Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

มหาวิทยาลัยเมจิและบริษัทเครื่องดื่มสัญชาติญี่ปุ่น Kirin ร่วมกันพัฒนาช้อนและชามที่ทำให้ผู้รับประทานอาหารรู้สึกว่าอาหารมีรสชาติเค็มขึ้น ซึ่ง ก่อนหน้านี้ก็ได้ร่วมมือกันพัฒนาตะเกียบสร้างรสเค็มเสมือนไป

ช้อนและชามมีส่วนที่สร้างกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ ซึ่งจะส่งผ่านพื้นผิวของช้อนและชามเพื่อเข้าไปสู่อาหารและแตกตัวเป็นไอออนอย่างโซเดียมคลอไรด์ที่ไปกระตุ้นการรับรสให้ผู้บริโภครู้สึกว่าอาหารมีรสชาติเค็มขึ้นกว่ารสชาติจริง 1.5 เท่าโดยไม่ต้องเติมเกลือลงในอาหาร เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดการบริโภคเกลือ

ช้อนและชามช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้ตะเกียบที่ประดิษฐ์ไปก่อนหน้า เนื่องจากตะเกียบมีพื้นที่ผิวน้อยทำให้ติดตั้งแหล่งสร้างกระแสไฟฟ้าได้ยาก ผู้ใช้จึงต้องสวมสายรัดข้อมือขณะรับประทานอาหาร แต่ช้อนและชามมีพื้นที่ผิวกว้างกว่าทำให้สามารถบรรจุแบตเตอรี่ลงไปได้เลย รวมทั้งบรรจุอาหารได้มากขึ้น

อุปกรณ์ทั้ง 2 จะวางขายภายในปีหน้าและจะใช้ชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า “Erekisoruto”

ที่มา: SoraNews24

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: hisoft
Contributor Windows Phone Windows
on 12 September 2022 - 16:29 #1261493
hisoft's picture

Erekisoruto นี่คือ Elec Salt สินะ

By: osmiumwo1f
Contributor Windows Phone Windows
on 12 September 2022 - 16:36 #1261496
osmiumwo1f's picture

ถ้ามันทำงานผิดพลาดนี่ มันจะเค็มจนหัวฟูมั้ยครับ

By: mbdsc28
Android
on 13 September 2022 - 08:38 #1261545 Reply to:1261496
mbdsc28's picture

อาจจะแถม อาการชักกระตุก เล็กน้อยถึงปานกลางด้วย

By: Architec
Contributor Windows Phone Android Windows
on 12 September 2022 - 17:00 #1261499

เล่น Fate GO ระหว่างกินไปด้วยนี่ก็เค็มพอละครับ

By: Alios
iPhone Android Windows
on 12 September 2022 - 17:24 #1261505

ลบ

By: peakna
Android
on 12 September 2022 - 17:48 #1261506
peakna's picture

แล้วเก็บภาษี(ความเค็ม)ยังไงละท่าปรับได้สูงสุดงี้ก็ต้องเก็บที่ความเค็มสูงสุดเลยสินะ

By: Ximenez on 12 September 2022 - 18:53 #1261516 Reply to:1261506

เข้าใจว่าเก็บภาษี(ความเค็ม)จากการวัดปริมาณ sodium นะครับ ไม่ได้เก็บจากรสชาติความเค็ม

By: ตะโร่งโต้ง
Writer Android Windows
on 12 September 2022 - 18:05 #1261508
ตะโร่งโต้ง's picture

ก็เหมือนกับ งานวิจัยอันนี้ นะ ตอนแรกนึกว่าทีมวิจัยเดียวกันซะอีก


ช่างไฟสมัครเล่น (- -")

By: hisoft
Contributor Windows Phone Windows
on 12 September 2022 - 19:13 #1261517 Reply to:1261508
hisoft's picture

เอ อันนั้นใช้กระตุ้นลิ้นโดยตรงแต่อันนี้กระตุ้นอาหารให้ปล่อยโซเดียมไอออนหรือเปล่านะครับ?

By: ตะโร่งโต้ง
Writer Android Windows
on 12 September 2022 - 23:21 #1261528 Reply to:1261517
ตะโร่งโต้ง's picture

จริงด้วยครับ


ช่างไฟสมัครเล่น (- -")

By: Noppon
iPhone Windows
on 13 September 2022 - 08:56 #1261550

"ช้อนและชามมีส่วนที่สร้างกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ ซึ่งจะส่งผ่านพื้นผิวของช้อนและชามเพื่อเข้าไปสู่อาหารและแตกตัวเป็นไอออนอย่างโซเดียมคลอไรด์"

เกลือจริง ๆ มันก็โซเดียมคลอไรด์ แบบนี้ก็เหมือนกินเกลือที่ผลิตด้วยไฟฟ้าหรือเปล่า พอเข้าไปในร่างกายแล้วก็มีผลเหมือนกัน เท่ากับไม่ได้ลดการบริโภคโซเดียมอยู่ดี (แถมยังไม่รู้ด้วยว่ามีผลข้างเคียงอะไรแทนเกลือจริง ๆ หรือเปล่า)

By: osmiumwo1f
Contributor Windows Phone Windows
on 13 September 2022 - 09:44 #1261553 Reply to:1261550
osmiumwo1f's picture

เกลือเท่าเดิม แต่เค็มกว่าเดิมเมื่อใช้ช้อนและชามนี้ ทำให้ถ้าต้องการให้เค็มเท่าเดิมต้องลดเกลือครับ

By: konga143
iPhone Android
on 13 September 2022 - 11:45 #1261565 Reply to:1261550
konga143's picture

ผมก็เข้าใจแบบนี้ ว่าเป็นการได้รับโซเดียมอิออนเข้าร่างกายในรูปแบบใหม่ที่แตกตัวแล้ว ซึ่งก็ไม่ต่างจากการกินเกลือเข้าไปเลย

By: hisoft
Contributor Windows Phone Windows
on 13 September 2022 - 18:14 #1261611 Reply to:1261565
hisoft's picture

แต่ปริมาณโซเดียมมันเท่าเดิมไหมนะครับระหว่างก่อนกับหลังผ่านกระบวนการ ไม่น่าจะสังเคราะห์ธาตุโซเดียมเพิ่มขึ้นมาได้นี่ครับถ้าผมเข้าใจไม่ผิดเรานับปริมาณโซเดียมจากเกลือและผงชูรสรวมกันแม้สูตรทางเคมีจะเป็นคนละอย่างกัน อันนี้คือโซเดียมรวมก็เลยเท่าเดิมแค่ดึงจากส่วนอื่นออกมา (แต่มาจากส่วนไหนนะ)

By: Virusfowl
Contributor Android Symbian Windows
on 14 September 2022 - 16:33 #1261730

ถึงเวลาที่ต้องชาร์จช้อนและชามกันแล้ว...ยังเหลืออะไรที่ไม่ต้องชาร์จอีกบ้าง


@ Virusfowl

I'm not a dev. not yet a user.