The Verge ได้บันทึกภายในของ Andrew Bosworth ซีทีโอของ Meta ส่งถึงพนักงานช่วงปลายปี 2022 ซึ่งเขายอมรับว่าบริษัทจ้างพนักงานมากเกินไป ก่อให้เกิดความซ้ำซ้อน (overhead) ที่ทำให้ทุกอย่างช้าลง จึงเป็นเหตุให้ธุรกิจฝั่ง Metaverse ที่เรียกว่า Reality Labs เดินหน้าช้าเกินไป
ปัจจุบัน Reality Labs มีพนักงานมากถึง 18,000 คน โดย Bosworth บอกว่าทุกสัปดาห์เขาจะได้เห็นเอกสารที่มีคนร่วมแก้ไขมากกว่า 100 คน และการประชุมที่มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 50 คน ซึ่งกว่าจะว่างตรงกันต้องใช้เวลาเป็นเดือน บางครั้งต้องมีการประชุมเพื่อเตรียมการประชุม (pre-meeting) ด้วยซ้ำ เขาบอกว่าสถานการณ์แบบนี้ไม่เวิร์คสำหรับองค์กร
ก่อนหน้านี้ John Carmack ซึ่งเป็นอดีตซีทีโอของ Oculus เพิ่งลาออกจาก Meta โดยบันทึกสั่งลาของเขาก็วิจารณ์กระบวนการทำงานภายใน Meta ว่าล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพ
ที่มา - The Verge
Comments
ช่วงเงินเหลือเยอะก็เป็นแบบนี้แหล่ะ ขอคนโดยไม่ดูหน้างาน พอเศรษฐกิจหดตัวก็ปวดหัวกันไป ส่วนใหญ่ถ้าธุรกิจใหญ่เกินไปแยกจาก Core Business เดิม แตกเป็น BU ย่อย แล้วปล่อยให้พิสูจน์ตัวเอง ถ้าไปไม่รอดก็ปิด เก็บเฉพาะคนสำคัญไว้ ที่เหลือก็ปล่อย แบบนี้ก็ช่วยบรรเทาปัญหาบริษัทใหญ่จนเกินดูแลทั่วถึงได้
บริษัทที่มีปัญหาแบบนี้ส่วนใหญ่ ผู้นำมักมีอำนาจในการตัดสินใจ และแทรกแซงงานมากเกินไป ไม่ได้กระจายอำนาจให้แต่ละหน่วยบริหารจัดการทำให้พอบริษัทใหญ่ดูไม่ทั่วถึง มันก็เริ่มสะเปะสะปะแบบนี้แหล่ะ ตอนมีเงินก็ไม่ยากหาคนมาโปะกันไป พอหมดเงินทีนี่แหล่ะปัญหาเริ่มโผล่
+1 เป็นกันหลายที่เลย โลภจัด แบบน้ำขึ้นให้รีบตักเหรอก่อนจะตักไม่รู้จักประเมินความเสี่ยงกันด้วยนะ
ถ้าจ้างพนักงานเยอะเกินควรมาดูงานบ้านเราให้ลึกซึ้งครับว่าเค้าให้งานพวกไม่มีอะไรทำอยู่แล้วกับพวกงานล้นมือจนอยากลาออกเป็นยังไง ชอบไปยื่นถ่ายรูปยกนิ้วมินิฮาร์ทมั่ง นิ้วโป้งมั่ง พูดแต่เรื่องขับเคลื่อนนวัตกรรมมั่ง วนๆอยู่แค่เนี๊ยะ 😑
+1024
เห็นด้วยเลยมีความรู้สึกว่า Meta ช่วงนี้ปั๊มเงินได้ไม่จำกัด Unlimited เหมือนกดสูตรเงิน เพราะมี Facebook ที่ผูกขาดอยู่ ยังไงก็ได้ตัง ไม่ค่อยมีความเสี่ยง ไม่ต้องลงทุนอะไรเหมือน Intel, TSMC ที่ต้องลงทุนสร้างโรงงานต้องแข่งกับคู่แข่งรอบทิศทาง
พี่มาร์คก็จ้างงานรัวๆคิดว่าคนยิ่งเยอะยิ่งดี อยากทำให้เสร็จไวๆ จะได้ผูกขาดโลก Metaverse เป็นผู้นำเพียงหนึ่งเดียวไม่มีใครตามทัน แต่มันเป็น Diminishing return คนยิ่งเยอะ ก็ยิ่งทำงานลำบาก ประชุมทีนึง 50 คน ก็วุ่นวาย จะพูด จะถามอะไรก็ลำบาก บางคนก็คงแค่เข้าไปนั่งฟังไปงั้นๆ ชัดเจนเลยจากผลงานที่ออกมา ลงทุนไปเยอะมากแต่ของที่ออกมาไม่ว๊าวสักนิด
แต่ก็ดี เพิ่มการจ้างงานเงินเยอะก็กระจายออกไปบ้าง แต่ตอนโดน Lay-off นี่สิ ถถถถ
ประชุมใน metaverse เปล่านะ
ไม่น่าเกิดแล้วมั้ง
ตรวจเอกสารกันยิ่งกว่า peer review งานวิจัยอีก 😅
สังเกตุเลยว่าเจ้าของบริษัทที่มีความมั่นใจสูงๆ เป็นผู้นำเด็ดขาดคนเดียว โครงสร้างบริษัทมักมีปัญหา ขาดการทวนการวางแผน
ปัญหานี้เป็นทุกบริษัทเทค เน้นจ้างคนเข้ามาไว้ก่อน สุดท้ายก็ต้องปลดรัว ๆ จนกว่าจะถึงจุดที่งานกับคนมันบาลานซ์กัน
รอฟังข่าวแบบ “ซีทีโอจักรวาลเนรมิตยอมรับไปไม่รอด เตรียมยุบแผนก” 🫣
ผู้บริหารหลายคนมีแนวคิดแปลกๆ ทำนองว่า "ผู้หญิง 1 คนใช้เวลา 9 เดือนเพื่อคลอดลูก" ดังนั้น "ถ้ามีผู้หญิง 9 คนก็จะลดเวลาคลอดลูกเหลือแค่ 1 เดือนเท่านั้น" ซึ่งเป็นไปไม่ได้ทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ การเอาแรงงานคนมาถมเยอะๆ ไม่ได้ทำให้งานเสร็จเร็วขึ้นเสมอไป
แต่ผู้หญิง 1 คนใช้เวลา 9 เดือนเพื่อคลอดลูก 1 คน ดังนั้นถ้ามีผู้หญิง 9 คนใช้เวลา 9 เดือนเพื่อคลอดลูก 9 คน มันก็ทำให้ได้งานเยอะขึ้นล่ะนะครับ
ถอยกลับไปเริ่มที่เอาการคลอดลูกมาเปรียบเทียบกับการทำงานยังไงก่อนดีกว่าครับ
เป็นความล้มเหลวทางการ Management ไม่ใช่แค่วงการไอที เป็นกับหลายๆวงการเลย
คนที่ถนัดงาน Skill บางครั้งก็จะไม่ถนัดด้าน Management
อย่าง Musk หรือ Mark ก็เป็นตัวอย่าง เค้าอาจจะ Geek มาก หรือโคตรไอเดียอัจฉริยะ
สามารถคิดสิ่งใหม่ๆแปลกๆ มีวิสัยทัศน์น่าสนใจ แต่กับการจัดการ อาจจะย่ำแย่
ทางก็คือ ต้องมาหาคนที่จัดการเก่งๆมาทำให้
แต่ก่อนหน้านั้น ต้องยอมรับตัวเองก่อน ว่าไม่อาจทำทุกอย่างได้
ถ้าอีโก้สูง คิดว่าตัวเองจะทำได้ทุกอย่าง ก็จะไปตายกับงานที่ตัวเองไม่ถนัด
ก็ไม่เสมอไป สาย Manament เอง ก็มีเคสล้มเหลวให้เห็นเสมอไป แค่ไม่เป็นข่าวเท่านั้นเอง