Blognone สัมภาษณ์ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ (@teng_mfp) รองเลขาธิการ ฝ่ายพัฒนาระบบข้อมูลและดิจิทัล พรรคก้าวไกล ลงลึกถึงรายละเอียดทางเทคนิคของนโยบาย AI ปราบโกง ทำได้จริงแค่ไหน
วันนี้ 15 เมษายน 2566 เวลา 20.00 น. ทาง Twitter Spaces
อัพเดต ฟังรายการย้อนหลัง
— Blognone (@blognone) April 15, 2023
สัมภาษณ์ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ @teng_mfp รองเลขาธิการ ฝ่ายพัฒนาระบบข้อมูลและดิจิทัล พรรคก้าวไกล ลงลึกถึงรายละเอียดทางเทคนิคของนโยบาย AI ปราบโกง ทำได้จริงแค่ไหนวันนี้ 15 เมษายน 2563 เวลา 20.00 น. ทาง Twitter Spaces https://t.co/ReSN50qCIe
— Blognone (@blognone) April 15, 2023
Comments
รอฟังสายดิจิตอลของพรรคนี้ว่ามีวิศัยทัศน์ยังไงบ้างและทำไมต้อง AI แทน if else ธรรมดา
รมต.ดิจิตอล ปัจจุบันอย่างชัยวุฒินี่ฟังความคิดคำพูดแล้วสิ้นหวังว่าคนแบบนี้ก็ได้กุมบังเหียนกระทรวงที่สำคัญในโลกาภิวัฒน์ได้ยังไง ทำไมนายกประยุทธ์ให้คนมีความสามารถแค่นั้นมีอำนาจในสายงานดิจิตอลได้
ทำไหม ต้องใช้ ai มันเรียนรู้แล้ว สามารถ ตัดสิน การโกงได้
ในทางทฤษฎีมันก็ทำได้นั่นแหล่ะครับ อย่างแรกเลยก็ TOR เอกสารที่มักมีเรื่องการ Lock Spec มันมีข้อความคล้ายกันแฝงอยู่ ถ้าเป็นคนไม่เชี่ยวชาญอ่านผ่านๆ ก็นึกว่าไม่มีอะไร แต่ถ้าคนเชี่ยวชาญอ่านปุ๊บก็จะพอรู้ว่ามีเจ้าของงานแล้ว แล้วก็หาดูว่าใครยื่นซองบ้าง แล้วผู้ชนะการประมูลคือใคร แล้วทำประวัติไว้ ถ้าวันใดวันหนึ่งไปพบข้อความ Lock Spec อีก แต่เป็นคนละบริษัทมันก็จะเริ่มหาเครือข่ายของนัก Lock Spec รวมถึง Distributer ที่มีแนวโน้มจะชอบ Lock Spec ได้ ดังนั้นถ้าเป็นเครือข่ายเดียวกัน หากใครมีชื่อในรายชื่อสีเทา เมื่อมีการยื่นเอกสาร ก็อาจมีการสร้าง spider ไปหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือเชื่อมกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อดูรายชื่อผู้ถือหุ้น ซึ่งตรงนี้ยังทำต่อได้อีกเพียบ ไม่ว่าจะตรวจสอบเรื่องการฟอกเงิน การกระทำผิด ประวัติอาชญากรรม เท่าที่ผมทราบ เมื่อ 3-4 ปีก่อน มีการทำเอาไว้แต่ยังไม่ได้เชื่อมโยงกัน ประวัติการทิ้งงาน ฯลฯ พวกนี้มันมีรูปแบบอยู่แล้ว แต่อาจต้องให้นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล และคนในวงการที่ทราบนอกในมาช่วย review และหาความสัมพันธ์เพื่อนำไปสอน Ai อันนี้แค่เบื้องต้น จริงๆ แล้วมันมี pattern เยอะกว่านี้ แถมคล้ายๆ กันด้วย เอาเป็นว่าเป็นหน้าที่นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลดีกว่า เอาข้อมูลย้อนหลังมาวิเคราะห์ดูรูปแบบก็น่าจะหาได้ เอาแค่ราคาผู้ชนะประมูลยังบอกได้เลยว่ามีการ Lock Spec หรือเปล่า เพียงแต่หน่วยงานตรวจสอบแกล้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นก็เท่านั้น เพราะขั้นตอนมันถูกต้องตามกฎหมาย
ส่วนเรื่องทุจริตนี่ยิ่งง่าย เพราะมันมีการประกาศรายชื่อทั้้งหมดอยู่แล้ว ทั้งกรรมการ ผู้ตรวจรับ บริษัทยื่นซอง ฯลฯ ข้อมูลพวกนี้มีประโยชน์ทั้งหมดในการหาเส้นทางการเงิน ซึ่งจะบอกได้ว่ามีการทุจริตในโครงการหรือไม่ ยิ่งมีเรื่องการชำระเงินดิจิทัลยิ่งทำให้เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องง่าย เพราะถึงแม้คุณจะรับมาเป็นเงินสด แต่เมื่อต้องใช้จ่าย หากบีบให้ไปชำระเป็นดิจิทัล มันก็จะพอนำมาเปรียบเทียบได้ว่า รายรับ รายจ่าย การชำระภาษีสัมพันธ์กันหรือไม่ และมีลักษณะกระโดดไปจากกลุ่มตัวอย่างหรือไม่
ถ้ามีข้อมูลแบบนั้นแค่ตรวจเอกสารปรกติ ก็เจอแล้วครับ ปัญหาอยู่ที่คนเซ็นมากกว่า
ข้อดีของการใช้เอไอคือมันไม่ต้องเกรงใจบิดาใคร แสดงผลข้อมูลออกสาธารณะได้เลย ถ้าใช้คนจะตรวจเก่งแค่ไหน ถ้าโดนนายบีบไข่อยู่ย่อมมิกล้าพูดอันใดมาก
สุดท้ายก็ต้องมีคนเเซ็น แล้วก็เอาคำค้านอื่นๆมาค้าน AI ก็ได้ คำค้านโง่ๆก็ใช้ได้นะ ไม่ใช่ว่าเราไม่เคยเห็นเว้นแต่บอกว่า คำตัดสิน AI เป็นที่สิ้นสุด แต่หวังงว่าจะไม่แกล้ง AI โดยไปทำให้ระบบพัง/เพี้ยน/ใช้งานไม่ได้แทนละกัน
โครงการภาครัฐปีนึงไม่ใช่น้อยๆ นะครับ คนตรวจปรกติผมบอกได้เลยว่าเป็นไปไม่ได้เลย เพราะเอกสารพวกนี้มีอย่างน้อยก็ 100 หน้า อ่านกันตาเหล่แหล่ะครับ แล้วคนที่ไม่เคยอ่านเพื่อวิเคราะห์จะไม่รู้เลยว่ามันล็อกตรงไหน เพราะมันไม่ได้จะแกะกันง่ายๆ คนเขียนเขาก็แอบไว้เนียนๆ อยู่แล้ว ส่วนคนเซ็นต์มันปลายเหตุ เพราะมันทุจริตมาตั้งแต่ตั้งโครงการแล้ว ตัวเอกสารมันคุมเกมส์ทั้งหมด เอาเป็นว่าในช่วงที่ผมทำงานมีเอกสาร Lock Spec ผ่านตาผมไปเป็น 100 ฉบับ แล้วก็งานเสร็จหมดแล้วด้วย แล้วอย่าถามว่าผมรู้ได้ยังไง เพราะคุณบอกว่าคุณอ่านก็รู้แล้ว
ที่มันไม่ผิด เพราะขั้นตอนมันถูกต้องตามกฎหมายไง เขาเรียกว่าการทุจริตระดับนโยบายซึ่งเป็นรูปแบบที่ตรวจจับยากสุด แต่วิธีการของเอกสารมันจะมีรูปแบบเฉพาะตัวที่ต่างจากการเดินเอกสารโครงการที่ไม่ทุจริต เอาแค่วันที่ใน Life Cycle ของโครงการก็บอกได้แล้วมีแนวโน้มจะทุจริตหรือไม่ ซึ่งตรงนี้ก็จะทำให้สามารถไปหาหลักฐานมาจัดการต่อได้แล้ว
เอ ผมกำลังสงสัยว่า ถ้าปรกติแกะกันไม่ได้ง่ายๆ ถ้างั้นจะหาข้อมูล use case ที่มีปัญหาปริมาณมากเทรน AI ให้เช็คว่าอันไหนผิด แล้วผิดเพราะกรณีไหนทีละปัญหาได้ยังไงเหรอครับ หรือถ้ามีแล้วมันจะไม่ไปติดเรื่องที่เอาข้อมูลผู้เสนอราคาที่ปกปิดเป็นความลับมาสอน AI ในกรณีที่ใช้ ของบริษัทภายนอกเหรอ
ส่วนวันที่ถ้าระบุแน่ชัด กรณีนี้น่าจะไม่ต้องใช้ AI แค่ IF Else ธรรมดาก็น่าจะได้นะ
การสอน Ai ไม่จำเป็นต้องสอนปริมาณมากก็ได้ ถ้ามีข้อมูลรูปแบบชัดเจน ไม่ได้มีค่าเบี่ยงเบนจากค่ามาตรฐานมาก แล้วการสอน Ai มันมีทั้งให้ผู้ใช้เป็นคนตัดสินให้คะแนน, ใช้ข้อมูลตัวอย่างที่มนุษย์ตัดสินให้แล้วนี่เป็นรูปแบบเฉพาะ, หรือใช้สมการช่วยหา pattern และเมื่อได้เอกสารตัวอย่างที่มีรูปแบบกราฟชัดแล้ว ก็เอาชุดข้อมูลไปหารูปแบบที่คล้ายกันเพื่อทำเป็น use case ในกรณีมันมีหลาย scenario ไม่ใช่ต้องเริ่มจาก 0 ส่วนที่ต้องใช้ parameters ปริมาณมากมันใช้กับ กรณีที่ Everything ไม่ได้มีการจำกัดขอบเขตการใช้งานแบบ ChatGPT ใช้ หรือพวกบรรดา Generative Ai ใช้กัน
ส่วนเรื่องการเอาข้อมูลผู้เสนอราคาที่ปกปิดเป็นความลับมาเผยแพร่ อันนี้มันก็เป็นเรื่องทางกฎหมายที่ต้องปรับปรุงว่ามีใครสามารถเข้าถึง หรือเข้าไปพิสูจน์สิ่งที่ Ai คัดกรองมาให้ได้บ้าง เพราะยังไงมันก็ต้องมีคอยตรวจผลในช่วงแรกเพื่อให้คะแนนว่าการคัดกรองมีความถูกต้องใกล้เคียงหรือยัง (อันนี้แบบบ้านๆ นะ ไม่ใช่ Ai ตรวจสอบและให้คะแนนกันเองแบบที่บริษัทต่างประเทศทำกัน)
เรื่องใช้ If/Else มันก็แล้วแต่คุณเพราะการ Implement Ai มันไม่ได้จำกัดว่าเงื่อนไขแต่ละแบบจะต้องประมวลผลจากข้อมูลทั้งหมด ถ้าคุณคิดว่าการใช้ If/Else มันสามารถทำงานได้ก็ใช้ได้ มันก็แค่ตัวแปรหนึ่งจากตัวแปรทั้งหมดที่ต้องมีการให้น้ำหนักอีกที แต่ถ้าคุณหารูปแบบมันได้แล้วเข้าสมการได้เลยมันจะดีกว่าเพราะเวลาต้องปรับเปลี่ยนเงื่อนไขก็ไม่ต้องแก้ code
คงต้องออกกฏหมาย กฏกระทรวง ใหม่ให้ใช้ AI ตัดสินได้โดยไม่รอคนอนุมัติ ซึ่งจะออกข้อนี้ได้ คงยากน่าดู แถมข้อมูลที่ยัดเข้า AI ให้จะมั่นใจ ไม่มีอะไรแอบแฝงอีก บริษัทที่ได้โครงการไปได้เปรียบน่าดู
ผมก็เคยมีประสบการณ์เสนองาน
ทั้งรัฐและเอกชนได้อ่านTORก็รู้กันทั้งหมดว่าล๊อค
หรือไม่ล็อคปัญหาไม่ใช่ว่าไม่รู้แต่คือรู้แล้วทำอะไรไม่ได้
ถนนบางเส้นผู้ประมูลได้ไม่ใช่ผู้รับเหมาเจ้าประจำ พอไปทำจริงตระเวนหาคิวคอนกรีต 3-4 จังหวัดไม่ได้ แพล้นแจ้งว่าคิวเต็มหมด
สเปคเท่ากันราคาถูกกว่า แต่พอได้งานเจอพลังภายใน ทำให้ส่งงานไม่ทันกำหนด สุดท้ายผู้รับเหมารายนั้นต้องถอนตัว รัฐต้องไปจ้างผู้รับเหมาที่แพงกว่าแทน แบบนี้จะเรียกโกงได้มั้ย
ก็โกงแหละครับแค่ยังจับไม่ได้ ผมว่าการใช้เทคโนโลยีป้องกันการโกงมันไม่สามารถกันได้100%อยู่แล้วโดยเฉพาะช่วงเริ่มต้น แต่มันสามารถพัฒนาการตรวจจับได้ให้คนโกงยากขึ้นเรื่อยๆไปจนถึงจุดที่ต้องใช้ความพยายามมากขึ้นจนเริ่มไม่คุ้มความเสี่ยงที่จะอาจจะโดนตรวจเจอ
จะมีให้ฟังย้อนหลังมั้ยครับ
ขอบคุณสำหรับ session ครับ เคลียร์ข้อสงสัยได้เยอะเลย
ฟังแล้ว คหสต.ไม่น่าจะครอบคลุมเท่าไหร่ แต่ก็น่าจะพอช่วยได้ระดับนึงครับ โดยเฉพาะท้องถิ่นเล็กที่โกงกันง่าย ๆ
แต่สำหรับโครงการที่เอาเนียน ๆ น่าจะยากอยู่แนะนำเอาคนมีประสบการณ์หลาย ๆ สาย ทั้งรัฐและเอกชน มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมจะทำให้ได้ used case ที่มีประโยชน์ในการสร้างอัลกอริทึมมากขึ้นครับ
หรือเบื้องต้นถ้าขอได้ ก็ขอพวกสำนวนสอบสวนของ สตง. ปปท. ปปช. ที่ศาลพิพากษาแล้วมาศึกษาดูก็ได้ครับ น่าจะเห็นวิธีการแปลก ๆ แต่ไม่เคยรู้ว่าทำกันแบบนี้เยอะอยู่
A smooth sea never made a skillful sailor.
อันนี้หมายถึงนโยบายไม่ครอบคลุมหรือคำถามไม่ครอบคลุมครับ เผื่อจะได้ปรับปรุงรอบต่อไป
lewcpe.com , @wasonliw
ขออภัยครับ พิมพ์ไม่ชัดไม่คลอบคลุม หมายถึง อัลกอริทึมที่พูดในคลิปนะครับ ผมเห็นว่าแนวทางที่นำเสนอมันช่วยได้ครับ แต่ไม่มากเท่าไหร่
ตัวอย่างในคลิปคือผู้เสนอราคารายเดิมได้ซ้ำบ่อย ราคาที่เสนอใกล้เคียงราคากลาง ผู้เสนอราคาต่างกันน้อย ระยะเวลาโครงการกระชั้นชิดจากประสบการณ์เท่าที่พอรู้มาการทุจริตในรูปแบบนี้มันยังมีอยู่ครับ แต่มันค่อนข้างล้าหลังแล้ว คนที่ทุจริตแบบนี้มักเป็น อบต.หรือเทศบาลขนาดเล็กที่นักการเมืองท้องถิ่น เจ้าหน้าที่รัฐ เอกชน ที่ไม่ค่อยมีความรู้มากนัก และมักเป็นโครงการเล็ก ๆ
เช่น กรณีคนเสนอราคารายเดิมได้ตลอด มันก็มีเคสที่บริษัทใหม่ได้ แต่คนมาทำงานจริงเป็นรายเดิมก็มี (ใช้บริษัทอื่นเป็นนอมินีทำเหมือนตัวเองไม่ได้งาน)
หรือการจัดซื้อจัดจ้างในสิ่งที่กรมบัญชีกลางไม่มีการกำหนดราคากลางไว้ ที่ต้องมีการสืบราคากลางใหม่ ทำให้มีการกำหนดราคากลางสูงกว่าความเป็นจริง แล้วให้ผู้ประมูลเสนอราคาต่ำกว่าราคากลาง 10-20% (แต่ยังคงแพงอยู่ดี)
เลยอยากเสนอทางทีมที่จะทำว่า (ขออนุญาตมองข้ามช็อตไปถึงถ้าได้เป็นรัฐบาลสมัยหน้าแล้วนะครับ) ถ้าอยากตามการทุจริตปัจจุบันให้ทัน ลองติดต่อไปที่หน่วยงานที่มีประสบการณ์ หรือเอกชนที่มีประสบการณ์ดูครับ มันมีกรณีแปลก ๆ ที่คาดไม่ถึงเยอะมาก
A smooth sea never made a skillful sailor.
อย่างแรกถ้าเอกสารทั้งหมดเป็นแบบที่เอาไปเทรนง่ายๆ แค่ใช้ทำ classification แยกกลุ่มของโครงการที่มีลักษณะคล้ายกันก็ช่วยให้จัดลำดับของโครงการที่ต้องตรวจสอบได้ง่ายขึ้นแล้วครับ ยังไม่ต้องระบุถูกผิด คนที่คอยตรวจเรื่องพวกนี้มีอยู่กันไม่กี่คน แต่โครงการปีนึงมีหลักหมื่น จะให้ดีช่วยปล่อยข้อมูลให้โหลดง่ายๆหน่อยก็ดี
เท่าที่ฟัง หลักๆ ก็เป็นแบบนั้นนะครับ
เอาจริงๆ หลายคนก็รู้ว่าการประมูลงานของรัฐ มีการเอื้อประโยชน์ให้กับคนบางกลุ่มอยู่แล้ว เช่น .. 1. กลุ่มคนรู้จักนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ 2. กลุ่มผู้ออกแบบงาน และ เขียน spec ให้ เพราะเจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถหรือไม่มีเวลาทำเอง
จะว่าไป ระบบ e-bidding ก็ช่วยลดการฮั้วลงได้ระดับนึง แต่ก็ยังไม่ 100% ยิ่งลดรูรั่วได้มากเท่าไหร เราก็จะมีเงินเหลือมาพัฒนาประเทศมากขึ้นเท่านั้น
ฟังจบแล้ว ถือว่าโอเคในหลายประเด็นครับ
คือเริ่มต้น AI จาก Logic Based และจะ Learning ตามประสบการณ์แบบไวรัส-แอนตี้ไวรัส
และหลายๆประเทศที่เจริญเขาก็ทำมาแล้ว ยังไงเราก็มีตัวอย่างในการพัฒนาตามได้แน่ๆ
เข้าใจว่าต้องพัฒนาอีกมาก เพราะตัวผู้คิดก็ยังไม่มีอำนาจเข้าถึงแต่ก็ประเมินคร่าวๆจากสิ่งที่เห็นและนำมาออกเป็นนโยบายได้ ถือว่ามีวิศัยทัศน์ครับ
ที่ผมเห็นด้วยมากๆกับเจตจำนงที่เขาทำคือ ถ้าเขาได้ทำและทำสำเร็จ มันจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะจนไม่ว่ารัฐบาลต่อไปจะเป็นใครก็ไม่มีข้ออ้างดีๆมายกเลิกสิ่งนี้ ถือว่าสร้างความเปลี่ยนแปลงแล้วไม่ย้อนกลับไป
ปัญหาของไทย ไม่ใช่ว่าตรวจเจอว่าน่าจะโกงแล้วมันจะแก้ได้นะครับ ทุกวันนี้ watch dog group ต่างๆเขาก็จับได้และแฉอยู่เรื่อยๆอยู่แล้ว มี AI มาชี้เพิ่ม ก็ไม่น่าจะต่างจากเดิมเท่าไหร่ คนโกงไม่น่าจะกลัวนะครับ (เห็นเคสที่ผ่านๆมาจะเห็นว่าเขาไม่ได้หน้าบางเหมือนพวกนักการเมืองญี่ปุ่นนะ)
คนฟันคนโกงเขาไม่ค่อยออกแอคชั่นให้สะใจคนดูเท่าไหร่น่ะครับ
ผมว่ามันเป็นปัญหา 2 เรื่องที่ต้องแก้น่ะครับ การตรวจจับ ถ้าตรวจได้เยอะมันก็ดี การลงโทษ บังคับใช้กฎหมาย มันก็เป็นอีก pillar ที่ต้องแก้
เพราะการลดปัญหาลง มันต้องประกอบไปด้วยการตรวจจับให้ได้มากๆ กับการลงโทษที่เด็ดขาด
ผมมองว่า หลายเรื่อง ต่อให้ไม่ถึงขั้นเอาคนผิดมาลงโทษได้ แต่อย่างน้อยก็ยังมีพับโครงการไปบ้าง (แต่ไม่เยอะ)
ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายมันต้องแก้โครงสร้างเลยครับ
ผมว่าประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ผมกังวลในสองด้านพร้อมๆ กันนะครับ
ต่ออีกประเด็นคือราชการซื้อของแพงกว่าเอกชนนี่ปกติมาก เอกชนเราบ่นเรื่องวางบิลยากจ่ายเงินช้ากันอยู่แล้ว เจอราชการนี่ต้องวางเงินล่วงหน้า (จะขายของต้องเอาเงินไปให้เขา) หลายครั้งตรวจรับล่าช้า ตรวจเสร็จแล้วกำหนดจ่ายเงินช้า ขอเงินประกันคืนช้า ฯลฯ ก็ควรมี metric พวกนี้ออกมาด้วยเพื่อปรับปรุง ถ้าราคาไม่ได้เกินตลาดทั่วไปแบบน่าเกลียดมาก บางทีต้องระวังว่าอย่าไปตราหน้าว่าเขาโกงไปหมด
lewcpe.com , @wasonliw
จริง เรื่องเงินช้านะครับ ของราชการ มันต้องทำเรื่องขึ้นไป กว่าจะผ่าน นานๆ ต้องหาเงินมาสำรอง ก่อน
ว่าที่รมต กระทรวงเวทมนต์ที่แท้จริงต้องเป็น 9arm
ให้นางกลับมาไทยก่อน
ตอนนี้อยู่ไทยครับ
ทำไมเรียกนาง
ตายแล้ววววว AI ปราบโกง แบบนี้ คนในพรรค จะเหลือเท่าไรเนีย โกงเงินพระเจ้าแผ่นดิน โกงภาษีเรือ ตายแล้วววววว
🤔
เข้ามาเชียร์งับไม่อยากให้ประเทศเป็นคอมมิวนิส
มีแววจะเป็นด้วยเหรอครับ 🤔
ลองคิดตามอะไรหลาย ๆ อย่างที่ฝั่งการเมืองพยายามปลุกกระแสดูครับจะพบว่าจริง ๆ แล้ว มันคือ คอมมิวนิสต์ แต่มักจะอ้างประชาธิปไตยมาบังหน้า
ทั้งเรื่อง คนเท่ากัน นารวม ชนชั้น บลา ๆ ๆ
พยายามยกอคติ แล้วก็พลังอวยในใจออกให้ได้
แล้วจะมองออกได้ไม่ยากเลยครับ
ในกระแสมีคนเรียกร้องคอมมิวนิสต์ มีเรียกร้องนารวมมั้ย มีครับ แต่เป็นส่วนน้อยมาก มากๆ
คนเข้าใจผิดเรื่องคอมมิวนิสต์เยอะมั้ย อันนี้ผมว่าเยอะกันมากคนเท่ากันเป็นคอมมิวนิสต์มั้ย ไม่เกี่ยวกันนี่ครับ และไม่เกี่ยวกับประชาธิปไตยด้วย
แล้วในกระแสที่ว่ามีคนที่ไม่ได้อยากเรียกร้องให้คนเท่ากันมั้ย ก็เยอะครับ
คนเท่ากันนี่มันพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนเลยนะครับ ไม่ได้เป็นเรื่องเฉพาะของคอมมิวนิสต์แต่อย่างใดนารวมนี่เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันอยู่แล้วครับ ไม่ต้องกังวลกับกระแสเลย
คอมมิวนิสต์เป็นเรื่องเพ้อฝันครับ แต่เพราะอะไรล่ะครับที่ทำให้คนยอมตายเพื่อเรื่องเพ้อฝันได้?
คนเท่ากัน ความเท่าเทียม โดยไม่สนว่าคนเรามีทั้ง
คนดี คนชั่ว คนฉลาด คนโง่ คนขยัน คนขี้เกียจ
อันนั้นคือคอมมิวนิสครับ
สิ่งที่ทำให้คนยอมตายเพื่อความเพ้อฝันนั้น
จากความคิดส่วนตัว คงเพราะ โลกมันเปลี่ยนไปเร็วเกินไปการปรับตัวไม่ทันทำให้เขามองไม่เห็นซึ่งโอกาสและอนาคตใด ๆ
ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่ความผิดของเขา
แต่มันก็มีอีกทางที่ ขี้เกียจ แต่อยากได้มากอันนี้คือความผิดของเขาเต็ม ๆ
ผมชอบแนวคิดการบริจาคเงินส่วนเกิน ของทางอิสลามนะ
2.5% ของเงินที่วนครบปีที่มากเกินมูลค่าทอง 6 บาท
ต้องบริจาคให้กับคน 8 ประเภท ซึ่งจะดีมากถ้าให้คนที่ลำบากจริง ๆ
แต่อันนี้ก็ความฝันเหมือนกัน
แต่ถ้าให้เลือกโลกปัจจุบัน กับ โลกคอมมิวนิสต์
ผมก็ยังรู้สึกว่าโลกปัจจุบันแฟร์กว่ามาก ๆ
ใครทำมากได้มาก ใครทำน้อยได้น้อย
การจะจับให้ทุกคนได้เท่ากัน มันไม่ใช่ความยุติธรรมมันคือการด้อยค่าคนขยันลงมาให้เท่ากับคนขี้เกียจ
เค้าไม่ใช่หมายถึงคนเท่ากันแบบที่คุณเข้าใจครับ เค้าหมายถึงการไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ใช้ระบบเส้นสาย ไม่พิจารณาโทษหนักเบาจากตัวบุคคล หรือสิ่งที่ผูกติดกับบุคคล
คอมมิวนิสท์กับประชาธิปไตยมีหลายส่วนที่เหมือนกัน เพียงแต่คอมมิวนิสท์ที่ปฏิบัติได้จริงนี่ยังไม่เคยมีครับ เลยเป็นได้แค่การขายฝันสำหรับคนหัวรุนแรง
+1
แต่เอาเข้าจริงในกลุ่มเรียกร้องที่ไม่ได้เข้าใจแบบนี้แต่ไปเข้าใจแบบนั้นก็ระดับนึงอยู่นะครับ 🤔
จากอดีตที่ผ่านมา กลุ่มเรียกร้องจำนวนมากจะเข้าใจแบบการขายฝันให้คนหัวรุ่นแรงน่ะครับ
เพราะถ้าแค่เรื่องสิทธิ์พื้นฐาน แรงจูงใจไม่พอหรอกครับ เพราะเรื่องแค่นั้น มันเป็นอะไรที่ไม่ได้ใช้ ไม่เกิดขึ้นทุกวัน ไม่มีประโยชน์แบบเห็นได้ชัด อะไรก็ตามที่พอไม่มีประโยชน์โดยตรงกับตัวเองคนจะไม่ค่อยสนใจ
กลุ่มเรียกร้องก็ต้องการผลักให้สุดอยู่แล้วครับ เหมือนต่อราคาแหละ ต่อจนคนขายอยากกระโดดออกจากเก้าอี้ แล้วค่อยมาเจอกันตรงที่พอใจ
ซึ่งพวกที่หลุดมาจากนิยายโรแมนติกของมาร์กซ์นั่นก็มีอยู่พอควร แต่มันไม่มีใครเอาด้วยหรอกครับ ให้ไปทำกันเองเป็นคอมมูนเล็กๆ ยังทำไม่ได้เลย เพราะพวกนี้ผลประโยชน์ในฉากหลังล้วนๆ
ผมเคยดูสารคดีเห็นคอมมูนที่ประสบความสำเร็จเป็นคอมมูนของที่หลบภัยหญิงแห่งนึงในต่างประเทศ เป็นอะไรที่เข้าใกล้นิยายของมาร์กซ์มากที่สุดแล้ว แต่ผมจำได้เท่านี้จริงๆ
นิยามคนเท่ากันโดยทั่วไปคือเรื่องของสิทธิมนุษยชนครับ การที่คุณบอกว่าเท่ากันคือต้องเป็นแบบคอมมิวนิสต์ ถ้าไม่เป็นคุณเองที่เพ้อฝันแบบคอมมิวนิสต์ ก็คงเป็นเพราะคุณอยู่ในชุดความคิดที่เกลียดคอมมิวนิสต์แบบสุดโต่งโดยที่ยังไม่เข้าใจว่าทำไมถึงมีคอมมิวนิสต์ขึ้นมา
คนที่ขี้เกียจ แค่ให้ขยันยังไม่ทำ เค้าไม่ยอมตายหรอกครับคนเรายอมตายเพื่อความเพ้อฝันได้นั้นเพราะเค้ามีความหวังครับ ไม่ว่าจะเป็นความหวังที่เป็นจริงได้ หรือความหวังปลอมๆ ที่ถูกหลอกว่ามีจริงก็ตาม แต่ไม่ว่ากรณีใดมันก็เริ่มจากชีวิตเค้าถูกทำให้หมดหวังมาก่อนทั้งสิ้นจากผู้ที่มีอำนาจริดรอนความหวังในชีวิตเค้าไปครับ ผมเชื่อว่าความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องพื้นฐานนี่เองที่เป็นปัจจัยสำคัญ
คอมมิวนิส ก็ดีนะ ทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่มีสูง มีต่ำ
ในทางปฏิบัติมันน่าจะเป็นไปไม่ได้ไหมนะครับ อย่างน้อยก็ในปัจจุบันอย่างน้อยก็ไม่เห็นมีที่ไหนพยายามทำแล้วออกมาดีหรือกระทั่งสำเร็จน่ะนะครับ
อ่านการทดลอง Universe 25 เลยครับ แล้วจะเข้าใจว่ายูโทเปียไม่มีจริง
ทำได้ ให้ AI บริหารประเทศแทน
ถ้ามันดีต่อไปก็ไม่ต้องมีการเลือกตั้ง ให้ AI เลือกคนมาเป็นนายก เป็นรัฐมนตรี แล้วฟังนโยบายจาก AI อีกที
แล้ว AI ประเมินผลงาน ไม่ได้ตามเป้าปรับออกหาคนใหม่ต่อไปก็ไม่มีการทุจริต บริหารประเทศได้ราบลื่นประสานกันทุกกระทรวง แบบนี้ก็ดีเหมือนกัน