CATL ผู้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าอันดับ 1 ของโลกจากประเทศจีน เปิดตัวสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า 4 แห่ง ที่เมืองเซี่ยเหมิน มีจุดประสงค์เพื่อให้การใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าสะดวกขึ้น ผ่านการเพิ่มระยะทางการขับขี่ได้ทันที และไม่ต้องเสียพื้นที่จอดรถเพื่อตั้งสถานีชาร์จ
สถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่ของ CATL จะใช้ได้กับรถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อ EVOGO บางรุ่น มีค่าเช่าใช้แบตเตอรี่ Choco-SEB (Swappable Electric Blocks) จากสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่ 399 หยวน/เดือน หรือราว 2,100 บาท โดย CATL มีแผนเพิ่มสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่เป็น 30 แห่ง และตั้งเป้าว่าทุก 3 กม. จะต้องเจอสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่นี้ โดย CATL ยังวางเป้าหมายขยายสถานีนี้ไปให้บริการอีก 10 เมืองในอนาคต
การใช้บริการเปลี่ยนแบตเตอรี่กับสถานีของ CATL ใช้เวลาเพียง 1 นาที ใช้พื้นที่เทียบเท่ากับ 3 ช่องจอดรถ ในสถานีนี้จะบรรจุแบตเตอรี่เพื่อรอเปลี่ยนถึง 48 ชุด
Comments
คิดไว้เหมือนกันว่ามันต้องมี 555 ประหยัดเวลาไปเยอะ
สักทีโว้ยยยยย
แต่คิดไปเหมือนมือถือ in reverse เลยแฮะ รถถอดแบตไม่ได้ก่อน แล้วมาทำให้ถอดได้ทีหลังงี้
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
เหมือนกับมอไซค์ไฟฟ้าในไต้หวัน ขับไปปั๊ม ถอดเปลี่ยน ไปต่อ
รถไฟฟ้าก็น่าจะทำเหมือนกัน มันประหยัดเวลาลงไปได้มากโข
ต่อไปตามปั๊ม นอกจากร้านกาแฟกับร้านสะดวกซื้อแล้ว ก็จะมีร้านรับเปลี่ยนแบตของยี่ห้อต่างๆนี่ล่ะเนอะ
..: เรื่อยไป
แนวคิดนี้ถูกต้องที่สุด ผมจะไม่ซื้อรถไฟฟ้าจนกว่าจะมีการนำแนวคิดนี้มาใช้ในไทย
เผื่อใครนึกภาพไม่ออก พอดีช่อง CarDebuts เขาทำสรุปเป็น VDO มันมีภาพจำลองวิธีการเปลี่ยน แต่เท่าที่ดู ผู้ผลิตรถยนต์อาจต้องให้ความร่วมมือในการออกแบบระบบการวาง Battery ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อให้ Robot เข้าไปถอดราง Battery ได้ด้วย น่าจะยาวแหล่ะอาจรองรับเฉพาะสำหรับรถบางรุ่นเท่านั้นในตอนนี้
https://www.youtube.com/watch?v=0bEDoAIYsqs
คิดเล่นๆ
- ถ้าออกแบบให้ตัวยึดเป็นแม่เหล็กแรงสูงดูดติดเอาไว้ได้หรือไม่ เพื่อลดเวลาการติดตั้ง ?- นอกจากมาตรฐาน Type-C ต่อไปอาจต้องมีมาตรฐาน Battery รถยนต์ในอนาคต ?
- คิดว่าบรรดาสถานี Charge จะรอดไหมถ้าธุรกิจนี้บูมขึ้นมา ?
ผมหาข่าวไม่เจอ แต่คุ้นๆ ว่า (น่าจะ) อีลอน เพิ่งให้สัมภาษณ์ว่ายากที่จะสำเร็จ (แบบเดียวกับที่ Tesla เคยพยายามแล้วยกเลิกไป มีข่าวในนี้แต่ผมค้นไม่เจออีก) เพราะประเด็นหลักๆ แบบ
แต่ในนั้นก็มีบอกด้วยว่ารัฐบาลจีนอาจจะออกมาควบคุมทำให้มันเกิดขึ้นได้จริงก็ได้
เหมือนแทบจะไม่มีใครรู้ว่าเลยว่า NIO ทำมาก่อนหลายปีแล้ว เริ่มใช้กันจริงตั้งแต่ปีที่แล้ว แถมเริ่มบุกไปตั้งที่ยุโรปแล้วด้วย
ควรคิดค่าใช้จ่ายต่อครั้งดีกว่า
ใช้เวลาเพียง 1 นาที --> ข่าวต้นทางบอกใช้เวลา 2.5 นาที่
ผมมองว่าพอเราเห็นสิ่งที่ Tesla (หรือ ionity ในยุคหลัง) ทำได้ก็คือชาร์จเร็วมากจนแทบไม่มีเวลาจอดพัก ก็ไม่รู้จะมีการเปลี่ยนแบตไปทำไม แต่สิ่งที่สังเกตเห็นคือกระแสเห็นด้วยกับแนวคิดนี้มักจะมาจากประเทศที่ระบบชาร์จเร็ว 150kW ขึ้นไปยังไม่แพร่หลาย ผมไม่ค่อยเห็นแนวคิดนี้จากคนนอร์เวย์เท่าไหร่ เพราะไปทางไหนก็มีที่ชาร์จเร็ว และเยอะมาก ยกตัวอย่างช่อง Yotube Tesla Bjorn เวลาทำ challenge ว่ารถแต่ละคันเดินทางไปที่เมืองๆนึงใช้เวลาเท่าไหร่ ผลคือรถที่รองรับ ultra charger นี่ไม่ค่อยมีเวลาพักกินข้าวกันเลยเพราะชาร์จจนพอแล้ว ควรออกไปต่อได้แล้ว
อันนี้ยังไม่นับถึง technical limitation แบบที่เมนท์ด้านบนบอก หรือค่าใช้จ่ายรายเดือนที่ต้องมี หรือแบตเตอรี่ที่ต้องผลิตมารองรับ (แทนที่จะผลิตไปใส่รถขาย) อีก
ผมว่าธุรกิจนี้จะบูมได้ต้องค่าใช้จ่ายถูกมาก (ซึ่งจะทำได้มั้ย ถ้าพูดถึงต้นทุนแบต) และคนที่จะใช้ต้องเดินทางไกลบ่อยมากจนคุ้มกับค่ารายเดือน แต่คนทั่วไปเดินทางในเมือง ชาร์จที่บ้าน นานๆออกต่างจังหวัดไม่อยากจ่ายรายเดือนแน่ๆ
แบบนี้ตัวแบตเตอรี่จะเป็นของเช่าเหรอครับ หรือว่าค่าใช้จ่ายตรงนี้มันจะเป็นยังไง
ใช่ครับ มันเป็นเรื่องของทางเศรษฐศาสตร์ และจิตวิทยาการขายอ่ะครับ ตอนนี้เทคโนโลยีพึ่งเริ่มพัฒนา ต้นทุนต่อหน่วยจึงสูงมาก ถ้าถอดเปลี่ยนแล้วคิดเป็นรายครั้งจะทำให้ค่าใช้จ่ายต่อครั้งสูงมาก ตีเล่นๆ ผมว่ามีหลักหมื่นบาทต่อครั้งเลยล่ะ ก็เลยใช้ทฤษฎี Sharing Economy มาช่วยคือกระจายค่าใช้จ่ายออกไปยังผู้ใช้ที่อาจใช้รถยนต์ไม่บ่อยด้วยทำให้ต้นทุนการชาจน์ต่อครั้งมีราคาถูกลงในระดับที่ผู้ใช้ทั่วไปรับได้ ทำให้ราคาอยู่ในหลักพันบาทต่อเดือน หัวใจสำคัญของทฤษฎี Sharing Economy คือ กระจายต้นทุนเพื่อทำให้จำนวนผู้เข้าถึงเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นให้คุ้มจุดคุ้มทุนเร็วขึ้นซึ่งมันแปลผันกับจำนวนผู้ใช้ ดังนั้นจึงต้องตั้งราคาไม่สูงมากโดยใช้หลักการอย่างที่กล่าวมาข้างต้น แต่ถ้าวันนึงจำนวนผู้ใช้สูงมากพอ หรือมีเทคโนโลยีเปลี่ยนเฉพาะเซลล์ที่เสื่อมของ Battery ได้ก็น่าจะมีทางเลือกในการจ่ายเป็นครั้งๆ ไป
ผมว่ามันจะดีแค่ตอนแรก ๆ น่ะสิ ด้วยความที่มันเป็นแบตเตอรี่นั่นแหละ
เพราะแบตพอใช้ไปเรื่อย ๆ แล้วมันจะเสื่อม จากที่เคยเก็บประจุได้ 100% ก็จะลดลงเหลือ 90% 80% ไปเรื่อย ๆ
ทีนี้ต้องมาดูว่าคนที่ใช้บริการจะรับได้รึเปล่า ถ้าวันนึงจากที่จ่ายเท่าเดิมจากได้ 100 จะเหลือ 80
ซึ่งวิธีนี้อาจจะแก้ได้ด้วยการเปลี่ยน battery ให้ใหม่อยู่เรื่อย ๆ แต่ด้วยเหตุผลทางธุรกิจแล้วผมว่าค่อนข้างยาก
อันนี้เป็นประเด็นที่ผมคิดตลอดเวลาเห็นข่าวแนวนี้ 555 คือทรัพยากรที่ต้องใช้ในการผลิตแบตเพื่อให้มันรองรับคนที่มาเปลี่ยนนี่น่าจะเยอะกว่าผลิตเพื่อไปใช้ตอนผลิตรถขายจริงๆซะอีก แน่นอนถ้าสามารถรีไซเคิลได้ก็คงดี แต่ตอนนี้แม้แต่ Tesla ก็จะลงไปขุดเหมืองด้วยตัวเองแล้ว เพราะมันขาดแคลนจริงๆ
มันต้องเป็นรูปแบบ บริษัทขายรถเปล่าไม่มีแบต แบตใช้วิธีจ่ายรายเดือนก็จะเหมือนผ่อนจ่ายแทนที่จะซื้อมาพร้อมรถ เวลาเข้าเปลี่ยนแบตก็คิดรายครั้งไป ไม่อยากเสียค่าเปลี่ยนแบตก็ชาทที่บ้าน