ศิลปิน Jason Allen โพสต์รายละเอียดในห้อง Discord ของ Midjourney ว่า รูปที่ใช้ Midjourney วาดและพิมพ์ลงผืนผ้าใบของเขาในชื่อ “Théâtre D'opéra Spatial” ชนะการประกวด Colorado State Fair ในหมวด Digital Arts
Allen ระบุว่าเขาสร้างภาพด้วย Midjourney จากคำสั่งของเขากว่า 100 ภาพก่อนจะเลือก 3 ภาพที่ดีที่สุดมาอัพสเกลด้วย Gigapixel และพิมพ์ลงผืนผ้าใบ ซึ่งเขาก็ระบุตอนส่งผลงานประกวดด้วยว่า ภาพนี้เป็นภาพที่ใช้ AI สร้างขึ้นมา
ประเด็นของ Allen ทำให้เกิดข้อถกเถียงและการตั้งคำถามอย่างมาก ไม่ว่าจะบน Twitter, Reddit หรือ Discord เช่น อนาคตของศิลปินที่เป็นมนุษย์จริง ๆ จะเป็นอย่างไรต่อไป บางคนก็บอกว่าเราก็น่าจะปรับตัวในแง่การใช้งานจริงกับเทคโนโลยี แบบเดียวกับเสียงสังเคราะห์ในอุตสาหกรรมเพลง
ที่มา: Vice และ Ars Technica
ภาพ Théâtre D'opéra Spatial - courtesy of Jason Allen
Comments
แบบนี้ลิขสิทธิ์จะเป็นของใครนะ
และอีกแบบคือถ้า AI มาภาพที่มีลิขสิทธิ์เป็นต้นแบบมาเรียนรู้(แรงบัลดาลใจ) แล้วโดนฟ้อง จะฟ้องที่ AI หรือฟ้องที่คนสั่ง หรือฟ้องเจ้าของโปรแกรม
พื้นฐานกฎหมายลิขสิทธิ์ของทุกประเทศคือ มีแค่มนุษย์ที่สามารถถือลิขสิทธิ์ได้ครับ AI หรือสัตว์ไม่สามารถถือครองได้
ส่วนคนที่ใช้ AI จะได้ลิขสิทธิ์หรือไม่นั้น... ก็ขึ้นอยู่กับว่าเขามีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ผลงานมากน้อยแค่ไหนครับ ซึ่งอันนี้ก็ว่ากันไปตามแต่ละเคสและแต่ละประเทศครับ เส้นแบ่งเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจนและไม่เหมือนกัน
ซึ่งถ้าคนใช้ AI ไม่ได้ลิขสิทธิ์ก็จะถือว่างานชิ้นนั้นไม่มีลิขสิทธิ์ใดๆและทำอะไรก็ได้ครับ แต่ผมไม่รู้ว่า Term of use ของ AI สามารถระบุได้ไหม เช่น งานที่ออกมาจาก AI เป็นของใครหรือทำอะไรได้บ้าง
ส่วนเรื่องการฟ้อง ประเด็นเรื่องความรับผิดชอบต่อ AI เป็นเรื่องที่กฎหมายหลายๆประเทศยังดูๆกันอยู่ครับ แต่กรณีของลิขสิทธิ์ที่เป็นแพ่งคิดว่าก็ฟ้อง "คนที่ได้ประโยชน์" นั่นแหละครับ
ลิขสิทธิ์ ใช้สำหรับมนุษย์เท่านี้น
ในมุมมองของผมศิลปะคือการตัดสินที่ผลลัพธ์ ไม่ได้เกี่ยวกับว่าใครเป็นคนสร้าง
ถ้าไม่มีการบอกล่วงหน้า คนที่ชอบก็คงจะชอบโดยไม่มีไบแอส
ดังนั้นเราจะมากีดกันเราจะมาแบ่งแยกกันไปเพื่ออะไร ว่าเป็น ai สร้างหรือเป็นมนุษย์สร้าง
ตราบใดก็ตามที่ผลลัพธ์มันออกมาคือสิ่งที่ผู้ชมชอบ
มันก็เหมือนกับการไปซื้ออาหาร ที่ร้านเชฟหรูๆ กับการซื้ออาหารกล่อง ถ้าเอามาจัดใส่จาน ไม่บอกคนกิน แล้วคนกินบอกว่าอร่อยทั้ง 2 จานหรือดีไม่ดีอาหารกล่องอร่อยกว่า เราจะกีดกันอาหารกล่องหรือเปล่า
คนที่กีดกันน่าจะเป็นคนที่กลัวตัวเองตกงานมากกว่า เพราะศิลปะก็คือศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาดภาพเขียนภาพพิมพ์ สีน้ำหรือสีเทียน ถึงแม้จะเป็นภาพที่ดูไม่รู้เรื่อง คุณยังเรียกมันว่าศิลปะเลย แล้วมีเหตุผลอะไรที่จะมากีดกันวิธีการสร้างศิลปะด้วย AI เพราะมันก็เป็นกระบวนการกระบวนการหนึ่งที่ทำให้ได้งานออกมา
เพราะมันคือการแข่งขันไงครับ มันถึงควรมีกฎเพื่อให้ playing field มันพอๆ กัน ไม่งั้นคนมันก็เอ๊ะๆ
ส่วนตัวผมรู้สึกว่า มันเป็นการใช้สกิลคนละแบบกัน ฝ่ายนึงใช้ไอเดียในการคิด prompt ที่เจนภาพระดับเทพที่เกือบสมบูรณ์มาลองดูได้เป็นร้อยภาพ โดยข้ามส่วนของ hardskill ไปเลย (ผมว่ามันคือ unfair advantage มากๆ อย่างนึง)
ส่วนอีกฝ่ายใช้วิธีการแบบดั้งเดิม ซึ่งโอกาสจะแก้หรือเปลี่ยนในเวลาอันรวดเร็ว ทำได้ยาก(มากๆ) ไม่ต้องถึงกับวาดภาพร้อยภาพนะ แค่ sketch โง่ๆ ร้อยแบบก็อ้วกแล้วครับ
เหมือนสมมติแข่งจักรยาน แล้วมีคันนึงติดเครื่องมา แถมเลี้ยวให้เองด้วย แล้วกรรมการก็ให้ชนะด้วยคือถ้าจะมองแต่ผลลัพธ์มันก็ใช่ครับ แต่มันก็ไม่ค่อยแฟร์ๆ รึเปล่า
เคสแบบนี้ก็เริ่มมีแล้ว เช่นน้องที่เป็นอาจารย์กราฟิกคนนึงก็มีคำถามว่าเวลาเราให้งานเด็กไปทำ เราจะรู้ได้ยังไงว่าเด็กให้ Midjourney วาดมาส่งหรือลงมือเอง (ตอนนี้ก็เลยใช้วิธี ให้เซฟเป็น .psd โชว์ layer) เส้นแแบ่งของความฉลาดกับความแกมโกงคือตรงไหน และแบบนี้เราตัดสินให้เกรดที่ผลลัพธ์อย่างเดียวได้ไหม ความพยายามในการทำอะไรซักอย่างมีคุณค่าไหม อะไรแบบนั้น (ป.ล. แต่เอาจริงๆ ณ ตอนนี้ ภาพที่เจนมา มันก็มี signature แบบของมัน ดูออกอยู่)
ส่วนตัวผมคิดว่า ถ้าเป็นงานประกวดแบบนี้ มันควรแยกหมวดจากกัน สายไอเดีย prompt ก็ประลองไอเดียกันให้สุดไปเลย สายคราฟวาดมือก็มาฉะกัน อะไรว่าไป เพราะผมว่าคุณค่าของงานมันก็คนละแบบกัน ที่มาที่ไปมันไม่เหมือนกัน มันเลยไม่ควรมาเทียบกันตรงๆ พอมาเทียบกันมันก็ทะเลาะกัน เพราะต่างฝ่ายเขาก็คิดว่าเขาผิดตรงไหน
อันนี้พูดถึงเรื่องการประกวดนะครับ ไม่ใช่งานอาร์ทปกติ อันนั้นใครอยากทำอะไรก็ทำเถอะ
ถ้าดูจาก comment ผม ผมไม่ได้พูดถึงเรื่องการประกวดเลยครับ ผมหมายความถึงงานศิลปะทั่ว ๆ ไปครับ
ถ้าเรื่องประกวด ก็ไม่ควรมารวมกันตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เหมือนกับเอาการเอาภาพถ่าย มาตัดสินรวมกับภาพวาดนั่นละครับ มันคนละที่มากันอยู่แล้ว
งานประกวดบางอย่างชนะกันที่ยอดวิวยอดไลก์
เห็นด้วยกับคุณ raindrop และเข้าใจว่าต้องการสื่ออะไรครับ
เห็นฝั่งญี่ปุ่นมีดราม่า เรื่อง AI สร้างภาพ แต่เป็นการสร้างภาพแบบลอกลายเส้นแนวมังงะ-อนิเมะ ก็มีประเด็นว่า ถ้าเจ้าของภาพต้นฉบับไม่ได้ยินยอมให้AI ไปใช้เรียนรู้ แล้วคนลักลอบเอาไปให้AI เรียนรู้เพื่อสร้างภาพใหม่ๆ จะฟ้องกันยังไงดี? มันพิสูจน์ยากมากว่าเอาภาพจากไหนไปให้เรียนรู้ แต่ที่เห็นแน่ๆคือออกมาแล้วคล้ายลายเส้นของต้นฉบับมาก
การฝึกวาดด้วยการดราฟท์เส้นจาก ภาพดังๆ หรือแนวภาพที่ชอบคงไม่แปลก แต่ถ้าเอาไปให้AI ใช้เรียน มันจะกลายเป็นการลอกเลียนมากกว่าหรือเปล่า?
ถ้าเหมือนแค่ลายเส้น แต่ไม่ได้ลอก (เทรซ) คิดว่าไม่เป็นไรครับนักเขียนเส้นเหมือนกันก็มีหลายคนอยู่
ลิขสิทธิ์คุ้มครองผลงานแต่ไม่คุ้มครองไอเดีย การลอกลายแบบวางทาบมันคือการใช้ประโยชน์จากผลงานซึ่งละเมิดลิขสิทธิ์ แต่การจดจำลายเส้นและมาวาดใหม่ตามเองมันคือการลอกไอเดียและไม่ละเมิดลิขสิทธิ์แต่อย่างใด และเป็นเรื่องที่ทำกันปกติอยู่แล้วโดยใช้คำว่าแรงบันดาลใจ
กรณีนี้... ในมุมมองของผม (ย้ำนะว่าของผมคนเดียว) ผมคิดว่ามันก็เหมือนกับนายจ้างไปจ้างคนวาดรูป โดยมีรูป ref ไปให้ว่าอยากได้ลายเส้นแบบนี้ครับ ซึ่งถ้ามองแง่นี้ผมว่าไม่ได้ผิดอะไร (ยกเว้นว่าคนวาดไม่ได้แค่ลอกไอเดียแต่วางทาบมานะ กรณีนี้เอง ถ้าภาพผลลัพธ์มันเอาไปซ้อนกับภาพต้นฉบับได้ก็ผิดเต็มๆเหมือนกัน)
ในตอนนี้ AI มันแทบไม่ได้เป็นการวาดใหม่น่ะสิครับ เหมือนcopy มาดัดแปลงมากกว่า
เหมือนคุณวาดโดราเอม่อน โดยลายเส้นเหมือนต้นฉบับเป๊ะ องค์ประกอบทุกอย่างเกือบครบ แต่ใส่สีส้มแทนที่จะเป็นสีฟ้าแบบดั้งเดิม(แต่จริงๆมันก็มีโดราเอม่อนversion หลากสีนะ) ก็บอกว่าคือการได้แรงบันดาลใจ เป็นตัวใหม่แล้ว ไม่ได้ลอกเลียนของต้นฉบับ ก็คงไม่ใช่ แต่ถ้าไปวาดตัวละครใหม่เอี่ยมที่ไม่เคยมีหรือปรากฎในโลกของ Fujio F. Fujiko มาก่อนเลย โดยที่ไม่ได้สื่อถึงตัวละครชุดดั้งเดิมเลย แต่ใช้ลายเส้นแบบคนเขียนโดราเอม่อน อันนี้ก็อาจจะพออ้างได้ว่าเป็นการเคารพหรือได้แรงบันดาลใจมา(แต่ก็ต้องระมัดระวัง เรื่องการอ้างชื่อเช่นกัน)
เห็นแวบๆ มีคนทำรูปพิกาชู ใส่ในบรรยากาศแบบในภาพถ่ายญี่ปุ่นโบราณ ซึ่งผมก็เข้าใจว่า ถ้ามันคือการparody ก็คงไม่แปลก แต่ถ้านำไปใช้ในเชิงพาณิชย์เมื่อไร คุณคิดว่ามันผิดไหม?
ผมว่าเป็นประเด็นที่ต้องถกเถียงกัน ถึงลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะการนำภาพนั้นไปใช้ในการ trained AI ว่าต้องแยกแยะให้ดีว่าได้ลิขสิทธิ์/อนุญาตมาใช้จริงๆไหม ซึ่งตอนนี้หลายเจ้าไม่ได้รับอนุญาตมาแน่ๆ รวมไปถึงลิขสิทธิ์บางอย่างไม่ได้ครอบคลุมหรือแยกแยะเรื่องการให้AI trained อาจต้องมีการrevise เงื่อนไขกันใหม่ด้วย
ป.ล. เรื่องการดัดแปลงลอกตัวละคร บ้านเราจะใช้กฎหมายลิขสิทธิ์เรื่องศิลปประยุกต์ครับ เพราะเป็นการดัดแปลงจากต้นฉบับอีกที ฉะนั้นการวาดใหม่ ก็ยังผิด ถ้าสื่อถึงตัวละครต้นฉบับได้
เกริ่นก่อนนะครับว่าผมไม่รู้ว่า AI ที่เป็นข่าวมันเหมือนต้นฉบับมากน้อยแค่ไหน แต่ผมพูดรวมๆเกี่ยวกับเรื่อง AI เลียนแบบลายเส้น
ก่อนอื่น.. ถ้าทำให้เข้าใจว่าเป็นตัวละครหรือเป็นฉากจากเรื่องใดเรื่องหนึ่ง นั่นคือละเมิดตัวผลงาน และเป็นละเมิดลิขสิทธิ์ คนละเรื่องกับเรื่องไอเดียหรือลายเส้นครับ
ก็ว่ากันเป็นเคสๆไปครับ ถ้าไม่ได้มีจุดที่เหมือนกันชัดเจนอย่างภาพซ้อนทับกันได้ หรือองค์ประกอบเหมือนกันมากกว่าจะเรียกว่าบังเอิญ ชื่อหรือบทสนทนาเหมือนกัน อะไรแบบนี้ แม้จะไม่ถูกใจเรา แต่ถ้าพิสูจน์ตามที่ว่าไม่ได้มันก็ยากที่จะฟ้องละเมิดได้ครับ
เรื่องการนำมาใช้เทรน AI นั้น ก็เป็นอีกจุดที่ต้องพิจารณา มันสามารถมองว่าเป็นการนำผลงานมาใช้ในลักษณะที่ไม่ได้รับอนุญาตเช่นกัน แต่ถ้ามองในอีกมุมอย่างที่ผมยกมาเรื่องเอาภาพ ref ไปจ้างให้เขาวาดใหม่โดยใช้ลายเส้นนี้ มันก็ไม่ได้ผิดเหมือนกัน (รึเปล่า) ก็ต้องรอเป็น case study จริงๆจังๆนั่นแหละครับว่าจะตัดสินอย่างไร
ตัวอย่างที่ผมยกมา คือเหมือนระดับวาดโดราเอม่อนแล้วเปลี่ยนสีน่ะครับ มันเลยเป็นประเด็น ตอนนี้ผู้วาดชาวญี่ปุ่นบางคน เริ่มประกาศเรื่องลิขสิทธิ์ว่าไม่อนุญาตให้AI ไปใช้เทรน แม้จะโพสรูปในที่สาธารณะและบอกว่าใครเอาไปแชร์ต่อได้ แต่ห้ามAI นำไปใช้ ซึ่งตรงนี้ผมว่าอีกหน่อยต้องมีการแก้ไขเงื่อนไขลิขสิทธิ์อีกแน่ๆ โดยเฉพาะ creative common
เรื่องref ผมคิดว่า ถ้าคุณลองไปจ้างนักวาดชาวไทย วาดรูปโดราเอม่อนลงกระเป๋า ก็คงไม่ต่างกันครับ ยกเว้นจะออกแบบตัวละครใหม่ที่ไม่เคยซ้ำกับของเดิมในเรื่องใดๆเลย แค่ให้ลายเส้นคล้าย(แต่ก็ต้องไม่เหมือนแบบโดราเอม่อนเติมหูเติมหาง เป็นไดโรม่อนนะ อันนั้นก็คล้ายเกิน) ก็อาจจะพอรอดได้
คำว่าไม่ถูกใจ จริงๆต้องทำความเข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์มากกว่าครับ ตอนนี้เรามักมองเรื่องparody ไปปนกับเรื่องเชิงพาณิชย์ซึ่งข้อห้ามจริงๆมันชัดเจนมากแล้วล่ะ
ปัญหาจริงๆคือการพิสูจน์ว่า ใครแอบเอารูปไปใช้เทรนโดยไม่ได้รับอนุญาต มันพิสูจน์ยากจริงๆ ผมไม่เชื่อคำกล่าวอ้างในหลายๆเจ้าว่าใช้รูปpublic domain ทั้งหมด เพราะที่โดนจับได้ ก็มีเช่นเจอกระทั่งลายเซ็นแทรกมาโดยที่ไม่ได้รับอนุญาตแน่ๆ จะรักษาสิทธิ์ของAI ก็อย่าลืมรักษาสิทธิ์ของเจ้าของภาพต้นฉบับด้วยครับ
ป.ล.ผมย้ำเรื่องการละเมิดศิลปประยุกต์นะ เพราะเป็นสิ่งที่ฟ้องร้องกันมากสุดในไทยแล้วล่ะ คือการวาดใหม่ โดยจงใจให้คล้ายต้นฉบับ ก็ยังผิด เพราะมันคล้ายในลักษณะที่บ่งบอกชัดเจน เช่นตัวละคร ไม่ใช่แค่ref ลายเส้นเฉยๆ
ป.ล.2 เพิ่มlink ไดโรม่อน เผื่อใครนึกไม่ออกว่าคืออะไร >< จริงๆไดโรม่อนนี่ลายเส้นเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองมาก แต่ตัวละครกับplotนี่แบบลอกมาเต็มๆ ถ้าเป็นสมัยนี้อาจจะพอพูดว่าparodyhttps://www.plotter.in.th/?p=730
ถ้ามันเหมือนในระดับนั้นจริงก็มีแนวโน้มที่จะโดนฟ้องสูงนั่นแหละครับ เรื่องการพิสูจน์ว่าเอาภาพไหนไปใช้เทรนนั้นไม่จำเป็น เพราะหลักฐานมันก็เห็นอยู่แล้วที่ภาพผลลัพธ์แล้วครับ
ส่วนสิ่งที่ผมต้องการจะสื่อก็คือเรื่องลายเส้นกับตัวละครมันเป็นคนละเรื่องกันครับ ลายเส้นคล้ายไม่ได้แปลว่าตัวละครคล้ายกัน และถ้าเป็นการลอกลายเส้นเฉยๆ โดยไม่ได้ลอกตัวละครหรือองค์ประกอบมา มันก็ยากที่จะฟ้องในเรื่องของลิขสิทธิ์ครับ
ส่วนเรื่องกำหนด term of use ใหม่นั่นก็เป็นอีกเรื่องที่น่าสนใจครับ เพราะถ้าเรื่องนี้กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของลิขสิทธิ์ ก็อาจจะส่งผลต่อหลายๆเรื่องในอนาคตเลย เช่น เราอาจจะหันกล้องมือถือซี้ซั้วไม่ได้แล้วก็เป็นได้ เพราะมันก็มี AI ในนั้น
ยุคก่อน: AI แย่งงานที่ใช้ creativity ไม่ได้วันนี้: ...
อนาคตมนุษย์น่าจะตกงานกันหมด ยิ่งถ้าการมาของ AGI ด้วยคงไม่เหลืองานให้มนุษย์ แต่ตอนนี้ก็ยังเป็นแค่ตัวช่วยสำหรับสายอาชีพต่างๆแทนยังแทนมนุษย์ไม่ได้
นึกถึง bicentennial man เลยแฮะ one is glad to be of service