พื้นฐานการถ่ายภาพที่ใครๆ ก็ทราบดีคือการหาโฟกัสหาตำแหน่งที่ต้องการจากนั้นจึงกดชัตเตอร์ถ่ายภาพ แต่นั่นไม่ใช่วิธีของ Lytro บริษัทที่เพิ่งก่อตั้งใหม่ซึ่งขอนำเสนอการถ่ายภาพแบบใหม่ด้วยการกดชัตเตอร์ไปก่อน ส่วนเรื่องตำแหน่งโฟกัสน่ะค่อยไปเลือกเอาทีหลัง
ซีอีโอของ Lytro ด็อกเตอร์ Ren Ng กล่าวว่าเทคโนโลยีที่ใช้นี้เรียกว่า "Light field" ซึ่งเป็นงานวิจัยในช่วงที่เขาศึกษาอยู่ที่ Stanford โดยใช้การเก็บข้อมูลภาพถ่ายจากการตกกระทบของแสงที่วัตถุมาหากล้องในทุกทิศทาง แยกระดับสี ระดับความเข้มออกจากกัน ซึ่งต่างจากการเก็บข้อมูลภาพถ่ายแบบเดิมที่ประมวลผลรวมในแต่ละจุดเลย Ng เปรียบเทียบการบันทึกข้อมูลภาพแบบนี้ว่าเหมือนการบันทึกเพลงในสตูดิโอ ที่ปัจจุบันใช้การบันทึกเสียงแยกเครื่องดนตรีแล้วนำมาผสมเสียงรวมกันอีกที Light field ก็ทำแบบนี้เช่นกัน เมื่อข้อมูลภาพที่บันทึกมีการแยกระดับกันอยู่ ก็ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกโฟกัสจุดใดก็ได้ในภาพตามต้องการ และสามารถประยุกต์การนำเสนอภาพเป็นแบบสามมิติได้อย่างง่ายดาย
ตัวอย่างภาพถ่ายที่ใช้เทคโนโลยี Lytro ซึ่งสามารถเปลี่ยนจุดโฟกัสได้ตามต้องการแค่คลิก
เทคโนโลยีใหม่ย่อมเกิดคำถามในทางธุรกิจว่าจะเป็นไปได้แค่ไหน ซึ่งการบันทึกข้อมูลแบบ Light field นี้ก็ต้องอาศัยเซนเซอร์กล้องแบบใหม่แทนที่เซนเซอร์แบบเดิมที่ใช้กันในปัจจุบัน ทาง Lytro วางแผนนำเสนอเทคโนโลยีนี้ให้เป็น "องค์ประกอบหลัก" ของกล้องดิจิตอลในอนาคตไม่ใช่แค่ส่วนเสริม โดยกล้องต้นแบบได้ผลิตออกมาแล้วโดยความร่วมมือของ Adobe ราคาจำหน่ายจะไม่สูงไปกว่ากล้องที่มีอยู่ในท้องตลาด ขนาดของไฟล์ภาพก็ถูกบีบอัดให้มีขนาดที่เหมาะสมไม่ใหญ่เกินไป แล้วใช้ซอฟท์แวร์ในการจัดการภาพถ่ายให้ได้โฟกัสที่ต้องการ
Lytro หวังว่าเทคโนโลยีนี้จะปฏิวัติวงการภาพถ่ายอย่างมาก การถ่ายภาพให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพจะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นไปอีก การถ่ายภาพวินาทีสำคัญโดยเฉพาะในเกมกีฬาจะเป็นเรื่องง่ายมากขึ้นเพราะเราสามารถโฟกัสภาพได้ในภายหลัง
ดูตัวอย่างภาพเพิ่มเติมได้ที่ เว็บของ Lytro
ที่มา: Forbes และ The Wall Street Journal
Comments
ผลิตได้เป็นอุตสาหกรรมได้เมื่อไหร่ล่ะ
เจ๋งโคตร!
เจ๋งอ่า
ไม่แพงกว่าปัจจุบันที่เทียบกับรุ่นไหนอ่ะครับ ขืนไปเทียบกับ 1Ds MkIII นี่ได้แต่มอง
แต่ผมชอบไอเดียมากมาย
ก็คงได้แค่ถ่ายแบบ snapshot ไปก่อน
เอามาใช้งานจริงๆ ไม่ได้เท่าไหร่
เพราะกล้องคงบันทึกข้อมูลแบบ RAW ไม่ทันแน่ๆ
ชอบมากกกกกก
WE ARE THE 99%
ถ้ามีกรอบรูปดิจิตอลให้กดโฟกัสเล่นได้อย่างในตัวอย่างก็เจ๋งดีนะ
ว่าแต่เวลาถ่ายมันจะเร็วกว่า รอปรับโฟกัสเหรอ
ถ่ายภาพเด็กได้ผมถือว่าเร็วในระดับใช้ได้แล้วนะ ถ่ายเด็กให้อยู่นิ่งๆ มันยาก
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
นึกถึงกล้องตาแมงวันที่มีก่อนหน้านี้
May the Force Close be with you. || @nuttyi
+1
ดูไม่ได้อ่ะ.. Firefox 5.0 win7 -- ไปดูที่เว็บที่มาดูได้แฮะ
ผมดูได้นะครับ 5.0 เหมือนกัน
"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."
+1
สุดยอดมากๆ - -
ปีก่อนเคยเห็น Adobe สาธิตอะไรทำนองนี้ให้ดูอยู่ ตอนนั้นใช้ filter พิศดารบางอย่างติดหน้าเลนส์เอา จะได้รูปดิบที่ดูไม่รู้เรื่อง แต่เอามาอ่านกลับในคอม จะได้รูปที่ปรับโฟกัสได้เอง คล้าย ๆ แบบนี้
สนุก 55 ^^
my blog
โปรกล้องมีแววตกงานได้แน่ๆ ถ่ายห่วยแค่ไหนก็ได้ภาพคมชัดพอๆกัน
สุดยอดมากๆ กำลังประสบปัญหาแบบนี้อยู่พอดีเลย เซ็งมาก
สุดยอด ไม่รู้จะสรรหาคำไหนมาสรรเสริญเยินยอความคิดได้ ที่สำคัญ มันจะง่ายสุดๆ สำหรับคนที่ถ่ายรูปไม่เป็นแต่อยากได้รูปที่มีคุณภาพ อย่างนี้นี่ จกกล้องขึ้นมาถ่ายได้รูปสวยทันที
ผมว่าไฟล์อ่ะ ยังไงก็ใหญ่อยู่ดีเพราะการบีบอัดภาพมันไม่น่าจะได้เท่ากับภาพที่ถูกโฟกัสเรียบร้อยแล้ว นึกไปถึงคำอธิบายเรื่องของการอัดเสียง เพราะตอนอัดแยกแต่ละไฟล์ก็ใหญ่ไม่ใช่น้อย (ไม่แน่ใจว่า wav หรือเปล่า แต่ถึงไม่ใช่ก็ใกล้เคียงอยู่ดี เพราะต้นฉบับจะมาบีบเข้ารหัสข้อมูลก็กะไรอยู่) อยากเห็นไฟล์ต้นฉบับจังแฮะ
+1 เลย คิดได้ยังไงเนี่ย
คุ้นๆ เหมือนเคยอ่านเรื่องแบบนี้ เมื่อ หลายเดือนมาแล้วอ่ะ จำไม่ได้ว่าเป็นของเจ้านี้ หรือเจ้าไหน ?_?
กล้อง Canon ในงาน World Expo หรือเปล่าครับ
ยังไม่ได้ตามไปอ่านครับ
แต่เคยเห็นวิธีการนี้มาแล้วครับ คือการใช้ Lens รับภาพมากกว่า 1 อันครับ
ตัว Demo นั้นมี Lens รับภาพประมาณ 100 อัน (ไรจะขนาดนั้น)
ซึ่งวิธีการผลิตจะทำ Sensor รับภาพเพียง 1 อันหรือ ทำทุก Lens ก็แล้วแต่วิธีการครับ
ขอดีมี 3 ข้อครับ
1.Focus ทีหลังได้
2.ทำภาพ 3D ได้ (ก็แน่แหละ 3D ใช้แค่ 2 Lens +-2 Sensor)
3.ลบสิ่งของที่บังสิ่งที่เราจะถ่ายได้
ผมว่า 3D ที่เค้าพูดถึงไม่ใช่ภาพลวงตาด้วยภาพจาก 2 มุมแบบที่เราเห็นกันทั่วไปนะครับแต่เป็น กล้องสามารถเก็บข้อมูลระยะห่างพื้นผิวที่เห็นทั้งหมดเลย มากกว่า
Lens ที่ว่านั่นหมายถึง micro lens ก่อนตัวเซนเซอร์นะครับ ไม่ได้หมายถึงตัวเลนส์หน้ากล้อง
มันคือ Plenoptic camera น่าจะอันเดียวกับข่าวนี้แหละครับ ที่ Adobe เปิดตัวเมื่อปีก่อน
วิธีการที่ว่าเป็นของ ดร. เขานั่นแหละครับ เขาเคยใช้กล้อง 100 ตัว พร้อมกับคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง เพื่อใช้ light field ครับ ตอนนั้นได้รับรางวัลชนะเลิศด้วย
แต่ตอนนี้เขาใช้ (สร้าง?) เซ็นเซอร์รับภาพแบบใหม่ เพื่อให้ได้กับกล้องขนาดปกติ และเลนส์เพียงชุดเดียวครับ
Jusci - Google Plus - Twitter
กริ๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด !!
ไม่รู้จะอธิบายยังไง มันเจ๋ง โคตรเจ๋งอะ !!
550D ของหนูมีแววเข้ากรุ ? (ฮา)
น่าเล่นๆ
{$user} was not an Imposter
โอ้ บร๊ะเจ้า!! มนุษย์โลกคิดได้ไงเนี่ย พูดได้คำเดียวว่า "สุดยอด!!"
บร๊ะเจ้าโจ๊ก!!!
[ Blog ZeroEngine ] [ @ZeroEngines ]
น่านับถือครับ จะมีสักกี่คนที่เลือกหัวข้องานวิจัยตอนเรียนโดยตั้งใจจะทำขายแล้วทำได้จริงๆ
NEX-5 ผม...เฮ้อ
ถ้ามันลง iphone 5 นะ
+1
อยากได้ชัดทั้งภาพกดตรงไหน
กดชัตเตอร์ใหม่...
ผมลองกดบริเวณพื้นหลังสุดครับ ภาพที่ออกมาเหมือนจะชัดทั้งหมด
สุดยอด
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
แจ่มๆทีนี้ไม่ต้องพะวงหน้ากับนมว่าจะเอาอะไรชัดก่อนแล้ว
นม?!?
พูดเหมือนเลือกยากจริงๆ 555
เจ๋งดี เหมือนกับถ่ายภาพหลายๆ เฟรมซ้อนกันไว้ แล้วเข้ากระบวนการโฟโต้ชอปในการเบลนด์ นึกถึงนวัตรกรรมสมัยโพลารอยด์
ปฏิวัติวงการบันทึกภาพเลยทีเดียว เอาไปลบขีดจำกัดการสร้างสรรค์ได้อีกเยอะเลยครับ
แต่อยากรู้แบบชัดแจ้งว่าเค้าทำยังไงจริงๆ
แล้วแบบนี้ จะทำ Bokeh ได้หรือเปล่าครับ
ผมว่าโบเก้คงไม่เกิดอะครับ เพราะโบเก้ต้องเกิดจากเลนส์ ไม่ใช่ฟิลเตอร์เบลอ ครับ
น่าจะใช้กับงานเฉพาะทางได้ดี แต่กับงานที่ต้องการความเร็วอาจมีปัญหาเวลาอ่านเขียนข้อมูลได้
ไอเดียสุดยอดครับ
เรียกว่า มัลติเลเยอรืโฟกัสได้เลยนะเนี่ย
อีกหน่อยคงมีมาตราฐาน โฟกัส ดีพ
กล้องตัวใหม่ๆ อาจจะมีฟีเจอร์ โฟกัสเผื่อที่ 5 เสต็บ(หรือมากกว่า) เกินสอง ขาดสอง
ภาพ 1 ภาพอาจจะใช้คอนเซ็ฟ แบบ gif ที่ปกติเป็นภาพเคลื่อนไหว หลายๆภาพซ้อนกัน แต่ออันนี้เป็นแบบ มัลติเลเยอร์โฟกัสแทนแบบภาพนิ่ง
อ่านแล้วทำให้ผมนึกถึงหนังสืบสวนอเมริกาที่มันเอาภาพหรือคลิปไปซูมแล้วได้รายละเอียดชัด แม้แต่เงาที่ตกกระทบบนแก้วน้ำ
Enhance!
พออกมาใช้จริงเดี๋ยวก็จะมีแฟนบอย นิกร หนอน ออกมากัดเทคโนโลยีแบบนี้อีก ไม่ชัดบ้าง ไม่คมบ้าง เบลอไม่เสมือนจริงบ้าง
คอยดูสิ...
ปอลิง ผมอยากเห็นโบเก้อ่ะ Lytro ทำได้รึเปล่า เห็นแต่เบลอแบบธรรมดาๆ
Technology is so fast!
ชัวร์ แต่ถ้านิดหรือหนอนเอามาใช่สาวกก็จะชาบูแทน
เจ๋งอ่ะ จากคนที่ทำงานอยู่บริษัทผลิตกล้อง
อยากรู้ว่า เปลี่ยนขนาดรูรับแสงได้มั้ย แล้วจะมีผลอย่างไร น่าสนใจมากครับ
บร๊ะเจ้าโจ๊ก O_o! ทีนี้ตากล้องมือใหม่ก็ไม่มีปัญหาโฟกัสผิด โฟกัสตกอีกแล้วล่ะสิเนี่ย
สุดยอดดด
ผมไม่ได้ร้อง โอ้!!..แบบ ชื่นชม!! อึ้ง!! ทึ่ง!! แบบนี้ มานานแล้ว....นับถือๆจริงครับ
Focus สั่งได้ สุดTeen คัฟ
Lytro หวังว่าเทคโนโลยีนี้จะปฏิวัติวงการภาพถ่ายอย่างมาก >> ไม่ใช่แค่อย่างมาก แต่มันปฏิวัติอย่างสมบูรณ์เลยต่างหาก !
เท่าที่ไปอ่าน คร่าวๆดู เค้าใช้ micro lens ค่าต่างๆ เป็นชุดไปวางไว้หน้า photo diode เป็นกลุ่มๆ เพื่อให้แต่ละ pixel จับกลุ่มการกระจาย electron ในรูปแบบที่ต่างกัน เวลาได้ภาพมาก็มาเลือกเอาแต่ละ pixel ในแต่ละกลุ่มมาใช้งาน เพื่อที่จะได้ความชัดที่ต่างกันได้ ซึ่งเท่าที่ดูก็จะมีข้อจำกัดเช่น เลนส์จะโดนฟิกค่ารูรับแสงไว้(นั่นคือจะทำเลนส์ซูมก็ลำบาก) แล้วก็ทำให้ resolution ลดลงไปหลายเท่าเลยครับ คงเหมาะกับประเภท snapshot มากกว่า
ถ้าผลิตเป็นขนาดจิ๋วได้ น่าจะนำมาประยุกต์ใช้ในมือถือด้วยนะครับ
รูปตัวอย่าง ไม่ค่อยคม เท่าไรเลย เม็ดๆ เยอะ
ในทางศิลปะการถ่ายรูป มันก็จะยากเหมือนกัน ที่จะถ่ายแล้วมากำหนดจุดโฟกัสทีหลัง มุมมองของผมคือมันจัดองค์ประกอบของภาพเพื่อเลือกจุดโฟกัสสายตาไปแล้ว แต่มาเลือกจุดโฟกัสของเลนส์ทีหลังนี่แปลกๆ
ขอมองอีกมุมนะแบบโง่ๆ เป็นการถ่ายรูปแบบชัดทุกระยะแล้วมาทำ เบรอ อิอิ
จริงครับ ต้องปรับเปลี่ยนมุมมองกันยกใหญ่เลย
แต่ผมว่ารูปที่ออกมาจะเป็นรูปที่เราเลือกจุดโฟกัสไว้แล้วอยู่ดี สุดท้ายอยากจะปรับก็ปรับไปหากไม่พอใจหรือโฟกัสพลาด ซึ่งผมว่ามันค่อนข้างเจอเคสแบบนี้น้อยมากในกรณีการถ่ายภาพแบบปกติ
Cool
สวดดดดดดยอดดดดดดดดดด