David Segal นักข่าวของ The New York Times เขียนบทความเรื่อง " A Bully Finds a Pulpit on the Web " เกี่ยวผู้หญิงคนนึงที่โดนหลอกจากการซื้อของบนเน็ต ฟังดูก็เหมือนเรื่องปกติที่พบเห็นได้ทั่วไป แต่ที่มันไม่ธรรมดาคือบทความนี้กลายเป็น Top Trend บน Twitter, ถูกแชร์บนอินเทอร์เน็ตเป็นหมื่นครั้ง และมีบทความวิเคราะห์ถึงปัญหา ที่มาที่ไปกันอีกหลายรายการ
เรื่องมันมีอยู่ว่า Clarabelle Rodriguez สาวชาวอเมริกันคนหนึ่ง อาศัยอยู่ที่เมืองนิวยอร์ค เธอกำลังมองหาแว่นตา Lafont ทางอินเทอร์เน็ต จากการค้นข้อมูลทางกูเกิล เธอก็พบกับเว็บที่ชื่อ DecorMyEyes.com ขึ้นมาที่หน้าแรก เธอตัดสินใจสั่งซื้อกรอบแว่น Lafont พร้อมด้วยคอนแทคเลนส์ Ciba Vision รวมราคา $361.97
วันต่อมานาย Tony Russo เจ้าหน้าที่จากเว็บดังกล่าว โทรมาแจ้งว่าคอนแทคเลนส์ Ciba Vision ขายหมดไปแล้ว ขอให้เธอเลือกแบรนด์อื่น ซึ่งเธอปฏิเสธว่าไม่ต้องการนอกจากแบรนด์นี้ นาย Tony เลยด่าไปว่า"มันจะอะไรนักหนา แค่เลือกอีกยี่ห้อแค่นี้ !!"
2 วันหลังจากนั้น ทั้งที่เรื่องเดิมยังไม่จบ แต่ของที่เธอสั่งก็ถูกส่งมาแล้ว Clarabelle พบว่าแว่นตาที่เธอสั่งนั้นเป็น Lafont ปลอม แถมในใบเสร็จเธอยังถูกชาร์จค่าบริการเพิ่มอีก $125 รวมแล้วเป็น $487
แน่นอน เธอโทรกลับไปยังเว็บดังกล่าว ถามเรื่องที่ถูกชาร์จเพิ่ม และต้องการจะขอคืนสินค้า นาย Tony ตอกกลับเธอไปว่า
"นี่แกจะให้ฉันทำอะไรกับไอ้แว่นตานี่ ฉันอุตส่าห์สั่งตรงมาจากฝรั่งเศสเพื่อแกแล้วนะ !!"
"ถ้าอย่างนั้นฉันจะโทรไปบริษัทบัตรเครดิต และขอยกเลิกรายการนี้ซะ" เธอตอบ
นาย Russo เงียบไปซักพักหนึ่ง จากนั้นเขาตอบเธอว่า"นี่แกฟังนะ !! ฉันรู้ที่อยู่ของแก บ้านแกอยู่แค่ข้ามสะพานนี้ไปแค่นั้น ฉันจะไปเจอแก แล้วจากนั้น !@#@!$@!" (เจ้าของบทความแจ้งว่าคำพูดนั้นแรงเกินกว่าจะตีพิมพ์บนหน้าหนังสือพิมพ์ได้)
ทั้งสองวางสายไป Rodriguez ดูจะตื่นกลัวพอสมควร แต่เธอก็โทรไปยัง Citibank เพื่อขอยกเลิกรายการมูลค่า $487 นั้น เวลาผ่านไปทุกอย่างเหมือนจะดีเมื่อทางบัตรเครดิตแจ้งว่าได้อนุมัติยกเลิกรายการซื้อสินค้านั้นแล้ว และใช้เวลาประมาณ 2 เดือนจึงจะได้รับเงินคืน
เว็บเจ้าปัญหา |
แต่เรื่องไม่จบ เพราะเมื่อเวลาผ่านไป นาย Russo ได้ทำการข่มขู่เธอให้ยกเลิกการเคลมกับบัตรเครดิต โดยการส่งอีเมล์ด่า, ส่งคำขู่ว่าจะฟ้องกลับ, ส่งรูปถ่ายหน้าบ้านพักของเธอมาให้ และมีโทรศัพท์ลึกลับโทรเข้ามาหลายครั้ง
Rodriguez ตัดสินใจเข้าแจ้งความกับตำรวจด้วยความกลัว ซึ่งตำรวจก็รับเรื่องไว้ด้วยดี แต่ 2 วันหลังจากนั้น เธอได้รับอีเมล์จาก Citibank แจ้งว่าได้รับการติดต่อให้ยกเลิกการเคลมดังกล่าวจากเธอแล้ว (ซึ่งเธอไม่ได้โทรไป) จากนี้รายการซื้อแว่นดังกล่าวจะถูกชาร์จตามปกติ และทางธนาคารจะคิดค่าดอกเบี้ยเพิ่มด้วย
Rodriguez มั่นใจว่าต้องมีคนปลอมตัวเป็นเธอแล้วโทรเข้าไปยกเลิกรายการกับธนาคาร เธอตัดสินใจโทรไปที่ Citibank ในทันที เล่าเรื่องทุกอย่างให้เจ้าหน้าที่ฟัง แต่ไม่น่าเชื่อว่าเจ้าหน้าที่กลับบอกเธอว่าไม่สามารถช่วยอะไรได้ รายการนี้จะต้องถูกชาร์จตามปกติ เรื่องข่มขู่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเรา (แม่เจ้าโว้ย)
ในระหว่างนั้น Rodriguez ได้รู้เรื่องของเว็บ DecorMyEyes มากขึ้นเรื่อยๆ ผ่านทางเว็บ GetSatisfaction ว่าในรอบ 3 ปีมานี้มีคนที่ซื้อแว่นตาจาก DecorMyEyes แล้วเจอปัญหาเดียวกับเธอจำนวนมาก ไม่ใช่แค่นั้น เจ้าของเว็บตัวแสบยังมีหน้ามาโพสต์บอกด้วยว่า
"ยิ่งพวกแกด่าเว็บของเราบนเน็ตมากเท่าไหร่ เรายิ่งขายของดีมากขึ้นเท่่านั้น เป้าหมายของเราคือใช้ด้านลบในการโฆษณาบริษัท (Negative Advertisement)"
ซึ่งเป็นเรื่องจริง เพราะเว็บ DecorMyEyes ถูกผู้ซื้อร้องเรียนในแทบจะทุกเว็บ ทั้ง GetSatisfaction.com , ComplaintsBoard.com , ConsumerAffairs.com
เรื่องนี้ทำให้นักข่าวอย่าง David Segal สนใจจนต้องขอเข้าไปสัมภาษณ์แบบลับๆ กับเจ้าของเว็บ DecorMyEyes และก็พบกับเรื่องราวการทำธุรกิจที่ไม่น่าเชื่อแต่มันได้ผล
- Vitaly Borker เจ้าของเว็บ DecorMyEyes บอกว่าเว็บของเขาไม่ค่อยมีคนเข้าเท่าไหร่ จนเมื่อมีลูกค้าเจ้าปัญหารายหนึ่งที่ต้องการเปลี่ยนสินค้าแล้วไม่ได้ดั่งใจ จึงเข้าไปเขียนข้อความด่าเว็บของเขา จากนั้นทุกอย่างก็เหมือนสวรรค์
- เว็บ DecorMyEyes มีอันดับในการค้นหาบนกูเกิลดีมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งมีคนเขียนด่าในเว็บอื่นมากเท่าไหร่ อันดับยิ่งดีมากขึ้นเท่านั้น
- นาย Borker ยังบอกอีกว่า วิธีนี้อาจจะดูไม่ดี แต่มันกลับได้ผลและทำกำไรสุดๆ หลังจากนั้นเขาก็ทำธุรกิจโดยไม่ใส่ใจลูกค้าเลยแม้แต่น้อย
- "ผมเกลียดคำว่า ลูกค้าถูกเสมอ มันไม่ใช่กับที่นี่แน่นอน ทำไมลูกค้าจะผิดเสมอ แล้วพ่อค้าจะถูกเสมอบ้างไม่ได้"
- นาย Broker ใช้เวลาส่วนใหญ่ด่าอยู่กับลูกค้าที่มีปัญหา แต่เขาก็ยอมรับว่าชอบที่จะทำมัน เพราะทำให้ขายดีขึ้น
- ถ้ามีคนประเภทเข้าเว็บต่างๆ เพื่อดูความน่าเชื่อถือของแต่ละเว็บ เปรียบเทียบคะแนนที่ได้ เขาบอกว่า นั่นไม่ใช่ลูกค้าของ DecorMyEyes ลูกค้าส่วนใหญ่คือคนที่เข้ามาโดยไม่ต้องเปรียบเทียบอะไร แล้วก็ซื้อของออกไป
- ทาง NYT พยายามติดต่อเข้าไปที่กูเกิลเพื่อถามความเห็นกับเรื่องนี้แต่ไม่ได้รับการตอบรับ
Danny Sullivan เจ้าของเว็บ SearchEngineLand.com ให้ความเห็นว่า อัลกอริทึมในการค้นหาของกูเกิลนั้น มักจะนับจากจำนวนเว็บที่ทำลิงก์หากัน ยิ่งถ้ามีจำนวนลิงก์จากเว็บใหญ่ๆ อย่าง GetSatisfaction เข้ามาแล้วล่ะก็ เว็บนั้นจะยิ่งได้อันดับดีขึ้นไปอีก ไม่ว่าจะเป็นการวิจารณ์ในแง่ใดก็ตาม
"กูเกิลไม่สามารถใช้การวิเคราะห์อารมณ์ (Sentiment Analysis) เข้ามาร่วมในการค้นหาได้หรอก" Sullivan กล่าว
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากเรานำความชอบ ไม่ชอบ เข้ามามีผลกับอันดับในการค้นหาข้อมูล ?
นั่นอาจจะทำให้เราหานายบารัก โอบามา, ทำเนียบขาว หรือกรมสรรพากร ไม่เจอ ในอินเทอร์เน็ตเลยก็ได้ (ในเมืองไทย เราอาจจะหาเว็บของอดีตนายกคนนั้นไม่เจอก็เป็นได้)
จริงอยู่ว่าถ้าเราค้นหาด้วยคำว่า DecorMyEyes ตรงๆ เราจะได้เว็บที่เขียนคำวิจารณ์แง่ลบ และเราก็คงไม่ไปซื้อของที่เว็บนี้ แต่กับการค้นหาด้วยคำง่ายๆ อย่าง "Lafonts" หรือ "Ciba Vision" ล่ะ ?
บทความจาก SearchEngineLand แสดงภาพให้เห็นเลยว่า หากค้นหาด้วยคำง่ายๆ อย่าง christian audigier eyeglasses ใน Google Product Search เว็บ DecorMyEyes ถึงแม้จะได้คะแนนไม่ดีเพียงแค่ 3 ดาว แต่ก็ขึ้นมาในหน้าแรก ดังรูป (ปัจจุบันกูเกิลเอาเว็บ DecorMyEyes ออกจากผลการค้นหาแล้ว)
แต่ถ้าลองค้นหาในหน้าหลักของกูเกิล (ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะทำอย่างนั้น) ก็จะเห็น DecorMyEyes ขึ้นมาในหน้าแรก ที่แย่กว่าคือไม่มีการบอกคะแนนความพอใจเลยด้วยซ้ำ
ไม่ใช่แค่กูเกิล แม้แต่ Bing ก็ยังพบปัญหาเดียวกัน
กลับมาที่คดีของ Rodriguez หลังจากที่เกิดเรื่องแล้ว เธอพยายามมองหาความช่วยเหลือจากหลายฝ่าย แต่ก็ได้รับการปฏิเสธ จนนักข่าวของ NYT พยายามขอเข้าสัมภาษณ์กับทาง Citibank และช่วยเหลือเธอ จนในที่สุดเธอก็ได้เงินคืนมา แต่ไม่มีการขอโทษใดๆ จากทางธนาคาร
สรุปแล้วจากเรื่องราวยาวเหยียดที่ได้อ่านมา มีประเด็นที่น่าสนใจหลายอย่าง
- แน่นอนว่าเราควรจะซื้อของด้วยความระวังมากกว่านี้ แต่ Search Engine ไม่สามารถช่วยเราได้เลยจริงๆ เหรอ ?
- มีคนที่ทำธุรกิจด้วยการใช้ด้านมืดช่วยสร้างอันดับบน Search Engine แล้วมันก็ได้ผล เราจะได้เห็นคนที่ทำธุรกิจแบบนี้เพิ่มขึ้นอีก ?
- เป็นไปได้รึเปล่าถ้าเราจะใส่ความชอบ ไม่ชอบ เข้ามามีผลกับอันดับในการค้นหา ?
ไม่แน่ว่าจากปัญหานี้ เราอาจจะได้เห็นการพัฒนาอีกก้าวนึงของการทำ Search Engine ก็ได้ ใครจะรู้
เรียบเรียงจาก - NYT: A Bully Finds a Pulpit on the Web
, SearchEngineLand
ที่มา - Khajochi's Blog
Comments
เป็นบทความที่ดีมากๆเลยครับ
ทำธุรกิจแบบนี้ได้เงินก็จริงแต่ก็คงไม่ยั่งยืนหรอก
อ้อ แล้วก็ ยี่ห้อครับ ไม่ใช่ยี่ฮ้อ
แก้แล้วครับ ขอบคุณครับ
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
Vitaly Borker เจ้าของเว็บ...
นาย Borker ยังบอก...
Broker ใช้เวลาส่วนใหญ่
อันสุดท้ายกลายเป็น Broker ครับ
แก้แล้วครับ ขอบคุณครับ :)
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
ผมเรียกมันว่า Drama marketing ครับ
ยิ่งก่อดรามา คนยิ่งเข้าเว็บเยอะ
ทราฟฟิคเยอะ โอกาสคลิก/ซื้อก็เยอะตาม
เคยเจอแต่ที่ว่า ลูกค้าคือปีศาจ แต่นี่ พ่อค้ากวนตีน ถ้าแถวบ้านเราคงได้อยู่ขายของไม่นาน
ทำไปได้ .......... -*-
บทความดีมากๆ เลยครับ
ตอนแรกอ่านหัวข่าว กะว่าเอาแล้วไง งี้ผมต้องทำเว็บให้ลูกค้าด่าใช่ไหม 555
นึกถึง เจ้านี่ ถึงจะไม่มีผลอะไรใด ๆ แต่มันก็สะใจที่ได้ทำ
อยากรู้เหมือนกันว่าต่อไป Search Engine ทั้งหลายจะทำยังไงต่อไปกับปัญหาแบบนี้
Jusci - Google Plus - Twitter
พ่อค้าคนนี้มันไม่กลัวไข้โป้งเลยวุ้ย
อ่านแล้วขนลุก แสบสันแถมหน้าด้านจริงๆเจ้าของเวป จริงๆมันผิดกฏหมายตั้งแต่เอาข้อมูลคนอื่นไปทำธุรกรรมอย่างผิดกฏหมาย แถมยังข่มขู่ + stalker อีก รอดคุกได้ไงเนี่ย
น่าสนใจมากคับ
positivity
ได้แค่ฉาบฉวยเท่านั้นแหละ ป่านนี้(หรืออีกไม่นาน)คงเจ๊งไปแล้วละครับ
ในข่าวบอกว่าอยู่รอดมาตั้ง 3 ปี เลยนะครับ คงมีคนที่ไม่รู้เรื่อง และเข้าตามอันดับแรกๆ ของกูเกิ้ลอยู่ดีต่อไปนี้พวกทำ SEO นอกจากแสปม keyword แล้ว คงต้องเพิ่มการทะเลาะ กับด่าคนใช้บริการให้มากขึ้นแล้วล่ะ
แต่เห็นว่า google เอา หน้า link web นั้นออกไปแล้วนี่เนอะ คงทำมาหากินไม่ได้แล้วละฮะ(หรือเอา bing ต่อดี)
สรุปคือ ได้แต่ลูกค้าขาจร ไม่ได้ลูกค้าขาประจำ
ถ้าทำ web ให้มีแต่คนชม ก็ได้ลูกค้าทั้งขาประจำ ขาจร
แต่ในความเป็นจริงคงจะยากแฮะ
ความจริงบางอย่างก็ไม่ใช่สิ่งที่ตรงกับสามัญสำนึกเราครับอย่าด่วนสรุป
+1
ปกติก็ไม่ค่อยซื้ออะไรทางเน็ตอยู่แล้ว เจอแบบนี้ยิ่งขยาดเข้าไปใหญ่
Happiness only real when shared.
บทความดีมากครับ เอามาใช้กับเว็บไซต์ทั่วไปก็ได้นะครับ เจ้าของเว็บก็ทะเลาะกับคนอ่านบ่อยเท่าไหร่ ยิ่งมีคนเข้ามาขึ้น ;)
เอ๊ะ รู้สึกว่าบ้านเราก็มีนะ แถมดริฟได้สุดยอดมาก ชาวเน็ตแทบอยากจะไปตีหัวกันเลยทีเดียว
เป็นตรรกะที่แพร่หลายเหมือนกันแฮะที่คิดว่าเจ้าบ้าน เจ้าของเวปไม่ผิด
คุ้นๆ แฮะ อิอ
คุ้นๆจริง ทา
เรื่องด่ากะลูกค้าพอทน แต่นี้เล่นข่มขู่กันสารพัด มันไม่เกี่ยวกับ SEO แล้วมั้ง เจ้าของเว็บมันเลวโดยธรรมชาติมากกว่า แปลกใจทำไมไม่โดนคดีอะไรเลยหรอ? เพราะการข่มขู่มันคนละเรื่องกับการยิ่งด่าแล้วเว็บติดอันดับนะ งงจริง ๆ
ฝ่าย Citibank ก็คงเสียเครดิตไปเต็ม ๆ เลย มีที่ไหน อ้างปัดความรับผิดชอบอย่างงี้
ผู้บริโภคอย่างเรา ยังไงส่วนใหญ่ก็น่าจะมองความน่าเชื่อถือเป็นอันดับหนึ่งอยู่แล้ว ทำแบบนี้ผมว่าอยู่ไม่นานหรอก
เวลาจะซื้อของผมจะเสริชด้วยว่าx ห่วย
เช่น ผมจะซื้อ N97 ผมจะเสริชเลยว่า "N97 ห่วย"
หรืออะไรที่คล้ายๆ กัน
ดูแนวโน้มว่ามีเยอะแค่ไหนแล้วค่อยตัดสินใจ
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ใช่ครับผมก็ทำแบบนั้น
ปล.google หรือเวปเสิร์ชทั่วไปก็ทำหน้าที่ของมันดีอยู่แล้วครับ
ผิดที่คนเสิร์ชล่ะครับ เสิร์ชอย่างเดียว วิเคราะไม่เป็นโดนลอกเข้าให้ อิอิ
suggestion มันเลยมักขึ้นคำว่าห่วยต่อท้ายด้วยหรือเปล่า -*-
ปล. ผมก็ทำ 555
เป็นบทความที่ทำให้คนซื้อของผ่านเน็ทอยู่บ่อยๆอย่างผม รู้สึกระแวงอยู่พอสมควร(แต่มันก็ทำให้ผมตระหนักในเรื่องของการค้นหาข้อมูลก่อนซื้อให้มากขึ้นเช่นกัน)
สนุกดีครับ ขอบคุณที่เขียนมาให้อ่านนะครับ ^^,
+บทความเยี่ยม ทำดีต้องชมครับ ส่วนเนื้อข่าว ก็ตามนั้น ^^
my blog
น่าคิดเหมือนกันนะฮะ กรณีนี้
เป็นหนึ่งในบทความคุณภาพแห่งปีเลยนะครับ น่าจะจัดประกวด ข่าวก็น่าสนใจมาก แชร์ให้เพื่อนครับ
เหยดดดด ... จากเรื่องนี้สรุปได้ว่า
1) ต้มมาม่ากันต่อไป เพื่อให้อันดับเว็บดี2) Citi Bank ไว้ใจไม่ได้ .. ก็พอรู้มาว่าดอกเบี้ยโหด แต่ปลอมตัวกันแบบนี้ได้ ชักจะไม่ไหววุ้ย
บทความเริ๊ดมาก
เป็นผมแจ้งความแล้วยังไม่ได้ผล จะดูที่อยู่แล้วไปถล่มบ้านมัน
ยังกับหนังมันส์ๆ ดีๆ เรื่องหนึ่ง
แอบงงกับ Citibank ทำไมทำแบบนี้ ... เพราะที่เมกา เรื่องแบบนี้เค้าจะ sensitive กันมากๆ เลยนะ
+1 บทอความดีใช่สิทธิ์ของลูกค้าต้องมาก่อน แต่ผิดหวังกับ Citibank มากๆเลยครับแบบนี้
สงสัย Citibank จะใช้วิธีการเดียวกันมั้งครับ ฮ่าๆ
ในไทยก็ประมาณนี้ ไม่ง้อลูกค้าเท่าไหร่
เป็นไปได้ไหมครับว่า อาจจะมีการเรตเว็บไซต์โดยผู้ใช้ทั่วไป ไว้ที่ด้านขวาของ link ที่ค้นหาเจอ อาจพอจะแ้ผัญหาได่ในระดับหนึ่ง
แล้วจะมีปัญหาใหม่คือ SEO ใช้คนช่วยกัน disrate คู่แข่งอีกทีเรื่อง emotion ออกจะสาหัสไปหน่อย แต่ถ้าใช้ report ให้ google ลบออกจากผลการค้นหาอาจได้ผลมากกว่านะ
แปลกใจที่เวบในข่าวยังอยู่รอดมาได้
เพราะเรื่องคุ้มครองผู้บริโภคในอเมริกา เค้าสุดยอดมากๆ ไม่พอใจคืนได้
แต่เวบนี้ เจ้าของเวบ ปากม๋า มาก อยู่มาได้ยังไง
ดูเว็บที่ใช้ paypal แต่แรกก็จบล่ะ
การตลาดนี้มันล้ำลึกจริงๆ
แล้วเวบของเจ้านี่ ก็ได้ Backlink ไปอีก 1 อันจาก Blognone ;p
อืม... นี่แหละ การตลาดยุค 2.5
อ่านแรกๆ นึกว่าอ่านเว็บ อะไร addictๆ อยู่นะเนี่ย
เป็นไปได้ไหมว่า ต่อไปเมื่อ FB ทำ search engine จะเอาจุดนี้มาเป็นจุดขาย เพราะว่า ผลการค้นหา ก็น่าจะอ้างอิงกับความชอบของคนจริงๆ (ที่กด like หรืออะไรทำนองนี้) เพราะฉะนั้นผลการค้นหาก็น่าจะเป็นข้อมูลที่ตรง + ดี มากกว่า ใช้ คอมพิวเตอร์ประมวลผล หรือเปล่า?
ปล. บ้านเราก็คงมีบริษัทที่ใช้การตลาดวิธีนี้นะ ลองเข้าไปดูห้อง MBK จิ :D กระทู้แนะนำกระจายยยย 555
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
WOT นี่ใช้งานไม่ได้แล้วสินะ สมัยนี้
นึกถึง WOT อย่างอื่น
เจ้าของต้องหน้าด้านสุดๆเลยนะแบบนี้
ทำธุรกิจแล้วมีแต่คนด่า แต่ยังใช้ชีวิตอยู่ได้
บทความนี้ดีมากๆครับบบ
ปล. เขียนเสร็จ ไม่ทดลองด่าคนอ่านไปด้วยหล่ะครับ จะได้ลองดูอันดับ page นี้ไปเลย อิอิ
มิกล้าครับท่าน -_-"
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
พัฒนาการของ search engine ที่ว่านั่น ถ้าใครทำได้ก่อน โอกาสในการชิงผู้ใช้งานน่าจะมีเยอะขึ้นนะครับ
นึกถึงเคสบ้านเราครับ DVDR2U ครับ ต่อกับที่คนที่ด่าเป็นคนขาย DVD เหมือนกัน
เชิญตามไปเสพ http://drama-addict.com/?p=14297
ปล.ผมรู้สึกเว็บก็เพราะมีคนด่าเนี่ยแหละ = =a
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB