แทบจะตรงตามที่หลุดมาก่อนหน้าเป๊ะ ๆ แบบไม่ต้องลุ้นสำหรับเครื่องเกมพกพาพลัง PC ตัวใหม่จาก Lenovo อย่าง Lenovo Legion Goที่กระโดดลงมาร่วมวงแข่งขันกับ Steam Deck และ ROG Ally
โดย Lenovo Legion Go มีสเปคคร่าว ๆ อย่างเป็นทางการดังนี้
- หน้าจอ 8.8 นิ้ว ความละเอียด QHD+ (2560x1600) ขอบเขตสี 97% DCI-P3
- รีเฟรชเรท 144Hz ความสว่าง 500nits
- รองรับทัชสกรีนพร้อมกัน 10 จุด
- ชิปประมวลผล AMD Ryzen Z1 Extreme
- แรม 16GB 7500Mhz LPDDR5X
- ความจุมีให้เลือก 256GB, 512GB, 1TB แบบ PCIe 4.0
- ระบบปฏิบัติการ Windows 11
- แบตเตอรี่ 49.2WHr Super Rapid Charge ชาร์จแบต 0% ถึง 70% ใช้เวลาครึ่งชั่วโมง
- แบตเตอรี่ของคอนโทรลเลอร์ข้างละ 900 mah
- พอร์ตการเชื่อมต่อด้านบน รูเสียบหูฟัง 3.5mm, USB Type-C (USB4.0, DisplayPort 1.4)
- ช่องเสียบ MicroSD Card รองรับความจุสูงสุด 2TB
- พอร์ตการเชื่อมต่อด้านล่าง USB Type-C (USB4.0, DisplayPort 1.4)
- รองรับ WiFi 6E และ Bluetooth 5.2
- ระบบระบายความร้อน Legion Coldfront เคลมว่าพัดลมจะดังน้อยกว่า 25 dB
- โปรแกรมควบคุมเครื่อง Legion Space
- หนัก 840 กรัม และ 640 กรัมเมื่อถอดคอนโทรลเลอร์
- Xbox Game Pass Ultimate 3 เดือน
นอกจากนี้ตัวเครื่องยังแบ่งโหมดการเล่นเป็น 4 แบบดังนี้
- Handheld Mode โหมดการเล่นแบบพกพาปกติ
- Detachable Mode โหมดการเล่นแบบถอดคอนโทรลเลอร์ออกมาใช้งานได้ (คล้าย Nintendo Switch)
- FPS Mode โหมดการเล่นที่เน้นเกม FPS โดยมีการจำลองคอนโทรลเลอร์ด้านขวาให้เป็นเมาส์
- Legion Glasses เชื่อมต่อกับแว่น AR Legion Glasses เพื่อเล่นเกมแบบจอใหญ่เต็มอรรถรส
สำหรับราคาเริ่มต้นของ Lenovo Legion Go จะอยู่ที่ 799 ยูโร และจะเริ่มวางขายในเดือนพฤศจิกายนนี้
ที่มา - Lenovo Storyhub
Get latest news from Blognone
Follow @twitterapi
Comments
อันนี้สงสัย ทำไมแบตเตอรี่ต้องบอกกันคนละหน่วย?
ChatGPT ตอบมาว่า
The reason laptops show power usage in milliwatt-hours (mWh) instead of milliampere-hours (mAh) is because mWh is a unit of energy, while mAh is a unit of charge. Energy is the amount of work that can be performed, while charge is the amount of electricity that can flow through a circuit.When measuring power usage, it is more useful to know the amount of energy being consumed, rather than the amount of charge. This is because energy is directly related to the amount of work that can be done, and can be used to calculate the amount of time that a device can run on a given battery.In addition, many laptops also use AC power, and the amount of energy consumed is measured in mWh. Therefore, it makes sense to show power usage in mWh, as it allows for a consistent unit of measurement regardless of the power source. Overall, the mWh is a more useful unit for measuring power usage in laptops.
มือถือ และอุปกรณ์ทั่วไปใช้หน่วย mAh เพราะอุปกรณ์พวกนี้การใช้งานพลังงานคาดเดาได้ง่าย คงที่ หรือใช้ไฟโหลดหนัก ๆ ก็ไม่เกิน 6.5 วัตต์ชั่วโมง ทำให้คำนวณออกมาเป็น mAh ได้เลย และ mAh แสดงปริมาณแล้วดูเยอะดี 555
แต่กับคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง x86 มันใช้ไฟไม่คงที่ แล้วแต่ว่าเจอโหลดหนักขนาดไหน ตั้งแต่ 5 วัตต์เบาๆ (Steam Deck) ไปจนถึง 30 วัตต์ (Z1 Extreme max TDP) เลย การวัดปริมาณด้วย mAh จึงลำบากมาก เพราะมันคำนวณ ณ การใช้พลังงานที่ที่กำหนดไว้จุดใดจุดหนึ่งเท่านั้น การใช้หน่วยวัตต์ชั่วโมง (Wh) จึงสมเหตุสมผลกว่า เพราะเรารู้ได้เลยว่าแบตจะอยู่ได้ประมาณไหนในอัตราการใช้ไฟที่กำหนด ถ้าใช้ไฟ SoC เต็มที่ TDP 30 วัตต์ กับเครื่องแบต 40 วัตต์ เครื่องจะอยู่ได้ไม่เกินชั่วโมงครึ่งบน SoC ล้วน ๆ ถ้าบวกอุปกรณ์ภายในเเข้าไปก็จะหล่นไปอยู่ไม่ถึงชั่วโมง แต่ถ้าปรับใช้วัตต์น้อย ๆ สัก 10 วัตต์ ก็จะอยู่ยาวได้นานขึ้นไปอีก เป็นต้น
ขอบคุณครับ
แต่หน่วย mAh กับ Wh มันแปลงแล้วได้เท่ากันไม่ใช่เหรอครับ?
ผมพึ่งมาอ่านแล้วเห็นว่าเขียนผิด แก้ไขแป๊บนึง จริง ๆ มันต้องใช้ความต่างศักย์สิ ไม่ใช่ระดับพลังงาน ตรูพิมพ์อะไรเนี่ย 55555
แต่ที่บอกว่าการใช้ไฟของอุปกรณ์ Handheld PC ไม่คงที่ยังคง Hold True เพราะดูจาก Wh ง่ายกว่า Ah ประกอบกับมือถือส่วนใหญ่ใช้วัตต์น้อยกว่า Handheld PC (~3 V vs. 7 V) แปลงออกมาแล้วเลขไม่น่ากลัว อย่าง Steam Deck แบตหน่วย mAh อยู่ที่ 5,200 mAh แต่มันดูไม่ออกว่าจะใช้ไฟยาวนานแค่ไหน ถ้าบอกเป็น Wh (40 Wh) นี่แทบจะบอกได้เลย เพราะสเปกความร้อน (TDP) สามารถใช้บ่งชี้ได้ในเบื้องต้นว่าจะอยู่ได้นานเท่าไร
FPS mode นี่มัน… ลบจุดอ่อนของการใช้เคื่องแบบนี้เล่น fps ได้ดีเลยทีเดียว แค่อาจจะต้องใช้เวลาคุ้นเคยซักนิด
Legion Glasses อันนี้ผมนึกถึงเอามาทำงานนะเนี้ยะ
ครบเครื่องมากๆเลย ทั้งขาตั้งในตัว มีทั้งทัชสกรีนและทัชแพด ถอดจอยได้ เปลี่ยนจอยเป็นเมาส์ (อันนี้ชอบมาก แถมกระทั่งลูกกลิ้งให้ด้วย) ไม่ใช่แค่อัพเสปคยี่ห้ออื่นเฉยๆ
รอดูว่าจะมีโอกาสเข้าไทยไหม
เอามาเป็นคอมทำงานได้ไหมนะ ถอดจอยออก ดูเป็น Tablet ธรรมดาๆ ดี แต่จอทำไมต้อง Hi-Def ขนาดนั้นการ์ดจอขับตอนเล่นเกมจะไหวได้ไง
ได้ซิ มันก็คือ PC
หยิบออกมาประชุม จะมีคนมองว่าเกรียนเกมไหมครับ ฮ่าๆ
Z1 Extream เหมือน ROG Ally ที่เห็นรีวิวเล่นเกมใหม่ๆได้สบาย แต่!!!!! ต้องปรับ med หรือ low แถมบางเกมยังต้องไปเลือกปรับเป็น 900p อีกเพื่อให้ลื่นขึ้น เอาจริงๆผมก็มองว่าให้ความละเอียดมาเกินคงามสามารถเครื่องครับ
จริงๆๆต้องมองแบบนี้ครับ แม้จะปรับภาพที่ low 900p แต่ถ้าคุณภาพจอ จอมันดีกว่า ความรู้สึกก็ดีกว่าครับจริงๆตอนนี้ กังวลเรื่องน้ำหนักมากกว่า
ส่วนตัวมองว่าเครื่องแบบนี้มันคุ้มค่ามากที่สุด เมื่อผู้ใช้งาน ไม่มี PC หรือ notebook อยู่แล้ว แล้วซื้อมาใช้งานแทน PC เลยซึ่งทำได้ กลับมาบ้าน ก็ต่อ dock Hub ต่อออกจอ
ส่วนใครอยากเล่นเกมแรงๆๆ ก็ สอย xbox มาอีกเครื่องไว้ในบ้าน ก็แจ่มไปเลย
ผมมองว่าถ้าจอแค่ Full HD เวลาเล่นก็ปรับ 720p แล้วอัพ scale ผมว่าใช้ resource น้อยแล้วได้ FPS สูงขึ้นนะครับ ที่นี่จอ 1600p นี่ คงไม่ อัพจาก 720p แน่ๆ ต้องรันที่สูงขึ้นแล้วค่อยอัพภาพไป ก็เปลือง Resource เพิ่มนะครับ ให้ native Resolution มาน้อยๆ เลยมีผลต่อการเล่นเกมมากกว่าแต่ถ้าใช้ทั่วไป ก็ให้มาเยอะๆ ก็สบาย โหลดเบาๆ จอสวยคม
ผมว่า Lenovo ตั้งใจให้เล่นเกมที่ 1280×800 มากกว่า เพราะที่ resolution นี้มันจะทำ integer scaling กับ native resolution ได้พอดีครับ
เอาไว้ให้ Upscaler ทำหน้าที่
ถ้า Dev ไม่ขี้เกียจ optimise (แบบ Remnant ที่ต้องเปิด DLSS, FSR แม้กับเครื่องทรงสมรรถนะเพื่อให้สามารถเล่นได้) หรือจำเป็นต้องใช้กับเครื่องสมรรถนะต่ำ (เช่น Zelda: TOTK) เราสามารถใช้ฟีเจอร์นี้ชดเชยรายละเอียดที่หายไปจากความละเอียดต่ำได้
ภาพข้างต้นที่แนบมา ความละเอียดดั้งเดิม 621p ขยายมาระดับเกือบ ๆ 1080p พร้อมเปิด FXAA ถ้ากับจอใหญ่ภาพจะเละหน่อย แต่กับจอเล็กจะสังเกตเห็นได้ยากกว่าเดิม และทำให้ภาพออกมาดูสวยขึ้น
ผมมองว่า Native มันแอบเยอะไปสำหรับจอนะครับ แล้วเกม PC นี่กินโหดๆ กัน ถึงจะ FSR ดันขึ้นก็ต้องใช้มากกว่าพวกจอ resolution ที่ต่ำๆ กว่า
ในภาพนี่เล่นจากเครื่องอะไรหรือเปล่า เหมือนปรับ low มาๆ
ผมใช้โน้ตบุ๊กบ้าน ๆ ชิป Ryzen 5 2500U แรม 16 GB DDR4 2400 MHz กราฟิกใช้ iGPU เลย (Vega 8) สเปกความร้อน 28 W จริง ๆ ผมปรับระดับภาพให้มันสูงขึ้นได้แต่จะไม่ปรับ MSAA เพราะใช้พลังประมวลกราฟิกมากเกินไป รันความละเอียด 621p แต่ใช้ FSR ดันไป 1080p ถ้าไม่เล่นออนไลน์จะได้ประมาณ 50 FPS นอกเมือง กับ 45 FPS ในเมือง
จริง ๆ ผมอยากลองปรับความละเอียดให้ต่ำกว่านี้ (540p) แต่เหมือน GTA V จะไม่รองรับ (เปิดแล้ว Crash ทันที) ผมอยากรู้ว่าภาพมันจะออกมาประมาณไหนถ้าดันความสามารถของ FXAA + FSR ไปจนสุด ซึ่งประมาณ 792p หรือ 810p ไป 1080p ผมว่ากำลังดีสำหรับกรณีทั่วไป 720p มันต่ำไป และ 540p (ครึ่งหนึ่งของ 1080p) ลองกับบางเกมแล้วดูไม่ได้เลยยกเว้น Genshin เพราะสไตล์ภาพเอื้ออำนวยสำหรับความละเอียดต่ำ แต่ส่วนใหญ่ผมเล่นที่ 540p และก็ 621p เพราะความพึงพอใจและความคาดหวังผมต่ำมากถึงมากที่สุด 55555
พูดถึงกรณีของจอผมก็ค่อนข้างเห็นด้วย ส่วนตัวผมเองก็ไม่เห็นความจำเป็นต้องไปใส่ความละเอียดสูงเกิน 900p ในจอ มือถือ แต่กับบางคนเขาซีเรียสเรื่องภาพคมชัดสุด ๆ ซึ่งผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน 55555
ขอบคุณครับสำหรับประสบการณ์ อีกหน่อยผมคงได้ใช้แต่คงนานหน่อย ฮ่าๆ แต่ยกเว้นถ้าซื้อพวก Portable Handle PC ทุกวันนี้ผมตัดใจประกอบคอมแรงๆ ไปแนะนำเล่นแบบ 4K พอได้ แต่เล่นแค่ full hd แถมแคปกับ vsync ไว้ 60 FPS งงตัวเอง กลัวซื้อจอ 2K แล้ว Frame ตก
Native เค้าทำมาเพราะคิดมาแล้วว่าเล่นเกม AAA ไม่ไหวครับ ที่ 1080P แล้วพอทำความละเอียดมาเท่านี้ เวลาเล่น AAA ก็จะสามารถปรับมาเป็น 800P ได้แล้วภาพจะออกมาสวยกว่า 1080P ปรับเป็น 720P ครับ ถ้าแบบนั้นภาพมันจะเบลอ ๆ หน่อย (ต้องปรับเป็น 540P ซึ่งภาพแตก) เพราะ Pixel มันสเกลได้ดีกว่าครับมันครึ่งนึงพอดีเป๊ะ ผมว่าเค้าฉลาดนะที่ออกมาแบบนี้ 4 Pixel จอ = 1 พิกเซลที่เรนเดอร์ออกมา
จอใหญ่มาก น่าจะแก้ปัญหา Windows ใช้ยากได้ในระดับหนึ่งเลย
ลง Premiere ทำงานไปด้วยเลย
ชอบแบรนด์ ที่ไม่ทำดีไซน์ล้ำๆ สีฉูดฉาดดูเป็นเกมมิ่ง เรียบง่ายๆ แต่เท่ห์ได้