เมื่อปีที่แล้ว Sega ออกมายอมรับว่าถ้าบริษัทประกาศทำ NFT และ Play-to-Earn จะโดนกระแสด้านลบ แต่ก็แสดงทีท่าว่าอยากทดลองกับ NFT ล่าสุด Sega ออกมาเคลื่อนไหวในประเด็นนี้อีกครั้ง โดยการประกาศระงับการใช้งาน IP ใหญ่ ๆ ของค่าย เช่น Sonic the Hedgehog ในการทำเกมแบบบล็อคเชนจากเหล่านักพัฒนาเกมบุคคลที่ 3
คุณ Shuji Utsumi รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการร่วม (Co-COO) ของ Sega ออกมาให้สัมภาษณ์แบบทาง Bloomberg อีกว่า เกมบล็อคเชนนั้นน่าเบื่อ
นอกจาก Sega จะหยุดโครงการเกมบล็อคเชนของตัวเองชั่วคราวแล้ว ยังเริ่มลังเลเกี่ยวกับการใช้เทคโลยี Web3 ในชุด Super Game ที่เคยประกาศความร่วมมือกับ Microsoft Azure เมื่อปี 2021
อย่างไรก็ตาม ท่าทีนี้เหมือนจะไม่ใช่การปิดประตูใส่บล็อคเชนซะทีเดียว เพราะ Sega ยังปล่อย IP อื่นอย่างซีรี่ส์ Three Kingdom และ Virtua Fighter ให้พันธมิตรภายนอกได้ใช้ทำ NFT อยู่ และคุณ Shuji ก็มองว่าเทคโนโลยียังมีประโยชน์ในกรณีที่สามารถย้ายตัวละคร และไอเทมไปเกมอื่น ๆ ได้
Comments
มันยังไม่ถึงเวลาของมัน ก็แค่นั้น เทคโนโลยีก็มีเวลาที่เหมาะสมเมื่อเทคโนโลยีอื่นที่ใช้เกี่ยวข้องพัฒนามาจนอยู่ในระดับที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างเต็มที่มันก็จะมาแบบรวดเร็วจนเราตั้งตัวแทบไม่ทันเองแหล่ะ
เทคโนโลยีแชร์ลูกโซ่
เทคโนโลยีบล็อคเชนมันก็มีประโยชน์ไม่ใช่หรือครับ ถ้าเราเอาเทคโนโลยีบล็อคเชนไปพัฒนา Knowledge สำหรับ AI ที่ทำให้ Knowledge ที่เราแชร์ไปสามารถระบุตัวตนผู้เป็นเจ้าของได้มันไม่ดีหรือครับ ? รวมถึงสามารถเข้ารหัส Knowledge ที่เราต้องการปกปิดได้ และยังไม่ให้ AI เอาข้อมูล Knowledge ที่เราไม่อนุญาติไปให้คนอื่นใช้ ถามจริงคุณเข้าใจคำว่า Web 3.0 ดีแค่ไหน ? อธิบายความเข้าใจของคุณให้ผมที เผื่อผมเข้าใจอะไรผิดไป สิ่งที่คุณคิดว่ามันทำไม่ได้ หรือไม่ดี แต่คนที่เขามีความคิดเขาอาจพัฒนาไปทำอะไรที่มันเปลี่ยนโลกก็ได้นะ อย่าเอากรอบของคุณไปวัดกรอบความรู้ของคนอื่น
ถามจริงคุณรู้จุดแข็งของเทคโนโลยี Web 3.0 หรือเทคโนโลยีกระจายศูนย์ ดีขนาดไหน บอกผมหน่อยสิ ว่ามันมีอะไรเป็นข้อดี ข้อเสียอะไรบ้าง คุณถึงดูถูกความสามารถของมัน ถ้าบอกไม่ได้ก็เฉยๆ ไว้จะดีกว่า อย่าบอกนะว่าคุณมองว่ามันแค่ NFT ตัว NFT มันก็แค่วิธีประยุกต์ใช้งาน มันใช่ core technology ซะที่ไหน
แว่บมาบอกเฉยๆ ว่า ในข่าว พูดถึง Web3 นะครับ กลัวเดี๋ยวจะถกกันคนละเรื่อง เพราะ Web3 กับ Web 3.0 ก็คนละเรื่องกันอีก
(แว่บมาบอกเฉยๆ นะ ผมไม่เกี่ยว)
Edit: เหมือนต้นทาง ดันใช้ Web3 กับ Web 3.0 ปนกันอีก โอเคครับ บันเทิงแท้...
ขอบคุณครับ ผมพิมพ์ผิดเอง กำลังหงุดหงิด
ถ้าวันนึงอุปกรณ์พกพา GPU ถูกพัฒนาให้สามารถ train AI และเราสามารถแยก train Knowledge เพื่อสร้าง Model แยกแต่ละคนเก็บไว้ในอุปกรณ์ของเราได้ คุณก็จะรู้เองแหล่ะว่าสิ่งที่เทคโนโลยี Web 3 จะเป็นจริงหรือไม่ ซึ่งผมว่าอีกไม่นานนะ
ผมอ่านที่คุณเขียนตั้งหลายรอบก็ไม่เข้าใจว่่าคุณต้องการสื่อสารอะไร เข้าใจนะครับว่า blockchain นี่มีประโยชน์ ที่เห็นชัดและเป็นที่ประจักคือ cryptocurrency application ทาง finance อื่นผมก็ยังไม่เห็นเป็นรูปเป็นร่างเท่าไร ส่วน application ที่คุณยกตัวอย่างมันไม่เห็นจะเกี่ยวกันเลย แถมคุณจะโยงไป web3 แล้วยังตั้งคำถามให้เขาอธิบายแทนที่คุณจะอธิบายว่าคุณเห็นว่า web3 คืออะไร จะได้เป็นการ share ความรู้ให้เพื่อนสมาชิกเข้าใจมากขึ้น
Federated Learning and Blockchain
การเรียนรู้แบบทั่วไปในปัจจุบันของ ML -> การเรียนรู้ข้อมูลอย่างน้อย 1 ชุด จำเป็นต้องส่งข้อมูล Raw dataset จากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายภายในองค์กร -> ไปยังเครื่องแม่ข่ายภายนอกที่มีพลังประมวลผลพอที่่จะเรียนรู้ข้อมูล -> ได้โมเดลที่เรียนรู้จากข้อมูลใหม่แล้ว -> นำโมเดลที่ได้เรียนรู้ข้อมูลใหม่แล้วมา implement ภายในองค์กร
ปัญหา คือ ? ไม่สามารถควบคุม
- data privacy
- data security
- data access rights
- เข้าถึงข้อมูลอื่นๆ ไม่เกี่ยวข้อง โดยไม่ตั้งใจ หรือด้วยความไม่รู้ของผู้ดูแลระบบ
เพราะต้องส่งข้อมูลไปเก็บไว้ที่แม่ข่ายภายนอกระหว่าง train แล้วถ้าเป็นข้อมูลที่มีความอ่อนไหว เช่น ข้อมูลการเงิน ข้อมูลทางการแพทย์ ความลับบริษัท ฯลฯ จะทำอย่างไร ?
Federated Learning คือ การเรียนรู้ของ Machine Learning โดยไม่ต้องส่ง raw dataset ไปที่ส่วนกลางการเรียนรู้แบบ Federated Learning -> นำระบบ ML มาไว้ในเครื่องแม่ข่ายภายในองค์กร แล้ว training / test โดยไม่แชร์ข้อมูล Raw training dataset ไปยังเครื่องแม่ข่ายภายนอก แต่จะส่งส่วนของโมเดลที่อัพเดตแล้วผ่าน Blockchain Network ไปยัง global model
แล้วมันเกี่ยวอะไรกับ Blockchain หรือ Web3อันนี้ผมไม่อธิบายแล้วกัน ถ้าคุณบอกว่าเข้าใจ Blockchain คุณก็น่าจะรู้แล้วล่ะว่ามันเกี่ยวกันอย่างไร ผมบอกใบ้ไว้แล้วด้านบน รวมถึงหลักการกระจายศูนย์มันก็รวมอยู่ในเนื้อหาด้านบนแล้ว ผมแค่ไกด์ให้เฉยๆ ที่เหลือคุณไปหาต่อเองแล้วกัน
ส่วน comment ของผมแทนที่คำว่าเครื่องแม่ข่ายภายในองค์กรในนิยาม Federated Learning เป็นอุปกรณ์พกพาที่มีความสามารถในการ train และ update global model ได้ โดยไม่ต้องส่ง raw dataset กลับไปที่ส่วนกลาง นั่นคือสิ่งที่ผมต้องการสื่อ ซึ่งนิยามโดยทั่วไปจะเรียกว่า Private Model ซึ่งถ้าคุณงง ก็แทนที่คำว่า Knowledge ด้วย Private Model ก็น่าจะดีขึ้น พารากราฟนี้ปัจจุบันยังไม่มีกรณีศึกษา เนื่องจาก HW ยังไม่มีความสามารถระดับที่จะ train model ภายในเครื่องพกพา รวมถึงเรื่องการจัดการพลังงานให้เพียงพอต่อการใช้งานประจำวันได้ (จะว่ายังไม่มีก็ไม่เชิง มีคนทำกันแล้วในอุปกรณ์ IoT ที่มี่แหล่งจ่ายพลังงานคงที่ ถ้าสนใจในประเด็น IoT ทำงานร่วมกับ Federated Learning ให้ใช้คำว่า Edge Computing หาร่วมด้วยจะมีโอกาสค้นหาได้ตรงประเด็นกว่า) มันใช้หลักการเดียวกับ Federated Learning อาจมีรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ เพิ่มเติม แต่ core concept น่าจะไม่ต่างไปจากนี้แล้ว อนาคตเรื่องพวกนี้จะเป็นเรื่องที่เราพบเห็นได้ทั่วไปในการเชื่อม อุปกรณ์พกพา ,รถยนต์ไร้คนขับ, อุปกรณ์ VR, Metaverse, Robot, อุปกรณ์ทางการทหาร ฯลฯ เข้ากับ global model เพื่อ update model จากข้อมูลที่ได้รับมาใหม่จากอุปกรณ์ โดยไม่ต้องส่ง raw dataset กลับไปด้วย ดังนั้นสิ่งที่ผมบอกคนข้างบนว่าอย่าพึ่งดูถูก Blockchain ให้รอดูต่อไป ก็ด้วยประเด็นนี้
บอกไว้ก่อนนะ ผมไม่ใช่พวกทฤษฎีเป๊ะ เป๊ะ ดังนั้นถ้าจะจับผิดข้อความผม มันก็จะไม่ช่วยอะไร เพราะมันอาจไม่ตรงทฤษฎี หรือสิ่งที่อ่านพบตาม Internet เลยก็ได้ แต่ถ้าคุณอ่านเพื่อให้เห็นภาพรวม นำไปลงรายละเอียดทำความเข้าใจในแบบคุณเองต่อ นั่นแหล่ะคือสิ่งที่ผมต้องการ อ่อ อีกอย่างนึงรูปที่ Search จาก Google ไม่ช่วยทำให้คุณเข้าใจได้มากขึ้นนะ ถ้าจะเอาให้เข้าใจมีรูปภาพประกอบหา Textbook ที่เกี่ยวข้องกับ Web3 ดู เห็นภาพเดียวคุณอาจจะอ๋อเลยก็ได้ว่ามันเกี่ยวกับ Blockchain อย่างไร แล้วทำไมต้องใช้ Blockchain ในการ implement Federated Learning
ผมไม่ได้แปลบทความมาให้นะ เป็นการสรุปส่วนตัวเพื่อความเข้าใจของผมเอง คิดออกยังไงก็พิมพ์เลย ดังนั้นสำหรับคนที่อยากได้อ้างอิง และดูภาพประกอบ ลองอ่านบทความนี้ดูhttps://www.businesswire.com/news/home/20200511005132/en/%C2%A0Intel-Works-with-University-of-Pennsylvania-in-Using-Privacy-Preserving-AI-to-Identify-Brain-Tumors
ส่วนเรื่องการถามคำถามกลับ มันเป็นเรื่องการบริหารจัดการเพื่อแยกคนเก่ง กับพวกเกรียน โดยเฉพาะกรณีที่ไม่รู้พื้นหลังระหว่างกัน คนเก่งที่มั่นใจในตัวเองบางทีประโยคแรกที่เปิดหน้ามาคุยกับมันก็แทบทำให้คุณฟังไม่ได้ แต่ประโยคถัดมาหากคุณถามเหตุผลกลับกับเขา เขาจะอธิบายได้ว่าทำไมเขาถึงได้พูดแบบนั้นออกมา ซึ่งคนกลุ่มนี้คุณสามารถแลกเปลี่ยนความรู้กับเขาได้ เพราะบางเรื่องเราอาจเข้าใจผิด เขาก็จะอธิบายสิ่งที่เขาเข้าใจให้ฟัง ซึ่งเร็วกว่าการที่คุณไปหาเองเสียอีก ต่างกับพวกกาก พวกนี้จะเงียบไม่ตอบเพราะพูดด้วยอารมณ์ หรือบางทีก็บอกให้ไปหาเอาเองซิ หรืออธิบายไปข้างคูๆ แถไปเรื่อยๆ พวกนี้ถ้าอยู่ในบริษัทเดียวกับผมก็จะอยู่ลิสต์แรกๆ ที่่จะเชิญออก กับอีกพวกนึงจะบอกว่าผมไม่รู้ แล้วมองคุณด้วยสายตามุ่งมั่น พวกนี้ก็เป็นคนเก่งอีกประเภทนึงที่ยอมรับในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้ สามารถสอนได้ และปั้นต่อได้ แถมพวกนี้จะอยู่ทนด้วย ต่างจากคนเก่งประเภทมั่นใจในตัวเองที่มักอยู่ไม่ทน แต่ถ้าพวกบอกไม่รู้แล้วหลบตา พวกนี้จะเป็นพวกมดงาน คุณควรรับฟังเขาให้เขาระบายมากกว่าจะอธิบายอะไรยากๆ ให้เขาเข้าใจเนื่องด้วยขีดความสามารถเขามีจำกัด
ตัว NFT เองอะดี แต่ตัว NFT สำหรับเกมนี่ยังรู้สึกว่าแค่หา api มาตรฐานกลางมาลงก็จบแล้ว แต่ถ้ามองในแง่ ownership สำหรับ NFT ก็พอได้ แต่ตัวที่ back resource มันก็ยัง centralized อยู่ดีอะ
มันก็แค่ตอบไม่ได้ว่า earn แล้ว ... แล้วไง แล้วเอาไปทำอะไรได
มันจบแล้วล่ะ play to earn
That is the way things are.
เกมจ่ายจบดีสุดแล้ว ดีกับทั้งคนเล่นและคนสร้าง คนสร้างสร้างเกมได้เต็มที่ แถมใส่ระบบเกมได้อิสระ ดูอย่างโคจิม่า ไม่ต้องมากังวลเรื่องเกมฟรีแล้วต้องตัดทอนเกมตัวเองเพื่อให้มีรายได้จากการเติมไอเทมหรือกาชา คนเล่นก็ได้เล่นเกมเต็ม ไม่ต้องดูโฆษณา ไม่ต้องเติมกาชาหรือไอเทม แถมหลายเกมก็มีสูตรให้ใส่ได้เลย พูดถึงก็ตลกดีที่การใส่สูตรกลายมาเป็นเรื่องเสียตังในfree2play แม้แต่เกมที่ไม่น่าจะต้องออนไลน์ดันต้องต่อเน็ตถึงจะเล่นได้ซะงั้น
play2earn คือขั้นต่อที่น่าขันมาก เรียกได้ว่าหลายเกมคือ free2play ที่คุณต้องเสียตังเพื่อเดินตาต่อไป แบบนี้มัน pay2turn นี่หว่า เกมก็มีรูปแบบซ้ำๆเดิมๆ เพราะต้องหารายได้จากการขายเหรียญ crypto หรือไม่ก็ nft
แต่เดี๋ยวร้องมีคนออกมาบอกว่าจะมีเกม play2earn แบบเกนชินแน่ ซึ่งผมเชื่อว่ามี แต่เกนชินตอนนี้มันยังเป็นเกมครึ่งๆกลางๆอยู่เลย ไม่เคยเข้าใจทำไมถึงมีคนเอาไปเทียบกับเซลด้าที่สมบูรณ์ในตัวมันเอง
เกมในฐานะผลิตภัณฑ์ คนสร้างต้องหาวิธีสร้างเกมให้สนุกเพื่อให้คนเล่นซื้อ จึงทุ่มเทไปที่ตัวเกม แต่ถ้าเมื่อไหร่คนเล่นกลายเป็นผลิตภัณฑ์ เมื่อนั้นคนสร้างก็ต้องทำทุกวิธีทางเพื่อให้ผู้เล่นมีมูลค่า ;) เข้าใจง่ายจะตาย
แค่ตลาดวายนะมาช้าไปเยอะ
มันฟังดูไม่เข้าท่าตั้งแต่แรกแล้วพนักงานไม่ทักท้วงกันบ้างเหรอ
เกมเมอร์คิดว่าเล่นเกมแล้วได้เงินมันดีแหละ แต่ไม่อยากจ่ายค่า transaction ซึ่งค่ายเกมคิดว่าจะทำเงินจากค่า transaction ตรงนี้
แค่ concept ก็เจ๊งแล้ว play to earn เนี่ย ไปดูเลย เกมพวกนี้ไม่มีใครเล่นเพราะสนุกสักเกม มีแต่พวก "นักลงทุน" มาเล่นทั้งนั้น เข้าก่อนรวยก่อน พอคนเข้าไปเยอะๆ token ในเกมก็เฟ้อ ราคาตก แล้วก็ไม่มีคนเล่น ตายไปตามๆ กันหลายเกมแล้ว