได้อยู่แล้วว่าจะต้องจ่ายเท่าไร
ถ้าเป็นไปตามที่หลายๆคนพยายามแก้ตัวให้ Apple ว่าไม่ได้ผูกขาดก็ไม่มีปัญหาครับ ถ้าแพงเกินเหตุคนก็ย้ายไปที่อื่นเอง
ผมมองในแง่ดีว่าขอ Refund จากแอปเปิ้ลได้เร็วอยู่ครับ ดีกว่าไปตามขอคืนจากบริษัทแอปเองเวลากดซื้ออะไรพลาดไป หรือแอปใช้งานไม่ได้ตามที่กล่าวอ้าง
ผมมองในมุมมองของผู้ใช้งาน ไม่ใช่นักพัฒนานะครับ อาจจะเห็นต่างออกไป
ถ้าเป็นบริษัทต่างชาติ จะคืนไวมากครับ เคยทำมาแล้ว ผมมีรายการสั่งซื้อซ้อนเลยขอเขาคืนเงินมาหนึ่งรายการ เขาทำให้เลย มันจะช้าตอนคืนเงินในไทยเท่านั้นเอง ตอนนั้นบัตรเดบิตด้วยฮ่าๆ
แต่ถ้านามบุคคลธรรมดาก็วัดใจกันไป ถ้าแพงก็ยิ่งน่ากลัว
ใครมั่นใจในระบบของ Apple ก็ซื้อความมั่นใจด้วยส่วนแบ่ง 30% ไป ส่วนใครมั่นใจจ่ายผ่านรายอื่นที่ถูกกว่าก็ถือเป็นทางเลือกของแต่ละคน
ถ้าผ่านไปสักพักสถิติออกมาว่าการจ่ายผ่านรายอื่นไม่ได้มีความปลอดภัย หรือสะดวกสะบายน้อยกว่า Apple ถึงตอนนั้น Apple ก็ต้องลดราคาลงมาให้อยู่จดสมดุลเอง
หรือถ้ากลับกันการจ่ายผ่านจ้าวอื่นมีปัญหามากขึ้น ก็จะเป็นช่องทางให้มีการปรับปรุง หรือกระทั่งบริการใหม่ๆเช่น ประกัน in-app purchase ออกมาเอง
การเปิดโอกาสให้ผู้ใช้เลือกได้แบบนี้ ย่อมดีต่อผู้ใช้ในระยะยาวอยู่แล้ว
+1
ถ้าเรามีทางเลือก ก็ควรใช้นะคะ ยกตัวอย่าง ตอนสมัคร YouTube Premium ใช้เครื่อง Android สมัครค่ะ ราคาแพ็คเกจถูกกว่า