มติที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท ทรู คอร์ปปอเรชั่น จำกัด อนุมัติให้ "ศึกษาความเป็นไปได้" ของการควบรวมระหว่าง True กับ dtac โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ทั้งสองฝ่ายลงนามบันทึกความตกลง (MOU) แบบไม่ผูกพัน เพื่อทำการตรวจสอบกิจการ (due diligence)
- หากเป็นที่พอใจแล้ว จะควบรวมบริษัทใหม่โดยใช้วิธีจัดสรรหุ้นของบริษัทใหม่ (ยังไม่มีชื่อเรียก) ด้วยอัตรา 1 หุ้น True เดิม ต่อ 2.40072 หุ้นของบริษัทใหม่ และ 1 หุ้น dtac ต่อ 24.53775 ของหุ้นบริษัทใหม่
- บริษัทใหม่มีมูลค่าตามหุ้นที่จัดสรร 1.38 แสนล้านบาท (1.38 แสนล้านหุ้น หุ้นละ 1 บาท) แต่มูลค่าอย่างเป็นทางการจะต้องให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นร่วมอนุมัติ
- บริษัทแม่ของทั้งสองฝ่าย (เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ Telenor Asia) จะตั้งบริษัทร่วมทุน (Joint Venture) ชื่อ ซิทริน โกลบอล (Citrine Global) มาเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของ True และ dtac จากผู้ถือหุ้นรายย่อยในตลาดแบบสมัครใจ (tender offer)
- กระบวนการควบรวมจะต้องรอการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของทั้งสองบริษัท และหน่วยงานกำกับดูแลต่างๆ ก่อน
ที่มา - True (PDF)
Get latest news from Blognone
Follow @twitterapi
Comments
สรุปผู้ให้บริการเหลือ 2 จะแข่งกันมันเหมือนเดิมไหมนะ
จะมีคนย้ายมา ais แค่ไหนนะ
✋
ไปด้วย
ยืนยันว่าไป ไม่เสียดายอายุสมาชิก (ที่ไม่เคยได้โปรอะไรเลย) สักนิด
คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ
5555 ตอนไปสนามบิน พี่ทำไปด้วยกันใช้ ais ได้เขาไปนั่งใน louge ตัวผมเป็น dtac gold member นั่งอยู่กับผุ้โดยสารอื่นๆ
ตอนนั้นนั่งคิด ทุนนิยมนี่มันดีกว่ากันเยอะเลยน้าาาาาาา
นอกจากผู้เล่นหน้าใหม่เกิดยากแล้ว ผู้เล่นหน้าเดิมๆยังเหลือน้อยลงอีก
ผมว่ากฏหมายต่อต้านการผูกขาดมันจำเป็นสำหรับประเทศหยุดพัฒนาอย่างเรามากนะ ไม่งั้นมันก็จะเป็นแบบนี้เรื่อยๆ แต่...
ผมเกรงว่าจะกลายเป็นภาพตรงกันข้ามคือฟอกให้กลายเป็นว่าไม่ผูกขาดแน่นวล
ก็มีอยู่นะครับแค่โดนตีความว่าไม่ได้ผูกขาดแต่มีอำนาจเหนือตลาด
กรณีควบรวมร้านขายของนั่นสินะครับทำให้กินตลาดไปเกือบ 60% (รึเกินหว่า?)แต่ก็ไม่ผูกขาด
ตราบเท่าที่โครงสร้างหน่วยงานกำกับทุกอย่างยังมีที่มาขึ้นต่อคนกลุ่มเดียว จะมี กม. อะไรมาก็ไม่ช่วยหรอกครับ
เหมือนเหล้าเบียร์ไม่มีเจ้าใหม่ๆเกิดมาได้เลย
มีด้วยเหรอครับ
มีครับ แต่คุยง่าย T_T
ไม่ไหวนะ Player น้อยเกินมันจะเริ่มแย่แล้วนะ จุดเด่นเราจะพังอีกเรื่องแน่
การตั้งบริษัทร่วมทุนนี้แทนที่จะซื้อขาดจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกฏหายผูกขาดทงการค้ารึเปล่าหว่า?
แน่นอนครับอันนี้ คิดว่าพวก Law Firm คงดูมาให้แล้วระดับนึง ถ้าเป็นในอเมริกายากมากที่จะเกิดการควบรวมยิ่งทำให้เหลือ 2 บริษัทยิ่งแล้วใหญ่
ผมว่าไม่เกี่ยวนะ เพราะ TRUE, dtac จะควบรวมหรือร่วมทุน สุดท้ายก็เหลือเจ้าตลาดแค่ 2 เจ้าอยู่ดี คือบ.นี้กับ AIS
แต่เป็นเรื่องการแบ่งผลประโยชน์มากกว่า การร่วมทุนแบบนี้คือไม่ได้มีใครถอนตัวออกจากตลาด ทั้งคู่ยังมีความเป็นเจ้าของร่วมกันอยู่ และรอรับผลประโยชน์ในอนาคตร่วมกัน ต่างจากการการซื้อกิจการที่จะมีคนใดคนหนึ่งได้เงินก้อนไป แล้วอดได้ผลประโยชน์ในอนาคต
ลวดลายเยอะจริงๆ
ผมว่ามันดีกับ D-TAC นะ ออกจากตลาดแบบได้เงินไปเยอะพอสมควรไม่เหมือนพม่า แต่อาจจะไม่ดีกับพนักงานหลังควบรวม เพราะปรกติ ควบรวมแล้ว ถ้าตำแหน่งเหมือน ๆ กัน มันจะเหลือแค่คนเดียว .. ซึ่งจะเอาใครไว้ ก็น่ารู้ ๆ กันอยู่
เมื่อวานอ่านเพจที่หนุนลุงเพจนึงกลับเห็นดีเห็นงามด้วยอะ พอไปถามเหตุผลกลับประชดให้ผมไปตั้งบริษัทสู้ เฮ้อออ
หมดหวังกับประเทศนี้จริงๆ
จะรอดูน้ำยาของ สขค และ กสทช
มีแต่ขนมจีนครับ
เสือกระดาษครับ เปลืองภาษี
ตั้ง Holding ของ holding ของ holding
เข้าใจคิดจริงๆ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ดีแล้วครับ ถ้าไม่ไหวก็ควบรวมไป แข่งมากเหนื่อย ไหนจะลูกค้าหัวหมออีก ดีกว่า แข่งกันให้ตาย ๆ ไปข้างนึง ยุคนี้สมัยนี้ก็ควรหาดีลที่ Win-Win ได้แล้ว จะช้าหรือเร็วมันก็เหลือน้อยรายอยู่ดี...
ดีกับตัวบริษัทเค้าๆ กับผู้ถือหุ้น
แต่ไม่ดีกับสังคม และสภาพการแข่งขันในตลาดของประเทศโดยรวม และแน่นอนว่าคนที่เป็นลูกค้าสุดท้ายจะเสียประโยชน์โดยตรงในอนาคต
เข้าใจนะครับ แต่แน่นอน บริษัทเขาและผู้ถือหุ้น ต้องการผลกำไร ไม่งั้นก็คงเลิกกิจการไปทำมูลนิธิแล้วถ้าอยากให้ประโยชน์กับลูกค้าจริง ๆ นี่คือโลกของทุนนิยม ถ้าคุณลงทุนแล้วขาดทุนแล้วจะลงทุนไปทำไม? สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือ การเขย่าให้ทุกอย่างสู่จุดสมดุล จุดที่ผู้ให้บริการอยู่ได้ แล้วลูกค้าก็อยู่ได้ครับ
Duopoly คือจุดสมดุลหรอครับ ?ทุกวันนี้ทั้ง DTAC และ TRUE อยู่ไม่ได้หรอครับ ?
TRUE อยู่ไม่ได้ครับ กำไรลดมาทุกปี จนปีนี้ขาดทุนแล้วครับ
อยู่ไม่ได้ Regulatory Body ก็ต้องเข้ามาช่วยพยุง ไม่ให้ล้มเพื่อส่งเสริมการแข่งขัน ถ้าในตลาดมีผู้เล่นเยอะแล้วก็ปล่อยล้ม M/A ไปก็ได้ แต่ใน case นี้ผมว่า 3 บ. ควรเป็น bare minimum นะครับ ไม่งั้นก็จะ duopoly แล้ว
ปกติ ตปท ถ้ามีผู้เล่นใหม่ๆ เข้ามาในตลาด จะส่งเสริมเช่นลด ค่า License ต่างๆ เพื่อสนับสนุนการแข่งขันในตลาด
แต่ผมไม่แน่ใจนะครับว่าที่ว่า True ขาดทุนคือเกิดมากการลงทุนเพิ่มเยอะเองรึเปล่า ?ปกติ บ. ที่ขาดทุนน่าจะ lean แต่ดู direction ของ True ดูค่อนข้างสวนทางการเงินรึเปล่าครับ ?
TRUE ไม่เคยมีกำไรนะครับ ที่เห็น ๆ อยู่กำไรพิเศษจากการขายทรัพย์สินเข้ากองทุนทั้งนั้น พอขายของเข้ากองทุนไม่ได้ก็ขายกองทุนมันเลยละกัน
จากที่ผมเห็นและนำมาคาดเดานะครับ
คิดว่าสไตล์การค้าขายเจ้าสัวฯเน้นรีดกินส่วนต่างราคาขายส่งขายปลีกเข้าตัวบริษัทใหญ่ครับ
เลี้ยงไว้รีดส่วนต่างแบบไม่ปล่อยพังแต่ก็ไม่โต
ใช่ บริษัทนึงร่วงเอา ๆ อีกบริษัทก็อยู่ไป ก็เป็นซอมบี้ ไม่ใหญ่ แต่ก็ไม่ร่วง มันเลยเป็นที่มาเป็นดีลนี้ไงครับ?
เรื่องผลกำไรสูงสุดเป็นหน้าที่ของบริษัท แต่หน้าที่คุ้มครองประชาชนเป็นหน้าที่ของรัฐ แต่ยุคนี้ประชาชนก็ต้องดูแลตัวเองมั้งนะผมว่า
เราไม่ต้องไปเดือดร้อนแทนผู้ถือหุ้นเค้าหรอกครับ เราควรตั้งคำถามว่าสังคมและลูกค้าได้อะไรกับดีลนี้ดีกว่า
+1024
ผมว่า ผมเดือดร้อนนะ และน่าจะมีใครหลาย ๆ คนเดือดร้อน เราทุกคนมีส่วนได้ส่วนเสียในสถานะผู้ถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมนะครับ กองทุนประกันสังคมที่ผมสะสมอยู่ทุกเดือน ทุกปี เขาลงทุนอยู่ใน True และ dtac กองทุนรวมทั้งหลาย LTF RMF ก็ลงทุนในนั้น ถ้าคุณลงทุนไปแล้วได้กำไรน้อย แล้วจะลงทุนไปทำไมครับ? มันคือเหรียญครับ มี 2 ด้าน ผมอยากให้คุณลองเปิดใจและมองทั้ง 2 ด้าน ผมมองว่า ท้ายที่สุด end game ตลาดมันจะเหลือผู้เล่นน้อยรายอยู่ดี อยู่ที่ว่าจะเกิดขึ้นช้าหรือเร็ว เราควรจะหาจุดกึ่งกลางที่ผู้ให้บริการอยู่ได้ ลูกค้าอยู่ได้ และสังคมอยู่ได้
งั้นแสดงว่าคุณมองในมุมนั้น ส่วนผมมองในอีกมุมหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่าผลของมันเห็นได้จากหลายๆ ตลาดในไทยมาแล้ว
แต่หากว่าอยากให้มันเกิดกับตลาดนี้อีก ก็คงต้องแล้วแต่คุณน่ะ
เพราะผมยังมองไม่เห็นว่าสังคมและลูกค้าทั้งตลาดได้ประโยชน์สูงสุดจากดีลนี้
ผมคิดว่า คุณควรจะเดือดร้อนกับ กสทช. มากกว่านะครับ... ถ้าบอกว่า อยากให้สังคมและลูกค้าได้ผลประโยชน์จริง ๆ ไม่ต้องจากดีลนี้เท่านั้นครับ ต้องตลอดเวลาครับ ในฐานะผู้กำกับและควบคุมดูแลอุตสาหกรรมนี้ เงินประมูลคลื่นที่ผู้ให้บริการจ่าย ๆ ไปแล้ว แล้วได้นำเงินส่วนนั้นไปส่งเสริมอุตสาหกรรมโทรคมนาคมอย่างไรบ้าง??? ส่งเสริมให้เกิดผู้ให้บริการหน้าใหม่ ๆ ขึ้นมาบ้างไหม??? มากกว่านะครับ
สิงคโปร์ เอาเงินประมูล 3G ไปทำโครงสร้างพื้นฐานลงสายไฟเบอร์สู่ทุกบ้านทุกห้อง กสทช.ไทยทำอะไรบ้างจริ๊ง??? อมเงินแล้วก็เงียบ
ป.ล. จะมาส่งเสริมตอนนี้มันก็เริ่มสายแล้วครับ
ทำไมถึงคิดว่าผมไม่ได้ตำหนิ กสทช หล่ะ?
ก็ผมติดตามอ่านคอมเม้นท์ของผมไง แต่ 2 ข่าวก่อนหน้านี้ เหมือนคุณจะเงียบ ๆ ที่จะคอมเม้นท์แอคชั่นของกสทช. นะครับ แต่พอมาวันนี้พออ่านคอมเม้นท์ด้านบน เหมือนพยายามโยนหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคมและลูกค้า ให้ผู้ให้บริการไปเต็ม ๆ ทั้ง ๆ ที่ผู้ให้บริการมีทั้งต้นทุนที่ต้องแบกรับ ไหนการแข่งขัน ไหนจะการเปลี่ยนแปลงของสังคม แต่ กสทช. ไม่ทำอะไรเลย... ปล่อยให้แข่งขันกันไปตามยถากรรม ไม่มีการส่งเสริมอะไรเลย... ทั้ง ๆ ที่ตนเป็นผู้กำกับดูแล มีอำนาจและหน้าที่ต่อสังคมและประชาชน(ลูกค้าของผู้ให้บริการอีกที)
เรื่องอื่น ผมชอบความคิดคุณนะ แต่เรื่องนี้ขอเห็นต่างนะครับ
มันเป็นการคาดเดาของคุณเองเนอะ
ใช่ครับ ผมยอมรับครับ แล้วคุณมองว่า อย่างไรครับ? ผมก็อยากรู้ความคิดเห็นของคุณนะ
เดือดร้อน แต่คงเดือดร้อนน้อยกว่า ถ้าเทียบกับค่ามือถือแพงขึ้น 100 บาทต่อเดือน (หรือโดนลดปริมาณจนทำให้ต้องจ่ายแพงขึ้น) หรือมีแต่โปรลูกเล่นเยอะ ทำให้สิทธิ์ใช้งานไม่สามารถเหมือนเดิมได้
ตอนนี้ยังมี dtac ที่คานราคา ไม่ว่าจะโปรถูก ค่าเครื่องถูก สิทธิ์ลูกค้าดีกว่าแต่พอเหลือ 2 ก็สบาย เจ้าตลาด อยากทำโปรยังไงก็ทำ
แต่ถ้ารอไป ในจุดที่การแข่งขันด้านนี้ มันน่าสนใจ ยักจากตลาดอื่น อาจมาเหมา dtac แทน true ก็ได้
ถ้าเป็นไปตามสัดส่วนนี้ หลังควบรวม Telenor มีหุ้นในบ.ใหม่มากกว่า CP เกือบเท่าตัวเลย
ไม่เสมอไปครับ ตอน TMB x TBANK
TCAP ถือ TBANK อยู่ ~50% Nova scotia ~ 50%
ส่วน TMB INK BANK ถืออยู่ ~ 25% คลังถืออยู่อีก ~ 25% หลังควบรวมเสร็จ กลายเป็น INK ถือหุ้นใหญ่ ~ 23% TCAP ~ 21% คลังเหลือถืออยู่ ~ 11% เลยครับ ส่วน Nova scotia Exit ตลาดไทย
งั้นผมเสริมไว้ก่อน ผมคำนวณตามการถือหุ้น TRUE และ dtac ณ ปัจจุบัน กับจำนวนหุ้นใหม่ที่จะได้รับ แต่ถ้าถึงเวลานั้นมีใครไม่ใช่สิทธิ์หรือขายหุ้นทิ้งก็ต้องมาคำนวณกันใหม่ครับ
สเต็ปต่อไปก็ซื้อขายหุ้นกันเองในบริษัทใหม่
ผิดกับญี่ปุ่นเลยแฮะ แต่ก่อนมี 3เจ้าใหญ่เหมือนเรา แต่ตอนนี้ไม่รู้เกินสิบเจ้ารึยัง (LINE,Rakuten,Yahoo บลาๆๆ)ยิ่งนับวันยิ่งแข่งกันเยอะ โปรโหดๆ เพียบ ลูกค้าฟินกันไป
แต่ของบ้านเรากลับเป็นตรงกันข้ามซะอย่างงั้น
เข้าใจว่าเจ้าที่เป็นเจ้าของเครือข่ายในญี่ปุ่นมีแค่ 4 เจ้านะครับ ส่วนที่เหลือ MVNO ซึ่งก็คล้าย ๆ ไทยละครับมีเจ้าใหญ่ 3-4 เจ้า(แล้วแต่ว่าจะนับ nt ไหม) แล้วก็มี MVNO อย่างเพนกวิน 168 etc. อีกที (Gomo กับ Fin ถือเป็น pseudo mvno)
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
เป็น MVNO นี่เองมิน่าล่ะทำไมโผล่มาเยอะ
แต่ถึงยังไงก็อิจฉาฝั่งโน้นอยู่ดี แข่งกันจนถูกกว่าสมัยผมไปทำงานเยอะมาก ;w;
การแข่งขันหดลงไปอีก สิ้นหวัง
การลงทุนบริษัทโทรคมนาคม มันใช้ทุนสูงด้วยสินึกไม่ออกจริงๆ ว่าจะมีคนมาเพิ่มในธุรกิจนี้ได้ไง
ซ้ำ
ผมยังเสียดาย ตอนสมัยประมูล 3G ครั้งแรกที่ล่มไป ตอนนั้นมีการเดินสาย เชิญต่างประเทศมาประมูลกลับมาถึงไทยปุ๊บ พวกออกกฎห้ามต่างชาติลงทุนในกิจการโทรคมนาคมเกิน 50%
คือจริงๆ ให้โอกาสบริษัทไทยก็ดี แต่ถ้าตัวเลือกมันน้อยแบบนี้ ก็เปิดทางต่างชาติบ้างเหอะยังไงคนก็ได้ประโยชน์เยอะ ทั้งการจ้างงาน และการลงทุน
** แปลกแฮะ ผมจะ reply อันข้างบน แต่ดันมาอันที่บอกว่าซ้ำซะงั้น **
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ผมว่าอาจจะต้องเป็นแบบแนวทางการตั้งบริษัทรถจีนหละครับ ที่ลงทุนระหว่างต่างชาติและในประเทศเป็นแบบคนละครึ่งไปเลย อาจจะเป็นไปได้ครับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
มีแนวโน้มที่อนาคตจะเหลือเพียงเจ้าเดียว ปลาใหญ่กินเรียบ
เรื่องฮั้วราคาเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ผมห่วงเรื่อง Privacy มากกว่า ไม่ชอบเลย
ตอนเทเลนอร์ย้ายออกจากพม่ายังคิดในใจแล้วไทยละ
เค้าน่าจะ Quit ตลาด SEA ครับ
เดาว่ามาท่าเดียวกับ Digi Malaysia
ผมคิดว่าดีแทคตั้งใจสู้เอือกสุดท้ายด้วยการรอคลื่น 3500 MHz
ถึงได้พยายามต่อรองให้รอประมูลคลื่น 2600 MHz พร้อม 3500 MHz
แล้วเมื่อต่อรองให้ประมูลพร้อมกันไม่ได้
ก็เรียกร้องให้รีบประมูลล่วงหน้าก่อนไทยคมหมดอายุสัมปทาน
จนตอนนี้ไทยคมหมดอายุสัมปทานตอนนี้ก็ยังไม่รู้ว่าจะได้ประมูลคลื่น 3500 MHz เมื่อไหร
ดีแทคที่ผิดหวังกับการรอคลื่น 3500 MHz ซึ่งเป็นคลื่นย่านกลางแบบเดียวกับ 2600 MHz ที่สำคัญต่อพื้นที่เขตตัวเมืองอย่างมาก
จึงไม่รู้จะสู้กับผู้ให้บริการเจ้าอื่นได้อย่างไร
ซึ่งในกรณีพื้นที่ชนบทที่มีคนใช้น้อยจะยังให้ใช้ 4gกับคลื่นเดิมที่มีก็ยังไม่ค่อยกระทบในการแข่งขันมาก
แข่งกันแค่ 2 เจ้า แบบนี้ ลูกค้ามีแต่เจ็บตัว
หรือจริงๆการประมูลใบอนุญาตมันไม่ควรมีเพราะเจ้าใหม่ไม่เข้ามา เจ้าเก่ากินรวบ
หน่วยงานกำกับดูแลก็ไม่รักษาผลประโยชน์ให้ประชาชน
คำถามครับ
ทำไม ais ถึงไม่เสนอดีลนี้กับ dtac?
อันนี้เดาล้วนๆ เพราะ AIS สมัยเทมาเซค คิดว่ายังไง กสทช ไม่ยอมแน่ๆ ถ้าปล่อยไปสัก AIS สมัย GULF อาจจะคิดก็ได้
ขอบคุณครับ
ถ้าอ้างอิงจากตัวเลขจาก กสทช. http://numbering.nbtc.go.th/Scholastic/266/319/541.aspx
จำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีผู้ใช้งาน (วันที่บันทึก : 3/11/2564)
- AIS มีผู้ใช้บริการ 55.26 ล้านหมายเลข
- TRUE มีผู้ใช้บริการ 38.38 ล้านหมายเลข
- DTAC มีผู้ใช้บริการ 21.04 ล้านหมายเลข
ถ้า dtac เสนอควบรวมกับ AIS จะทำให้ตัวเลขส่วนแบ่งจำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีผู้ใช้งานอยู่ที่ 66.53% ซึ่งมากกว่า True อยู่ 73.35% จะทำให้ทรูยื่นขอโต้แย้งทันที และมีโอกาสแท้งสูงมาก
ดังนั้นการที่ dtac ควบรวมกับ True ตัวเลขส่วนแบ่งจำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีผู้ใช้งานจะอยู่ที่ 51.81% ซึ่งมากกว่า AIS อยู่ 7.53% แน่นอนว่า AIS สามารถไล่ตามขึ้นมาในอนาคตได้ และมีโอกาสแท้งต่ำกว่า
ครับ
เอ ถ้า true + dtac แล้วตั้งบ.มาเป็นลูกล่อลูกชนได้ ถ้า ais จะเอา dtac แล้วใช้แผนเดียวกันก็น่าจะได้มั้ยครับ
Net บ้าน..ส่วนแบ่งเป็นไง เพราะมองว่า จุดนี้ก็ยังดีกว่า มือถือ..นอกเรื่อง ด้วยการใช้งานมันคาบเกี่ยวกันบางกรณี
ตั้งบริษัทใหม่มาควบรวม แค่นี้ก็รอดผูกขาดปล้ว ต่อมาcpค่อยมาขอซื้อหุ้นแบบเนียนๆ
ยกนิ้วให้ NBTC และ OTCC ครับ !@#($)*%$
“พันธมิตรอย่างเท่าเทียม” แปลอีกภาษาหนึ่งคือ “เราคอนเฟิร์มข่าวลือว่า dtac จะขายให้ CP”
รอดูการย้ายค่ายครั้งมหาศาล
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ทุกวันนี้ใช้เบอร์หลักรายเดือน ดีแทค สำรองเป็นเติมเงิน ทรู
ซึ่งจริงๆ ความเร็วเน็ต สัญญาณโทรฯ ทรู ก็ไม่ได้น่าเกลียดอะไร
แต่หากควบรวมแล้วเอาทรูมาเกี่ยวด้วย ต้องเปลี่ยนเบอร์หลักรายเดือนเป็นทรูล่ะก็ ย้ายออกแน่นอน
เพราะเกลียดการพ่วงบริการนู้นนี่นั่น เพราะไม่ได้ใช้เลย บอลก็ไม่ได้ดู
และค่าบริการมั่วบิลมาก เคยเจอมาหลายครั้งทั้งตัวเองและคนรอบข้าง เสียทั้งเวลา เสียทั้งเงิน และความรู้สึก
อย่าย้ายมา AIS เลย ครับบ
เดี่ยวมาแย่งผมใช้ ฮ่าๆ
หมดกัน ความฝัน Dtac Blue member ในอีกสองปี
[S]
เดี๋ยวพวกจักรๆวงศ์ๆก็จะเข้ามากินรวบอีกที..
หลายคนคงจะใช้มือถือไม่ทันสมัยที่มีแค่ 2 ราย ถึงได้กังวลกับเรื่อง duopoly กันมาก ผมใช้มือถือตั้งแต่ปี 1997 สมัยนั้น DTAC มีชื่อเป็น TAC ก็มีค่ายมือถือแค่ 2 รายคือ TAC กับ AIS ก็ไม่เห็นมีปัญหาเรื่องฮั๊วราคานะครับ แข่งกันดุเดือนไม่แพ้ตอนนี้เหมือนกัน ถึงความจริงการมีมากรายมันจะดีกว่าก็เถอะ
ก่อน TAC เป็น World phone ครับ ตอนนั้นมี Orange แล้วด้วยครับ ผมใช้มาตั้งแต่ตัวละสองแสน ต้องหิ้วไปไหนมาไหนเลย
ยังไม่เคยมีสมัยที่มี "แค่ 2 รายแท้ๆ" นะครับ เข้าใจว่าคุณก็คงเกิดเร็วไม่พอจะรู้จักโลกธุรกิจ "ทัน" สมัยเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ "เพิ่งเกิด" จริงๆ
นโยบายในระยะแรกประเทศเราเปิดให้ต่างชาติเข้ามาอิสระกว่าตอนนี้เพื่อให้เทคโนโลยีเข้ามาปักหลักก่อน (เราไม่มี know how เลย)
ผมเกิดทันใช้มาหมดตั้งแต่โทรศัพท์ธรรมดา เพจเจอร์ มือถือ+PCT (PCT คือกำเนิดทรูในวงการนี้ ซึ่งซื้อ Orange ตอนเขาถอยออกไป คล้ายๆ จังหวะตอนนี้)
ช่วงนั้นงานบริษัทผมก็ยุ่งเรื่องสื่อสารเยอะครับ เพราะยังต้องลาก Leased line ในอุตสากรรมมาบตาพุด บางจุดก็ต้อง Satellite link (ทำงานร่วมกันสามารถฯ)
เอาจริงๆ แล้ว ยุคนั้นมีมากกว่า 3 รายครับ มีรายเล็กรายน้อยด้วย (ที่ผมเชื่อว่าคุณไม่รู้จักหรือลืมไปแล้ว) แม้กระทั่งสามารถฯ เองก็เคยเล่นในวงการ
orange พึ่งจะมาทีหลังครับ ก่อน orange ก็มี 2 รายหลัก ถ้ามานับรายเล็กรายน้อยก็ไม่ต่างกับตอนนี้ที่บอกว่ามีแค่ 2 รายไม่ได้ ผมก็เกิดทันใช้ไอ้ที่คุณบอกมาทั้งหมด จะจีบสาวทีต้องไปต่อคิวโทรศัพท์สาธารณะ แลกเหรียญเป็นกำๆ เออ...เดียวนะ รู้สึกจะดักแก่ตัวเองซะแล้วสิ T_T
ตอนนั้นมันไม่มีปัจจัยที่ว่ามือถือเป็นส่วนนึงของชีวิตประจำวันไปแล้วน่ะครับ เด็กทุกวันนี้มีมือถือมีเบอร์มีเฟสบุคมีไอจีมีติ๊กตอกก่อนจะมีบัตรประชาชนอีก
Google กับ Yahoo ก็ไม่เคยมีปัญหา duopoly หรือ monopoly มาก่อน จนมันเข้ามามีส่วนพัวพันในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้นครับ เม็ดเงินมันมหาศาลมากขึ้นตามจำนวนผู้ใช้งาน และปริมาณการใช้งาน
อีกอย่างคือการบังคับใช้กฎหมายของไทยมันหย่อนยาน และคนก็ไม่เข้าใจเศรษฐกิจดีแบบปัจจุบันด้วย
รถไฟฟ้าเองที่เคยพูดกันว่าเอาเอกชนมาประมูลแล้วจะดี แต่ในทางปฏิบัติจริงมันมีหลายจุดที่ถูกบิดไปให้ต่างกับที่คนคาดหวัง ทุกวันนี้กลายเป็น monopoly สำหรับคนกรุงที่แก้ไขไม่ได้ไปแล้วครับ ขึ้นราคาพรวดๆ ใครทำอะไรได้บ้าง ... กทม.ยังติดหนี้บ.รถไฟฟ้า บ.รถไฟฟ้าเลยขึ้นราคาประชด ประชาชนก็รับกรรมไป
บทเรียนมันเยอะอ่ะครับ เจ็บมากันเยอะก็ยิ่งระแวงมากขึ้นเป็นธรรมดา
เห็นชัดก็ทางด่วนโทรเวย์ แพงไม่พอ ระบบยังดักดาน แถมเอาเท้าราน้ำอีก
แต่รัฐ มันไม่มีตังก็ต้องพึ่งเงินเอกชน เปลี่ยนทุกอย่างเป็นระบบสัมประทานหมด
รถไฟฟ้าเกิดใหม่ หรือ รถไฟ ครส. ก็เตรียมรับเคราะห์กันต่อไปได้แน่นอน (เพราะถึงจะมีเพดานยังไงแต่เอกชนก็ยังหาทางเลี่ยง เอาเปรียบผู้บริโภคอยู่ดี ไม่ว่าจะเรื่องตั๋วเดือน หรือ คิดเงินสถานีทิพย์)
ขำสถานีทิพย์ ขำที่ขำไม่ออก บัตรใบนึงแยกกันตัดเงิน ตัดเงินสดบ้าง ตัดรอบบ้าง ยกเลิกตั๋วเดือนบ้าง
ใครทำอะไรได้บ้างหว่า ที่เห็นข้าราชการทำล่าสุดก็น่าจะเป็นการเซ็นยกสัมปทานให้ยี่สิบปีแบบงงๆ